การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7825
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2552/06/01
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา
คำถาม
เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา (เริ่มจากมักกะฮฺ และมะดีนะฮฺตามลำดับ)
คำตอบโดยสังเขป
ไม่มีคำสั่งหรือรายงานใดจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอาน ตามการประทานลงมามาถึงพวกเรา การรวบรวมอัลกุรอานได้ถูกกระทำลงไปหลายขั้นตอนด้วยกัน ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอัลกุรอานตามการประทานลงมา แต่ในที่สุดอัลกุรอานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการรวบรวมโดยเหล่าบรรดาสากวก โดยได้รับความเห็นชอบจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ว่าสมบูรณ์
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอานมี 3 ทัศนะดังนี้
1. โองการต่าง ๆ ของอัลกุรอาน ขณะที่ประทานลงมา ได้ถูกประทานลงมาอย่างสมบูรณ์ และตราบที่อัลกุรอาบทดังกล่าว ยังไม่สมบูรณ์ อัลกุรอานบทอื่นจะไม่ถูกประทานลงมาอย่างเด็ดขาด
2. อัลกุรอานแต่ละบท เมื่อถูกประทานลงมาสักสองสามโองการ อัลกุรอานบทนั้นจะค่อย ๆ สมบูรณ์ไปที่ละน้อย ดังนั้น คำถามที่ถูกถามขึ้นตรงนี้ก็คือ การจัดวางโองการต่าง ๆ ในอัลกุรอาน เป็นไปตามความเห็นชอบของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กระนั้นหรือ หรือว่าการกระทำเช่นนั้นเกิดขึ้นในสมัยของบรรดาสาวก ?
3. หรือการวางซูเราะฮฺ และวางโองการดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นฝีมือของบรรดาสาวกทั้งหลาย
วิเคราะห์ความคิดเห็นที่ 1 :
ท่าน ซุยูฏีย์ บันทึกรายงานบทหนึ่งไว้ในหนังสือ อัลอิตติกอน ซึ่งรายงานบทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดามุสลิมต่างทราบเป็นอย่างดีว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺก่อนหน้กำหลังจะสิ้นสุดลง เพราะเมื่อ “บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีม” ถูกประทานลงมา นั่นแสดงว่าอัลกุรอานบทใหม่กำลังจะถูกประทานตามมา[1] คำกล่าวอ้างนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อัลกุรอานแต่ละซูเราะฮฺ จะถูกประทานลงมาโดยสมบูรณ์ ซึ่งบรรดาผู้รู้ส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า นับตั้งแต่ช่วงแรกที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา อัลกุรอาน สองสามโองการในซูเราะฮฺ อัลอะลัก ก็ถูกประทานลงมา[2] ซึ่งบางครั้งบางโองการถูกประทานลงมา และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นำเอาโองการนั้นไปวางในซูเราะฮฺตามความเหมาะสม[3] ดังนั้น สมมุติฐานนี้ถือว่า เชื่อถือไม่ได้
วิเคราะห์ความคิดเห็นที่ 2 :
ดังทัศนะแรกที่ผ่านมา  จะเห็นว่ามีโองการจำนวนมากที่กล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีคำสั่งให้นำไปจัดวางไว้ในซูเราะฮฺต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการรวบรวมครั้งแรกเกิดขึ้นโดยน้ำมือของ ท่านอบูบักร์เคาะลิฟะฮฺที่หนึ่ง การรวบรวมอัลกุรอานครั้งที่สองเกิดขึ้นในสมัยท่านอุสมาน เคาะลิฟะฮฺคนที่สาม แต่ทั้งสองครั้งก็ไม่ได้มีการสลับที่โองการแต่อย่างใด หรือหลักในการจัดเรียงโองการก็มิได้มีบทบาทแต่อย่างใด แม้ว่าอัลกุรอานบางบทเช่น “บทฟาติฮะฮฺ” จะลงมาในคราวเดียวจบ[4]
แต่สำหรับอัลกุรอานบางบท เช่น บทที่มีเนื้อความยาว ๆ โองการจะประทานลงมาสองสามโองการในตอนแรก (หมายถึงแต่ละบทจะมีโองการประทานลงมาบางส่วน และหลังจากนั้นจะทยอยลงจนจบบท)
ในกรณีนี้ท่านมัรฮูม เฏาะบัรซียฺ กล่าวว่า “จุดประสงค์ของการประทาน อัลกุรอานตามขั้นตอนคือ การรักษาระเบียบในช่วงต้นของการประทานลงมากสักสองสามโองการ และก่อนที่จะจบสมบูรณ์ บทอื่นอาจจะประทานลงมาโดยสมบูรณ์ก่อน หรืออาจจะมีสองสามโองการของบทนอื่นถูกประทานลงมา หลังจากนั้นอัลกุรอานบทดังกล่าวจะประทานลงมาให้สมบูรณ์ก็ได้ ในกรณีนี้ทุกสิ่งจะย้อนกลับไปสู่ความเป็นระเบียบในเรื่องที่ประทานลงมา ทั้งที่มักกะฮฺและมะดีนะฮฺ[5]
ฉะนั้น การคัดสรรโองการเพื่อนำไปวางในซูเราะฮฺต่าง ๆ เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เพียงในสมัยของท่านอุสมาน ได้รวบรวมอัลกุรอานฉบับต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้เข้าด้วยกัน และแต่ละคนที่นำเอาต้นฉบับที่ตนมีอยู่มาเสนอ ซึ่งไม่มีอยู่ในต้นฉบับอื่น จะต้องนำพยานสองคนมายืนยันว่าเขาได้ยินอัลกุรอานจากท่านเราะซูลจริง[6]
วิเคราะห์ทัศนะที่ 3 :
เกี่ยวกับการประทานอัลกุรอานลงมาตามขั้นตอนนั้น[7] ส่วนใหญ่มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การจัดระเบียบโองการเป็นไปตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นคำสั่งในลัษณะ เตาฟีกี[8] แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เครื่องหมายบางประการ กล่าวว่าอัลกุรอานบางส่วนประทานลงมาตามขั้นตอน ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยเคาะลิฟะฮฺ[9] แม้ว่ารายงานบางบท จะบ่งชี้ว่ากุรอานถูกรวบรวมแล้วในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[10] และสมมุติว่า การรวบรวมตามรายงานนี้จะเป็นทัศนะที่แข็งแรงก็ตาม แต่กระนั้นการรวบรวมอัลกุรอานก็ถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ในสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) สมัยเคาะลิฟะฮฺที่ 1 และ 2 และสุดท้ายคือ การรวบรวมในสมัยเคาะลิฟะฮฺที 3[11]
การรวบรวมอัลกุรอาน
อัลกุรอานถูกรวบรวมในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตามคำสั่งของท่านศาสดา โดยการบันทึกของเซาะฮาบะฮฺบางท่าน ซึ่งการรวบรวมนี้ก็คือ การรวบรวมวะฮฺยู ในสมัยท่านอบูบักร์ มีการรวบรวมโองการต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายออกไป (เป้นเหมือนเล่มที่มีอยู่ในปัจจุบัน) ในยุคสุดท้ายคือยุคของท่านอุสมาน เคาะลิฟะฮฺที่สาม ได้รวบรวมต้นฉบับจากที่ต่าง ๆ จากพวกอาหรับ ที่มีต้นฉบับที่แตกต่างกัน โดยรวบรวมไว้ด้วยกัน[12]
มุซฮับของท่านอิมามอะลี (.)
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เริ่มต้นรวบรวมอัลกุรอาน หลังจากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นวะฟาตไปแล้ว ความพิเศษของต้นฉบับนี้คือ การรวมโองการ และซูเราะฮฺไปตามวาระของการประทานอัลกุรอานอย่างละเอียด[13] กล่าวคือ มักกียะฮฺ ถูกประทานมาก่อนมะดีนะฮฺ[14] แต่ว่าอัลกุรอานฉบับของท่านอิมามอะลี (อ.) มิได้ได้การยอมรับจากบรรดาเคาะลิฟะฮฺก่อนหน้านี้[15] ที่สุดแล้วอัลกุรอานที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ฉบับที่อุสมานเคาะลิฟะฮฺที่สาม เป็นผู้รวบรวมเอาไว้ และอิมามอะลี (อ.) ลงนามยอมรับด้วย[16]
คำพูดสุดท้ายและบทสรุป : เมือพิจารณาสิ่งที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ดังนี้คอ
1.การประทานโองการอัลกุรอาน แบบทยอยลงมานั้น บางครั้งลงมาในคราวเดียวทั้งซูเราะฮฺ หรือบางครั้งก็ประทานลงมาสองสามโองการก่อน
2. การประทานโองการอัลกุรอาน มีการประทานสลับซูเราะฮฺลงมา
๓. ซอฮาบะฮฺบางคนได้รวบรวมอัลกุรอาน แบบเลือกสรรโองการ แล้วนำไปวางไว้ตามซูเราะฮฺต่าง ๆ ตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) (มิได้บังคับให้ทำ)
๔. การเลือกสรรโองการกระทำลงไปตามคำสั่งของท่านศาสสดา
๕. การเลือกสรรซูเราะฮฺ ตามคำกล่าวอ้างนั้นได้ถูกกระทำในสมัยเซาะฮาบะฮฺ โดยเฉพาะในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
๖. การรวบรวมอัลกุรอาน ในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็คือการจดบันทึกวะฮฺยูตามคำบอกของท่านศาสดา ส่วนกุรอานในสมัยเคาะลิฟะฮฺที่หนึ่ง และสองคือ การรวบรวมเอาจากโองการที่กระจัดกระจายกันออกไป โดยการรวมเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนการรมในสมัยของท่านอุสมานนั้น มีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งเป็นเช่นนั้นอยู่หลายปี แล้วได้ยติลง
๗.ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอลกุรอานไปตามการประทานลงมา ขณะที่อุสมานเองก็ได้รวมอัลกุรอานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ท่านอิมามจึงยอมรับสิ่งทีอุสมานทำขึ้นมา เพื่อรักษาเอกภาพของสังคมมุสลิม และป้องการความแปลกแยก กับการฉวยโอกาสของศัตรู
 

[1] ท่านอิบนุอับบาส พูดว่า “ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่ทราบดอกว่า อัลกุรอานบทนั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จนกระทั่งว่า “บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีมถูกประทานลงมา” มีคำกล่าวเสริมว่า “เมื่อบิซมิลลาฮฺ” ถูกประทานลงมา อัลกุรอานบทนั้นก็สิ้นสุดลง และอัลกุรอานบทใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น อัลมีซาน เล่ม 12, หน้า 186.
[2] มะอฺริฟัต มุฮัมมัด ฮาดี, อุลูมกุรอานนี, หน้า 76 สถาบั้น อัตตัมฮีม กุม 1378
[3] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 77, อิบนิอาชูร, อัตตะฮฺรีร วันตันวีร, เล่ม 1, หน้า 90, รายงานโดย ติรมีซี จากท่านอิบนุอับบาส จากท่านอุสมาน บิน อัฟฟาน กล่าวว่า ...
«كان رسول اللّه صلّى اللّه عليه و سلّم مما يأتي عليه الزمان و هو تنزل عليه السور ذوات العدد- أي في أوقات متقاربة- فكان إذا نزل عليه الشي‏ء دعا بعض من يكتب الوحي فيقول ضعوا هؤلاء الآيات في السورة كذا».
[4] อุลูมกุรอาน หน้า 76
[5] เฏาะบัรซีรฺ ฟัฏลฺ อิบนุฮะซัน,มัจญฺมะอุลบะยาน ฟี ตัฟซีรอัลกุรอาน, ฉบับแปลเล่มที่ 26 หน้า 147, สำนักพิมพ์ ฟะรอฮันนี, เตหะราน 1360, ด้วยการย่อและสรุป อุลูมกุรอาน หน้า 89
[6] อัลมีซานฉบับแปล เล่ม 12, หน้า 174
[7] ทัศนะดังกล่าวนี้ นักตัฟซีรฝ่ายชีอะฮฺบางท่าน เช่น มุฮัมมัด บิน ฮะบีบุลลอฮฺ ซับซะวารียฺ นะญะฟี  บันทึกอยู่ในหนังสือ อัลญะดีด ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน อัลมะญีด” เล่ม 2, หน้า 420, และนักตัฟซีรที่มิใช่ชีอะฮฺ เช่น ท่านเชากานียฺ บันทึกไว้ในหนังสือ ฟัตฮุลเกาะดีร เล่ม 1 หน้า 86 มีความเห็นที่แตกต่างออกไป
[8] ซุยูฎี “อัลอิตติกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน” เล่ม 1, หน้า 71, อุลูมกุรอานนี หน้า 119,
[9] อัลอิตกอน เล่ม 1, หน้า 69, บุคอรียฺ มุฮัมมัด เล่ม 4, หน้า 1907, ดารุล อิบนุกะซีร เบรุต 1407
[10] อะลี บินสุลัยมาน อัลอะบีด ญัมอุลกุรอาน ฮิซซอน วะกิตาบะตัน, หน้า 70,
المطلب الأول : الأدلة على كتابة القرآن الكريم في عهده صلى الله عليه وسلم ، ما رواه البخاري ومسلم عن ابن عمر  « أن رسول الله صلى الله عليه وسلم نهى أن يُسَافر بالقرآن إلى أرض العدو »
وفي لفظ لمسلم أن رسول الله صلى الله عيه وسلم قال : « لا تسافروا بالقرآن ، فإني لا آمنُ أن يناله العدو »،بیجا،بیتا
[11] อะฮฺมัด บิน อะลี อิมตินาอฺ อัลอัสมาอฺ เล่ม 4 หน้า 239, ดารุลกุตุบ อัลอาละมียะฮฺ เบรุต 1420
[12] ญัมอุลกุรอาน ฮิซซอน วะกิตาบะตัน หน้า 70, (การรวมอัลกุรอานในสมัยท่านเราะซูล), อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 69, หน้ 67, (เกี่ยวกับการรวบรวมของท่านอบูบักร์ และอุสมาน)
[13] ดังที่กล่าวไปแล้วว่า บางโองการถูกนำไปวางไว้ในซูเราะฮฺต่าง ๆ อันเฉพาะเจาะจง ตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
[14] อุลูมกุรอานนี หน้า 121, มุฮัมมัด บิน สะอีด, อัฏเฏาะบะกอต อัลกุบรอ, แปลโดย มะฮฺดี ดามะฆอนียฺ เล่ม 2, หน้า 324, พิมพ์ที่ ฟัรฮังวะอันดีเชะฮฺ เตหะราน ปี 1374
[15] อุลูมกุรอานนี หน้า 122
[16] เนื่องจากท่านอิมามอะลี (อ.) เมื่อเดินทางมาถึงกูฟะฮฺ (ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ) มีชายคนหนึ่งต้องการประณามท่านอุสลาม เนื่องจากท่านอุสมาน ปล่อยให้ประชาชนยุคนั้นมีอัลกุรอานเพียงฉบับเดียว ท่านอิมามอะลี (อ.) สั่งให้เขาหยุด และกล่าวต่อไปว่า ทุกสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปอย่างน้อย เราเป้นผู้ให้คำปรึกษาแก่เขา และถ้าหากฉันอยู่ในสภาพเดียวกันกับเขา ฉันก็คงจะกระทำเช่นนั้นเหมือนกัน และคงดำเนินการไปตามนั้น “อะอฺซัม อิบนุ กูฟี” อัลฟุตูฮฺ แปลโดย มุสเตาฟี ฮะระวี หน้า 997, สำนักพิมพ์ อิงเตชารอต วะออมูเซซ อิงกะลอบอิสลามมี เหหะราน ปี 1372, อุลูมกุรอานนี หน้า 133-123
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • บรรพบุรุษและลูกหลานของมาลิก อัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและเชื่อในวิลายัตหรือไม่?
    8847 تاريخ بزرگان 2554/12/11
    ตำราประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมิได้กล่าวถึงประเด็นความศรัทธาของบรรพบุรุษของมาลิกอัชตัรซึ่งมาจากเผ่า “นะเคาะอ์” และ “มิซฮัจ” ในเยเมนแต่อย่างใดสิ่งที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้คือเผ่านี้เป็นกลุ่มแรกๆในเยเมนที่เข้ารับอิสลามมาลิกอัชตัรมีบุตรชายสองคนคนหนึ่งมีนามว่าอิสฮากและอีกคนมีชื่อว่าอิบรอฮีมอิสฮากเป็นหนึ่งในทหารของอิมามฮุเซน (อ.) ในกัรบาลาและได้เป็นชะฮาดัตเคียงข้างกับซัยยิดุชชุฮาดาอ์ในที่สุดอิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตารษะเกาะฟีและได้ทำหน้าในฐานะแม่ทัพอย่างเต็มความสามารถโดยได้ฆ่าบุคคลที่สังหารอิมามฮุเซน (อ.) เช่นอิบนุซิยาดประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าอิบรอฮีมมีบุตร 5 คนนามว่านุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลานในจำนวนบุตรทั้งหมดของอิบรอฮีมกอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา ...
  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6736 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...
  • สามารถครอบครองที่ดินบริจาคได้หรือไม่? สามารถขายที่ดินบริจาคได้หรือไม่?
    5574 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    โปรดพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน
  • อะไรคือเหตุผลที่ต้องชำระคุมุสตามทัศนะชีอะฮ์ ต้องนำจ่ายแก่ผู้ใด และเหตุใดพี่น้องซุนหนี่จึงไม่ปฏิบัติ?
    8292 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    1. โองการที่กล่าวถึงศาสนกิจโดยเฉพาะนั้นมีไม่มากเมื่อเทียบกับกุรอานทั้งเล่มเนื่องจากกุรอานจะกล่าวถึงหัวข้อศาสนกิจอย่างกว้างๆเช่นนมาซศีลอด ...ฯลฯและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท่านนบี(
  • เหตุใดโองการที่สาม ซูเราะฮ์อัลอินซานที่ว่า اما شاکرا و اما کفورا กล่าวถึงการขอบคุณในรูปของอิสมุ้ลฟาอิ้ล แต่ในส่วนของการปฏิเสธกลับใช้ในรูปของศีเฆาะฮ์ มุบาละเฆาะฮ์
    9903 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    คำว่า “ชากิร” เป็นอิสมุ้ลฟาอิ้ลจากรากศัพท์ “ชุกร์” และ กะฟู้ร เป็นศีเฆาะฮ์ มุบาละเฆาะฮ์จากรากศัพท์ “กุฟร์” เหตุที่คำหนึ่งใช้ในรูปอิสมุ้ลฟาอิ้ล และอีกคำหนึ่งใช้ในรูปศีเฆาะฮ์ มุบาละเฆาะฮ์นั้น นักอรรถาธิบายให้ทัศนะไว้ว่า เนื่องจากจำนวนของชากิร (ผู้ขอบคุณ) มีน้อยกว่าผู้ลำเลิกบุญคุณ จึงใช้อิสมุ้ลฟาอิ้ลกับการขอบคุณ และใช้ศีเฆาะฮ์มุบาละเฆาะฮ์กับการลำเลิก[1]ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ...
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9224 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ผมเป็นชาวฟิลิปินส์ ในสถานการณ์ที่ผมไม่สามารถไปหามุจตะฮิดคนใดคนหนึ่งได้ และในกรณีที่ผมไม่มั่นใจว่ามีผู้ที่เป็นซัยยิด (เป็นลูกหลานของท่านศาสดา (ซ.ล.) ที่เป็นผู้ยากไร้อาศัยอยู่ในประเทศของผมหรือไม่นั้น ผมจะต้องจ่ายคุมุสแก่ผู้ใด?
    6241 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบที่ได้รับมาจากสำนักงานต่างๆของบรรดามัรยิอ์มีดังนี้สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์ซิซตานี–คุณสามารถที่จะแยกเงินคุมุสของท่านไว้และเก็บไว้ก่อนจนกว่าจะมีโอกาสที่จะนำเงินดังกล่าวไปมอบให้กับตัวแทนของท่านอายะตุลลอฮ์สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี–สามารถจ่ายทางเว็บไซต์ของมัรญะอ์ดังกล่าวได้คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ฮาดาวีย์เตหะรานีเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวคือคุณสามารถจ่ายทางอินเตอร์เน็ตได้โดยโอนเงินให้กับมุจตะฮิดหรือตัวแทนของท่านและทางที่ดีควรจ่ายให้กับผู้นำรัฐหรือตัวแทนของท่านในทุกกรณีไม่สามารถจ่ายเงินคุมุสให้กับผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่านหรือตัวแทนของท่านเสียก่อน ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6298 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • อิสลามมิได้ห้ามรับประทานเนื้อดอกหรือ?
    8768 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/14
    พืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีมนุษย์บางกลุ่มที่มีรสนิยมสองขั้วที่ต่างกัน บางกลุ่มไม่แตะต้องเนื้อสัตว์เลย ส่วนบางกลุ่มในแอฟริกา ตะวันออกไกลและยุโรปบางประเทศกินเนื้อสัตว์แทบทุกประเภทแม้กระทั่งเนื้อมนุษย์ในบางกรณี การเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานถือว่าไม่ถูกต้องนัก การจะใช้เหตุผลที่ว่าเนื่องจากสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรจะทานเนื้อ คงต้องถามกลับว่า สัตว์ป่าอย่างเช่น กวาง ยีราฟ ฯลฯ กินเนื้อเป็นอาหารหรือไม่? สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายอย่างหมีไม่ได้กินน้ำผึ้งและผักผลไม้ดอกหรือ? สิ่งนี้จะถือเป็นเหตุผลที่มนุษย์ไม่ควรทานน้ำผึ้งและพืชผักได้หรือไม่? ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    6289 تاريخ بزرگان 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59628 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57024 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41837 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38643 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38536 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33635 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27651 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27448 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27290 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25347 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...