การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6986
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/04
คำถามอย่างย่อ
มีหนทางใดบ้างสำหรับรักษาสายตาอันร้ายกาจ?
คำถาม
อัลกุรอานโองการใดบ้าง เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสายตาอันร้ายกาจ?
คำตอบโดยสังเขป

สายตาอันร้ายกาจเกิดจากผลทางจิตวิญญาณ ซึ่งไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธแต่อย่างใด,ทว่ามีเหตุการณ์จำนวนมากมายที่เราได้เห็นกับตาตัวเอง

มัรฮูมเชคอับบาส กุมมี (รฮ.) แนะนำให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะลัม เพื่อเยียวยาสายตาอันร้ายกาจ, ซึ่งเมื่อพิจารณาสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการแล้ว เหมาะสมกับการรักษาสายตาอันร้ายกาจอย่างยิ่ง

นอกจากโองการดังกล่าวแล้ว ยังมีรายงานกล่าวเน้นถึง การอ่านอัลกุรอานบทอื่นเพื่อรักษาสายตาอันร้ายกาจไว้อีก เช่น อัลกุรอานบท »นาส« »ฟะลัก« »ฟาติฮะฮฺ« »เตาฮีด« นอกจากนี้ตัฟซีรอีกจำนวนมากยังได้กล่าวเน้นให้อ่านอัลกุรอานบทที่กล่าวมา

คำตอบเชิงรายละเอียด

สายตาอันร้ายกาจนั้นเป็นผลที่เกิดมาจากจิตวิญญาณ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยภายนอก และไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธสิ่งนั้นด้วย

รายงานบางบทได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงข้อนี้, ตัฟซีร »ดุรุลมันซูร« บันทึกรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่กล่าวว่า : ปัญหาเรื่องดวงตาป่วยเป็นโรคนั้นเป็นความจริงหนึ่ง, ทำนองเดียวกันท่านกล่าวว่า : สายตาอันร้ายกาจ,นั้นจะมองเห็นคนสมบูรณ์แข็งแรงในกุบูร และมองเห็นอูฐที่แข็งแรงอยู่ในแถวเดียวกัน”[1]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ป้องกันมิให้สายตาของท่าอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ ต้องประสบกับโรคร้าย ท่านได้ทำรุก็ยยะฮฺ (จุดประสงค์ของ รุก็อยยะฮฺคือ การเขียนบทดุอาอฺและบุคคลจะนำดุอาอฺนั้นติดตัวไว้ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งก็เรียกสิ่งนั้นว่า ตะอฺวีซ) ท่านศาสดาได้จับท่านอิมามทั้งสองไว้แล้วอ่านดุอาอฺว่า :

« أُعِيذُكُمَا بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّاتِ وَ أَسْمَائِهِ الْحُسْنَى كُلِّهَا عَامَّةً مِنْ شَرِّ السَّامَّةِ وَ الْهَامَّةِ وَ مِنْ شَرِّ كُلِّ عَيْنٍ لَامَّةٍ وَ مِنْ شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ »

หมายถึง : ฉันขอความคุ้มครองให้แก่เธอ ด้วยถ้อยคำสมบูรณ์แห่งอัลลอฮฺ และด้วยพระนามอันไพรจิตของพระองค์ ให้พ้นจากทุกความชั่วร้ายที่นำมาซึ่งความเบื่อหน่าย ความชั่วร้ายของผู้นำที่มีอยู่ซึ่งไม่อาจมองเห็นด้วยสายตา ความชั่วร้ายจากทุกสายตาที่ไม่ดีที่ผ่านพ้นไปถึงมนุษย์ ความชั่วร้ายของความริษยายามเมื่อริษยา หลังจากนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวแก่เราว่า ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้กระทำเช่นนี้กับอิสมาอีล และอีสฮาก[2]

ฮิกมัตที่ 400 นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ กล่าวว่า สายตาอันร้ายกาจเป็นเรื่องจริง ดังนั้นควรป้องกันด้วยการตะวัซซุล และดุอาอฺ[3]

จากรายงานดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ว่า สายตาอันร้ายกาจ ก่อให้เกิดสิ่งไม่ดีนั้นมิใช่เป็นเรื่องอุปโลกน์ ทว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดภายนอก ดั่งที่ประจักษ์ชัดแก่สายตาทั่วไป แต่ก็มีแนวทางป้องกันสิ่งเหล่านั้น ซึ่งได้รับคำแนะนำเอาไว้

ดั่งเป็นที่รู้จักกันดีคือ โองการที่ 51 บทอัลเกาะลัม มีผลต่อการขจัดสายตาร้ายกาจ หรือสายตาริษยา ซึ่งโองการดังกล่าวอัลลอฮฺ ทรงมีบัญชาต่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า »เมื่อบรรดาผู้ปฏิเสธได้ยินอัล-กุรอาน พวกเขาเกือบจะใช้สายตาอันร้ายกาจของพวกเขาทำร้ายเจ้า พวกเขากล่าวว่า แท้จริง เขาเป็นคนเสียสติ«[4]

สาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการนี้กล่าวว่า : มีชายคนหนึ่งจากเผ่าบนีอะซัด, บางครั้งต้องทนหิวโหยนานถึง 3 วัน, เวลานั้นเมื่อเขาพบเจอสิ่งใดจะพูดว่า : เหมือนกับว่าฉันไม่เคยเห็นสิ่งนั้นมาก่อนเลยจนถึงบัดนี้, บางครั้งก็ได้พบเจอสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งมีบางคนต้องการให้เขาทำเช่นนั้นกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ว่าอัลลอฮฺ ทรงปกป้องศาสดาของพระองค์ไว้[5]

ท่านมัรฮูมอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวอธิบายเกี่ยวกับโองการนี้ว่า จุดประสงค์ของประโยคว่า «ازلاق به ابصار»  ซ่อนอยู่ในประโยคว่า «لیزلفونک» หมายถึง สายตาอันร้ายกาจ ซึ่งนักตัฟซีรส่วนใหญ่มีความเห็นพร้องต้องกัน, การกระพริบตา หรือสายตาอันร้ายกาจ นั้นเป็นผลอย่างหนึ่งที่เกิดจากจิตวิญญาณ และไม่มีเหตุผลทางสติปัญญาหักล้าง หรือปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ได้ ทว่าเราเห็นเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลที่มาจากสายตาอันร้ายกาจ ขณะเดียวกันเราก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะปฏิเสธได้ว่าสิ่งนั้นไม่จริง เป็นความเชื่อเหลวไหล ที่อุปโลกน์ขึ้นมา[6]

ซะมัคชะรียฺ กล่าวว่า การอ่านโองการดังกล่าวนี้เพื่อป้องกันสายตาอันร้ายกาจ ซึ่งได้รายงานมาจาก ฮะซัน บัศรียฺ (หนึ่งในผู้รู้และเป็นนักไสยศาสตร์คนหนึ่งของฝ่ายซุนนียฺ)[7]

ท่านมัรฮูม อับบาซกุมกี นักรายงานฮะดีซ และเป็นผู้เขียนหนังสือ มะฟาตีฮุลญินาน ขณะที่เขียนหนังสือท่านได้กล่าวถึงการป้องกัน สายตาอันร้ายกาจ ว่า เพื่อมิให้เกิดโรคร้ายที่เกิดจากสายตาอันร้ายกาจ ให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะฮลัม ที่กล่าวว่า «ان یکاد...» [8]

อย่างไรก็ตามรายงานที่มีอยู่ในตัฟซีรต่างๆ ที่อธิบายถึงโองการข้างต้นนี้ บ่งบอกให้เห็นว่า การอ่านโองการดังกล่าว เพื่อป้องกันสายตาร้ายกาจ ซึ่งเป็นเหตุนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้[9]

นักรายงานฮะดีซท่านหนึ่งนามว่า มัรฮูมอัลลามะฮฺ มัจญฺลีซ (รฮ.) อธิบายถึงการป้องกันสายตาร้ายกาจ, หลังจากอธิบายรายงานที่กล่าวไว้ในตัฟซีรดุรุลมันซูร ดังที่กล่าวผ่านไปแล้ว, ท่านมัรฮูม ได้รายงานมาจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงการป้องกันสายตาร้ายกาจ โดยกล่าวว่า : บุคคลที่หวั่นกลัวสายตาของเขาจะเกิดสิ่งไม่ดีกับคนอื่น หรือสายตาของคนอื่นจะเกิดสิ่งไม่ดีกับเขาให้อ่านประโยคนี้ 3 ครั้งว่า  «ماشاء الله لاقوة الا بالله العلی العظیم».หรือกล่าวว่า : ให้อ่านอัลกุรอาน บทฟะลัก และบทอันนาซ อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่าให้อ่าน บทฟาติฮะฮฺ และบทเตาฮีด อย่างไรก็ตามคำอธิบายดังกล่าวนี้ก็มิได้ขัดแย้งกับโองการที่กำลังกล่าวถึงแต่อย่างใด[10]

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่แน่นอนคือ สายตาร้ายกาจ นั้นสามารถป้องกันได้ด้วยดุอาอฺบางบท

ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 24, หน้า 426.

 


[1] ดุรุลมันษูร, หน้า 651

[2] อัลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 569 ฮะดีซที่ 3 กล่าวว่า

عَلِيُّ بْنُ إِبْرَاهِيمَ عَنْ أَبِيهِ عَنْ بَعْضِ أَصْحَابِهِ عَنِ الْقَدَّاحِ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ قَالَ أَمِيرُ الْمُؤْمِنِينَ ع رَقَى النَّبِيُّ ص حَسَناً وَ حُسَيْناً فَقَالَ أُعِيذُكُمَا بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّاتِ وَ أَسْمَائِهِ الْحُسْنَى كُلِّهَا عَامَّةً مِنْ شَرِّ السَّامَّةِ وَ الْهَامَّةِ وَ مِنْ شَرِّ كُلِّ عَيْنٍ لَامَّةٍ وَ مِنْ شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ ثُمَّ الْتَفَتَ النَّبِيُّ ص إِلَيْنَا فَقَالَ هَكَذَا كَانَ يُعَوِّذُ إِبْرَاهِيمُ إِسْمَاعِيلَ وَ إِسْحَاقَ ع‏

[3] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ หน้า 547, 547 «العین حق والرقی حق»

[4] وَ إِن يَكاَدُ الَّذِينَ كَفَرُواْ لَيزُلِقُونَكَ بِأَبْصَارِهِمْ لَمَّا سمَعُواْ الذِّكْرَ وَ يَقُولُونَ إِنَّهُ لمَجْنُونٌอัลกุรอานบท เกาะลัม, 51.

[5] อัลกิชาฟ, ซะมัคชะรียฺ, เล่ม 3 และ 4, หน้า 1278, พิมพ์ที่ ดารุลอะฮฺยา

[6] อัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 648.

[7] อัลกิชาฟ, ซะมัคชะรียฺ, เล่ม 3, หน้า 4, หน้า 1279

[8] มะฟาตีฮุลญินาน, เชคอับบาซ กุมมียฺ, หน้า 319, มัรฮูมกุมกี สะฟีนะตุลบิฮาร กล่าวว่า ให้อ่านโองการดังกล่าวเพื่อป้องกัน สายตาร้ายกาจ

[9]ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 651, ตัฟซีรนะซีมเราะฮฺมัต, หน้า 71, ตัฟซีรนูร อัซซะเกาะลัยนฺ, เล่ม 5, หน้า 400, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ,เล่ม 24, หน้า 426

[10] ฮิลลียะตุลมุตตะกีน, อัลลามะฮฺมัจญฺลิซซียฺ, หน้า 319, พิมพ์ที่ฮิจญฺรัต

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6017 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...
  • กาสาบานต่อท่านศาสดาและอิมามในเดือนรอมฎอนคือ สาเหตุทำให้ศีลอดเสียหรือ?
    6943 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    การสาบาน มิใช่หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ศีลอดเสีย แต่ถ้าได้สาบานโดยพาดพิงสิ่งโกหกไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่านโดยตั้งใจ ซึ่งสาเหตุนี้เองที่กล่าวว่า เป็นการโกหกที่พาดพิงไปยังอัลลอฮฺ ศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่าน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย ส่วนคำสาบานต่างๆ ที่อยู่ในบทดุอาอฺไม่ถือว่าโกหก ทว่าเป็นการเน้นย้ำและอ้อนวอนให้ตอบรับดุอาอฺที่ขอต่ออัลลอฮฺ ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสียแต่อย่างใด ...
  • อิสลามมีกฏเกณฑ์อย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว?
    21574 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/09
    อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกันหนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือความต้องการทางเพศทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจะต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้อิสลามถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงานไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสื่อหากเป็นไปด้วยความไคร่หรือเกรงว่าจะเกิดความไคร่ถือว่าไม่อนุมัติแต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงานวิชาการและการศึกษาถือเป็นที่อนุมัติเฉพาะในกรณีที่ไม่โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ...
  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8637 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง
  • แนวทางความคุ้นเคยกับอัลกุรอาน และความหลงใหลคืออะไร?
    7642 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากท่นได้อ่านอัลกุรอาน, เพียงแค่เนียตเพื่ออัลลอฮฺพร้อมกับใคร่ครวญและปฏิบัติตาม, เท่านี้ความรักในอัลกุรอานก็จะเกิดขึ้นโดยปริยายและจะทำให้มนุษย์มีความรักต่ออัลกุรอาน ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    6218 تاريخ بزرگان 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6539 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • ฮัมมาดะฮ์เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และมีบุคลิกอย่างไร?
    6976 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    ตำราวิชาสายรายงานฮะดีษระบุว่ามีสตรีที่ชื่อ “ฮัมมาดะฮ์” สองคน คนหนึ่งชื่อ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ เราะญาอ์” ส่วนอีกคนคือ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ ฮะซัน” แต่สันนิษฐานว่าสองรายนี้คือคนๆเดียวกัน สุภาพสตรีท่านนี้เป็นสาวิกาของท่านอิมามศอดิก(อ.) ซึ่งกุลัยนีและเชคเศาะดู้กได้รายงานฮะดีษของอิมามศอดิกจากนาง[1] ท่านนะญาชีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อซิยาด บิน อีซา อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ ส่วนเชคฏูซีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อ เราะญาอ์ บิน ซิยาด จะเห็นได้ว่ามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในเรื่องชื่อของพี่ชายและบิดาของนาง ทำให้เข้าใจได้ว่าน่าจะมีสตรีสองคนที่ชื่อฮัมมาดะฮ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสำนวนของนะญาชีทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าสองคนนี้แท้ที่จริงก็คือสตรีคนเดียวกัน เหตุผลที่นำมาชี้แจงก็คือ[2] อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ มีชื่อจริงว่า ซิยาด บิน อบีเราะญาอ์ (มิไช่แค่เราะญาอ์) ส่วนชื่อจริงของอบูเราะญาอ์คือ มุนซิร หรือซิยาด ผลที่ได้ก็คือ ...
  • การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
    9267 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้ถามอัลกุรอานว่าเราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือเรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใดเว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ"وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" อิบาดะฮฺ
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5391 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...