การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6713
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/02
คำถามอย่างย่อ
การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
คำถาม
โองการที่ 62 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์กล่าวว่า “โอ้บนีอิสรออีล จงรำลึกเถิดยามที่เราได้รับคำมั่นจากสูเจ้าและได้ยกภูเขาฏู้รเหนือศีรษะสูเจ้า อีกทั้งบัญชาแก่สูเจ้าให้ปฏิบัติตามหลักแห่งเตาร้อตอย่างศรัทธามั่น จงสำเหนียกเสมอ หวังว่าสูเจ้าจะได้รับชัยชนะ” โองการนี้เล่าถึงการยกภูเขาทั้งลูกภายหลังรับคำมั่นสัญญาจากบนีอิสรออีล คงไม่ต้องอธิบายว่าเรื่องนี้ขัดต่อหลักวิชาการเพียงใด แต่หากจะอ้างว่าการยกภูเขาฏู้รเกิดขึ้นในยุคสร้างโลก ถ้าเช่นนั้นการระบุว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ่นภายหลังรับคำสัญญาจากบนีอิสรออีลก็ไม่มีประโยชน์ใดๆเว้นแต่จะชี้ให้เห็นถึงความสับสนของผู้ประพันธ์กุรอาน แล้วคุณจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา

คำตอบเชิงรายละเอียด

โองการที่หกสิบสอง ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์กล่าวถึงกลุ่มชนบนีอิสรออีลโดยมีข้อสังเกตุสองประการต่อไปนี้
1. การรับคำมั่นสัญญาโดยบนีอิสรออีล: กุรอานและเตาร้อตได้กล่าวถึงพันธสัญญานี้บางมาตรา[1] อันได้แก่ เอกานุภาพของพระองค์, ศรัทธาต่อศาสนทูตของพระองค์ทุกท่าน, การปรนนิบัติบุพการี เครือญาติ เด็กกำพร้าและผู้ยากไร้, การบริจาคในหนทางของพระองค์, การพูดดี, การนมาซ, การจ่ายซะกาต, งดเว้นการหลั่งเลือด ฯลฯ โดยในโองการที่สิบสอง ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ พระองค์ทรงสัญญาว่าหากกระทำเช่นนี้จะได้เป็นชาวสวรรค์

2. เหตุการณ์ที่ภูเขาฏู้รลอยขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีล
ตำราตัฟซี้รต่างระบุว่าเหตุการณ์ยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในยุคของท่านนบีมูซา (อ.) หาไช่เรื่องที่เกิดขึ้นช่วงเริ่มแรกการสร้างโลกไม่ โองการที่มีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบนีอิสรออีลนั้น ล้วนยืนยันถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวทั้งสิ้น[2]

เฏาะบัรซีรายงานจาก “อิบนิเซด”ว่า เมื่อท่านนบีมูซา(อ.)กลับจากภูเขาฏู้รโดยนำคัมภีร์เตาร้อตมาด้วยนั้น ท่านได้ประกาศแก่กลุ่มชนบนีอิสรออีลว่า “ข้านำมาซึ่งคัมภีร์แห่งฟากฟ้า ที่รวบรวมบทบัญญัติศาสนาที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ จงยึดปฏิบัติเถิด” ทว่าชาวยะฮูดีอ้างว่าบทบัญญัติเหล่านี้สร้างปัญหาแก่พวกตน จึงเริ่มแสดงท่าทีแข็งข้อต่อต้าน อัลลอฮ์จึงบัญชาให้มลาอิกะฮ์ยกหินก้อนมหึมาขึ้นเหนือศีรษะพวกเขา ท่านนบีมูซา(อ.)ประกาศว่า “หากพวกท่านยอมรับพันธสัญญาและปฏิบัติตามคัมภีร์เตาร้อตและคำบัญชาของพระองค์ และยอมขออภัยโทษต่อการแข็งข้อที่เคยกระทำ เมื่อนั้นภัยพิบัติก็จะมลายหายไป แต่หากไม่เป็นไปตามนั้น ทุกคนจะตายกันหมด” สุดท้ายพวกเขายอมจำนนและยอมศิโรราบต่อพระองค์ อีกทั้งยอมรับคัมภีร์เตาร้อตในยามที่หินมหึมาอาจจะตกลงมาเมื่อใดก็ได้ แต่เมื่อพวกเขายอมขออภัยโทษ อะซาบจากพระองค์จึงถูกขจัดไป[3]

ฉะนั้น โองการข้างต้นคือสิ่งที่ยืนยันถึงพลานุภาพของพระองค์ในหน้าประวัติศาสตร์ อันถือเป็นการดัดนิสัยผู้แข็งข้อและผู้ปฏิเสธบทบัญญัติที่เหล่าศาสนทูตได้ประกาศใช้ ซึ่งเมื่อเทียบกับพลานุภาพอันไร้ขีดจำกัดของพระองค์ที่ทรงสร้างจักรวาลอันไกลโพ้น และสร้างดวงดาวจำนวนมหาศาลในอวกาศโดยกำหนดให้มีระยะห่างที่เหมาะสมแล้ว การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา แน่นอนว่าเรื่องดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องเหลือเชื่อในมุมมองปกติ แต่ควรทราบว่าเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ต่างอะไรจากมุอ์ญิซาตของบรรดานบี (อาทิเช่นการชุบชีวิตคนตายโดยนบีอีซา, นำอูฐออกมาจากภูเขาโดยนบีศอลิห์ ฯลฯ) ซึ่งล้วนเป็นปาฏิหารย์ แต่ก็เกิดขึ้นแล้วต่อหน้าธารกำนัลด้วยพลานุภาพของพระองค์

ต้องเรียนชี้แจง ณ ที่นี้ว่า บรรดานักอรรถาธิบายกุรอานมีทัศนะแตกต่างกันเกี่ยวกับการที่ภูเขาฏู้รลอยขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีล บางคนเชื่อว่าอัลลอฮ์ทรงถอนภูเขาฏู้รขึ้นให้ลอยเสมือนเป็นร่มเงาแก่พวกเขา[4] ทัศนะนี้อ้างอิงมาจากโองการที่ว่า “(และจงรำลึกเถิด) เมื่อครั้งที่เราได้ยกภูเขาขึ้นเสมือนร่มเงา โดยพวกเขาหวั่นวิตกว่าจะตกลงมาทับร่างพวกตน (บัดนั้นเราได้กำชับให้ยึดมั่นพันธสัญญาที่ว่า) จงยึดถือสิ่งที่เราประทานแก่สูเจ้า (บทบัญญัติต่างๆ) อย่างมั่นคง จงตระหนักถึงบทบัญญัติเหล่านั้น (และจงปฏิบัติตาม) เพื่อสูเจ้าจะเป็นผู้ยำเกรง”[5]

อย่างไรก็ดี มีทัศนะอื่นๆเกี่ยวกับข้อปลีกย่อยในเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นต้นว่าเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่บริเวณภูเขาฏู้ร แผ่นดินไหวครั้งนั้นรุนแรงถึงขั้นที่ว่าผู้คนที่อยู่เชิงเขาเห็นเงาของยอดเขาเหนือศีรษะของตนเอง ต่างก็ตื่นตระหนกว่าอาจจะถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ แต่ด้วยกรุณาธิคุณของพระองค์ทำให้แผ่นดินไหวสงบลง และภูเขาก็คืนสภาพเดิม[6]

อีกทัศนะหนึ่งเชื่อว่าอาจจะเกิดแผ่นดินไหวโดยพระประสงค์ของพระองค์ อันเป็นเหตุให้ก้อนหินมหึมาแยกจากภูเขาและลอยข้ามหัวพวกเขาไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้คนตื่นตระหนกว่าอาจจะตกลงมาทับพวกเขา[7]

อย่างไรก็ดี คาดว่าคำชี้แจงบางประการข้างต้นเป็นไปเพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าปาฏิหารย์(มุอ์ญิซาต)ดังกล่าวมิไช่เรื่องที่แปลกประหลาดแต่อย่างใด เนื่องจากพยายามอธิบายให้สอดคล้องกับหลักพื้นฐานทางวิชาการมนุษย์
เราเชื่อว่าเหตุการณ์ใดก็ตามที่มิได้เป็นเรื่องเหลือเชื่อในแง่สติปัญญา ย่อมสามารถจะเกิดขึ้นได้โดยพลานุภาพของพระองค์โดยไม่จำเป็นต้องชี้แจงให้มากความ ส่วนการแจงแจงเกี่ยวกับรายละเอียดของมุอ์ญิซาตนั้น ควรอ้างอิงหลักฐานทางศาสนาประกอบกับหลักความเป็นไปได้ทางสติปัญญาเท่านั้น

 

 


[1] อัลมาอิดะฮ์,12

[2] อัลบะเกาะเราะฮ์,93 อันนิซาอ์,154 อัลอะอ์ร้อฟ,171

[3] มะการิม ชีรอซี,นาศิร, ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 1,หน้า 294,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี 1374

[4] เฏาะบัรซี, ฟัฎล์ บิน ฮะซัน, มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 4,หน้า 764 (ใต้โองการที่ 171 อัลอะอ์ร้อฟ),สำนักพิมพ์นาศิร โคสโร,เตหราน,ปี 1372

[5] อัลอะอ์ร้อฟ,171

[6] เราะชี้ด ริฎอ,มุฮัมมัด, ตัฟซี้รอัลมะน้าร,ใต้โองการที่กำลังกล่าวถึง, ใน ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 1,หน้า 294

[7] มะการิม ชีรอซี,นาศิร, ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 1,หน้า 294

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • คำพูดของอิมามศอดิกที่ว่า “ยี่สิบห้าอักขระแห่งวิชาการจะแพร่หลายในยุคที่อิมามมะฮ์ดีปรากฏกาย” หมายความว่าอย่างไร?
    7269 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/04
    ความเจริญรุดหน้าทางวิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกาย วิทยาการจะรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคนี้ ดังที่ปรากฏในฮะดีษที่ผู้ถามอ้างอิงไว้ข้างต้น อย่างไรก็ดี ฮะดีษทำนองนี้มิได้ระบุว่ามนุษย์ในยุคดังกล่าวจะสามารถเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างรวดเร็วเหมือนกันหมดทุกคน ทว่าฮะดีษของอิมามศอดิก(อ.)ข้างต้นใช้คำว่า “أخرج”[1] อันหมายถึงการที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะนำอักขระที่เหลือออกมาเผยแพร่ เพื่อให้มนุษยชาติได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อันเป็นการแผ่ขยายโอกาสอย่างกว้างขวาง แต่การที่ทุกคนสามารถจะเรียนรู้ได้ครบยี่สิบเจ็ดอักขระเท่าเทียมกันได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความไฝ่รู้ของแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีบุคคลจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่บรรลุถึงวิทยฐานะอันสูงส่ง โดยจะเป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาและประสิทธิประสาทวิชาการแก่ผู้ที่สนใจสืบไป ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า “เสมือนว่าฉันกำลังเห็นเหล่าชีอะฮ์ของฉันกางเต๊นท์ในมัสญิดกูฟะฮ์เพื่อเป็นสถานที่สอนความรู้อันบริสุทธิจากอัลกุรอานแก่ประชาชน”[2] ข้อสรุป: แม้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปิดศักราชแห่งการศึกษาวิทยาการถึงยี่สิบเจ็ดอักขระภายหลังจากที่ท่านปรากฏกาย อันกล่าวได้ว่าอาจเป็นโอกาสในการก้าวกระโดดทางวิชาการ แต่ก็มีบางคนในยุคนั้นที่ไม่สามารถจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ การจะบรรลุเป้าหมายทางวิชาการจะต้องอาศัยความพากเพียร เปรียบดั่งเป้าหมายแห่งตักวาที่ทุกคนสามารถไขว่คว้ามาได้ด้วยความบากบั่น ฉะนั้น ในเมื่อการบรรลุถึงจุดสูงสุดของตักวายังต้องอาศัยความอุตสาหะ การบรรลุถึงวิชาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระก็ต้องอาศัยความพยายามและความมุมานะเช่นกัน
  • ความหมายของประโยคที่กล่าวว่า «السلام علیک یا حجة الله لا تخفی» คืออะไร?
    7172 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    เป็นประโยคหนึ่งจากซิยาเราะฮ์ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งได้บันทึกไว้ในหนังสือฮะดีษและดุอาอ์ต่าง ๆ[1] เกี่ยวกับประโยคดังกล่าวสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประการ อิมามมะฮ์ดี(อ.) เป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการเป็นฮุจญะฮ์ได้รับการพิสูจน์โดยเหตุผลทางสติปัญญาและฮะดีษแล้ว[2] ดังนั้นการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ชัดเจนแน่นอน และเป็นที่ยอมรับสำหรับทุกคนที่มีความคิดและสติปัญญาที่สมบูรณ์ อิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งเป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อยู่ในหมู่พวกเรา และไม่ได้จากไปไหน แต่ทว่าเรามองไม่เห็นท่าน เสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่หลังก้อนเมฆ[3] ดังนั้น แม้ว่าร่างกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) จะไม่ปรากฏให้สาธารณะชนเห็นเนื่องด้วยภัยคุกคามหรือเหตุผลอื่นๆ แต่การรู้จักท่าน ตลอดจนภาวะการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ประจักษ์สำหรับผู้คนอย่างชัดเจน และทุกคนรับรู้ในสิ่งนี้เป็นอย่างดี ท่านอยู่ในดวงใจของผู้ศรัทธามิเสื่อมคลาย และประชาชนต่างดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคำแนะนำและภายใต้การดูแลของท่านเสมอมา อ่านเพิ่มเติมได้ที่
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16939 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • เมื่อกล่าวว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้า จุดประสงค์หมายถึงอะไร ? เฉพาะความหมายรวมๆ เท่านั้นที่มาจากพระเจ้า หรือว่าคำก็ถูกประทานจากพระเจ้าด้วยเช่นกัน
    8335 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    ตามความเป็นจริงแล้วการที่กล่าวว่า อัลกุรอานมาจากอัลลอฮฺ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในระดับต่างๆ  อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ่งและหลากหลาย ซึ่งในแต่ละประเด็นนั้นยังมีความหมายลึกและระเอียดลงไปอีก และในแต่ละคำพูดก็ยังมีคำพูดที่ระเอียดลงไปอีก :ก. เนื้อหาของอัลกุรอานนั้นมาจากพระเจ้าข. นอกจากนี้คำแต่ละคำยังมาจากพระเจ้าค. การรวมคำต่างที่ปรากฏอยู่ในโองการก็มาจากอัลลอฮฺเช่นกันง. โองการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในบทต่างๆ มาจากอัลลอฮฺ
  • แต่ละเมืองสามารถมีนมาซวันศุกร์ได้เพียงแห่งเดียวไช่หรือไม่?
    5589 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/11
    ต่อข้อคำถามดังกล่าวบทบัญญัติศาสนาให้ถือระยะห่างระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งเป็นเกณฑ์.บรรดามัรญะอ์ระดับสูงระบุว่า: ระยะห่างหนึ่งฟัรสัค(6กม.) ถือเป็นระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งหากมีการนมาซวันศุกร์สักแห่งแล้วไม่ควรมีนมาซวันศุกร์แห่งอื่นภายในรัศมีหนึ่งฟัรสัคอีกฉะนั้น การนมาซวันศุกร์สองแห่งที่เว้นระยะห่างหนึ่งฟัรสัคแล้วถือว่าถูกต้องทั้งสองแห่ง. อนึ่ง พิกัดที่ใช้วัดระยะห่างในที่นี้คือสถานที่จัดนมาซวันศุกร์มิได้วัดจากเขตเมือง เมืองใหญ่ที่มีรัศมีหลายฟัรสัคจึงสามารถจัดนมาซวันศุกร์ได้หลายแห่ง.[1]แต่หากเมืองใดมีการนมาซวันศุกร์สองแห่งโดยเว้นระยะห่างไม่ถึงหนึ่งฟัรสัค, ที่ใดที่เริ่มช้ากว่าให้ถือว่าเป็นโมฆะ แต่หากทั้งสองแห่งกล่าวตักบีเราะตุลเอียะฮ์รอมพร้อมกันให้ถือว่าทั้งสองเป็นโมฆะ.
  • ภารกิจของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) หลังจากปรากฏกายแล้วคืออะไร? แล้วเป็นไปได้ไหมที่ท่านจะถูกทำชะฮาดัตโดยน้ำมือของสตรีชราที่มีนวดเครา?
    5995 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้จัดตั้งทั้งด้านวัตถุปัจจัยและด้านคุณธรรมมโนธรรมเพื่อจะได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งความยุติธรรมขึ้นมาปกครองโลกซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดบนโลกนี้ ท่านจะเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมเกียรติและคุณค่าของความเป็นมนุษย์พร้อมกับเรียกร้องไปสู่ความปลอดภัยชีวิตมนุษย์จะกลายเป็นชีวิตแห่งพระเจ้าในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
    9596 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    เตาฮีด หมายถึงความเป็นเอกะหรือเอกเทศ, เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หมายถึงจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง, สรรพสิ่งที่มีอยู่, ร่องรอยและกิจการงานของพวกเขา, แม้แต่มนุษย์และผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา หรือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ โดยความเป็นจริงแล้วและมิได้เป็นการกล่าวอย่างเลยเถิด ทั้งหมดเหล่านั้นคือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกใบนี้คือ สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าบางสิ่งปราศจากสื่อและบางสิ่งมีสื่อในการสร้าง ...
  • มีรายงานฮะดีซจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชูรอหรือไม่? และศีลอดนี้ถือเป็นศีลอดมุสตะฮับด้วยหรือไม่?
    6713 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    ตาราฮะดีซที่เชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺ, ไม่มีรายงานฮะดีซทำนองนี้ปรากฏให้เห็นทีว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า, การถือศีลอดในวันอาชูรอเป็นมุสตะฮับ,
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    6819 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11786 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38425 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...