การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11874
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa760 รหัสสำเนา 14723
คำถามอย่างย่อ
เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
คำถาม
เกี่ยวกับการใช้ชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นอิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่น หรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้ อาทิเช่น

1. ในการตีความของคำว่ามินดาบะตินในโองการที่กล่าวว่า  :และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์ คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสอง และพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์[1]

2.ในการตีความประโยคที่ว่ามันฟิซซะมาวาติและมาฟิซซะมาวาติในโองการที่กล่าวว่า :

ทั้งหมดที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินต่างวอนขอต่อพระองค์ ,ทุก  วันพระองค์ทรงมีภารกิจ[2]

สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน ที่เป็นเหล่าสัตว์โลกและมลาอิกะฮฺ,จะกราบอัลลอฮฺเท่านั้น ขณะที่พวกเขา (มลาอิกะฮฺ) จะไม่หยิ่งผยอง,[3]

ชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและแผ่นดิน และทุกคนที่อยู่ในนั้นต่างสดุดีสรรเสริญแด่พระองค์[4]

3. ในการตีความประโยคที่ว่ามะชาริกิวะมะฆอริบิในโองการที่กล่าวว่า :

ขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลแห่งทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่า แท้จริงเรา เป็นผู้มีความสามารถ[5]

4. ในการตีความประโยคที่ว่าอัลอาละมีน[6] ในโองการที่กล่าวว่า :

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก[7]

บรรดาโองการต่างๆ ที่ยกมานั้น เฉพาะโองการแรก[8] และโองการที่มีคำว่า อัลอาละมีน เท่านั้นที่มีความเป็นไปได้ว่าโองการอาจบ่งชี้ให้เห็นถึงสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่น[9]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี (รฮ.) อธิบายโองการแรกไว้ว่า : ภายนอกของโองการให้ความหมายว่าในชั้นฟ้าทั้งหลาย มีสิ่งมีชีวิตอื่น (สรรพสัตว์) เหมือสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้[10]

เจ้าของตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า : โองการนี้บ่งบอกให้เห็นว่ามีสิ่งมีชีวิตในชั้นฟ้าอื่นอีก แม้ว่าปัจจุบันนักวิชาการยังไม่พบหลักฐานแน่นอน และยังไม่ได้ประเมินผลประเด็นดังกล่าวก็ตาม แต่ได้ลงความเห็นคร่าวๆ ว่า มีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่น, แต่อัลกุรอานได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาถึงความจริงดังกล่าวว่า ในท้องฟ้าอันกว้างไพศาลนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น,อีกมากมาย[11]

รายงานฮะดีซจากท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า :บรรดาดาวทั้งหลายที่อยู่ในฟากฟ้า,ประหนึ่งเมืองต่างๆบนโลกนี้, ซึ่งแต่ละเมือง (ดาวแตะละดวงมีสัมพันธ์กับดาวดวงอื่น) มีความเกี่ยวข้องกันของแสง[12]

เกี่ยวกับการบ่งชี้ของโองการดังกล่าวที่ว่า มีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นนั้น จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้

1. คำว่าสะมาอฺและสะมาวาตในอัลกุรอานนั้น มีหลายความหมายด้วยกัน เช่น : หมายถึงด้านบน, ดาวเคราะห์ในฟากฟ้า, ชั้นบรรยากาศของพื้นโลก และ ...[13]

การบ่งชี้ของโองการถึงสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ คำว่าสะมาวาตในโองการที่กำลังวิพากกันอยู่ให้ความหมายว่า ดาวเคราะห์แห่งฟากฟ้า ขณะที่เป็นไปได้ว่าคำว่าสะมาวาตในโองการข้างต้นอาจหมายถึง ชั้นต่างๆ ของชั้นบรรยากาศที่อยู่รายลอบพื้นโลก และวัตถุประสงค์ของ ดาบะติน อาจหมายถึง ชิ้นส่วนเล็ก  (เช่นไวรัส, ฯลฯ) และสิ่งของขนาดใหญ่ (เช่น นกทั้งหลาย) ที่มีการกระจายตัวในบรรยากาศรอบตัวเรา

2. ประกอบกับปัจจุบันในแง่ของความรู้และวิชาการ ยังมิได้มีการพิสูจน์แน่ชัดลงไปว่ายังมีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นอีก เพียงแค่เป็นการคาดการณ์ว่าน่าจะมีเท่านั้น, ด้วยเหตุนี้ จึงไม่อาจกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า, มีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นโดยพาดพิงไปถึงอัลกุรอานได้.

สรุปได้ว่า อัลกุรอานกลุ่มโองการบนพื้นฐานของการตีความที่เป็นไปได้ ของความเชื่อมั่นทางวิชาการในอนาคต ซึ่งเนื้อหาทางวิชาการ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์โดยนักวิชาการทั้งหลาย



[1] อัลกุรอาน บทชูรอ โองการ 29 : "و من آیاته خلق السموات و الارض و ما بث فیهما من دابة و هو علی جمعهم اذا یشاء قدیر

[2] อัลกุรอาน บทอัรเราะฮฺมาน โองการ 29 : "یسئله من فی السموات و الارض کل یوم هو فی شأن"

[3] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ โองการ 49 : "و لله یسجد ما فی السموات و ما فی الارض من دابٌة و الملائکة و هم لا یستکبرون"

[4] อัลกุรอาน บทอัลอิสรออฺ โองการ 44 : "تسبح له السموات السبع و الارض و من فیهن"

[5] อัลกุรอาน บทอัลมะอาริจญ์ โองการ 40 : "فَلا أُقْسِمُ بِرَبِّ الْمَشارِقِ وَ الْمَغارِبِ إِنَّا لَقادِرُون"، โองการที่ 5 บทอัซซอฟาต, โองการที่ 137 บทอะอฺรอฟ.

[6]  คำๆ นี้ถูกกล่าวในอัลกุรอานถึง 61 ครั้งด้วยกัน

[7] อัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ โองการ 2

[8] อัลกุรอาน บทชูรอ โองการ 29.

[9]  เพื่อการศึกษาเพิ่มเติม ศึกษาได้จากหนังสือ : ริฏออียฺ เอซฟาฮานี, พะชูฮิชชียฺ ดัร อิอฺญาซ อิลมี กุรอาน,เล่ม 1 หน้า 195-206.

[10]  ศึกษาได้จาก : ตัฟซีร อัลมีซาน, เล่ม 18, หน้า 58

[11] ศึกษาได้จาก : ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 20, หน้า 436-439.

[12] สะฟีนะตุลบิฮาร, เล่ม 2, หน้า 574, หมวดคำว่านัจมุ”, คัดลอกมาจาก ตัฟซีร อะลี บิน อิบรอฮีมว่า 

"ذه النجوم فی السماء مدائن مثل المدائن التی فی الارض مربوطة کل مدینة الی عمود من نور"

[13]ศึกษาได้จาก : ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 1, หน้า 165-166.  

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    9607 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • น้ำยาบ้วนปากซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ จะมีฮุกุ่มอย่างไร?
    7978 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    แอลกอฮอล์ชนิดที่ยังคลางแคลงใจว่าเป็นน้ำเมา[1]แต่เดิมหรือไม่นั้นให้ถือว่าสะอาดและสามารถค้าขายหรือใช้ผลิตพันธ์ที่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าวเป็นส่วนผสมได้ตามปกติ[2]
  • เราสามารถที่จะทำน้ำนมาซหรืออาบน้ำยกฮะดัษทั้งที่ได้เขียนตาไว้หรือไม่?
    5792 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆที่จะสกัดกั้นมิให้น้ำไหลถึงผิวได้ดังนั้นหากได้เขียนในวงขอบตาการอาบน้ำนมาซและการอาบน้ำยกฮะดัษถือว่าถูกต้องแต่ถ้าหากได้เขียนบริเวณรอบตาหรือบริเวณคิ้วก็จะต้องพิจารณาว่ามีความหนาแน่นถึงขั้นสกัดมิให้น้ำเข้าไปถึงบริเวณที่จะต้องทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษหรือไม่?เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่บรรดาฟุกะฮาอ์มีทัศนะเอกฉันท์จึงขอยกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวของท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัตมาณที่นี้“หากได้เขียนบริเวณรอบนอกของดวงตาและที่เขียนตามีความมันจนคนทั่วไปเชื่อว่าจะสกัดกั้นมิให้น้ำเข้าถึงและมั่นใจว่าเขียนขอบตาก่อนที่จะทำการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหม่”[1][1]บะฮ์ญัต, มุฮัมหมัดตะกี, การวินิจฉัย, เล่มที่ 1,สำนักพิมพ์ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต
  • ขนแมวมีกฎว่าอย่างไร?
    11098 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ถ้าหากวัตถุประสงค์ของคำถามถามว่าขนแมวในทัศนะของฟิกฮฺมีกฎว่าอย่างไร? ต้องกล่าวว่าในหมู่สัตว์ทั้งหลายเฉพาะสุนัขและสุกรที่ใช้ชีวิตบนบกนะยิส[1]ด้วยเหตุนี้แมวที่มีชีวิตและขนของมันถือว่าสะอาดแต่อุจจาระและปัสสาวะแมว[2]นะยิสซึ่งกฎข้อนี้มิได้จำกัดเฉพาะแมวเท่านั้นทว่าอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม (ห้ามบริโภค) และมีเลือดไหลพุ่งขณะเชือดถือว่านะยิส
  • มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
    8267 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22706 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7235 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • แนวทางความคุ้นเคยกับอัลกุรอาน และความหลงใหลคืออะไร?
    7634 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากท่นได้อ่านอัลกุรอาน, เพียงแค่เนียตเพื่ออัลลอฮฺพร้อมกับใคร่ครวญและปฏิบัติตาม, เท่านี้ความรักในอัลกุรอานก็จะเกิดขึ้นโดยปริยายและจะทำให้มนุษย์มีความรักต่ออัลกุรอาน ...
  • การบริจาคทรัพย์ฮะรอม กฎเกณฑ์ว่าอย่างไร?
    5835 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การวะกัฟจะถือว่าถูกต้องก็ต่อเมื่อ, ตนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ต้องการวะกัฟอย่างถูกต้อง[1]ดังนั้นการวะกัฟทรัพย์สินที่ได้ขู่กรรโชก

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59384 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56832 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41663 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38412 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38411 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33442 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27535 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27230 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27124 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25197 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...