การค้นหาขั้นสูง

คลังคำตอบ(คำสำคัญ:การสาบาน)

คำถามสุ่ม

  • การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญในกรณีที่อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตถึงว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    5875 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/02
    การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญเพื่อเยี่ยมเยียนวสุสานอันบริสุทธิ์ของบรรดาอาอิมมะฮ์ (อ.) ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอิมาม(อ.) เนื่องจากจะช่วยเชิดชูเกียรติภูมิผลงานและความทรงจำเกี่ยวกับบรรดาอิมาม(
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    5955 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
    9728 จริยธรรมทฤษฎี 2554/03/08
    ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน – อาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้าและการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิดซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกันอันก่อให้เกิดความก้าวหน้า
  • ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำนายฝันได้?
    7873 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    แม้การฝันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนในชีวิตประจำวัน  แต่จนถึงบัดนี้นักวิชาการก็ยังไขปริศนาเกี่ยวกับความฝันไม่ได้อัลกุรอานกล่าวถึงท่านนบียูซุฟที่หยั่งรู้เหตุการณ์จริงจากความฝัน[1]และยังได้รับพรจากอัลลอฮ์ให้สามารถทำนายฝันได้อย่างแม่นยำ[2]ท่านเคยทำนายฝันของเพื่อนนักโทษในเรือนจำและมีโอกาสได้ทำนายฝันกษัตริย์แห่งอิยิปต์อีกด้วยจึงกล่าวได้ว่าการทำนายฝัน (หรือที่กุรอานเรียกว่าการ“ตีความ”[3]ฝัน) เป็นศาสตร์ที่มีอยู่จริงและพระองค์ทรงประทานแก่ศาสนทูตของพระองค์
  • แต่ละเมืองสามารถมีนมาซวันศุกร์ได้เพียงแห่งเดียวไช่หรือไม่?
    5587 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/11
    ต่อข้อคำถามดังกล่าวบทบัญญัติศาสนาให้ถือระยะห่างระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งเป็นเกณฑ์.บรรดามัรญะอ์ระดับสูงระบุว่า: ระยะห่างหนึ่งฟัรสัค(6กม.) ถือเป็นระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งหากมีการนมาซวันศุกร์สักแห่งแล้วไม่ควรมีนมาซวันศุกร์แห่งอื่นภายในรัศมีหนึ่งฟัรสัคอีกฉะนั้น การนมาซวันศุกร์สองแห่งที่เว้นระยะห่างหนึ่งฟัรสัคแล้วถือว่าถูกต้องทั้งสองแห่ง. อนึ่ง พิกัดที่ใช้วัดระยะห่างในที่นี้คือสถานที่จัดนมาซวันศุกร์มิได้วัดจากเขตเมือง เมืองใหญ่ที่มีรัศมีหลายฟัรสัคจึงสามารถจัดนมาซวันศุกร์ได้หลายแห่ง.[1]แต่หากเมืองใดมีการนมาซวันศุกร์สองแห่งโดยเว้นระยะห่างไม่ถึงหนึ่งฟัรสัค, ที่ใดที่เริ่มช้ากว่าให้ถือว่าเป็นโมฆะ แต่หากทั้งสองแห่งกล่าวตักบีเราะตุลเอียะฮ์รอมพร้อมกันให้ถือว่าทั้งสองเป็นโมฆะ.
  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    5951 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12088 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
    6956 ประวัติสถานที่ 2554/08/08
    มัสญิดญัมกะรอนหนึ่งคือในสถานที่ศักดิสิทธิและเป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุมประมาณ๖กิโลเมตรมัสญิดแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ๑๐๐๐ปีที่แล้วโดยคำสั่งของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างได้รับคำสั่งดังกล่าวในขณะตื่น (ไม่ใช่ในฝัน) ซึ่งความเมตตาและสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้ปรากฎณสถานที่แห่งนี้อีกทั้งเป็นสถานที่นัดหมายสำหรับผู้ที่รอคอยการมาของท่านและมีความรักต่อท่านมัรฮูมมิรซาฮูเซนนูรีได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนโดยอ้างอิงจากเชคฟาฏิลฮะซันบินฮะซันกุมี (อยู่ยุคสมัยเดียวกับเชคศอดูก) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองกุม”[1] จากหนังสือ “มูนิซุลฮะซีนฟีมะอ์ริฟะติลฮักวัลยะกีน”[2] ว่า:[3]เชคอะฟีฟศอและฮ์ฮะซันบินมุซลิฮ์ยัมกะรอนีได้กล่าวว่า: ในคือวันพุธที่๑๗เดือนรอมฏอนปี๓๙๓ฮ. ฉันได้นอนอยู่ในบ้านทันใดนั้นได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งมาที่ประตูบ้านของฉันและได้ปลุกฉันและได้กล่าวกับฉันว่าจงลุกขึ้นและทำตามความต้องการของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งท่านได้เรียกหาท่านอยู่พวกเขาได้พาฉันมาสถานที่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายมาเป็นมัสญิดญัมกะรอนแล้วท่านอิมามมะฮ์ดีได้เรียกชื่อของฉันและได้กล่าวว่า: “ไปบอกกับฮะซันบินมุสลิมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันบริสุทธ์ที่อัลลอฮ์ทรงเลือกและให้สถานที่แห่งนี้มีความบริสุทธ์เจ้าได้ยึดครองสถานที่แห่งนี้...ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า: จงบอกประชาชนว่าให้รักและหวงแหนสถานที่แห่งนี้”[4]อายาตุลลอฮ์อัลอุซมามัรอะชีนะญะฟีได้กล่าวยอมรับความศักดิ์สิทธิของมัสญิดญัมกะรอนว่า: ชีอะฮ์ทั่วไปให้ความสำคัญต่อมัสญิดอันศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ตั้งแต่สมัยของการเร้นกายระยะแรกของท่านอิมามมะฮ์ดีจนถึงปัจจุบันซึ่งกินระยะเวลาถึงพันสองร้อยสองปีท่านเชคผู้สูงส่งมัรฮูมศอดูกได้กล่าวในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “มูนิซุลฮะซีน” ซึ่งฉันยังไม่ได้อ่านเองทว่ามัรฮูมฮัจยีมิรซาฮุเซนนูรีซึ่งเป็นอาจารย์ของฉันได้เล่าจากหนังสือเล่มนั้นว่าอุลามาอ์และนักวิชาการชั้นนำของชีอะอ์ให้ความเคารพมัสญิดแห่งนี้กันถ้วนหน้าและสิ่งมหัศจรรย์มากมายได้ปรากฏในมัสญิดญัมกะรอนแห่งนี้
  • กรุณาอธิบายวิธีปฏิบัติและผลบุญของนมาซฆุฟัยละฮ์
    5555 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/03/07
    คำตอบต่อไปนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนตามที่ได้ระบุไว้ในคำถาม หนึ่ง. วิธีนมาซฆุฟัยละฮ์ นมาซฆุฟัยละฮ์เป็นนมาซมุสตะฮับประเภทหนึ่งที่ถือปฏิบัติกันช่วงระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ มีสองเราะกะอัต โดยเราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการต่อไปนี้แทนซูเราะฮ์: وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادى‏ فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَكَ إِنِّي كُنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كَذلِكَ نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ และเราะกะอัตที่สอง หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการนี้แทน
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13346 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33447 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...