การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
21550
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1110 รหัสสำเนา 15749
คำถามอย่างย่อ
อิสลามมีกฏเกณฑ์อย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว?
คำถาม
อิสลามมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีขอบเขต(ไม่แตะต้องเนื้อตัว)?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกัน หนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือ ความต้องการทางเพศ ทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจะต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้น จึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้
อิสลามถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงาน ไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสื่อ หากเป็นไปด้วยความไคร่หรือเกรงว่าจะเกิดความไคร่ ถือว่าไม่อนุมัติ แต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงาน วิชาการและการศึกษา ถือเป็นที่อนุมัติเฉพาะในกรณีที่ไม่โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกัน กุรอานกล่าวว่าหนึ่งในสัญลักษณ์ของพระองค์คือการบันดาลให้สูเจ้ามีคู่ครองที่เสมือนสูเจ้า เพื่อสูเจ้าจะได้รับความสงบจากคู่ครอง และทรงบันดาลความรักความเมตตาให้เกิดแก่สูเจ้า...”[1]
หนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือ ความต้องการทางเพศ ทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจำเป็นต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้น จึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้
เพื่อบำบัดความต้องการดังกล่าว อิสลามได้วางกรอบความสัมพันธ์ไว้ที่การแต่งงาน(ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราว) ฉะนั้นความสัมพันธ์ทุกประเภทที่เกี่ยวกับกามารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยสัพยอกฉอเลาะ การแตะเนื้อต้องตัว ฯลฯ จะกระทำได้หลังจากแต่งงานเท่านั้น กฏนี้ยังครอบคลุมถึงคู่หมั้นที่กำลังจะแต่งงานด้วย ซึ่งไม่อาจทำอะไรเกินเลยขอบเขตได้เช่นกัน แม้แต่การเกี้ยวพาราสีหรือแตะเนื้อต้องตัว

อย่างไรก็ดี อิสลามถือว่าการบำบัดกามารมณ์จะต้องอยู่ในครรลองศาสนาเท่านั้น ซึ่งการแต่งงานชั่วคราวก็ถือเป็นทางออกหนึ่งที่กระทำได้ แต่ทั้งนี้ก็มีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ จะต้องได้รับฉันทานุมัติจากบุพการีฝ่ายหญิงเสียก่อน (เงื่อนไขอื่นๆมีระบุในตำราประมวลปัญหาศาสนา)[2]
บรรดามัรญะอ์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันวินิจฉัยว่า การแต่งงานกับสาวบริสุทธิ์(ไม่ว่าชั่วคราวหรือถาวร)จะต้องได้รับฉันทานุมัติจากบิดาของเธอเสียก่อน หากไม่มีบิดาก็ให้ปู่เป็นผู้ตัดสินใจแทน [3] แต่หากเป็นหญิงที่ผ่านการสมรสแล้ว หรือกรณีหญิงบริสุทธิ์ที่ไม่มีพ่อและปู่ เธอก็ไม่จำเป็นต้องขอฉันทานุมัติใดๆ[4]

ส่วนกรณีที่ต้องการจะติดต่อพูดคุยกับเพศตรงข้ามอย่างเป็นปกติ สามารถกระทำได้หรือไม่?
เราขอตอบโดยอิงคำวินิจฉัยของบรรดามัรญะอ์ตักลี้ดดังต่อไปนี้
คำถาม 1 การติดต่อโดยตรงระหว่างชายหญิง ต่างจากการติดต่อผ่านสื่อหรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: ไม่แตกต่างกันในแง่บทบัญญัติ หากมีอารมณ์ไคร่ในการติดต่อทั้งทางตรงและทางอ้อม ถือว่าไม่อนุญาต[5]
คำถาม2  การแชทหรือพูดคุยเรื่องทั่วไปกับเพศตรงข้าม มีบทบัญญัติว่าอย่างไร?
มัรญะอ์ทุกท่าน: หากเกรงว่าจะเกิดความไม่ดีไม่งามและอารมณ์ไคร่ ถือว่าไม่อนุญาต[6]
คำถาม 3  การทักทายสลามกับเพศตรงข้าม กระทำได้หรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: ในกรณีที่แฝงด้วยกามารมณ์ หรือเกรงว่าจะเกิดอารมณ์ ถือว่าไม่อนุญาต[7]
คำถาม 4 การหยอกล้อกับหญิงที่ไม่ไช่มะฮ์ร็อม(ภรรยา หรือเครือญาติที่ไม่อาจสมรสด้วย) กระทำได้หรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: หากแฝงด้วยกามารมณ์ หรือเกรงว่าจะเกิดอารมณ์ไคร่ ถือว่าไม่อนุญาต[8]
คำถาม 5  การโอภาปราศัยอย่างสนิทสนมระหว่างหนุ่มสาวขณะทำงานหรือตามงานเลี้ยง กระทำได้หรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: กริยาอันเกิดจากความรักระหว่างหนุ่มสาวไม่เป็นที่อนุมัติ เนื่องจากอาจโน้มนำสู่การทำบาป แต่ความสัมพันธ์ในแง่การงานนั้น หากสามารถรักษาขอบเขตศาสนาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสีย ถือว่าไม่เป็นไร[9]
คำถาม 6 การติดต่อกันทางจดหมายหรืออีเมล์โดยสอดแทรกเนื้อหาทางกามารมณ์ กระทำได้หรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: การสอดแทรกเนื้อหาที่จะโน้มนำสู่ความเสื่อมเสีย ถือว่าไม่อนุมัติ[10]

จากคำถามตอบข้างต้น ทำให้ทราบว่าการติดต่อระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงาน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านสื่อ หากมีเจตนาสนองความไคร่หรือเกรงว่าจะโน้มนำสู่บาปและความเสื่อมเสีย ถือว่าไม่เป็นที่อนุมัติทั้งสิ้น
แต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงานหรือเชิงวิชาการและการศึกษา ในกรณีที่มิได้โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ถือว่าเป็นที่อนุมัติ[11]



[1] อัรรูม,22

[2] ประมวลปัญหาศาสนาฉบับรวมมัรญะอ์,เล่ม 2,หน้า 449-460 และตะห์รีรุ้ลวะซีละฮ์,เล่ม 2,หน้า 701-707 และ 734-736

[3] สำนวนดังกล่าวชี้ชัดทั้งในแง่กฏและสถานะ กล่าวคือการสมรสกับหญิงบริสุทธิโดยมิได้รับฉันทานุมัติจากพ่อของเธอ ทั้งเป็นฮะรอมและถือว่าโมฆะ

[4] อ่านเพิ่มเติมที่คำถามหมายเลข 627,667,717,767,754

[5] ถามตอบปัญหาศาสนา,อิมามโคมัยนี,เล่ม 3,คำถามที่ 52 และ ประมวลฯ,.บะฮ์ญัต,คำถามที่ 1936 และ ถามตอบฯ,.มะการิม,เล่ม 1,คำถามที่ 819 และ ถามตอบฯ,.ตับรีซี,เลขที่ 1622 และญามิอุ้ลอะห์กาม,.ศอฟี,เล่ม 2,หน้า 1673. และ ถามตอบฯ,.นูรี,เล่ม 2,คำถามที่ 656 และ ญามิอุ้ลมะซาอิ้ล,เล่ม 2,มาตรา 1673 และ ถามตอบฯ,.คอเมเนอี,คำถามที่ 1145, อัลอุรวะตุ้ลวุษกอ,เล่ม 2,หมวดนิกาห์,ปัญหาที่ 2 และ sistani.org,.ซีสตานี,คำถามที่ 19,20, และถามจากสำนักงานอ.วะฮี้ด

[6] เว็บไซต์อ.ซีสตานี, sistani.org,.ตับรีซี, tabrizi.org และสอบถามจากสนง.ทุกท่าน

[7] อุรวะตุ้ลวุษกอ,เล่ม 2,หมวดนิกาห์,ปัญหาที่ 39,41

[8] อ้างแล้ว,ปัญหาที่ 31,39 และ ญามิอุ้ลมะซาอิ้ล,.ฟาฎิ้ล,เล่ม 1,ปัญหาที่ 1720, และถามตอบฯ,.คอเมเนอี,คำถามที่ 782

[9] ถามตอบฯ,.คอเมเนอี,คำถามที่ 651,779 และถามจากสนง.ของ .ทุกท่าน

[10] ถามตอบฯ,อิมามโคมัยนี,เล่ม, ปกิณกะ,คำถามที่ และถามจากสนง.ของ .ทุกท่าน

[11] คัดจากประมวลฯสำหรับนักศึกษา,ฉบับที่16,หน้า 191-195

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ถ้าหากเป็นการแต่งงานชั่วคราว (มุตอะฮฺ) และฝ่ายชายได้เป็นตัวแทนฝ่ายหญิง เพื่ออ่านอักด์ แต่มิได้บอกกำหนดเวลาและจำนวนมะฮฺรียะฮฺ ถือว่าอักด์ถูกต้องหรือไม่?
    9212 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำตอบจากมัรญิอฺตักลีดบางท่านกล่าวว่า ..สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺ
  • ท่านอับบาสอ่านกลอนปลุกใจว่าอย่างไรขณะกำลังนำน้ำมา
    8692 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/25
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7238 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9117 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    10031 หลักกฎหมาย 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...
  • มีฮะดีษจากอิมามอลี(อ.)บทหนึ่งกล่าวถึงมัสญิดญัมกะรอนและภูเขานบีคิเฎร ซึ่งปรากฏในหนังสืออันวารุ้ลมุชะอ์ชิอีน ถามว่าฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้เพียงใด และนับเป็นอภินิหารของท่านหรือไม่?
    6934 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    แม้จะไม่สามารถปฏิเสธฮะดีษดังกล่าวอย่างสิ้นเชิงแต่ต้องทราบว่าหนังสือที่บันทึกฮะดีษนี้ล้วนประพันธ์ขึ้นหลังยุคอิมามอลีถึงกว่าพันปีหนังสือรุ่นหลังอย่างอันวารุลมุชะอ์ชิอีนก็รายงานโดยปราศจากสายรายงานโดยอ้างถึงหนังสือของเชคเศาะดู้ก (มูนิสุ้ลฮะซีน) ซึ่งนอกจากจะหาอ่านไม่ได้แล้วยังมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าหนังสือดังกล่าวเป็นผลงานของเชคเศาะดู้กจริงหรือไมด้วยเหตุนี้ในทางวิชาฮะดีษจึงไม่สามารถใช้ฮะดีษดังกล่าวอ้างอิงในแง่ฟิกเกาะฮ์ประวัติศาตร์เทววิทยาฯลฯได้เลย ...
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6535 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]
  • มีภัยคุกคามใดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณรับอิสลาม?
    5109 ระบบต่างๆ 2554/11/21
    เพื่อที่จะทราบถึงภัยคุกคามของสิ่งๆหนึ่งก่อนอื่นเราจะต้องทำความรู้จักกับมูลเหตุต่างๆที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น (ปัจจัยกำเนิด) และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ปัจจัยพิทักษ์) เสียก่อนเนื่องจากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือภัยที่จะคุกคามสองปัจจัยดังกล่าวนี่เองปัจจัยกำเนิดและพิทักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามก็คือ 1. หลักคำสอนที่สูงส่งของอิสลาม (การปฏิบัติตามคำสั่งและหลักคำสอนของอิสลาม) 2. การมีผู้นำการปฏิวัติที่รอบรู้ 3. ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนและการเชื่อฟังผู้นำหากปัจจัยดังกล่าวถูกคุกคามสาธารณรัฐอิสลามก็จะตกอยู่ในอันตรายฉะนั้นประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8695 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7025 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59362 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56817 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38389 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38385 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...