การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6301
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10515 รหัสสำเนา 19581
คำถามอย่างย่อ
กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
คำถาม
กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
คำตอบโดยสังเขป

แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้ กามิลุซซิยารอต ประพันธ์โดยญะฟัร บิน มุฮัมมัด บิน กุละวัยฮ์ กุมี (เสียชีวิตฮ..348) และ มิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีน ของเชคฏูซี (..385-460) ตามหลักบางประการแล้ว สายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้ แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้น ต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงาน ซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษ หนึ่ง: น่าเชื่อถือ
สอง: เป็นนักรายงานที่เชื่อถือได้ แต่อยู่ในชั้นเดียวกันกับนักรายงานที่ไม่มีการรับประกันความน่าเชื่อถือ
สาม: มีเบาะแสบ่งบอกว่าเป็นนักรายงานที่น่าเชื่อถือ
สรุปแล้ว สายรายงานของซิยารัตอาชูรอถือว่าเศาะฮี้ห์ไร้ข้อเคลือบแคลง
ส่วนในแง่เนื้อหาที่มีการตั้งข้อสงสัยเนื่องจากมีคำละอ์นัตบนีอุมัยยะฮ์ทั้งตระกูล เราได้ชี้แจงรายละเอียดไว้แล้วในเว็บไซต์นี้ เพื่อทราบรายละเอียด กรุณาอ่านเพิ่มเติมจากคำตอบแบบสมบูรณ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

ซิยารัตอาชูรอเป็นมรดกตกทอดมาจากอิมามบากิรและอิมามศอดิก(.) ฉะนั้น ควรจะเป็นที่ยอมรับทั้งในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่เนื้อหาก็จะต้องไม่ขัดต่อคำสอนของกุรอานและฮะดีษอื่นๆ ซึ่งหากมิได้เป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารถจะนับเป็นฮะดีษที่น่าเชื่อถือได้ บทวิเคราะห์ต่อไปนี้จะกล่าวถึงทั้งสองแง่มุมอย่างสังเขป:

 หนึ่ง. สายรายงานซิยารัตอาชูรอ:
แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตดังกล่าวก็คือหนังสือสองเล่ม: กามิลุซซิยารอต ประพันธ์โดยญะฟัร บิน มุฮัมมัด บิน กุละวัยฮ์ กุมี (เสียชีวิตฮ..348) และ มิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีน ของเชคฏูซี (..385-460) ฉะนั้น ควรต้องพิจารณาหนังสือกามิลุซซิยารอตและมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนตามลำดับ

1-1. หนังสือกามิลุซซิยารอต อิบนิ กูละวัยฮ์
อิบนิ กูละวัยฮ์ กล่าวถึงผลบุญของซิยารัตอาชูรอดังนี้

حَدَّثَنِی حَکِیمُ بْنُ دَاوُدَ بْنِ حَکِیمٍ وَ غَیرُهُ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مُوسَى الْهَمْدَانِی عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ خَالِدٍ الطَّیالِسِی عَنْ سَیفِ بْنِ عَمِیرَةَ وَ صَالِحِ بْنِ عُقْبَةَ جَمِیعاً عَنْ عَلْقَمَةَ بْنِ مُحَمَّدٍ الْحَضْرَمِی، وَ مُحَمَّدِ بْنِ إِسْمَاعِیلَ عَنْ صَالِحِ بْنِ عُقْبَةَ عَنْ مَالِکٍ الْجُهَنِی عَنْ أَبِی جَعْفَرٍ الْبَاقِرِ ع قَالَ مَنْ زَارَ الْحُسَینَ ع یوْمَ عَاشُورَاءَ مِنَ الْمُحَرَّمِ...". و بعد در باره سند اصل زیارت عاشورا می‌گوید: قَالَ صَالِحُ بْنُ عُقْبَةَ الْجُهَنِی وَ سَیفُ بْنُ عَمِیرَةَ قَالَ عَلْقَمَةُ بْنُ مُحَمَّدٍ الْحَضْرَمِی فَقُلْتُ لِأَبِی جَعْفَرٍ (ع) عَلِّمْنِی دُعَاءً أَدْعُو بِهِ فِی ذَلِکَ الْیوْمِ...".

 

...อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี เล่าว่า ฉันกล่าวต่ออบูญะฟัร(.)ว่า "กรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านขณะเยี่ยมเยียนใกล้กุโบรอิมามฮุเซน และกรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านจากแดนไกลบนดาดฟ้าเมื่อต้องการจะให้สลามแด่ท่านอิมาม"
ท่านตอบว่า "โอ้ อัลเกาะมะฮ์ หลังจากที่เธอให้สลามแด่ท่านอิมามฮุเซน และนมาซสองเราะกะอัตแล้ว จงกล่าวซิยารัตท่านอิมามฮุเซนในวันอาชูรอว่า: ศานติยังท่าน โอ้อบาอับดิลลาฮ์ ศานติยังท่าน โอ้บุตรของศาสนทูตของอัลลอฮ์ ศานติยังท่าน โอ้ผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรร บุตรของผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรร ศานติยังท่าน โอ้บุตรของอมีรุ้ลมุอ์มินีน และบุตรของประมุขแห่งเหล่าตัวแทน ศานติยังท่าน โอ้บุตรของฟาฏิมะฮ์ นายหญิงแห่งปวงสตรีทั้งผอง..."[1]

สรุปได้ว่าที่ต้นทางของฮะดีษคือ อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี และ มาลิก บิน อะอ์ยุน ญะฮ์นี ซึ่งรายงานจากอิมามมะอ์ศูม ทั้งสองสายดังกล่าวรายงานผ่านศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ โดยที่สายหนึ่งมีชื่อ สัยฟ์ บิน อุมัยเราะฮ์ปรากฏอยู่ แต่อีกสายหนึ่งไม่มีบุคคลนี้
สายรายงานชั้นต้นก็คือศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ และสัยฟ์ บิน อุมัยเราะฮ์ รายงานจากอัลเกาะมะฮ์ บิน ฮัฎเราะมี จากอิมามบากิร(.) สรุปคือ ฮะดีษนี้มีสามสายรายงานดังต่อไปนี้:
. ฮะกีม บิน ดาวู้ด บิน ฮะกีม และคนอื่นๆ จาก มุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี จาก มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี จาก สัยฟ์ บิน อุมัยเราะฮ์ จาก อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี
. ฮะกีม บิน ดาวู้ด บิน ฮะกีม และคนอื่นๆ จากมุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี จาก มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี จาก ศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ จาก อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี
. มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล จาก ศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ จาก มาลิก ญะฮ์นี จาก อิมามบากิร 

สายรายงานที่สามมีข้อสันนิษฐานสองประการ
หนึ่ง. อิบนิ กูละวัยฮ์ รายงานซิยารัตนี้จากหนังสือของมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล ดังที่เชคฏูซีก็รายงานจากหนังสือดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้ สายรายงานก็จะเชื่อมจากมุฮัมมัด บิน อิสมาอีลถึงศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์
สอง. มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล เชื่อมกับ มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี ในกรณีนี้สายรายงานจะเป็นดังนี้:
ฮะกีม บิน ดาวู้ด, มุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี, มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี, มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์, ศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์, มาลิก ญะฮ์นี
แต่ข้อสันนิษฐานนี้ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าหนังสือของมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล เป็นที่แพร่หลายในยุคนั้น ซึ่งเชคฏูซี และอิบนิ กูละวัยฮ์ ต่างก็รายงานจากหนังสือเล่มดังกล่าว

วิจารณ์สายรายงานของอิบนิ กูละวัยฮ์
อิบนิ กูละวัยฮ์ กล่าวถึงหนังสือของตนในอารัมภบทว่า
ฉันมิได้มีความรู้ครอบคลุมฮะดีษทุกบทที่รายงานจากอะฮ์ลุลบัยต์เกี่ยวกับบทซิยารัตและเรื่องอื่นๆ แต่ทุกฮะดีษที่ฉันอ้างไว้ในหนังสือเล่มนี้ ล้วนรายงานจากมิตรสหายของเราที่เชื่อถือได้ และฉันไม่รายงานฮะดีษใดจากบุคคลนิรนาม ซึ่งมักจะรายงานเรื่องราวของบรรดาอิมามจากผู้ที่ไม่เป็นที่รู้จักในแง่ฮะดีษ และไม่คุ้นเคยกันในแวดวงวิชาฮะดีษ[2]
หลังจากที่เชค ฮุร อามิลีให้การยอมรับสายรายงานของตัฟซี้รอลี บิน อิบรอฮีมแล้ว ท่านกล่าวถึงสายรายงานของหนังสือกามิลุซซิยารอตว่า "ญะอ์ฟัร บิน มุฮัมมัด บิน กูละวัยฮ์ให้คำมั่นว่าสายรายงานที่ปรากฏในกามิลุซซิยารอตล้วนน่าเชื่อถือ และการฟันธงดังกล่าวค่อนข้างจะชัดเจนกว่ากรณีของอลี บิน อิบรอฮีม[3]

อย่างไรก็ดี ผู้รู้บางท่านเชื่อว่าประโยคดังกล่าวจะมีผลต่อนักรายงานคนแรกเท่านั้น นั่นก็คือผู้ที่อิบนิ กูละวัยฮ์รายงานโดยตรง[4] หลักคิดดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของอายะตุลลอฮ์ คูอี้ในบั้นปลายชีวิตของท่าน[5] แม้ในอดีตท่านจะเคยกล่าวว่า "สำนวนนี้ระบุชัดเจนว่า อิบนิ กูละวัยฮ์ไม่เคยรายงานฮะดีษจากมะอ์ศูมีน นอกจากจะแน่ใจเสียก่อนว่าเป็นสหายของเราที่น่าเชื่อถือพอ[6]

อย่างไรก็ดี ควรวิเคราะห์นักรายงานฮะดีษเป็นรายบุคคลดังต่อไปนี้

ฮะกีม บิน ดาวู้ด บิน ฮะกีม
แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับการยืนยันความน่าเชื่อถือ แต่ก็มิได้ถูกตั้งข้อสงสัย อีกทั้งผู้ประพันธ์หนังสือตะฮ์ซีบุลอะห์กามก็ได้รายงานฮะดีษจากบุคคลนี้ด้วย[7] มุฮัดดิษ นูรี ถือว่าเขาเป็นหนึ่งในครูบาด้านฮะดีษของอิบนิ กูละวัยฮ์[8] จากการที่เขาได้รับการยืนยันในภาพรวม และไม่มีใครตั้งข้อสงสัยเขา ก็ถือว่าไว้ใจได้

มุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี
บางคนถือว่าเขาไม่น่าเชื่อถือ[9] แต่มัรฮูมคูอี้ถือว่าคำยืนยันของอิบนิ กูละวัยฮ์เกี่ยวกับสายรายงานกามิลุซซิยารอตนับเป็นทัศนะที่มาหักล้าง และเนื่องจากมีการขัดแย้งกัน จึงปัดตกไปทั้งสองทัศนะ ผลก็คือ มุฮัมมัด บิน มูซา ถือเป็นมัจฮู้ล(นิรนาม)ในแง่วิชาริญ้าล[10]

มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี และ มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์
เราจะกล่าวถึงสองคนนี้เป็นลำดับต่อไป

อะเกาะบะฮ์ บิน เกส กูฟี
เขาคือบิดาของศอลิห์ และเป็นสหายของอิมามศอดิก(.) สันนิษฐานว่าไม่มีใครยืนยันหรือปฏิเสธความน่าเชื่อถือของเขา[11]

มาลิก ญะฮ์นี
ดังที่กล่าวไปแล้ว มาลิก ญะฮ์นี คือผู้รายงานจากอิมาม(.)ในสายรายงานที่สอง ซึ่งเขาก็คือ มาลิก บิน อะอ์ยัน ญะฮ์นี สหายของอิมามบากิร(.) ซึ่งเชคมุฟี้ดกล่าวว่ามาลิกเป็นที่ยกย่องของท่านอิมาม(.)[12]

ข้อสรุปจากการวิจารณ์บุคคลเหล่านี้ก็คือ แม้เราไม่อาจจะพิสูจน์ความถูกต้องของสายรายงานนี้ได้ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากบางมาตรฐานเชื่อว่าสายรายงานนี้ไม่มีปัญหาใดๆ

1-2. หนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีน ของเชคฏูซี
เชคฏูซีรายงานซิยารัตอาชูรอไว้ในหนังสือของตนผ่านสองสายรายงาน
1-2-1. สายรายงานแรกของเชคฏูซี
ท่านกล่าวถึงสายรายงานแรกว่า:

روى محمد بن إسماعیل بن بزیع عن صالح بن عقبه و سیف بن عمیره عن علقمه بن محمد الحضرمى «قلت لأبى جعفر: علمنى دعاءً أدعو به ذلک الیوم إذا أنا زُرته من قرب، و دعاءً ادعو به إذا لم أَزَره مِن قُرب و أَومات مِن بَعد البلاد، و من دارى بالسلام إلیه.  قال: فقال لى یا علقمه إذا أنت صلیت رکعتین

...อัลเกาะมะฮ์เล่าว่า ฉันกล่าวต่ออบูญะฟัร(.)ว่า "กรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านขณะเยี่ยมเยียนใกล้กุโบรอิมามฮุเซน และกรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านจากแดนไกลบนดาดฟ้าเมื่อต้องการจะให้สลามแด่ท่านอิมาม"
ท่านตอบว่า "โอ้ อัลเกาะมะฮ์ หลังจากที่เธอให้สลามแด่ท่านอิมามฮุเซน และนมาซสองเราะกะอัตแล้ว หลังจากนั้นให้สลามและชี้ไปยังกุโบรของท่านอิมาม จงกล่าวตักบี้รขณะชี้ และจงอ่านบทซิยารัตนี้ ซึ่งเป็นดุอาเดียวกันกับที่มะลาอิกะฮ์ใช้อ่านขณะซิยารัตท่านว่า ...ศานติยังท่าน โอ้อบาอับดิลลาฮ์...[13]

เกี่ยวกับสายรายงานข้างต้น จำเป็นต้องวิเคราะห์ประเด็นต่อไปนี้:

. สายรายงานของเชคฏูซีจนถึงมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์
เชคฏูซีรายงานฮะดีษข้างต้นจากหนังสือของมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์ และได้ระบุสายรายงานที่เชื่อมต่อหนังสือดังกล่าวดังนี้

محمد بن إسماعیل بن بزیع؛ له کتاب فی الحج، أخبرنا به ابن أبی‏ جید عن محمد بن الحسن بن الولید عن علی بن إبراهیم عن أبیه عن محمد بن إسماعیل

อิบนิ อบี ญัยด์ จาก มุฮัมมัด บิน ฮะซัน บิน วะลี้ด, จาก อลี บิน อิบรอฮีม กุมี, จากพ่อของเขา, จาก มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์[14]

ฉะนั้น สายรายงานของฮะดีษจะเป็นเช่นนี้ เชคฏูซี, อลี บิน อะหมัด บิน มุฮัมมัด บิน อบี ญัยด์, มุฮัมมัด บิน ฮะซัน บิน วะลี้ด, จาก อลี บิน อิบรอฮีม กุมี, จาก อิบรอฮีม, จาก มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์

กล่าวได้ว่าทุกคนในสายรายงานดังกล่าวล้วนเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญวิชาริญ้าลทั้งสิ้น ครูบาฮะดีษเหล่านี้ล้วนน่าเชื่อถือ และไม่จำเป็นต้องสาธยายถึงสถานะดังกล่าว

มาถึงการวิจารณ์สายรายงานแรก
อิบนิ อบี ญัยด์ 
เป็นครูบาของเชคฏูซีและมัรฮูมนะญาชี ซึ่งครูบาของมัรฮูมนะญาชีล้วนเป็นที่ไว้วางใจของอุละมาอ์โดยไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ ดังที่มัรฮูมคูอี้กล่าวว่า "สายรายงานของเชคศ็อฟฟ้ารนอกเหนือจากหนังสือบะศออิ้ร ถือว่าเศาะฮี้ห์ทั้งสิ้น สันนิษฐานว่าสายรายงานในหนังสือดังกล่าวก็น่าจะเป็นเช่นนั้นด้วย เนื่องจากมีชื่ออิบนิ อบี ญัยด์อยู่ ซึ่งเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะเขาเป็นครูบาฮะดีษของนะญาชี

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะกลายเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ?
    5257 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    คำว่า “มุฮิบบัต” มาจากรากศัพท์คำว่า “ฮุบ” หมายถึงมิตรภาพความรัก. ความรักของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่มีต่อปวงบ่าวข้าทาสบริพารมิได้มีความเข้าใจเหมือนกับความรักสามัญทั่วไป, เนื่องจากความสิ่งจำเป็นของความรักในความหมายของสามัญคือปฏิกิริยาแสดงออกของจิตใจและอารมณ์ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้, ทว่าความรักที่อัลลอฮฺทรงมีต่อปวงบ่าว,
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8617 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    9669 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • สามารถกุรบานสัตว์ (เชือดพลี) ในพิธีฮัจญฺ นอกเขตมุนาได้หรือไม่?
    5193 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาฟาฎิลลันกะรอนียฺ :ตอบว่า, ไม่อนุญาตเนื่องจากการเชือดพลีแกะเป็นวาญิบประการหนึ่งของพิธีฮัจญฺซึ่งต้องทำให้มุนาหรือสถานที่ปัจจุบันได้กระทำกันอยู่และต้องเชือดพลีในช่วงเทศกาลฮัจญฺเท่านั้นท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมามะการิมชีรอซียฺ :ตอบว่า, ก่อนหน้านี้ได้ออกคำวินิจฉัยประเด็นนี้ไปแล้วว่าฮุจญาตสามาถเลือกได้ว่าจะเชือดพลีในมักกะฮฺหรือที่เมืองของตนแต่ต้องพิจารณาและเอาใจใส่เงื่อนไขต่างๆของการกุรบานอย่างสมบูรณ์ ...
  • เหตุใดจึงไม่ควรครุ่นคิดเกี่ยวกับความลึกซึ้งของการสรรสร้าง?
    6119 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/02/19
    ประเด็นหนึ่งที่กุรอานและฮะดีษเน้นย้ำไว้เป็นพิเศษก็คือ การครุ่นคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรพสิ่งต่างๆ[1] ทว่าควรหลีกเลี่ยงการไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอ์ ดังฮะดีษนบี(ซ.ล.)ที่ว่า จงครุ่นคิดเกี่ยวกับสรรพสิ่งที่อัลลอฮ์สร้างเถิด แต่ในกรณีของอาตมันของพระองค์นั้น ไม่บังควรอย่างยิ่ง”[2] อีกฮะดีษหนึ่ง ท่านนบีระบุถึงสาเหตุที่ห้ามมิให้ไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอฮ์ว่า “เนื่องจากพวกท่านไม่อาจจะเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์เด็ดขาด”[3] ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะไม่มีการห้ามครุ่นคิดเกี่ยวกับการสรรสร้างของพระองค์แล้ว ...
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6322 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ
  • อัศล์ อะมะลีและดะลี้ล อิจติฮาดีหมายความว่าอย่างไร และมีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่?
    7010 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    อัศล์อะมะลีอัศล์อะมะลีในวิชาฟิกเกาะฮ์หมายถึงหลักการที่นำมาใช้เมื่อไม่สามารถพิสูจน์ฮุก่มชัรอีได้โดยตรงโดยจะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในยามที่ไม่พบหลักฐานหรือข้อสันนิษฐานใดๆกล่าวคืออัศล์อะมะลีหรืออุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือหลักที่จะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในกรณีที่เผชิญกับข้อสงสัยฉะนั้นมูลเหตุของอุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือ “ข้อสงสัย” อีกชื่อหนึ่งของอัศล์อะมะลีก็คือ “ดะลี้ลฟะกอฮะตี” ดะลี้ลฟะกอฮะตีคือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยฮุก่มเฉพาะกาลอันได้แก่บะรออะฮ์เอียะฮ์ติยาฏตัคยี้รและอิสติศฮ้าบดะลี้ลอิจติฮาดีดะลี้ลอิจติฮาดีคือหลักฐานที่บ่งชี้ถึงฮุก่มที่แท้จริงสาเหตุที่ตั้งชื่อไว้เช่นนี้ก็เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับนิยามของอิจติฮาด (การทุ่มเทความพยายามเพื่อแสวงหาข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริง) และเนื่องจากหลักฐานประเภทนี้ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริงจึงขนานนามว่าดะลี้ลอิจติฮาดีซึ่งในส่วนของอัมมาเราะฮ์ก็ถือเป็นดะลี้ลอิจติฮาดีได้เช่นกันดะลี้ลอิจติฮาดีมีไว้เพื่อวินิจฉัยฮุ่กุ่มที่แท้จริงอันได้แก่กุรอานซุนนะฮ์อิจมาอ์และสติปัญญาความเชื่อมโยงระหว่างดะลี้ลและอัศล์ควรทราบว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลและอัศล์แต่สองสิ่งนี้มีสัมพันธ์ในลักษณะลูกโซ่อยู่ทั้งนี้ก็เพราะหากข้อสงสัยใดมีดะลี้ลก็จะไม่เหลือความสงสัยอันเป็นมูลเหตุของอัศล์อะมะลีอีกต่อไปในประเด็นความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลกับอัศล์นั้นในกรณีของดะลี้ลที่ชัดเจนแน่นอนว่าไม่มีอัศล์ใดจะสามารถเทียบเคียงได้เนื่องจากมูลเหตุของอัศล์คือความสงสัยเมื่อมีความแน่นอนในแง่มูลเหตุอัศล์ก็ย่อมหายไปแต่ในกรณีดะลี้ลที่ไม่ชัดเจนอย่างเช่นอิมาเราะฮ์ปะทะกับอัศล์ในกรณีเช่นนี้ถือเป็นการหักล้างกันซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศู้ลเชื่อว่าควรถือข้างอิมาเราะฮ์มากกว่าอัศล์ทุกประเภทแม้กระทั่งอิสติศฮ้าบ (ตามหลักเฏาะรีกียะฮ์)[1][1]อ่านเพิ่มเติมได้ตามหนังสือวิชาอุศู้ล อาทิเช่น อุศูลุลฟิกฮ์ ของท่านมุซ็อฟฟัร, กิฟายะตุ้ลอุศู้ล ของออคูนด์โครอซอนี ฯลฯ ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะรีบจ่ายคุมุสหลังจากซื้อบ้านโดยมิได้จ่ายคุมุส?
    5801 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/16
    หากผู้ถามจะระบุให้ชัดเจนว่าต้องการทราบฟัตวาของมัรญะอ์ท่านใดก็จะช่วยให้ได้คำตอบที่แม่นยำมากขึ้นทั้งนี้เราขอตอบคำถามของท่านตามทัศนะของท่านอายะตุ้ลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีดังต่อไปนี้ในกรณีที่ยังไม่ได้ซื้อบ้านและยังมีภาระต้องจ่ายคุมุสอยู่จำเป็นต้องจ่ายคุมุสเสียก่อนแล้วจึงซื้อบ้านแต่หากเงินคงเหลือหลังหักคุมุสไม่เพียงพอที่จะซื้อบ้านที่เหมาะสมขอให้ท่านปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทนและทำการประนีประนอมหนี้คุมุสโดยขอผัดผ่อนการชำระไปก่อนระยะหนึ่งแต่ถ้าหากท่านดำเนินการซื้อบ้านไปก่อนที่จะปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทน  ให้รีบปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทนตั้งแต่บัดนี้เพื่อพวกเขาจะอาศัยอำนาจหน้าที่ๆมีเพื่อกำหนดระยะเวลาชำระคุมุสให้ท่าน.[1][1]ดู: ประมวลปัญหาศาสนาโดยอิมามโคมัยนี(ภาคผนวก),เล่ม 2 ,หน้า
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20749 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8622 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59361 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56815 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41638 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38388 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38383 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25175 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...