การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8310
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1151 รหัสสำเนา 15746
คำถามอย่างย่อ
อิสลามมีบทบัญญัติอย่างไรเกี่ยวกับการโคลนนิ่ง?
คำถาม
มีมัรญะอ์ท่านใดที่ฟัตวาอนุญาตให้โคลนนิ่ง อิสลามมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
คำตอบโดยสังเขป

การโคลนนิ่ง โดยเฉพาะการโคลนนิ่งมนุษย์ ถือเป็นประเด็นปัญหาใหม่ จึงไม่อาจจะพบโองการกุรอานหรือฮะดีษที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง อย่างไรก็ดี ผู้รู้และนักวิชาการชีอะฮ์ได้ใช้กระบวนการวินิจฉัยหลักฐานจากกุรอานและฮะดีษ ทำให้สามารถแสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็นสามทัศนะด้วยกัน
. มัรญะอ์บางท่านถือว่าหากไม่มีตัวแปรอื่นใด อนุมัติให้กระทำได้
. บางท่านอนุญาตในวงแคบ และตามเงื่อนไขที่จำกัด
. บางท่านถือว่ากระบวนการโคลนนิ่งเป็นฮะรอมโดยสิ้นเชิง

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อความกระจ่าง เราจะขอเกริ่นด้วยข้อมูลเบื้องต้นพอสังเขป
. กระบวนการโคลนนิ่ง: มีลำดับขั้นตอนต่างๆดังนี้
1. ดูดไข่ออกมาจากรังไข่
2. ดูดนิวเคลียสออกจากไข่ เพื่อใช้เป็นไซโตพลาสผู้รับ (ไข่ที่ปราศจากนิวเคลียสจะสูญเสียโครโมโซมทั้ง23ชนิดไป ซึ่งทำให้สูญเสียลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ยังมีเหลืออยู่บ้าง)
3. คัดเลือกเซลล์ร่างกายเพื่อเป็นเซลล์ต้นแบบ จากนั้นฉีดเข้าไปในไซโตพลาสผู้รับ(ไข่ที่ปราศจากนิวเคลียส) ทำให้ไข่มีโครโมโซมที่จำเป็น(46ชนิด)อย่างครบถ้วน
4.
กระตุ้นไข่ด้วยไฟฟ้าหรือสารเคมี เพื่อเชื่อมต่อไข่กับเซลล์และกระตุ้นการแบ่งเซลล์
5. หลังจากที่เซลล์แบ่งตัวตามต้องการแล้ว ย้ายตัวอ่อนไปฝากในครรภ์ผู้รับ
6. หลังจากระยะที่กำหนด ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตและคลอดออกมา ทารกที่เกิดจะคล้ายกับผู้ให้เซลล์ร่างกายถึง 97% (ยกเว้นอิทธิพลเล็กน้อยของดีเอ็นเอที่มีอยู่ในไมโตคอนเดรีย) และทารกจะมีเพศตรงกับผู้ให้เซลล์.[1]

. ประเภทการโคลนนิ่ง:
1.
โคลนนิ่งระหว่างสัตว์ ไม่ว่าจะสายพันธ์เดียวกันหรือไม่
2. ระหว่างพืชและสัตว์
3. ระหว่างสัตว์และมนุษย์
4. ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งมีหลายกรณี เช่น เป็นสามีภรรยากันหรือไม่ เจ้าของครรภ์สมรสแล้วหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งแต่ละกรณีก็มีบทบัญญัติศาสนาที่แตกต่างกัน[2]

ประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษคือ ผลกระทบต่างๆที่อาจจะเกิดจากการโคลนนิ่งมนุษย์ อาทิเช่น
1. ทำให้เชื้อสายมนุษย์คละกัน
2. ทำให้สับสนเกี่ยวกับสถานะในครอบครัว
3. ขาดผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ปกครอง
4. ทำให้สับสนในการแบ่งมรดกและค่าเลี้ยงดู
5. อาจทำให้มีทารกพิการ
6. อาจทำให้ทารกป่วยเป็นโรคแปลกประหลาด
7, ขัดต่อหลักความแตกต่างของบุคคล
8. ลดอัตราการแต่งงานและทำลายสถาบันครอบครัว
9. ทำลายสถานภาพความเป็นแม่
10. อาจส่งผลให้ผิดประเวณี
11. อาจส่งผลให้รักร่วมเพศระบาด
12. อาจตกเป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรม และข้อกังวลทางศาสนาอื่นๆ[3]

ผลกระทบเหล่านี้สร้างความลำบากใจแก่แวดวงนักการศาสนาของคริสเตียนและพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อย่างยิ่ง กระทั่งขนานนามว่าเป็นปัญหาแห่งศตวรรษ พระสันตปาปาได้ออกแถลงการณ์ห้ามโคลนนิ่งเนื่องจากขัดต่อเกียรติของมนุษย์ ส่วนพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ก็จัดประชุมระดมความคิดกว่าสิบครั้ง ซึ่งมติที่ประชุมเกือบจะเอกฉันท์เห็นว่าเป็นฮะรอม[4] มีเพียงดร.มะห์รู้ส นักวิชาการมัซฮับฮะนะฟีจากอิรักเท่านั้นที่ถือว่าอนุมัติ [5]

ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์บางท่านได้ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยไม่ถือว่าผลกระทบข้างต้นจะทำให้กระบวนการโคลนนิ่งกลายเป็นฮะรอม[6]
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สามารถจำแนกทัศนะของมัรญะอ์ชีอะฮ์ได้ดังนี้
1. อนุญาต(หากไม่มีตัวแปรอื่น) 2. อนุญาตในวงจำกัด 3. ฮะรอมโดยสิ้นเชิง[7]

1. อนุญาต(หากไม่มีตัวแปรอื่น)
มัรญะอ์บางท่านถือเหตุผลที่ว่า ในเมื่อไม่มีหลักฐานศาสนาใดๆที่ระบุว่าห้ามโคลนนิ่งมนุษย์ จึงอาศัยกฏแห่งฮิ้ลล์”(ทุกสิ่งเป็นที่อนุมัตินอกจากจะมีคำสั่งห้าม) และกฏแห่งอิบาฮะฮ์ในการวินิจฉัยอนุมัติ
บรรดาผู้รู้เช่น อายะตุ้ลลอฮ์ฯ ซีสตานี, มูซาวี อัรดะบีลี, ฟาฎิ้ล ลังกะรอนี, ฟัฎลุลลอฮ์, มุฮัมมัด มุอ์มิน ฯลฯ ได้ตอบข้อซักถามที่ว่าการให้กำเนิดมนุษย์ในห้องทดลองด้วยกรรมวิธีโคลนนิ่งอันทันสมัย เป็นที่อนุมัติหรือไม่?” โดยตอบว่าโดยตัวของมันเองไม่มีปัญหาอะไร[8]
ผู้รู้บางท่าน[9]นอกจากจะตอบว่าอนุมัติแล้ว ยังชี้แจงถึงเหตุผลที่ทำให้ผู้อื่นฟัตวาห้ามอีกด้วย[10]
แต่ผู้รู้บางส่วนก็เห็นว่า ในกรณีที่การโคลนนิ่งจะบังเกิดผลเสียที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ก็ให้ถือว่าเป็นฮะรอมในลักษณะซานะวีย์ (ฮะรอมเนื่องจากตัวแปร) อายะตุ้ลลอฮ์ฯ ซัยยิด กาซิม ฮาอิรี และ อายะตุ้ลลอฮ์ฯ มะการิม ชีรอซี ถือทัศนะนี้[11]

2. อนุญาตในวงจำกัด
บางท่านถือว่าการโคลนนิ่งเป็นที่อนุมัติในเบื้องต้นตามหลักฐานและหลักการในภาพรวม แต่ก็เชื่อว่าการโคลนนิ่งในวงกว้างจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ซึ่งเชคฮะซัน ญะวาฮิรี ถือตามทัศนะนี้ ไม่เพียงแต่ท่านจะถือว่าการโคลนนิ่งในระดับปัจเจกบุคคลเป็นที่อนุมัติ แต่ยังได้ฟัตวาห้ามผู้ใดกล่าวอ้างว่าการโคลนนิ่งเป็นฮะรอมอีกด้วย เนื่องจากท่านเชื่อว่าเป็นการวินิจฉัยที่ไร้เหตุผลรองรับ[12]

3. ฮะรอมโดยสิ้นเชิง
ผู้ที่ถือตามทัศนะนี้มี อายะตุ้ลลอฮ์ฯ ตั้บรีซี และ อัลลามะฮ์ มุฮัมมัดมะฮ์ดี ชัมซุดดีน ชาวเลบานอน ซึ่งไม่เพียงแต่ห้ามการโคลนนิ่งมนุษย์ แต่ยังห้ามรวมไปถึงการโคลนนิ่งสัตว์ด้วย[13]



[1] เจาะลึกฟิกเกาะฮ์: การโคลนนิ่งมนุษย์จากมุมมองผู้รู้ชีอะฮ์,สำนักงานกิจการเผยแพร่อิสลาม,หน้า 6

[2] อัลอิสตินซ้าค บัยนัตตักนียะฮ์ วัตตัชรี้อ์, ซัยยิดอลี มูซา ซับซะวอรี,หน้า 43

[3] คัดจากนิตยสารอุฟุกเฮาซะฮ์, และ การโคลนนิ่งมนุษย์จากมุมมองผู้รู้ชีอะฮ์

[4] อ้างแล้ว

[5] อ้างแล้ว

[6] ดู: การโคลนนิ่งมนุษย์และชุดฟัตวาการแพทย์,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮะกีม

[7] เจาะลึกฟิกเกาะฮ์: การโคลนนิ่งมนุษย์จากมุมมองผู้รู้ชีอะฮ์,สำนักงานกิจการเผยแพร่อิสลาม,หน้า 32

[8] อ้างแล้ว

[9] อายะตุ้ลลอฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด สะอี้ด ฮะกีม

[10] เจาะลึกฟิกเกาะฮ์: การโคลนนิ่งมนุษย์จากมุมมองผู้รู้ชีอะฮ์,สำนักงานกิจการเผยแพร่อิสลาม,หน้า 32

[11] อ้างแล้ว

[12] อ้างแล้ว

[13] อ้างแล้ว

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร?
    7340 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลามหลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลามปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แล้วได้แบ่งออกเป็น
  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8628 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    8661 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • ถูกต้องไหม ขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ถูกฟันศีรษะขณะนมาซซุบฮฺ,อิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ มิได้อยู่ด้วย?
    7659 تاريخ بزرگان 2554/12/20
    รายงานเกี่ยวกับการถูกฟันของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งขณะนั้นท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ร่วมอยู่ด้วยนั้นมีจำนวนมากด้วยเหตุนี้เองจึงมีความเป็นไปได้หลายกรณีเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังวิภาษกันอยู่กล่าวคือ:1.
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5240 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • ท่านอิมามฮุเซนเคยจำแนกระหว่างอรับและชนชาติอื่น หรือเคยกล่าวตำหนิชนชาติอื่นหรือไม่?
    5550 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/10/11
    ฮะดีษที่อ้างอิงมานั้นเป็นฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)มิไช่อิมามฮุเซน(อ.) ฮะดีษกล่าวว่า "เราสืบเชื้อสายกุเรชและเหล่าชีอะฮ์ของเราล้วนเป็นอรับแท้ส่วนผองศัตรูของเราล้วนเป็น"อะญัม"(ชนชาติอื่น) ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่สายรายงานหรือเนื้อหาจะพบว่าฮะดีษนี้ปราศจากความน่าเชื่อถือใดๆทั้งสิ้นทั้งนี้เพราะสายรายงานของฮะดีษนี้มีนักรายงานฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ(เฎาะอี้ฟ)ปรากฏอยู่ส่วนเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษนี้นอกจากขัดต่อสติปัญญาแล้วยังขัดต่อโองการกุรอานฮะดีษมากมายที่ถือว่าอีหม่านและตักวาเท่านั้นที่เป็นมาตรวัดคุณค่ามนุษย์หาไช่ชาติพันธุ์ไม่ทั้งนี้ท่านนบีได้ให้หลักเกณฑ์ไว้ว่า "หากฮะดีษที่รายงานจากเราขัดต่อประกาศิตของกุรอานก็จงขว้างใส่กำแพงเสีย(ไม่ต้องสนใจ)"อย่างไรก็ดีเราปฏิเสธที่จะรับฮะดีษดังกล่าวในกรณีที่ตีความตามความหมายทั่วไปเท่านั้นแต่น่าสังเกตุว่าคำว่า"อรับ"และ"อะญัม"หาได้หมายถึงชาติพันธุ์เท่านั้นแต่ในทางภาษาศาสตร์แล้วสองคำนี้สามารถสื่อถึงคุณลักษณะบางอย่างได้สองคำนี้สามารถใช้กับสมาชิกเผ่าพันธุ์เดียวกันก็ได้อาทิเช่นคำว่าอรับสามารถตีความได้ว่าหมายถึงการ"มีชาติตระกูล" และอะญัมอาจหมายถึง"คนไร้ชาติตระกูล" ในกรณีนี้สมมติว่าฮะดีษผ่านการตรวจสอบสายรายงานมาได้ก็ถือว่าไม่มีปัญหาในแง่เนื้อหาทั้งนี้ก็เพราะเรามีฮะดีษมากมายที่ยกย่องชาติพันธุ์ที่ไม่ไช่อรับเนื่องจากมีอีหม่านอะมั้ลที่ดีงามและความอดทน ...
  • การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
    7586 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลามแหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่านเพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้นเคาะลีฟะฮ์ที่สองอุมัรบินค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่นนมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ฯลฯมีในกุรอานกระนั้นหรือ?กุรอานกล่าวว่า “สิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยงจงยำเกรงต่อพระองค์เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง”[i]แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเองซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตามอะห์มัดบินฮัมบัลหนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่าท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่านนั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพีและวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันสองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉันณบ่อน้ำเกาษัร”จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอานอันหมายความว่าดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใดพวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้นสองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กันการเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง[i]อัลฮัชร์,
  • ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอน คืออะไร?
    16991 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    บนพื้นฐานของอัลกุรอาน,อิบลิซเป็นหนึ่งในหมู่ญิน เนื่องจากการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงทำให้อิบลิซได้ก้าวไปอยู่ในระดับเดียวกันกับมะลาอิกะฮฺ แต่หลังจากการสร้างอาดัม, อิบลิซได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ไมยอมกราบอาดัม, จึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตแห่งนั้น ส่วนชัยฏอนนั้นจะใช้เรียกทุกการมีอยู่ ที่แสดงความอหังการ ยโสโอหัง ละเมิด และฝ่าฝืน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรรพสัตว์ก็ตาม ขณะเดียวกันอิบลิซนั้นได้ถูกเรียกว่าชัยฏอน ก็เนื่องจากโอหังและฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ดังนั้น ถ้าจะกล่าวแล้ว “ชัยฏอน” เป็นนามโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมเหนือทั้งอิบลิซ และไม่ใช่อิบลิซ ...
  • มีวิธีใดบ้างที่จะทำให้สามีภรรยาเข้าใจกันและกัน
    7921 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/15
    ความซื่อสัตย์คือต้นทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิตคู่ ในทางตรงกันข้าม ภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดที่ก่อให้เกิดความร้าวฉานระหว่างคู่รักก็คือความไม่ไว้วางใจและการหลอกลวงกัน จากที่คุณถามมา พอจะสรุปได้ว่าคุณสองคนขาดความไว้วางใจต่อกัน ขั้นแรกจึงต้องทำลายกำแพงดังกล่าวเสียก่อน วิธีก็คือ จะต้องหาต้นตอของความไม่ไว้วางใจให้ได้ แล้วจึงสะสางให้เป็นที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากเสริมสร้างความไว้วางใจได้สำเร็จ ไม่ว่าคุณไสยหรือเวทมนตร์คาถาใดๆก็ไม่อาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับภรรยาได้อีก ...
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    8368 รหัสยปฏิบัติ 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59384 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56832 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41663 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38412 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38411 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33442 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27535 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27230 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27124 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25197 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...