การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6891
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1315 รหัสสำเนา 17662
คำถามอย่างย่อ
ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
คำถาม
ได้ยินว่านมาซหรือดุอาบางประเภทมีผลบุญเทียบเท่าการเป็นชะฮีดก็ดี การทำฮัจย์ก็ดี หรือการปล่อยทาสก็ดี เหล่านี้สอดคล้องกับความยุติธรรมของพระองค์หรือไม่? และได้คำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการกระทำกับผลบุญบ้างหรือเปล่า?
คำตอบโดยสังเขป

การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมา มิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใด เพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสม ก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดี เนื่องจาก
. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึง มิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใด ซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วย เนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ ดังที่เรามักเปรียบเปรยสิ่งมีค่ากับทองคำ
. ฮะดีษเหล่านี้มิได้หมายรวมถึงภาวะที่ฮัจย์ หรือญิฮาด ฯลฯ เป็นวาญิบ
. ในการวัดความสำคัญ ไม่ควรใช้ปริมาณ หรือความยากง่ายในเชิงกายภาพเป็นมาตรฐานเสมอไป แต่ต้องคำนึงว่าเจตนา ระดับความนอบน้อม ขีดศรัทธาและความเชื่อ ล้วนมีผลต่อระดับผลบุญมากกว่าปัจจัยข้างต้นเสียอีก ฉะนั้น หากอิบาดะฮ์ใดมีคุณลักษณะเด่นดังกล่าวก็ย่อมสามารถนำมาเทียบผลบุญของพิธีฮัจย์หรือการเป็นชะฮีดได้
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงว่าดุอาหรือบทซิยารัตต่างๆนั้น อุดมไปด้วยสารธรรมคำสอนทางศาสนาซึ่งย่อมมีผลต่อความศรัทธาของผู้อ่าน จึงอาจมีคุณค่ามากกว่าการกระทำอื่นๆที่มิได้มีลักษณะเฉพาะดังกล่าว
โดยทั่วไปแล้วในยามสงบไร้ศึกสงคราม หรือนอกเทศกาลฮัจย์ คนเรามักจะประสบกับอารมณ์ไฝ่ต่ำและการลวงล่อของชัยฏอนบ่อยเป็นพิเศษ และเนื่องจากมนุษย์มักจะโน้มเอียงไปตามกิเลส ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เลือกที่จะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยนมาซ บทดุอา หรือบทซิยารัต แทนการบำเรอกิเลสตัณหา บุคคลผู้นี้ย่อมต้องเพ่งจิตสำนึกอันบริสุทธิ์อย่างเต็มเปี่ยม ซึ่งอาจมีผลบุญมากกว่าคนทั่วไปที่ประกอบพิธีฮัจย์หรือต่อสู้ญิฮาดเสียด้วยซ้ำ

แต่หากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ต้องเรียนว่าในประเด็นนี้ไม่มีการละเมิดสิทธิผู้ใด เพราะแม้สมมุติว่าอัลลอฮ์ประทานผลบุญมากเกินไป นั่นก็ยังไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิของมนุษย์คนใดอยู่ดี เนื่องจากการประทานผลบุญถือเป็นเมตตาธรรมของพระองค์ หาไช่สิทธิของบ่าวแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

เมื่อคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ก็จะทราบว่าผลบุญสอดคล้องกับการกระทำทุกประการ
1. ผลบุญจากอัลลอฮ์หาไช่เป็นสิทธิของบ่าวที่ต้องได้รับ แต่เป็นเมตตาธรรมที่พระองค์ประทานตามความเหมาะสมในแง่พฤติกรรมและศักยภาพที่มนุษย์มีในโลกดุนยา[1]
โดยปกติแล้ว มนุษย์ไม่มีสิทธิเรียกร้องผลบุญใดๆจากอัลลอฮ์(หากพระองค์ไม่ได้สัญญา) ทั้งนี้ก็เพราะทุกความดีที่มนุษย์ทำ ล้วนกระทำด้วยศักยภาพที่พระองค์ประทานให้ทั้งสิ้น แต่พระองค์เลือกที่จะสัญญาว่าจะประทานผลบุญแก่มนุษย์ก็เพราะทรงมีเมตตาธรรมและวิทยปัญญา ฉะนั้น เมตตาธรรมอันล้นพ้นของพระองค์ก็คือมาตรวัดพิกัดผลบุญสำหรับทุกความดีที่มนุษย์กระทำ หาไช่ความยากลำบาก หรือระยะเวลา หรือตัวแปรอื่นๆไม่ ด้วยเหตุนี้ ปริมาณเนี้ยะมัตและผลบุญต่างๆที่พระองค์จะทรงประทานให้ จึงมิได้ขัดต่อหลักความยุติธรรมของพระองค์แต่อย่างใด เนื่องจากพระองค์มิได้ละเมิดสิทธิของผู้ใด ซ้ำยังเป็นการประทานที่เกินสิทธิของมนุษย์อีกด้วย

2. การที่ดุอาหรือการซิยารัตจะมีผลบุญมากมายมหาศาลได้นั้น ต้องมีปัจจัยต่อไปนี้อย่างครบถ้วนเสียก่อน
. ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาครบถ้วนเสียก่อน: ฉะนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ต้องประกอบพิธีฮัจย์หรือต่อสู้ญิฮาดแต่กลับเลือกทำนมาซหรือดุอาแทนนั้น แทนที่จะได้รับผลบุญ เขากลับจะต้อง
ประสบกับการลงทัณฑ์อะซาบของพระองค์อีกด้วย
. มีสำนึกทางศาสนาและความบริสุทธิใจอย่างเต็มเปี่ยม: ดังที่มีฮะดีษมากมายระบุว่าเงื่อนไขของการได้รับผลบุญมหาศาลของซิยารัตบางบทคือการมีสำนึกทางศาสนา[2] ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า"มนุษย์จะฟื้นคืนชีพตามแต่เจตนาของแต่ละคน"[3] จากจุดนี้ทำให้ทราบว่าบรรทัดฐานของการตอบแทนผลบุญมิไช่ความยากง่ายของอิบาดะฮ์ แต่เป็น"เหนียต"หรือเจตนาเท่านั้นที่จะมีผลต่อผลบุญมากกว่าความยากง่ายและปริมาณของอิบาดะฮ์แต่ละประเภท

การเพ่งจิตสำนึกอันบริสุทธิ์ทางศาสนานั้น ยากลำบากไม่แพ้การต่อสู้ญิฮาด หรืออาจจะยากกว่าด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้เองที่เราเห็นผู้คนมากมายเข้าร่วมต่อสู้ญิฮาดหรือร่วมประกอบพิธีฮัจย์ แต่น้อยคนนักที่จะพิชิตยอดเขาแห่งจิตสำนึกอันผ่องแผ้วทางศาสนาได้ มีฮะดีษหลายบทที่รณรงค์ให้สาวกของท่านซิยารัตบรรดาอิมาม โดยเฉพาะอิมามริฎอ(.)[4] ซึ่งเนื้อหาของฮะดีษเหล่านี้บอกแก่เราว่าการซิยารัตมีผลบุญสองประเภทโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของการซิยารัต จึงเข้าใจได้ว่าผลบุญการซิยารัตของแต่ละคนมิได้เท่ากันเสมอไป ผลบุญที่ฮะดีษระบุไว้จึงเป็นการระบุถึงพิกัดสูงสุดของผลบุญ แต่มิได้หมายความว่าทุกคนจะได้รับแม้จะมีสภาพจิตใจที่แตกต่างกัน

3. บทดุอาและซิยารัตมากมายมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่สารธรรมคำสอนของอิสลาม: บรรดาอิมาม(.)เองก็ใช้ดุอาและซิยารัตในการนำเสนอหลักธรรมแก่สังคมเนื่องจากบางสถานการณ์ไม่อาจใช้วิธีอื่นได้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การพิทักษ์รักษาดุอาและซิยารัตเหล่านี้ก็ถือเป็นการพิทักษ์รักษาหลักญิฮาด พิธีฮัจย์ ตลอดจนชะรีอัตและคำสอนอิสลามโดยรวม และหลักธรรม(ในดุอา)เหล่านี้แหล่ะ ที่ช่วยรณรงค์ให้ผู้คนเดินทางไปทำฮัจย์หรือต่อสู้ญิฮาด

4. โดยทั่วไปแล้วในยามสงบไร้ศึกสงคราม หรือนอกเทศกาลฮัจย์ คนเรามักจะประสบกับการลวงล่อของอารมณ์ไฝ่ต่ำและชัยฏอนบ่อยเป็นพิเศษ และเนื่องจากมนุษย์มักจะโน้มเอียงไปตามกิเลส ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เลือกที่จะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยนมาซ บทดุอา หรือบทซิยารัต แทนการบำเรอกิเลสตัณหา บุคคลผู้นี้ย่อมต้องมีจิตสำนึกอันบริสุทธิ์อย่างเต็มเปี่ยม ดังที่ท่านนบี(..)กล่าวแก่เหล่าสาวกที่กลับจากสมรภูมิรบอันดุเดือดว่า"ขอชมเชยผู้ที่กลับจากญิฮาดเล็ก ซึ่งกำลังมุ่งหน้าสู่ญิฮาดใหญ่" เหล่าสาวกเอ่ยถามว่าญิฮาดใหญ่คืออะไร ท่านตอบว่า"การญิฮาดกับกิเลสตนเอง"[5]
เป็นไปได้ว่าสาเหตุที่บรรดาอิมาม(.)เล่าถึงผลบุญมหาศาลของดุอา ซิยารัต หรือนมาซบางประเภทนั้น ก็เพื่อต้องการจะฟื้นฟูศีลธรรมภาคสังคมให้พ้นจากบ่วงกิเลสที่ทำให้มนุษย์เกลือกกลั้วในความต่ำทรามทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และเพื่อส่งเสริมมนุษย์ให้โบยบินในท้องฟ้าแห่งศีลธรรมจรรยา

อย่างไรก็ดี ฮะดีษที่ระบุผลบุญเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่จะให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์บางประเภทเป็นพิเศษ หาได้มีจุดประสงค์จะลดทอนคุณค่าของญิฮาดหรือพิธีฮัจย์แต่อย่างใด ซ้ำยังสามารถกล่าวได้ว่าฮะดีษเหล่านี้กำลังส่งเสริมญิฮาดหรือพิธีฮัจย์ทางอ้อมอีกด้วย เนื่องจากได้ใช้ญิฮาดหรือฮัจย์เป็นมาตรวัดคุณค่าของอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ เสมือนที่เรามักจะเปรียบสิ่งมีค่ากับทองคำบริสุทธิ์



[1] ดู: ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า361

[2] มันลายะห์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 2,หน้า 583

[3] ตะฮ์ซีบุ้ลอะห์กาม,เล่ม 6,หน้า 135

[4] อัลกาฟีย์,เล่ม 4,หน้า 585

[5] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 15,หน้า 161

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    7990 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • สถานภาพของจริยธรรมในการออกกำลังกายเป็นอย่างไร?
    8362 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ศาสนาอิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาสมบูรณ์และเป็นศาสนาสากลซึ่งมีแนวคิดครอบคลุมทุกมิติของชีวิตที่สมบูรณ์และแนวทางทั้งหมดของอิสลามได้สิ้นสุดลงที่ความเจริญผาสุกแห่งโลกนี้และปรโลก
  • เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะรีบจ่ายคุมุสหลังจากซื้อบ้านโดยมิได้จ่ายคุมุส?
    5802 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/16
    หากผู้ถามจะระบุให้ชัดเจนว่าต้องการทราบฟัตวาของมัรญะอ์ท่านใดก็จะช่วยให้ได้คำตอบที่แม่นยำมากขึ้นทั้งนี้เราขอตอบคำถามของท่านตามทัศนะของท่านอายะตุ้ลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีดังต่อไปนี้ในกรณีที่ยังไม่ได้ซื้อบ้านและยังมีภาระต้องจ่ายคุมุสอยู่จำเป็นต้องจ่ายคุมุสเสียก่อนแล้วจึงซื้อบ้านแต่หากเงินคงเหลือหลังหักคุมุสไม่เพียงพอที่จะซื้อบ้านที่เหมาะสมขอให้ท่านปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทนและทำการประนีประนอมหนี้คุมุสโดยขอผัดผ่อนการชำระไปก่อนระยะหนึ่งแต่ถ้าหากท่านดำเนินการซื้อบ้านไปก่อนที่จะปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทน  ให้รีบปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทนตั้งแต่บัดนี้เพื่อพวกเขาจะอาศัยอำนาจหน้าที่ๆมีเพื่อกำหนดระยะเวลาชำระคุมุสให้ท่าน.[1][1]ดู: ประมวลปัญหาศาสนาโดยอิมามโคมัยนี(ภาคผนวก),เล่ม 2 ,หน้า
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13339 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว
  • อะไรคือตาบู้ตที่อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบแก่ท่านอิมามอลี(อ.)ในวันเฆาะดี้ร?
    7539 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ในฮะดีษเฆาะดี้รมีคำว่าตาบู้ตอยู่จริงซึ่งกุรอานก็กล่าวถึงเช่นกัน... أَنْ یَأْتِیَکُمُ التَّابُوتُ فیهِ سَکینَةٌ مِنْ رَبِّکُمْ ... โองการนี้ต้องการจะสื่อว่า  แม้ศาสนทูตอิชมูอีลจะแจ้งแก่บนีอิสรออีลว่าตอลู้ตได้รับภารกิจจากอัลลอฮ์แต่พวกเขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่และขอให้ศาสนทูตระบุหลักฐานให้ชัดเจนศาสนทูตจึงกล่าวว่าสัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือเขาจะมายังพวกท่านพร้อมกับตาบู้ต(หีบบรรจุพันธะสัญญา)ส่วนที่ว่าตาบู้ตหรือหีบแห่งพันธะสัญญาของบนีอิสรออีลคืออะไรใครเป็นคนสร้างขึ้นบรรจุสิ่งใดบ้างนั้นมีคำอธิบายมากมายจากฮะดีษตัฟซี้รและบทพันธะสัญญาเดิม (โตร่าห์) แต่ที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือคำอธิบายที่ได้จากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทัศนะของนักตัฟซี้รบางท่านที่ว่า:   ตาบู้ตเป็นหีบไม้ที่มารดาของท่านนบีมูซา(อ.)ได้ใช้วางทารกไว้ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์และปล่อยไปตามกระแสของแม่น้ำไนล์ สามารถเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ระหว่างการที่บนีอิสรออีลเรียกร้องให้ตอลู้ตแสดงหีบตาบู้ตให้เห็นกับการที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบศาสตราวุธและหีบตาบู้ตให้แก่ท่านอิมาม(อ.)ในวันเฆาะดี้รโดยได้ข้อสรุปว่าอุปกรณ์เหล่านี้คือสิ่งที่ส่งมอบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงอิมามท่านสุดท้ายและอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะแสดงหีบและศาสตราวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกประจักษ์ ...
  • เพราะอะไรต้องครองอิฮฺรอมในพิธีฮัจญฺด้วย?
    8268 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    ฮัจญฺ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่มากไปด้วยรหัสยะและเครื่องหมายต่างๆ มากมาย ซึ่งมนุษย์ล้วนแต่นำพามนุษย์ไปสู่การคิดใคร่ครวญ และธรรมชาติแห่งตัวตน เป็นการดีอย่างยิ่งถ้าหากเราจะคิดใคร่ครวญถึงขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ชนิดก้าวต่อก้าวทั้งภายนอกและภายในของขั้นตอนการกระทำเหล่านั้น, เนื่องจากภายนอกของพิธีกรรมทีบทบัญญัติอันเฉพาะเจาะจง จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แต่ถ้ามองเลยไปถึงด้านในของพิธีกรรมฮัจญฺ ถึงปรัชญาของการกระทำเหล่านี้ก็จะพบว่ามีรหัสยะและความเร้นลับต่างๆ อยู่มากมายเช่นกัน การสวมชุดอิฮฺรอม, เป็นหนึ่งในขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ซึ่งพิธีฮัจญฺนั้นจะเริ่มต้นด้วยการครองชุดอิฮฺรอม, ชุดที่มีความเฉพาะเจาะจงพิเศษสำหรับการปฏิบัติพิธีฮัจญฺ, ถ้าพิจารณาจากภายนอกสามารถได้บทสรุปเช่นนี้ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ปวงบ่าวปฏิบัติวาญิบที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของพระองค์, ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดการสวมชุดอิฮฺรอม ให้เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) และชุดนี้ก็จะต้องมีเงื่อนไขพิเศษอันเฉพาะตัวด้วย เช่น ต้องสะอาด, ต้องไม่ตัดเย็บ และ...[1] ความเร้นลับของการสวมชุดอิฮฺรอม 1.ชุดอิฮฺรอม, คือการทดสอบหนึ่งในภราดรภาพและความเสมอภาค เป็นตัวเตือนสำหรับความตายที่รออยู่เบื้องหน้า, เป็นเครื่องหมายหนึ่งที่บ่งบอกให้เห็นว่า มนุษย์หลุดพ้นพันธนาการแห่งการทดสอบ และการผูกพันอยู่กับโลกแล้ว, เขากำลังอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ...
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6335 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
    6633 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบีทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ฉะนั้นในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆวุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้นถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับฉะนั้นการที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด ...
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6540 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8383 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38392 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25182 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...