การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5766
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/17
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1400 รหัสสำเนา 18626
คำถามอย่างย่อ
เราจะทราบได้อย่างไรว่าอิมามมะฮ์ดีพอใจในตัวพวกเรา
คำถาม
เราจะทราบได้อย่างไรว่าอิมามมะฮ์ดีพอใจในตัวพวกเรา
คำตอบโดยสังเขป

ผู้ศรัทธาและชีอะฮ์ของอิมามมะฮ์ดีทราบดีว่าการกระทำของตนเป็นที่ประจักษ์สำหรับอิมามตลอดเวลา พวกเขาพยายามใกล้ชิดกับอัลลอฮ์และขัดเกลาจิตวิญญาณของตนให้มากขึ้น และจะพยายามระมัดระวังไม่ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้ท่านไม่พอใจ ทั้งนี้ก็เนื่องจากกลัวว่าท่านจะหม่นหมองใจหรือกลัวที่จะถูกละเว้นจากความโปรดปรานของท่าน และเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจของท่านมายังตนเอง 

อิมามมะฮ์ดี(.)เป็นอิมามที่เปี่ยมด้วยเมตตาและมีความเอื้ออาทรมนุษย์ทุกคนและทุกสรรพสิ่ง เนื่องจากเป้าหมายและภารกิจของบรรดาอิมามคล้ายคลึงกับเป้าหมายและภารกิจของท่านนบี(ศ็อลฯ)นั่นเอง กุรอานได้กล่าวถึงท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ว่า
 
"لَقَدْ جاءَکُمْ رَسُولٌ مِنْ أَنْفُسِکُمْ عَزیزٌ عَلَیْهِ ما عَنِتُّمْ حَریصٌ عَلَیْکُمْ بِالْمُؤْمِنینَ رَؤُفٌ رَحیمٌ"[1]؛ ใจความก็คือ สิ่งที่ทำให้สูรำคาญใจก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านลำบากใจด้วย และท่านมีเมตตาธรรมต่อบรรดาผู้ศรัทธา 

เมื่อคำนึงถึงความเมตตาของอิมามมะฮ์ดี(.)แล้ว ก็จะเข้าใจได้ว่าท่านไม่คาดหวังจะเห็นเราประสบความยากลำบาก สิ่งที่จะทำให้ท่านพึงพอใจในตัวเราก็คือการที่เราปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และหลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้าม ดังนั้นหากเราปฏิบัติตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ (..) และได้ทำตามหน้าที่ที่พระองค์ทรงมอบหมายไว้อย่างครบถ้วนแล้ว แน่นอน ท่านอิมามมะฮ์ดี(.)ย่อมจะพึงพอใจในตัวเรา เกี่ยวกับประเด็นนี้ท่านอิมามศอดิก (.) ได้กล่าวไว้ว่า

أن رجلا قال للصادق (ع) یا ابن رسول الله فیم المروءة فقال: "أ لا یراک حیث نهاک و لا یفقدک من حیث أمرک[2]

มีผู้หนึ่งได้ถามท่านอิมามศอดิก (.) ว่า “...” ท่านอิมาม (.) ได้กล่าวว่าคือการที่อัลลอฮ์ไม่ควรได้เห็นเธอกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม และที่พระองค์ควรได้เห็นเธอกระทำตามที่พระองค์ทรงสั่ง

وَ رَوَى الْحَسَنُ بْنُ مَحْبُوبٍ عَنْ سَعْدِ بْنِ أَبِی خَلَفٍ عَنْ أَبِی الْحَسَنِ مُوسَى بْنِ جَعْفَرٍ (ع) أَنَّهُ قَالَ: "لِبَعْضِ وُلْدِهِ یَا بُنَیَّ إِیَّاکَ أَنْ یَرَاکَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ فِی مَعْصِیَةٍ نَهَاکَ عَنْهَا وَ إِیَّاکَ أَنْ یَفْقِدَکَ اللَّهُ تَعَالَى عِنْدَ طَاعَةٍ أَمَرَکَ بِهَا وَ عَلَیْکَ بِالْجِدِّ وَ لَا تُخْرِجَنَّ نَفْسَکَ مِنَ التَّقْصِیرِ فِی عِبَادَةِ اللَّهِ فَإِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَ جَلَّ لَا یُعْبَدُ حَقَّ عِبَادَتِهِ وَ إِیَّاکَ وَ الْمِزَاحَ فَإِنَّهُ یَذْهَبُ بِنُورِ إِیمَانِکَ وَ یَسْتَخِفُّ بِمُرُوءَتِکَ وَ إِیَّاکَ وَ الْکَسَلَ[3]

ท่านอิมามมูซา บินญะอ์ฟัรได้สั่งเสียแก่บุตรบางคนของท่านว่าจงหลีกเลี่ยงที่จะให้พระองค์อัลลอฮ์ (..) เห็นเธอทำในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม และจงระวังอย่าให้พระองค์เห็นเธอละเลยสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งเอาไว้...”

ส่วนผู้ที่ไม่บกพร่องในหน้าที่และไม่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นวาญิบ เช่น การนมาซ, การถือศิลอด, การคลุมฮิญาบ, การจ่ายคุมุสและซะกาต ฯลฯและไม่งดสิ่งที่เป็นฮะรอมนั้น แน่นอนว่าอิมามมะฮ์ดี(.) ย่อมไม่พึงพอใจพวกเขา ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้ที่มีความเพียรพยายามกระทำในสิ่งที่เป็นมุสตะฮับ เช่นการไปซิยาเราะฮ์และการไว้ทุกข์ให้กับท่านอิมามฮุเซน (.) และการไปมัสยิดญัมกะรอน ก็ตาม

ดังนั้นสามารถที่จะสรุปได้ว่า ความพึงพอใจของอิมามมะฮ์ดี(.) ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของอัลลอฮ์ (..) และความพึงพอใจของพระองค์ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระองค์ ซึ่งหมายถึงการกระทำสิ่งที่เป็นวาญิบและการงดเว้นสิ่งที่เป็นฮะรอมนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะท่านอิมามมะฮ์ดี(.)เองก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและปกป้องค่านิยมทางศาสนาด้วยเช่นกัน...

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ที่ หมวดหมู่ จะสามารถเป็นที่รักของพระองค์ได้อย่างไร? คำถามที่ 261



[1] อัตเตาบะฮ์, 128

[2] ฟิกอุรริฏอ, หน้าที่ 358

[3] มันลายะฮ์ٍฎุรุฮุลฟะกีฮ์, เล่มที่ 4, หน้าที่ 409

คำตอบเชิงรายละเอียด
คำถามนี้ไม่มีคำตอแบบรายละเอียด
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7285 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5590 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • มีการกล่าวถึงรายชื่อบุคคลทั้งห้าในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลหรือไม่?
    5520 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/11
    ดังที่ฮะดีษบางบทกล่าวไว้ว่ารายชื่อของบุคคลทั้งห้าผู้เป็นชาวผ้าคลุม (อ.) อันประกอบด้วยท่านศาสดา (ซ.ล.), อิมามอลี (อ.), ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.), อิมามฮะซัน (อ.), อิมามฮุเซน (อ.) มีการกล่าวถึงในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลซึ่งในการถกระหว่างอิมามริฏอ (อ.) กับบาทหลวงคริสต์และแร็บไบยิวได้มีกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวด้วย ...
  • ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มีบุคลิกภาพด้านใดบ้าง?
    10974 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/09/22
    มิติบุคลิกภาพด้านต่างๆของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในลักษณะที่จะต้องได้รับการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเท่านั้นจึงจะสามารถประจักษ์ได้ซึ่งการนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมิติด้านศีลธรรมและจิตใจความรู้และการต่อสู้ของนางทั้งในเชิงการเมืองและสังคมขอหยิบยกบุคลิกภาพอันโดดเด่นของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ที่กล่าวถึงในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์)มานำเสนอโดยสังเขปดังนี้1. ท่านหญิงใช้ชีวิตเรียบง่ายและพอใจวิถีชีวิตสมถะทั้งที่สามารถจะได้รับความสะดวกสบายขั้นสูงสุด2. บริจาคของรักของตนมากมายทั้งที่ยังจำเป็นต้องใช้3. ทำอิบาอะฮ์และวิงวอนต่ออัลลอฮ์สม่ำเสมอด้วยความบริสุทธิใจ4. เป็นภาพลักษณ์แห่งจริตกุลสตรีและความเหนียมอาย5. แบบฉบับที่สมบูรณ์ด้านการสวมฮิญาบตามวิถีอิสลาม6. มีความรู้อันกว้างขวางซึ่งประจักษ์ได้จากการรับทราบเนื้อหาในตำรา"มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์"7.
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
    6905 ประวัติสถานที่ 2554/08/08
    มัสญิดญัมกะรอนหนึ่งคือในสถานที่ศักดิสิทธิและเป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุมประมาณ๖กิโลเมตรมัสญิดแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ๑๐๐๐ปีที่แล้วโดยคำสั่งของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างได้รับคำสั่งดังกล่าวในขณะตื่น (ไม่ใช่ในฝัน) ซึ่งความเมตตาและสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้ปรากฎณสถานที่แห่งนี้อีกทั้งเป็นสถานที่นัดหมายสำหรับผู้ที่รอคอยการมาของท่านและมีความรักต่อท่านมัรฮูมมิรซาฮูเซนนูรีได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนโดยอ้างอิงจากเชคฟาฏิลฮะซันบินฮะซันกุมี (อยู่ยุคสมัยเดียวกับเชคศอดูก) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองกุม”[1] จากหนังสือ “มูนิซุลฮะซีนฟีมะอ์ริฟะติลฮักวัลยะกีน”[2] ว่า:[3]เชคอะฟีฟศอและฮ์ฮะซันบินมุซลิฮ์ยัมกะรอนีได้กล่าวว่า: ในคือวันพุธที่๑๗เดือนรอมฏอนปี๓๙๓ฮ. ฉันได้นอนอยู่ในบ้านทันใดนั้นได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งมาที่ประตูบ้านของฉันและได้ปลุกฉันและได้กล่าวกับฉันว่าจงลุกขึ้นและทำตามความต้องการของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งท่านได้เรียกหาท่านอยู่พวกเขาได้พาฉันมาสถานที่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายมาเป็นมัสญิดญัมกะรอนแล้วท่านอิมามมะฮ์ดีได้เรียกชื่อของฉันและได้กล่าวว่า: “ไปบอกกับฮะซันบินมุสลิมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันบริสุทธ์ที่อัลลอฮ์ทรงเลือกและให้สถานที่แห่งนี้มีความบริสุทธ์เจ้าได้ยึดครองสถานที่แห่งนี้...ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า: จงบอกประชาชนว่าให้รักและหวงแหนสถานที่แห่งนี้”[4]อายาตุลลอฮ์อัลอุซมามัรอะชีนะญะฟีได้กล่าวยอมรับความศักดิ์สิทธิของมัสญิดญัมกะรอนว่า: ชีอะฮ์ทั่วไปให้ความสำคัญต่อมัสญิดอันศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ตั้งแต่สมัยของการเร้นกายระยะแรกของท่านอิมามมะฮ์ดีจนถึงปัจจุบันซึ่งกินระยะเวลาถึงพันสองร้อยสองปีท่านเชคผู้สูงส่งมัรฮูมศอดูกได้กล่าวในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “มูนิซุลฮะซีน” ซึ่งฉันยังไม่ได้อ่านเองทว่ามัรฮูมฮัจยีมิรซาฮุเซนนูรีซึ่งเป็นอาจารย์ของฉันได้เล่าจากหนังสือเล่มนั้นว่าอุลามาอ์และนักวิชาการชั้นนำของชีอะอ์ให้ความเคารพมัสญิดแห่งนี้กันถ้วนหน้าและสิ่งมหัศจรรย์มากมายได้ปรากฏในมัสญิดญัมกะรอนแห่งนี้
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8277 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • ความหมายของประโยคที่กล่าวว่า «السلام علیک یا حجة الله لا تخفی» คืออะไร?
    7123 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    เป็นประโยคหนึ่งจากซิยาเราะฮ์ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งได้บันทึกไว้ในหนังสือฮะดีษและดุอาอ์ต่าง ๆ[1] เกี่ยวกับประโยคดังกล่าวสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประการ อิมามมะฮ์ดี(อ.) เป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการเป็นฮุจญะฮ์ได้รับการพิสูจน์โดยเหตุผลทางสติปัญญาและฮะดีษแล้ว[2] ดังนั้นการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ชัดเจนแน่นอน และเป็นที่ยอมรับสำหรับทุกคนที่มีความคิดและสติปัญญาที่สมบูรณ์ อิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งเป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อยู่ในหมู่พวกเรา และไม่ได้จากไปไหน แต่ทว่าเรามองไม่เห็นท่าน เสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่หลังก้อนเมฆ[3] ดังนั้น แม้ว่าร่างกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) จะไม่ปรากฏให้สาธารณะชนเห็นเนื่องด้วยภัยคุกคามหรือเหตุผลอื่นๆ แต่การรู้จักท่าน ตลอดจนภาวะการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ประจักษ์สำหรับผู้คนอย่างชัดเจน และทุกคนรับรู้ในสิ่งนี้เป็นอย่างดี ท่านอยู่ในดวงใจของผู้ศรัทธามิเสื่อมคลาย และประชาชนต่างดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคำแนะนำและภายใต้การดูแลของท่านเสมอมา อ่านเพิ่มเติมได้ที่
  • จะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และการปรากฏกายของท่าน ด้วยอัลกุรอานได้อย่างไร?
    6145 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เบื้องต้นจำเป็นต้องรับรู้ว่าอัลกุรอานเพียงแค่กล่าวเป็นภาพรวมเอาไว้ส่วนรายละเอียดและคำอธิบายปรากฏอยู่ในซุนนะฮฺของศาสดา (ซ็อลฯ).
  • ผมเป็นชาวฟิลิปินส์ ในสถานการณ์ที่ผมไม่สามารถไปหามุจตะฮิดคนใดคนหนึ่งได้ และในกรณีที่ผมไม่มั่นใจว่ามีผู้ที่เป็นซัยยิด (เป็นลูกหลานของท่านศาสดา (ซ.ล.) ที่เป็นผู้ยากไร้อาศัยอยู่ในประเทศของผมหรือไม่นั้น ผมจะต้องจ่ายคุมุสแก่ผู้ใด?
    6140 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบที่ได้รับมาจากสำนักงานต่างๆของบรรดามัรยิอ์มีดังนี้สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์ซิซตานี–คุณสามารถที่จะแยกเงินคุมุสของท่านไว้และเก็บไว้ก่อนจนกว่าจะมีโอกาสที่จะนำเงินดังกล่าวไปมอบให้กับตัวแทนของท่านอายะตุลลอฮ์สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี–สามารถจ่ายทางเว็บไซต์ของมัรญะอ์ดังกล่าวได้คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ฮาดาวีย์เตหะรานีเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวคือคุณสามารถจ่ายทางอินเตอร์เน็ตได้โดยโอนเงินให้กับมุจตะฮิดหรือตัวแทนของท่านและทางที่ดีควรจ่ายให้กับผู้นำรัฐหรือตัวแทนของท่านในทุกกรณีไม่สามารถจ่ายเงินคุมุสให้กับผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่านหรือตัวแทนของท่านเสียก่อน ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5837 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    มีอยู่ 12 ประการที่ทำให้นมาซบาฏิล (เสีย) ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า มุบฏิลลาตของนมาซ 1.สูญเสียหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญระหว่างนมาซ 2.สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺ หรือฆุซลฺบาฏิล (เสีย) ได้เล็ดรอดออกมาขณะนมาซ 3. กอดอกขณะนมาซ 4.กล่าวคำว่า “อามีน” หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺจบ 5. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ ขณะนมาซ 6.กล่าวคำพูดบางคำขณะนมาซ 7.หัวเราะโดยมีเสียดังออกมาหรือกระทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน 8.ตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงดังออกมา 9. กระทำบางภารกิจอันเป็นเหตุทำให้สูญเสียสภาพนมาซ 10.กินและดื่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59309 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41585 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38351 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38325 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33397 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27491 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27173 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25140 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...