การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5804
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/09/30
คำถามอย่างย่อ
ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ คืออะไร?
คำถาม
ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ. ความแตกต่างของทั้งสองคำนี้ในแง่ภาษาแล้วถือว่าชัดเจน แต่ต้องการทราบถึงการวิเคราะห์ของทั้งสองระดับว่าจะทำได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

อัลกุราอนและรายงานฮะดีซมิได้มีการตีความคำว่า »ดารุลฮัซเราะฮฺ« เอาไว้ คงมีแต่ประโยคที่ว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« (จะถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงวันแห่งความเสียใจ ความหดหู่ใจที่เกิดจากการสูญเสียบางสิ่งไป) ซึ่งถูกใช้ในอัลกุรอานเพียง 1 ครั้ง แต่ถูกใช้จำนวนหลายครั้งในรายงานฮะดีซ จุดประสงค์ของคำว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« ที่ปรากฏอยู่ทั้งในอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ หมายถึงวันกิยามะฮฺ (วันฟื้นคืนชีพ) เนื่องจากวันฟื้นคืนชีพนั้น ชาวสวรรค์ จะเสียใจว่าสามารถกระทำสิ่งที่ดีกว่านี้ได้ เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งกว่า ส่วนชาวนรกก็เสียใจว่า โอ้ พระเจ้าพวกเราไม่หน้ากระทำบาปเลย จะได้ไม่ต้องตกเป็นชาวนรกเช่นนี้

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลกุรอาน กล่าวถึงวันกิยามะฮฺในฐานะสถานพำนักหลักสำหรับมนุษย์ ด้วยนามชื่อที่แตกต่างกัน เช่น อัลวากิอะฮฺ, อัรรอญิฟะฮฺ, อัฏฏอมะฮฺ, อัซซอเคาะฮฺ, อัลฮากเกาะฮฺ, เยามุลฟัฎล์, เยามุลนะดิม, เยามุลนุชูร,เยามุลฮัก, เยามุลมัซอะละฮฺ, เยามุลฮิซาบ, เยามุลมะฮาซิบะฮฺ, เยามุลตะลาก, และเยามุลฮัซเราะฮฺ, ซึ่งคำเหล่านี้ถูกกล่าวในอัลกุรอานในฐานะของ วันกิยามะฮฺ

ความหมายของ ฮัซรัต :

ความหมายเดิมของคำว่า ฮัซรัต คือการเปิดเผยชัดเจน ความชัดเจน[1]มีคำกล่าวว่าเนื่องจากวันกิยามะฮฺความจริง และความเร้นลับต่างๆ จะถูกเปิดเผยชัดเจนออกมา (วันซึ่งความเร้นลับภายในของบุคคลจะถูกเปิดเผยออกมาอย่างชัดเจน)[2] และวันนั้นเรียกว่า วันแห่งความเสียใจ[3] คำว่า ฮัซรัต ยังถูกใช้ในความหมายอื่นอีก เช่น ในความหมายว่า “การสำนึกผิด” (เนื่องจากสิ่งหนึ่งได้หลุดลอยมือไป และไม่สามารถทดแทนสิ่งนั้นได้อีก) และเนื่องจากว่าผลของการเปิดเผยความจริงอันชัดเจน, เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องเสียใจและสำนึกผิดในสิ่งที่ได้กระทำลงไป, จึงเรียกวันนั้นว่า วันแห่งความเสียใจ ซึ่งการนำไปใช้ในลักษณะนี้ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นการใช้ในความหมายสำรองมากกว่า. ทำนองเดียวกันบางครั้งกล่าวว่า ฮัซรัต ก็ถูกนำไปใช้ในความหมายว่า การตกค้างจากการขับเคลื่อน ดังนั้น ตามคำอธิบายข้างต้นจะเห็นว่า ในวันกิยามะฮฺมนุษย์จะตกค้างจากขบวนการขับเคลื่อน และเขาไม่สามารถกระทำการงานอื่นใดต่อไปได้อีก งานของเขาจะถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งตามคำอธิบายของอัลกุรอาน »ในวันนั้นขณะที่ทุกสิ่งสิ้นสุดลง«[4] ซึ่งไม่อาจทดแทนได้อีกต่อไป, ดังนั้น วันฟื้นคืนชีพถูกเรียกว่าเป็นวันแห่งความเสียใจ ทำนองเดียวกันบางครั้งหมายถึง ความหวาดกลัวและกังวล ซึ่งวันกิยามะฮฺได้ถูกเรียกว่าเป็นวันแห่งความเสียใจและเป็นกังวล เนื่องจากในวันนั้นมนุษย์จะได้เห็นฉากใหม่ๆ ที่แปลกประหลาด พวกเขาจะกังวลและมีความงงงวย พร้อมกับความระหนเป็นที่สุด

ส่วนการที่กล่าวว่า “ดารุลฮัซเราะฮฺ” มิได้มีการกล่าวไว้ในตำราศาสนาแต่อย่างใด ทั้งในอัลกุรอาน และฮะดีซ แต่ประโยคที่ว่า »เยามุลฮัซเราะฮฺ« มีกล่าวไว้ทั้งในอัลกุรอานและฮะดีซ

อัลกุรอาน กล่าวว่า :  »โอ้ เราะซูลจงเตือนสำทับพวกเขาถึงวันแห่งความเสียใจ ขณะที่วันนั้นทุกสิ่งกำลังจะสิ้นสุดลง และพวกเขาอยู่ในหลงลืมและพวกเขาไม่มีศรัทธา«[5]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวอธิบายไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า : จากบริบทของโองการเข้าใจได้ว่าสาเหตุของความเสียใจของพวกเขาคือ การงานของพวกเขาได้สิ้นสุดลง และพวกเขากำลังติดตามผลงานของตน ต่อมาทราบว่าพวกเขาได้รับความเสียหายและขาดทุนยิ่ง สิ่งที่พวกเขาได้พยายามสั่งสมไว้ ได้อันตรธานหายไปจากมือ ซึ่งโองการกล่าวต่อไปว่า : สาเหตุของความเสียหายของพวกเขาคือ การหลงลืมของพวกเขาบนโลกนี้นั่นเอง[6]

วันแห่งความเสียใจ, คือวันซึ่งประชาชนรู้สึกหดหู่และเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความเพิกเฉยและเลยในการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ[7] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :             »ความหายนะประสบแด่บุคคลที่หลงลืมและเพิกเฉย ซึ่งอายุขัยของเขาต่อต้านการดำรงอยู่ของเขา มิหนำซ้ำชีวิตประจำวันของเขายังฉุดกระชากเขาไปสู่ความอับโชค«[8]

มีรายงานฮะดีซที่สวยงามหลายบท กล่าวอธิบายไว้ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺและซุนนียฺ โดยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย กล่าวว่าบรรดามะอฺซูม (อ.) ได้อธิบายโองการดังกล่าวด้วยตัวอย่างที่งดงามยิ่ง มีผู้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) เกี่ยวกับโองการดังกล่าว, ท่านอิมาม กล่าวว่า : »หลังจากชาวสวรรค์ได้เข้าสู่สวรรค์ และชาวนรกได้ถูกนำตัวสู่นรกแล้ว, จะมีเสียงเรียกดังมาจากพระผู้เป็นเจ้าว่า : โอ้ บรรดาชาวสวรรค์เอ๋ย และโอ้ บรรดาชาวนรก พวกเธอรู้ไหมว่าความตายจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร. มีเสียงตอบว่า ไม่. อุปมาความตายประหนึ่งแกะตอนตัวผู้สีเทา ซึ่งจะอยู่ระหว่างสวรรค์และนรก. หลังจากนั้นได้เรียกทั้งหมดให้เข้ามาใกล้ๆ และจงมองดูความตายเถิด, หลังจากเข้ามาใกล้ๆ แล้ว, อัลลอฮฺทรงมีบัญชาให้เชือดสัตว์ แล้วมีเสียงกล่าวว่า : โอ้ บรรดาชาวสวรรค์เอ๋ย จะได้พำนักอยู่ในสวรรค์ตลอดไป จะไม่มีวันตาย ความหายนะจงมีแด่ชาวนรก ซึ่งพวกเจ้าจะได้พำนักอยู่ในนรกตลอดไป โดยไม่ตาย« หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า : นี่คือคำอธิบายของพระเจ้า ที่ตรัสว่า : »จงทำให้พวกเขากลัววันแห่งความเสียใจ, ในเวลานั้นขณะที่ทุกสิ่งกำลังจะสิ้นสุดลง แต่พวกเขาอยู่ในระหว่างการหลงลืม และไม่ศรัทธา« หมายถึงการงานของชาวสวรรค์ ได้ทำให้พวกเขาธำรงเป็นนิจนิรันดร์อยู่ในสวรรค์ และการงานของชาวนรก ได้ทำให้พวกเขาธำรงอยู่ในนรกตลอดไป«[9] แหล่งอ้างอิงบางฉบับ ได้รายงานฮะดีซต่อไปอีกว่า : » ชาวสวรรค์มีความปิติยินเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเขาจะตายในที่นั้นก็ตายเพราะความดีใจ ส่วนชาวนรกจะส่งเสียงตะโกนโหวกเหวก ซึ่งถ้าเขาจะตายในที่นั้นก็ตายเพราะ ความเสียใจ«[10]

ใช่, ในโลกนั้นบรรดาพวกที่ทำความผิด ต่างแสดงความเสียใจและสำนึกผิดว่า เพราะอะไรพวกเขาจึงไม่ทำความดี และผู้ที่ประกอบความดีก็จะเสียใจเช่นกันว่า โอ้ พระเจ้า ทำไมเราจึงไม่ทำความดีงามให้มากกว่านี้.ชาวสวรรค์ในเวลานั้นยังมิได้รำลึกถึงอัลลอฮฺ เขาจะเสียใจและกล่าวประณามถากถางตัวเอง[11]

ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : จะมีสองคนในวันฟื้นคืนชีพแสดงความเสียใจมากกว่าใครทั้งหมด, หนึ่งในนั้นคือ บุคคลที่สามารถใฝ่หาความรู้ได้บนโลกได้, แต่ว่าไม่ได้กระทำ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ผู้ที่ได้สอนความรู้แก่คนอื่น ซึ่งผู้เรียนรู้ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้นั้น, แต่ส่วนเขามิได้รับประโยชน์อันใดจากความรู้ของตน«[12]

การงานไม่ดีและความเฉยเมยทางโลก จะมีความเสียใจตามไปในปรโลกหน้า[13]

 


[1] อัลอัยนฺ, เล่ม 3, หน้า 134, ลิซานุลอาเราะบี, เล่ม 4, หน้า 189.

[2] บทอัฏฏอริก, 9.

[3] เราฎุลญินาน และเราฮุลญินาน, เล่ม 13, หน้า 83

[4] บทมัรยัม, 39.

[5] وَ أَنْذِرْهُمْ يَوْمَ الْحَسْرَةِ إِذْ قُضِيَ الْأَمْرُ وَ هُمْ في‏ غَفْلَةٍ وَ هُمْ لا يُؤْمِنُونบทมัรยัม, 39.

[6] อัลมีซาน, เล่ม14. หน้า 51

[7] อัตติบยาน,เล่ม 7,หน้า 127

[8] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เฟฎุลอิสลาม, คำเทศนาที่ 63, หน้า 153.

[9] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 346, และรายงานที่คล้ายกันบันทึกอยู่ใน เซาะฮียฺบุคอรียฺ เล่ม 5, หน้า 236, และในแหล่งอ้างอิงอีกจำนวนมากของชีอะฮฺ และซุนนียฺ

[10] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 345,

[11] กันซุลอุมาล, เล่ม 1, ฮะดีซที่ 1806

[12] นะฮฺญุลฟะซอฮะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 245.

[13] ฆุรรอรุลฮะกัม, ฮะดีซ 10626.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การนำเอาเด็กเล็กไปร่วมงานอ่านฟาติฮะฮฺ ณ กุบูร เป็นมักรูฮฺหรือไม่?
    6117 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    การนำเด็กๆ เข้าร่วมในมัจญฺลิซ งานประชุมศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา, การนำเด็กๆ ไปมัสญิด, หรือพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในเดือนมุฮัรรอม หรืองานเทศกาลอื่นๆ ทางศาสนา, เช่น เข้าร่วมนมาซอีดฟิฏร์ อีดกุรบาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกับศาสนาของพวกเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนการนำเด็กๆ ไปร่วมพิธีอ่านฟาติฮะฮฺ ณ สถานฝังศพ ซึ่งได้ค้นหารายงานจากตำราต่างๆ ด้านฟิกฮฺอิสลามแล้ว ไม่พบรายงานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นมักรูฮฺ ถ้าหากมีรายงานหรือเหตุผลอันเฉพาะเจาะจงจากสามีหรือภรรยาของคุณ กรุณาชี้แจงรายละเอียดมากกว่านี้แก่เราเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามของคุณ สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ : 1.รายงานที่กล่าวถึงผลบุญในการกล่าวแสดงความเสียใจกับเจ้าของงาน และการไปยังสถานฝังศพ เป็นรายงานทั่วไปกว้างๆ แน่นอนย่อมครอบคลุมถึงเด็กและเยาวชนด้วย 2.จากแนวทางการปฏิบัติของรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ...
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    5940 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    6904 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2557/05/22
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12508 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5610 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • ความหมายของประโยคที่กล่าวว่า «السلام علیک یا حجة الله لا تخفی» คืออะไร?
    7158 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    เป็นประโยคหนึ่งจากซิยาเราะฮ์ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งได้บันทึกไว้ในหนังสือฮะดีษและดุอาอ์ต่าง ๆ[1] เกี่ยวกับประโยคดังกล่าวสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประการ อิมามมะฮ์ดี(อ.) เป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการเป็นฮุจญะฮ์ได้รับการพิสูจน์โดยเหตุผลทางสติปัญญาและฮะดีษแล้ว[2] ดังนั้นการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ชัดเจนแน่นอน และเป็นที่ยอมรับสำหรับทุกคนที่มีความคิดและสติปัญญาที่สมบูรณ์ อิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งเป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อยู่ในหมู่พวกเรา และไม่ได้จากไปไหน แต่ทว่าเรามองไม่เห็นท่าน เสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่หลังก้อนเมฆ[3] ดังนั้น แม้ว่าร่างกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) จะไม่ปรากฏให้สาธารณะชนเห็นเนื่องด้วยภัยคุกคามหรือเหตุผลอื่นๆ แต่การรู้จักท่าน ตลอดจนภาวะการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ประจักษ์สำหรับผู้คนอย่างชัดเจน และทุกคนรับรู้ในสิ่งนี้เป็นอย่างดี ท่านอยู่ในดวงใจของผู้ศรัทธามิเสื่อมคลาย และประชาชนต่างดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคำแนะนำและภายใต้การดูแลของท่านเสมอมา อ่านเพิ่มเติมได้ที่
  • ความเชื่อคืออะไร
    17268 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ความเชื่อคือความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คนและพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้นความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลามได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ ...
  • ท่านอับบาสอ่านกลอนปลุกใจว่าอย่างไรขณะกำลังนำน้ำมา
    8692 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/25
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ไม่ถือเป็นนะญิสและสามารถกินได้ไช่หรือไม่?
    11937 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    แอลกอฮอล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักหนึ่งคือแอลกอฮอล์ที่ได้มาจากอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมีและประเภทที่สองคือแอลกอฮอล์ที่ได้มาจากการกลั่นระเหยของเหล้าและเนื่องจากเอทานอลเป็นหนึ่งในแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมประเภทต่างๆดังนั้นเราจึงต้องมาวิเคราะห์ประเด็นแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมเสียก่อน
  • เราสามารถทำงานในร้านที่ผลิตหรือขายอาหารที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อสุกรได้หรือไม่?
    5909 ข้อมูลน่ารู้ 2557/03/04
    บรรดามัรญะอ์ตักลี้ด (ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต่างก็ไม่อนุญาตให้ทำงานในสถานประกอบการที่จัดจำหน่ายสิ่งฮะรอม (ไม่อนุมัติตามหลักอิสลาม) ฉะนั้น หากหน้าที่ของท่านคือการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นการเฉพาะ งานดังกล่าวจะถือเป็นสิ่งฮะรอม ส่วนกรณีอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ถือว่าไม่มีข้อห้ามประการใด อย่างไรก็ดี สามารถสัมผัสอาหารฮะรอมตามที่ระบุในคำถามได้ (โดยไม่บาป) แต่หากสัมผัสขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จะต้องชำระล้างนะญิส (มลทินภาวะทางศาสนา) ด้วยน้ำสะอาดตามที่ศาสนากำหนด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59365 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27109 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...