การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6214
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa18012 รหัสสำเนา 22082
คำถามอย่างย่อ
โองการ اخْلُفْنِی فِی قَوْمِی وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِیلَ الْمُفْسِدِینَ กล่าวโดยผู้ใด และปรารภกับผู้ใด?
คำถาม
โองการ اخْلُفْنِی فِی قَوْمِی وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِیلَ الْمُفْسِدِینَ เป็นการปรารภกับผู้ใด และกล่าวโดยผู้ใด?
คำตอบโดยสังเขป

โองการที่ถามมานั้น กล่าวถึงคำสั่งของท่านนบีมูซา(อ.)ที่มีแด่ท่านนบีฮารูน(อ.)ขณะกำลังจะเดินทางจากชนเผ่าของท่านไป ทั้งนี้เนื่องจากการแต่งตั้งตัวแทนจะกระทำในยามที่บุคคลกำลังจะลาจากกัน เมื่อท่านนบีมูซาได้รับบัญชาให้จาริกสู่สถานที่นัดหมายจึงแต่งตั้งท่านนบีฮารูน (ซึ่งดำรงตำแหน่งนบีอยู่แล้ว) ให้เป็นตัวแทนของท่านในหมู่ประชาชน และได้กำชับให้ฟื้นฟูดูแลประชาชน และให้หลีกห่างกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย[1]

อนึ่ง ท่านนบีฮารูน(อ.)เองก็มีฐานะเป็นนบีและปราศจากความผิดบาป อีกทั้งไม่คล้อยตามผู้นิยมความเสื่อมเสียอยู่แล้ว ท่านนบีมูซาเองก็ย่อมทราบถึงฐานันดรภาพของพี่น้องตนเองเป็นอย่างดี ฉะนั้น คำสั่งนี้จึงมิได้เป็นการห้ามมิให้นบีฮารูนทำบาป แต่ต้องการจะกำชับมิให้รับฟังทัศนะของกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย และอย่าคล้อยตามพวกเขาจนกว่าท่านนบีมูซาจะกลับมา[2] ฉะนั้น ประโยคที่ว่า وَ أَصْلِحْ وَ لا تَتَّبِعْ سَبِیلَ الْمُفْسِدِینَ หมายถึงการฟื้นฟูกิจการประชาชนโดยไม่คล้อยตามรสนิยมและแนวทางที่กลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสียได้เสนอมา

จากโองการนี้ทำให้ทราบว่าในขณะนั้นมีกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสียอยู่ในหมู่บนีอิสรออีลด้วย ซึ่งจ้องจะขัดขวางภารกิจและทำลายผลของความเพียรพยายามของนบีทั้งสองท่านนี้ ด้วยเหตุนี้เอง ท่านนบีมูซาจึงสั่งกำชับแก่ท่านนบีฮารูน(อ.)มิให้คล้อยตามแนวทางที่คนเหล่านี้พยายามเสนอแนะ เพื่อมิให้ตกอยู่ใต้อาณัติของพวกเขา อันจะแปรเปลี่ยนเอกภาพในหมู่ประชาชนที่ได้มาด้วยความอดทนต่ออุปสรรคนานัปการให้กลายเป็นความแตกแยกในที่สุด[3]



[1] ที่จริงแล้วท่านนบีมูซา(อ.)ได้รับบัญชาให้พำนัก ณ ที่นั่นเป็นเวลาสามสิบคือ (หนึ่งเดือนเต็ม) แต่ได้มีการเพิ่มระยะเวลาอีกสิบวัน กลายเป็นสี่สิบวัน ท่านจึงต้องตั้งตัวแทนไว้ “และเราได้นัดหมายมูซาสามสิบคืน และได้เพิ่มอีกสิบคืน กระทั่งครบการนัดหมายกับพระผู้เป็นเจ้าถึงสี่สิบคืน...” อาลิอิมรอน,42

[2] อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 8,หน้า 236

[3] เพิ่งอ้าง

คำตอบเชิงรายละเอียด
คำถามนี้ไม่มีคำตอแบบรายละเอียด
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
    7683 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/24
    ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท ก.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้แข็งแรงและเศาะฮี้ห์ ขกลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถืออ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.ฮะดีษที่ยกมานั้นหนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บของอิบนิชะฮ์รอชู้บแต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจนจึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือแต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9374 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • กรุณาเล่าถึงพจนารถของอิมามอลี(อ.)ที่ว่า อะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่า อะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่า สิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่า สิ่งใดอยู่ใกล้ และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า?
    6155 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษบทหนึ่งไว้ในหนังสือบิฮารุลอันว้ารว่า “มีผู้สอบถามอิมามอลีว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่าอะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่าสิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่าสิ่งใดอยู่ใกล้และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า? แต่ก่อนที่ชายผู้นั้นจะถามจนจบท่านอิมามได้ตอบด้วยบทกวีที่ว่า...توب رب الورى واجب علیهمو ترکهم للذنوب اوجب‏و الدهر فی صرفه عجیبو غفلة الناس فیه اعجب‏
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    8726 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงบิดเบือน
    6850 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    สำหรับความกระจ่างในประเด็นดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญต่อไปนี้1. ถ้าหากวัตถุประสงค์ของท่านจากคำว่าชีอะฮฺหมายถึงความประพฤติที่ผิดพลาดซึ่งชีอะฮฺบางคนได้กระทำลงไปแล้วนำเอาความประพฤติเหล่านั้นพาดพิงไปยังนิกายชีอะฮฺถือว่าไม่มีความยุติธรรมสำหรับชีอะฮฺเอาเสียเลยเนื่องจากอิสลามโดยตัวตนแล้วไม่มีข้อบกพร่องอันใดทั้งสิ้นทุกข้อบกพร่องนั้นมาจากมุสลิมของเรา2. ...
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    6913 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2557/05/22
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12086 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...
  • ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอน คืออะไร?
    16991 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    บนพื้นฐานของอัลกุรอาน,อิบลิซเป็นหนึ่งในหมู่ญิน เนื่องจากการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงทำให้อิบลิซได้ก้าวไปอยู่ในระดับเดียวกันกับมะลาอิกะฮฺ แต่หลังจากการสร้างอาดัม, อิบลิซได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ไมยอมกราบอาดัม, จึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตแห่งนั้น ส่วนชัยฏอนนั้นจะใช้เรียกทุกการมีอยู่ ที่แสดงความอหังการ ยโสโอหัง ละเมิด และฝ่าฝืน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรรพสัตว์ก็ตาม ขณะเดียวกันอิบลิซนั้นได้ถูกเรียกว่าชัยฏอน ก็เนื่องจากโอหังและฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ดังนั้น ถ้าจะกล่าวแล้ว “ชัยฏอน” เป็นนามโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมเหนือทั้งอิบลิซ และไม่ใช่อิบลิซ ...
  • แต่งงานมา 8 ปีและไม่เคยชำระคุมุสเลย กรุณาให้คำแนะนำด้วย
    5536 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา ซิซตานี วันแรกของการทำงานถือว่าเป็นต้นปีของการชำระคุมุส และในวันครบรอบวันนั้นของทุก ๆ ปีจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสในสิ่งที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือสิ่งของก็ตาม เช่นข้าวสารอาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้และเสื้อผ้าที่เหลือใช้เป็นต้น หากภายในหนึ่งปีไม่ได้ใช้สิ่งของเหล่านั้น และหากปีก่อน ๆ ไม่ได้คำนวนและชำระคุมุสก็จะต้องทำเช่นนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี จะต้องชำระย้อนหลังในส่วนที่หลงเหลือมาจนทบปีใหม่ซึ่งเผอิญใช้ชำระไปทั้งที่ยังไม่ได้ชำระคุมุสของปีก่อนๆ และหากไม่แน่ใจว่าคุมุสที่ค้างอยู่นั้นมีจำนวนเท่าใด จะต้องชำระในจำนวนที่แน่ใจไว้ก่อน ถึงแม้ว่าจะทยอยชำระก็ตาม และอิฮ์ติยาฏวาญิบจะต้องเจรจากับตัวแทนของมัรญะอ์เกี่ยวกับจำนวนคุมุสที่คลุมเคลือด้วย อย่างเช่น หากสันนิษฐานในระดับ 50 เปอร์เซนต์ว่าต้องชำระคุมุสจำนวนหนึ่ง ก็สามารถชำระครึ่งหนึ่งของคุมุสจำนวนนั้น และหากเป็นบ้าน, ของใช้ในบ้าน, รถ หรือของใช้อื่น ๆ ซึ่งได้ซื้อมาด้วยกับเงินที่ได้มาในตลอดทั้งปี และได้ใช้อยู่เป็นประจำก็จะถือว่าไม่ต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา มะการิม ชีรอซี ไม่จำเป็นที่จะต้องชำระเงินคุมุสของบ้านและเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด อีกทั้งยานพาหนะ (ถ้ามี) ให้คำนวนของใช้ที่เหลือและหักลบหนี้สินที่เกี่ยวข้องออกไป สามารถชำระคุมุสจากเงินที่เหลือทั้งหมดด้วยเงินสดหรือเงินผ่อนได้
  • อัคล้ากกับเชาวน์ปัญญามีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?
    6124 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/18
    อัคล้าก (จริยธรรม) แบ่งออกเป็นสองประเภทเสมือนศาสตร์แขนงอื่นๆดังนี้ก. จริยธรรมภาคทฤษฎีข. จริยธรรมภาคปฏิบัติการเรียนรู้หลักจริยธรรมภาคทฤษฎีมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเชาวน์ปัญญา กล่าวคือ ยิ่งมีความเฉลียวฉลาดเท่าใด ก็ยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่หากมีเชาวน์ปัญญาน้อย ก็จะทำให้เรียนรู้จริยศาสตร์ได้น้อยตามไปด้วยทว่าในส่วนของภาคปฏิบัติ (ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นจุดประสงค์หลักของผู้ถาม) จำเป็นต้องชี้แจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้มีการนิยามคำว่าอัคล้ากว่า เป็นพหูพจน์ของ “คุ้ลก์” อันหมายถึง “ทักษะทางจิตใจของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระทำการใดๆโดยอัตโนมัติ”ฉะนั้น อัคล้าก (จริยธรรม) ก็คือนิสัยและความเคยชินที่หยั่งรากลึกในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่ต้องข่มใจ นั่นหมายความว่า การทำดีในลักษณะที่เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น แม้จะถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ไม่ถือเป็นความประเสริฐทางอัคล้าก ผู้ที่มีอัคล้ากดีก็คือผู้ที่กระทำความดีจนกลายเป็นอุปนิสัย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59384 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56832 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41663 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38412 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38411 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33442 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27535 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27230 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27124 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25197 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...