การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9282
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
บุคลิกของอบูดัรดาอฺ เป็นเชนไร? อะฮฺลุลบัยตฺมีทัศนะอย่างไรกับเขา? รายงานที่เป็นมันกูลจากเขามีกฎเป็นอย่างไร?
คำถาม
บุคลิกของอบูดัรดาอฺ เป็นเชนไร? อะฮฺลุลบัยตฺมีทัศนะอย่างไรกับเขา? รายงานที่เป็นมันกูลจากเขามีกฎเป็นอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

อุมัรบิน มาลิก เป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่า คัซร็อจญฺ ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า อบูดัรดาอฺ เขาเป็นหนึ่งในเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอยู่ในฐานะของผู้สืบเชื้อสายมาจากเผ่าคัซร็อจญฺ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมะดีนะฮฺ แต่หลังจากที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้เดินทางมามะดีนะฮฺได้ไม่นานนัก เขาก็เข้าพบท่านเราะซูล และได้ยอมรับอิสลาม

อบูดัรดาอฺ คือผู้ที่ยืนยันว่าท่านอะลี (อ.) มีความดีและประเสริฐยิ่งกว่ามุอาวิยะฮฺมาก,เขาได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺพร้อมกับอบูฮุร็อยเราะฮฺ และเขาได้เชิญชวนมุอาวิยะฮฺให้เชื่อฟังปฏิบัติท่านอิมามอะลี (อ.), ครั้นเมื่อมุอาวิยะฮฺได้นำเอาเรื่องการสังหารอุสมานมาเป็นข้ออ้าง โดยอ้างว่าให้ท่านอิมามอะลีช่วยส่งคนสังหารอุสมานมาให้เขา หลังจากนั้นเขาได้ส่งอบูดัรดาอฺ และอบูฮุร็อยเราะฮฺมาหาท่านอิมาม อะลี (อ.) เพื่อขอตัวคนสังหารอุสมาน เพื่อสงครามการนองเลือดจะได้สิ้นสุดลง แล้วทั้งสองก็กลับมาหาท่านอิมามอะลี แต่ท่านมาลิกอัชตัรได้พบกับพวกเขาก่อน และได้ประณามพวกเขาอย่างรุนแรง พวกเขาจึงตัดสินใจไม่ไปพบท่านอิมามอะลีแล้ว, วันที่สองเมื่อความต้องการของพวกเขาได้แจ้งให้ท่านอิมามอะลี ได้รับทราบ พวกเขาจึงได้พบกับผู้จำนวนนับหมื่นคนแล้วประกาศแก่ทั้งสองว่า พวกเขานั่นแหละเป็นคนสังหารอุสมาน, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองสิ้นหวังและกลับไปยังเมืองของตน และได้รับการประณามหยามเหยียดจาก อับดุรเราะฮฺมาน บิน อุสมาน

อย่างไรก็ตาม,สถานภาพของเขากับรัฐอิสลามแห่งสัจธรรมนั้น สามารถกล่าวได้ว่า เขาคือองค์ประกอบแห่งคำปรารภของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวถึงบางคนว่า “พวกเขามิได้ช่วยเหลือความถูกต้อง และมิได้ประณามความต่ำต้อย”

รายงานจากแหล่งอ้างอิงทั้งจากซุนนียฺ และชีอะฮฺ กล่าวว่า อบูดัรดาอฺ ได้รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

นักประวัติศาสตร์บางกลุ่ม, กล่าวว่า เขาได้เสียชีวิตหลังจากสงครามซิฟฟีน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า อบูดัรดาอฺ ได้เสียชีวิต 2 ปีก่อนการตายของอุสมาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

อุมัรบิน มาลิก เป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่า คัซร็อจญฺ ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า อบูดัรดาอฺ เขาเป็นหนึ่งในเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอยู่ในฐานะของผู้สืบเชื้อสายมาจากเผ่าคัซร็อจญฺ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมะดีนะฮฺ แต่หลังจากที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้เดินทางมามะดีนะฮฺได้ไม่นานนัก เขาก็เข้าพบท่านเราะซูล และได้ยอมรับอิสลาม

เขาเป็นคนลักษณะที่ว่าวันหนึ่ง “อับดุลลอฮฺ รุวาฮะฮฺ” พี่บุญธรรมของเขา ได้มาที่บ้านของอบูดัรดาอฺ เขาได้กล่าวเชิญชวนอบูดัรดาอฺ อยู่พักหนึ่งหลังจากนั้นเขาได้เข้าทุบตีเทวรูปของอบูดัรดาอฺ จนแตกละเอียด แล้วได้กล่าวคำรำพันประโยคนี้ว่า “จงออกห่างจากนามของซาตานมารร้ายทั้งหมด ซึ่งใครก็ตามเคารพภักดีอัลลอฮฺ เขาจะปลอดภัย” เมื่ออบูดัรดาอฺ กลับมาบ้าน, ภรรยาของเขาได้แจ้งให้เขาทราบถึงการกระทำของอับดุลลอฮฺ พี่ชายบุญธรรม, อบูดัรดาอฺ ได้คิดใคร่ครวญอยู่นานพอสมควร หลังจากนั้นเขากล่าวว่า ถ้าหากเทวรูปเหล่านี้ดีจริง พวกเขาคงป้องกันตัวเองแล้ว และในที่สุดอบูดัรดาอฺ ได้ออกไปพร้อมกับอับดุลลอฮฺ บินรุวาฮะ และได้เข้าพบท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต่อมาเขาได้ประกาศเข้ารับอิสลาม, อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนแรกทีท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้อพยพมาสู่เมืองมะดีนะฮฺ ขณะนั้นอบูดัรดาอฺ ยังไม่ได้รับฮิดายะฮฺเป็นมุสลิม, แต่หลังจากเวลาผ่านไปหลายเดือน, เขาได้เข้าพบท่านศาสดา (ซ็อล น) และประกาศยอมรับอิสลาม การเข้ารับอิสลามล่าช้าของเขานั้น นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าเขายังเข้าร่วมสงครามค็อนดัก และหลังจากนั้น กล่าวว่าในสงครามก่อนหน้าสงครามค็อนดักเขายังไม่ได้เข้ารับอิสลาม

อะฮฺลิซุนนะฮฺ ได้อ้างรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ที่ได้กล่าวชื่นชมอบูดัรดาอฺเอาไว้ เช่น พวกเขากล่าวพาดพิงถึงท่านศาสดาว่า ท่านได้กล่าวชื่นชมอบูดัรดาอฺว่าเขาคือ ผู้รู้ของประชาชาตินี้

เช่นเดียวกันมีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า ท่านได้ให้อบูดัรดาอฺ กับซัลมาน ฟารซียฺ อ่านอักด์เป็นพี่น้องกัน ซึ่งทั้งสองถือเป็นพี่น้องกันทางศาสนา และความสัมพันธ์ของทั้งสองยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แม้หลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จากไปแล้วก็ตาม อบูดัรดาอฺ หลังจากเดินทางไปซีเรียแล้ว เขายังได้เขียนจดหมายถึงซัลมาน อัลฟาร์ซี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในอีรัก เขาได้เขียนถึงซัลมานว่า : อัลลอฮฺ ทรงประทานทรัพย์สินและบุตรแก่ฉัน และฉันได้สร้างบ้านบนแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว ซัลมานได้เขียนตอบเขาว่า : ท่านได้เขียนบอกฉันว่ามีบ้านและมีบุตรแล้ว, แต่พึงรู้ไว้เถิดว่าความเจริญผาสุกมิได้อยู่ที่ทรัพย์สินหรือลูกหลานจำนวนมากมายดอก

อบูดัรดาอฺ ได้อยู่มะดีนะฮฺจนกระทั่งสิ้นยุคของเคาะลิฟะฮฺที่สอง และเขาได้ออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกเมือง ตามคำสั่งของเคาะลิฟะฮฺ โดยมุ่งหน้าไปยังเมืองซีเรีย ซึ่งเคาะลิฟะฮฺที่สองได้แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้พิพากษาและเป็นอิมามญะมาอะฮฺนำนมาซในเมืองซีเรีย

เมื่ออบูดัรดาอฺ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษา ประชาชนต่างกล่าวแสดงความยินดีกับเขา และเขาได้กล่าวว่า : พวกเขากล่าวแสดงความยินกับฉันที่ได้เป็นผู้พิพากษาหรือ แต่ฉันซิเหมือนยืนอยู่บนหน้าผา ความลึกของมันมากกว่าจากที่นี่จนถึงเอเธน ถ้าหากประชาชนรู้ว่า ในการตัดสินความนั้นมีปัญหายุ่งยากเพียงใด และเนื่องด้วยความยากนั้นเขาจะถ่ายโอนจากมือหนึ่งไปสู่อีกมือหนึ่ง (เขาจะขจัดให้ห่างไกลไปจากเขา) ถ้าหากประชาชนรู้ว่าในการอะซาน นั้นมีผลบุญมากเพียงใด เขาก็ทุ่มเทให้แก่มันและแย่งมันจากมือของคนอื่น

อบูดัรดาอฺ ได้กล่าวว่ายืนยันว่า คือผู้ที่ยืนยันว่าท่านอะลี (อ.) มีความดีและประเสริฐยิ่งกว่ามุอาวิยะฮฺมาก,เขาได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺพร้อมกับอบูฮุร็อยเราะฮฺ และเขาได้เชิญชวนมุอาวิยะฮฺให้เชื่อฟังปฏิบัติท่านอิมามอะลี (อ.),ครั้นเมื่อมุอาวิยะฮฺได้นำเอาเรื่องการสังหารอุสมานมาเป็นข้ออ้าง โดยอ้างว่าให้ท่านอิมามอะลีช่วยส่งคนสังหารอุสมานมาให้เขา หลังจากนั้นเขาได้ส่งอบูดัรดาอฺ และอบูฮุร็อยเราะฮฺมาหาท่านอิมาม อะลี (อ.) เพื่อขอตัวคนสังหารอุสมาน และจะทำให้การนองเลือดสิ้นสุดลง ซึ่งทั้งสองก็ได้ทำตามที่มุอาวิยะฮฺขอร้อง และทั้งสองได้มาหาท่านอิมามอะลี (อ.) แต่เผอิญได้พบกับท่านมาลิกอัชตัรเสียก่อน มาลิกได้ต่อว่าเขาทั้งสอง จนกระทั่งว่าเขาได้เปลี่ยนใจไม่ไปพบท่านอิมามอะลี (อ.) วันที่สองพวกเขาได้ขอพบท่านอิมามอะลี และได้แจ้งเจตจำนงให้ท่านรับทราบ พวกเขาจึงได้พบกับผู้จำนวนนับหมื่นคนแล้วประกาศแก่ทั้งสองว่า พวกเขานั่นแหละเป็นคนสังหารอุสมาน, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองสิ้นหวังและกลับไปยังเมืองของตน และได้รับการประณามหยามเหยียดจาก อับดุรเราะฮฺมาน บิน อุสมาน, อย่างไรก็ตามเรื่องราวดังกล่าวนี้ วางอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า อบูดัรดาอฺ ได้เสียชีวิตหลังสงครามซิฟฟีน, แต่ถ้าถือตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์บางท่านที่กล่าวว่า อบูดัรดาอฺ ได้เสียชีวิตก่อนการปกครองของท่านอิมามอะลี (อ.) แล้วละก็เรื่องราวที่กล่าวมาทั้งหมดไม่อาจยอมรับได้

อย่างไรก็ตาม,สถานภาพของเขากับรัฐอิสลามแห่งสัจธรรมนั้น สามารถกล่าวได้ว่า เขาคือองค์ประกอบแห่งคำปรารภของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวถึงบางคนว่า “พวกเขามิได้ช่วยเหลือความถูกต้อง และมิได้ประณามความต่ำต้อย”

ในทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ อบูดัรดาอฺ คือเซาะฮาบะฮฺ ผู้ยิ่งใหญ่ของท่านศาสดา เขามีเกียรติสูงส่ง, ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้มีรายงานฮะดีซจากเขาจำนวนมากมาย

เช่นเดียวกันรายงานฮะดีซจำนวนหนึ่งของอบูดัรดาอฺมีกล่าวไว้ในแหล่งอ้างอิงของชีอะฮฺด้วย, เช่น เชคฏูซียฺได้บันทึกคำวินิจฉัน และรายงานฮะดีซจากเขาไว้ในหนังสือ “อัลคิลาฟ”

ส่วนการเสียชีวิตของอบูดัรดาอฺ มีความเห็นแตกต่างกัน, นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่า เขาเสียชีวิตหลังสงครามซิฟฟีน และบางกลุ่มกล่าวว่า อบูดัรดาอฺ เสียชีวิตก่อน 2 ปี ก่อนการเสียชีวิตของอุสมาน

ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • คำพูดของอิมามศอดิกที่ว่า “ยี่สิบห้าอักขระแห่งวิชาการจะแพร่หลายในยุคที่อิมามมะฮ์ดีปรากฏกาย” หมายความว่าอย่างไร?
    7263 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/04
    ความเจริญรุดหน้าทางวิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกาย วิทยาการจะรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคนี้ ดังที่ปรากฏในฮะดีษที่ผู้ถามอ้างอิงไว้ข้างต้น อย่างไรก็ดี ฮะดีษทำนองนี้มิได้ระบุว่ามนุษย์ในยุคดังกล่าวจะสามารถเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างรวดเร็วเหมือนกันหมดทุกคน ทว่าฮะดีษของอิมามศอดิก(อ.)ข้างต้นใช้คำว่า “أخرج”[1] อันหมายถึงการที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะนำอักขระที่เหลือออกมาเผยแพร่ เพื่อให้มนุษยชาติได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อันเป็นการแผ่ขยายโอกาสอย่างกว้างขวาง แต่การที่ทุกคนสามารถจะเรียนรู้ได้ครบยี่สิบเจ็ดอักขระเท่าเทียมกันได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความไฝ่รู้ของแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีบุคคลจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่บรรลุถึงวิทยฐานะอันสูงส่ง โดยจะเป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาและประสิทธิประสาทวิชาการแก่ผู้ที่สนใจสืบไป ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า “เสมือนว่าฉันกำลังเห็นเหล่าชีอะฮ์ของฉันกางเต๊นท์ในมัสญิดกูฟะฮ์เพื่อเป็นสถานที่สอนความรู้อันบริสุทธิจากอัลกุรอานแก่ประชาชน”[2] ข้อสรุป: แม้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปิดศักราชแห่งการศึกษาวิทยาการถึงยี่สิบเจ็ดอักขระภายหลังจากที่ท่านปรากฏกาย อันกล่าวได้ว่าอาจเป็นโอกาสในการก้าวกระโดดทางวิชาการ แต่ก็มีบางคนในยุคนั้นที่ไม่สามารถจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ การจะบรรลุเป้าหมายทางวิชาการจะต้องอาศัยความพากเพียร เปรียบดั่งเป้าหมายแห่งตักวาที่ทุกคนสามารถไขว่คว้ามาได้ด้วยความบากบั่น ฉะนั้น ในเมื่อการบรรลุถึงจุดสูงสุดของตักวายังต้องอาศัยความอุตสาหะ การบรรลุถึงวิชาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระก็ต้องอาศัยความพยายามและความมุมานะเช่นกัน
  • กรุณาอธิบายถึงแก่นอันเป็นพื้นฐานหลักของแนวคิดชีอะฮฺ พร้อมกับคุณลักษณะต่างๆ?
    18533 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    พื้นฐานแนวคิดหลักของชีอะฮฺและวิชาการทั้งหมดของชีอะฮฺได้รับจากอัลกุรอาน อัลกุรอานไม่ว่าจะเป็นความหมายภายนอกโองการหรือภายใน,หรือแม้แต่การนิ่งเฉยหรือการแสดงออกของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ถือว่าเป็นข้อพิสูจน์และเหตุผลทั้งสิ้นและผลของสิ่งเหล่านี้,คำพูดการนิ่งเฉยและการกระทำของอิมาม (อ.) ก็เป็นเหตุผลด้วย นอกจากอัลกุรอานแล้วยังถือว่าการพิสูจน์ด้วยสติปัญญาก็เป็นเหตุผลด้วยเหมือนกันซึ่งการค้นคว้าได้รับการสนับสนุนและเน้นย้ำไว้อย่างยิ่ง แนวทางในการได้รับแนวคิดเช่นนี้สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ 1. มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์บริสุทธิ์จากความบกพร่องและคุณลักษณะไม่สมบูรณ์ต่างๆ,พระองค์พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะสมบูรณ์ทั้งหลายทั้งปวง 2. มีความเชื่อในเรื่องความดีและความชั่วของภูมิปัญญากล่าวคือภูมิปัญญารับรู้ว่าพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากกระทำสิ่งชั่วร้าย 3. มีความเชื่อในเรื่องความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าและบรมศาสดาท่านสุดท้าย 4. มีความเชื่อว่าการแต่งตั้งและการกำหนดตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ต้องมาจากพระเจ้าเท่านั้นโดยผ่านศาสดาหรืออิมามคนก่อนหน้านั้นจำนวนตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มี 12 คนบุคคลแรกจากพวกเขาคือท่านอิมามอะลีบุตรของอบีฏอลิบ (อ.) ส่วนคนสุดท้ายจากพวกเขาคือท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ซึ่งณปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่รอคอยพระบัญชาจากพระเจ้าให้ปรากฏกายออกมา 5. มีความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายการได้รับรางวัลตอบแทนและการลงโทษในการกระทำ ...
  • บุตรีของมุสลิม บิน อะกีลมีชื่อว่าอะไร?
    7180 تاريخ کلام 2554/06/22
    หลังจากได้ศึกษาหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านมุสลิมบินอะกีลเข้าใจได้ว่าท่านมุสลิมมีบุตรี 2 คนนามว่าอาติกะฮฺและฮะมีดะฮฺซึ่งอาติกะฮฺอยู่ในเหตุการณ์กัรบะลาอฺด้วยและเธอได้ชะฮีดในวันอาชูรอขณะศัตรูได้บุกโจมตีเต็นท์ต่างๆส่วนฮะมีดะฮฺได้ถูกจับตัวเป็นเชลยพร้อมกับเชลยแห่งกัรบะลาอฺซึ่งตระกูลของมุสลิมได้สืบเชื้อสายมาจากนาง ...
  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20499 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11159 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • การนำเอาเด็กเล็กไปร่วมงานอ่านฟาติฮะฮฺ ณ กุบูร เป็นมักรูฮฺหรือไม่?
    6120 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    การนำเด็กๆ เข้าร่วมในมัจญฺลิซ งานประชุมศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา, การนำเด็กๆ ไปมัสญิด, หรือพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในเดือนมุฮัรรอม หรืองานเทศกาลอื่นๆ ทางศาสนา, เช่น เข้าร่วมนมาซอีดฟิฏร์ อีดกุรบาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกับศาสนาของพวกเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนการนำเด็กๆ ไปร่วมพิธีอ่านฟาติฮะฮฺ ณ สถานฝังศพ ซึ่งได้ค้นหารายงานจากตำราต่างๆ ด้านฟิกฮฺอิสลามแล้ว ไม่พบรายงานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นมักรูฮฺ ถ้าหากมีรายงานหรือเหตุผลอันเฉพาะเจาะจงจากสามีหรือภรรยาของคุณ กรุณาชี้แจงรายละเอียดมากกว่านี้แก่เราเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามของคุณ สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ : 1.รายงานที่กล่าวถึงผลบุญในการกล่าวแสดงความเสียใจกับเจ้าของงาน และการไปยังสถานฝังศพ เป็นรายงานทั่วไปกว้างๆ แน่นอนย่อมครอบคลุมถึงเด็กและเยาวชนด้วย 2.จากแนวทางการปฏิบัติของรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ...
  • ผลงานประพันธ์ของชะฮีดดัสท์เฆ้บน่าเชื่อถือหรือไม่?
    5940 تاريخ بزرگان 2554/07/03
    ชะฮีดอายะตุลลอฮ์ฮัจยีอับดุลฮุเซนดัสท์เฆ้บชีรอซีนับเป็นอุละมาระดับนักวินิจฉัย(มุจตะฮิด)ท่านหนึ่งซึ่งนอกจากจะมีวุฒิภาวะขั้นสูงแล้วท่านยังเป็นนักจาริกทางจิตวิญญาณที่หลุดพ้นจากบ่วงกิเลสอีกทั้งเชี่ยวชาญด้านวิชาฟิกเกาะฮ์เทววิทยาอิสลามจริยศาสตร์รหัสยนิยมอิสลามฯลฯงานประพันธ์ของท่านล้วนน่าเชื่อถือและทรงคุณค่าทั้งสิ้นอย่างไรก็ดีผลงานของผู้ที่มิไช่มะอ์ศูม(ผู้ผ่องแผ้วจากบาป)ล้วนสามารถนำมาวิจารณ์ทางวิชาการได้ซึ่งผลงานของชะฮีดดัสท์เฆ้บก็อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันนี้ ...
  • ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์มีทัศนคติเกี่ยวกับความยุติธรรมแตกต่างกันอย่างไร?
    9973 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/24
    ทั้งสองสำนักคิดนี้ต่างก็ถือว่าความยุติธรรมของอัลลอฮ์คือหนึ่งในหลักศรัทธาของตน ทั้งสองเชื่อว่าความดีและความชั่วพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญา กล่าวคือสติปัญญาสามารถจะพิสูจน์ความผิดชอบชั่วดีในหลายๆประเด็นได้แม้ไม่ได้รับแจ้งจากชะรีอัตศาสนา ความอยุติธรรมก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่สติปัญญาของมนุษย์ทุกคนพิสูจน์ได้ว่าเป็นความชั่ว ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮ์จึงไม่ทรงลดพระองค์มาแปดเปื้อนกับความชั่วดังกล่าว แต่ทรงเป็นผู้ไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย ข้อแตกต่างระหว่างสองสำนักคิดข้างต้นก็คือ เมื่อเผชิญข้อโต้แย้งที่ว่า “หากทุกการกระทำของมนุษย์มาจากพระองค์จริง แสดงว่าการให้รางวัลและการลงโทษมนุษย์ย่อมไม่มีความหมาย” มุอ์ตะซิละฮ์ชี้แจงด้วยการปฏิเสธเตาฮี้ด อัฟอาลี (เอกานุภาพเชิงกรณียกิจ) แต่ชีอะฮ์ปฏิเสธทางออกดังกล่าวที่ถือว่ามนุษย์ไม่ต้องพึ่งพาอัลลอฮ์ในการกระทำ โดยเชื่อว่าการกระทำของมนุษย์เชื่อมต่อกับการกระทำของอัลลอฮ์ในเชิงลูกโซ่ มิได้อยู่ในระนาบเดียวกัน จึงทำให้ตอบข้อโต้แย้งข้างต้นได้โดยที่ยังเชื่อในความยุติธรรมของพระองค์ดังเดิม ...
  • หากในท้องปลาที่ตกได้ มีปลาตัวอื่นอีกด้วย จะรับประทานได้หรือไม่?
    5845 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    มีการสอบถามคำถามทำนองนี้ไปยังสำนักงานของบรรดามัรญะอ์ตักลีดบางท่านซึ่งท่านได้ให้คำตอบดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอี:ปลาที่ตกได้ถือว่าฮะลาลท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี:อิห์ติยาฏวาญิบ(สถานะพึงระวัง) ถือว่าเป็นฮะรอมท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฎิลลังกะรอนี:หากปลาที่ตกมาได้เป็นปลาประเภทฮาลาลก็ถือว่าเป็นอนุมัติท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี่ยง[1]อายาตุลลอฮ์อะรอกี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี้ยงเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าตอนที่มันออกมามีชีวิตหรือไม่ดังนั้นถือว่าไม่สะอาด[2]อายาตุลลอฮ์นูรีฮาเมดอนี:ถือว่าฮาลาล[3]ดังที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าบรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแต่สามารถสรุปได้โดยรวมว่าหากมีสัตว์ที่อยู่ในท้องของปลาที่จับมาได้หากสัตว์ตัวนั้นเป็นปลาหรือเป็นสัตว์น้ำชนิดที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาโดยขณะที่เราเอาผ่าออกมาเราแน่ใจว่าสัตว์น้ำดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ถือว่าฮาล้าลส่วนกรณีที่ต่างไปจากนี้อาทิเช่นเมื่อได้ผ่าท้องปลาและเห็นว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องมันตายแล้วก่อนหน้านั้นถือว่าไม่สามารถรับประทานสัตว์น้ำดังกล่าวได้ส่วนในกรณีที่สาม (ไม่รู้ว่าสัตว์น้ำในท้องปลายังมีชีวิตหรือไม่) ในกรณีนี้บรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนั้นมุกัลลัฟแต่ละจะต้องทำตามฟัตวาของมัรญะอ์ของตน
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6096 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56838 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38416 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33444 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27129 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25202 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...