การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
14412
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2394 รหัสสำเนา 17839
คำถามอย่างย่อ
นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
คำถาม
นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
คำตอบโดยสังเขป

นมาซ,คือขั้นสุดท้ายของการพัฒนาจิตวิญญาณของผู้ขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งเขาจะได้สัมผัสและสนทนากับพระเจ้าของตนโดยปราศจากสื่อกลางในการพูด

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : จงนมาซเถิด เพื่อจะได้ฟื้นฟูการรำลึกถึงฉัน และฉันจะรำลึกถึงพวกท่านโดยผ่านนมาซ ถ้าหากการรำลึกถึงอัลลอฮฺจะปรากฏออกมาโดยผ่านนมาซแล้วละก็, จะทำให้หัวใจของมนุษย์มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการรำลึกถึงพระเจ้าจะทำให้จิตใจมีความเชื่อมั่น, ผู้นมาซทุกท่านเท่ากับได้ทำลายสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานของตน และฟื้นฟูธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองให้มีชีวิตชีวา,คุณลักษณะพิเศษของนมาซ, คือการฟื้นฟูธรรมชาติแห่งตัวตน,ผู้นมาซทุกคนที่ได้รับความมั่นใจ และความสงบอันเกิดจากนมาซ จะไม่แสดงความอ่อนไหวต่อสภาพชีวิตการเป็นอยู่ จะไม่แสดงความอ่อนแอแม้จะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และมีความลำบากยิ่ง ถ้าหากมีความดีงามมาถึงยังพวกเขา, พวกเขาจะไม่กีดกันและจะไม่หวงห้ามสำหรับคนอื่น

นมาซคือ เกาซัร (สระน้ำ) ซึ่งจะคอยชำระล้างมนุษย์ให้มีความสะอาดบริสุทธิ์, แน่นอน ถ้าหากผู้นมาซไม่รู้สึกว่าตนได้รับความสะอาด หรือประกายแสงอันเจิดจรัสจากนมาซแล้วละก็ ต้องยอมรับโดยดุษณีว่าตนยังไม่ได้นมาซที่แท้จริง, บางครั้งนมาซอาจถูกปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักการ,แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ ณ เอกองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากนมาซอันเป็นที่ยอมรับจะทำให้จิตวิญญาณของมนุษย์บังเกิดความสะอาด, ดังนั้น ขณะนมาซถ้าหากมนุษย์สามารถควบคุมจิตใจของตนให้อยู่กับร่องกับรอยได้ นอกเหนือเวลานมาซเขาก็สามารถควบคุมการมอง และการฟังของเขาได้เช่นกัน

นมาซคือ การเข้าพบและเข้าเยี่ยมผู้เป็นที่รักยิ่งของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระผู้อภิบาลพระผู้ทรงพลานุภาพยิ่ง. เป็นช่วงเวลาของการกระซิบกระซาบกันระหว่างคนรักกัน เป็นช่วงเวลาแห่งการสารภาพความจริงแด่พระเจ้าผู้ทรงเป็นเอกะ, นมาซได้เริ่มต้นด้วยเสียงตักบีร อัลลอฮุอักบัร และรอยยิ้มแห่งความรักและความปิติยินดี พร้อมกับสิ้นสุดลงด้วยการมีสมาธิและคำกล่าวว่า อัสลามุอะลัยกุม เป็นการยืนยันให้เห็นความจริงว่า ข้าพระองค์จะรอคอยการกลับมาอีกครั้งด้วยความรัก รอยยิ้ม และความปลาบปลื้ม ดังนั้น จงรู้คุณค่าของนมาซเถิด ตราบที่เรายังไม่รู้จักพระองค์ และตราบที่เรายังไม่ได้ให้ความสำคัญแก่คนอื่นจนหลงลืมพระองค์?

คำตอบเชิงรายละเอียด

โอ้ ใบไม้ผลิแห่งชีวิต โอ้ ชีวิตแห่งใบไม้ผลิ

พระองค์คือผู้ประทานมวลเมฆแห่งความโปรดปราน ทำให้เรามีชีวิตใหม่เสมอ

ขอพระองค์ อย่าทรงถอดถอนความสัมฤทธิผลไปจากเรา

ขอพระองค์ อย่าวางมือจากจิตใจของเรา

ขอพระองค์ อย่าทำให้การทดสอบเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้เรา

ขอพระองค์ โปรดนำทุกสิ่งมาให้เราตามพระประสงค์

ณ พระองค์คือทุ่งหญ้าอันเขียวขจีแห่งความการุณย์

ขอพระองค์ อย่าทรงขับเคลื่อนร่มเงาของพระองค์ไปจากเรา[1]

โอ้ อัลลอฮฺ ผู้ใดเล่าได้ดื่มด่ำความรักจากพระหัตถ์ของพระองค์ เขาจะกล้าสวมแหวนแห่งความเป็นบ่าวของคนอื่นได้อย่างไร? มะลิดอกไหนหรือ,เมื่อได้เปล่งบานออกจากแหล่งของพระองค์ แล้วจะไม่ส่งกลิ่นรัญจวนเวียนไปหาพระองค์อีก? โอ้ ที่รักทั้งหลายดอกบัวหลวงที่ได้เชิดชูดอกด้วยความรักในพระองค์ มันจะดึงดูดความเมตตาจากท่านให้เหลียวมอง และหลงใหลในความสวยงาม, คนรัก, มนุษย์คนใดหรือเมื่อได้แนบหน้าผากไว้บนดิน เนื่องด้วยการบริบาลของพระองค์ และได้ชิมรสชาติหวานชื่นของพระองค์ แล้วเขาจะหมายใจไปหาคนอื่นได้อย่างไร[2]

นมาซคือ บุรอกและรัฟรัฟ พาหะนะของนักจาริกจิตและผู้ถวิลการขัดเกลา,บุคคลใดก็ตามที่เป็นนักขัดเกลาจิตวิญญาณไปสู่อัลลอฮฺ นมาซคือหนทางอันเฉพาะสำหรับเขา และเขาจะได้รับการอำนวยจากนมาซ และเมื่ออัลกุรอานกล่าวถึงนมาซ กล่าวว่า “และจงดํารงไว้ซึ่งการนมาซ เพื่อรำลึกถึงฉัน"[3] และข้าจะรำลึกถึงเจ้าด้วยนมาซ ถ้าหารการรำลึกถึงอัลลอฮฺผ่านการนมาซแล้วละก็ เวลานั้นดวงจิตของเขาจะบังเกิดความมั่นใจ.อีกด้านหนึ่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ทำให้บังเกิดความั่นใจ[4] ดังนั้น จิตใจของมนุษย์ผู้ดำรงนมาซ จะมีความสงบมั่นใจเสมอ. และจะไม่เกรงกลัวผู้อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ. จะไม่มีศัตรูคนใดทั้งจากภายในและภายนอกสร้างความเสียหายแก่เขาได้ เนื่องจาก ผู้ดำรงนมาซจะรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ, และการรำลึกถึงอัลลอฮฺ อยู่เสมอนั้นคือปัจจัยสร้างความมั่นใจและความสงบ. อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในบทอัลมะริจญ์ เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของนมาซได้ว่า : แน่นอน มนุษย์ถูกบังเกิดขึ้นมาให้เป็นคนหวั่นไหวไร้ความอดทน ที่จริงแล้วธรรมชาติของมนุษย์วางอยู่บนเตาฮีดและธรรมชาติ แต่จิตของเขาก็จะนำไปสู่ความต่ำทรามอยู่ร่ำไป แต่ธรรมชาติของมนุษย์บรรดาศาสดาได้มาปลูกให้ตื่น และธรรมชาติมิได้เป็นอะไรมากไปจาก สิ่งสกปรกโสโครก อลกุรอาน กล่าว่าเมื่อความทุกข์มาประสบ เขาจะไม่แสดงความสุขุมคัมภีร์ภาพ แต่เมื่อคุณความดีประสบเขาจะหวงแหน (แสดงความตระหนี่โดยไม่แบ่งปันให้ผู้ใด) ยกเว้นบรรดาผู้ดำรงนมาซ พวกเขาจะดำรงมั่นอยู่ในนมาซของตนสมอ”[5]

บรรดาผู้ดำรงนมาซทั้งหลาย, เขาได้ทำลายธรรมชาติ และฟื้นฟูสัญชาติญาณ. ความพิเศษของนมาซคือ การฟื้นฟูสัญชาติญาณ. ผู้ดำรงนมาซคือบุคคลที่ควบคุมและทำลายธรรมชาติแห่งตัวตน หรือทำให้สงบ.เขาจะไม่ทำให้การมีชีวิตของตนต้องอ่อนแอด้วยทุนแห่งความสงบ ที่เขาได้สรรหามาได้วิถีของนมาซ และจะไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อความยากลำบากที่ถาถมเข้ามาอย่างบ้าคลั่ง. ถ้าหากมีความดีงามหนึ่งมาถึงเขาสิ่งนั้นก็จะไม่กลายอุปสรรคปัญหา และเขาจะไม่หันเหออกจากคนอื่น[6] ท่านอิมามบากิริลอุลูม (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เมื่อบ่าวผู้ศรัทธาได้ยืนปฏิบัตินมาซ อัลลอฮฺ ผู้ทรงเกรียงไกรมองเขาจนกว่าเขาจะนมาซเสร็จ และเบื้องบนศีรษะจนถึงเส้นขอบฟ้าเขาจะอยู่ภายใต้เส้นแห่งความเมตตาของพระเจ้า บรรดามวลมลาอิกะฮฺจะห้อมล้อมเขาเอาไว้ และอัลลอฮฺจะทรงมอบให้มลาอิกะฮฺรับผิดชอบ กล่าวกับเขาว่า : โอ้ ผู้นมาซเอ๋ย, ถ้าท่านรู้ว่าผู้กำลังมองเจ้าอยู่ และกำลังรอคอยการวิงวอนจากท่าน แน่นอนท่านจะไม่มีวันสนใจคนอื่นใดอีก และจะไม่ถอนตัวออกจากสถานที่นมาซของท่านแน่นอน”[7] แทนที่ด้วยดำรัสแห่งพระเจ้า ใบหน้าอันงดงามของยูซุฟใบจำกัดลิ้นมิให้เอื้อนเอ่ย.แล้วจะเป็นเฉกเช่นไรกับความงามบริสุทธิ์, ซึ่งทุกความงามล้วนอยู่ใต้ความงามของพระองค์ทั้งสิ้น? ดังนั้น ความเฉพาะของผู้จาริกจิตจะอยู่ในสภาพของการจมปรัก เมื่อได้รำลึกและได้อิบาดะฮฺ[8]

โอ้ พระผู้อภิบาล โปรดอย่าได้ปฏิเสธหรือวางความรักไว้ใต้สุญญากาศ

โปรดรินหลั่งการรู้จักแก่ย่างก้าวของเรา

โปรดสำเหนียกเสียงตักบีรที่เรากล่าว

พระองค์ทรงมองเห็นทุกสิ่ง

โปรดเติมเวลาแด่การโค้งคาราวะของเราให้ยาวนานขึ้น

โปรดยกฐานันดรของเราในการกราบกรานให้สูงส่ง

ขณะกุนูตอย่าให้เราได้ปล่อยเวลาอย่างไร้ค่า

ข้อความและความสุขของเราที่ออกจากริมฝีปากของเราคือสาร

โปรดให้เราได้เพลิดเพลินกับช่วงเวลาแห่งการเป็นชะฮีด

โปรดเจียระไนเราเมื่อสิ้นสุดสลามของเรา[9]

ซัยยิดชุฮะดา (อ.) ได้กล่าวกับอบัลฟัฎล์ (อ.) เมื่อตอนบ่ายตาซูอาว่า : จงบอกกับหมู่ชนพวกนี้ว่า, คืนนี้คือค่ำอาชูรอ โปรดให้เวลาแก่ฉัน. เนื่องจากอัลลอฮฺผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่งทรงทราบเป็นอย่างดีว่า นมาซ คือสิ่งที่ฉันรักที่สุด[10]

แน่นอน ระหว่างบุคคลที่กล่าวว่า : ฉันนมาซ กับประโยคที่ท่านอิมามกล่าวว่า: ฉันรักนมาซ และนมาซเป็นที่รักของฉัน มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย.บุตรของท่านอิมามซัจญาด และอิมามบากิร และมะอฺซูมท่านอื่น (อ.) ต่างมีสภาพดังกล่าวเหมือนกันทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดพยายามจะเล่นเมื่อบิดาของท่านนมาซ เพราะทั้งหมดทราบดีว่าเมื่อบิดาของพวกท่าน เริ่มนมาซจะไม่สนใจพวกเขา พวกเขาจะเริ่มเล่นตามใจต้องการ ไม่ว่าพวกเราจะส่งเสียงดังเพียงใดก็ตาม[11]วันหนึ่งในสถานที่แห่งหนึ่งใกล้กับอิมาม, ขณะนั้นอิมามกำลังนมาซ เผอิญได้เกิดไฟไหม้ประชาชนต่างส่งเสียงดังไปทั่วและช่วยกันดับไฟ หลังจากอิมามนมาซเสร็จแล้ว มีผู้ไปบอกท่านอิมามว่าบริเวณใกล้อิมามไฟไหม้ ผู้คนส่งเสียงดังไปทั่วท่านไม่ได้ยินหรอกหรือ? อิมาม (อ.) กล่าวว่า : ไม่ ฉันไม่ได้ยิน เขาได้ถามว่าเป็นไปได้อย่างไร? ท่านอิมามกล่าวว่า : เพราะฉันกำลังดับไฟอีกอย่างหนึ่ง, ฉันกำลังดับไฟอีกโลกหนึ่ง[12]

ใช่แล้ว วัตถุประสงค์ของนมาซ, คือการที่จิตใจมีสมาธิสมบูรณ์ และได้พลีตัวตนของผู้นมาซ ในการแสดงความเคารพภักดี เพื่อความสำเร็จในการที่จะได้พบกับความจริงขั้นสูงสุด แต่สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่เพื่อจะไปถึงยังตำแหน่งดังกล่าว, จำเป็นต้องฝึกฝนและใช้ความอุตสาหะอย่างยิ่งยวด ซึ่งถ้าระยะเวลาหนึ่งตนไม่รู้จักจัดการกับจิตใจตัวเอง,ก็จะไม่มีวันรู้จักรหัสของนมาซอย่างเด็ดขาด แต่โดยทั่วไปแล้ว,ผู้ปราชญ์ผู้อาวุโสได้อธิบายรหัสของนมาซไว้ 6 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ :

หนึ่ง.การตั้งจิตใจให้มั่น,กล่าวคือขณะนมาซจะต้องไม่ปล่อยจิตใจให้ฟุ้งซ่านคิดถึงสิ่งอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น

สอง. ต้องทำความเข้าใจความหมายของคำอ่าน สิ่งที่กล่าว และตัสบีฮฺของนมาซ,ในลักษณะที่ว่าเมื่อปากได้กล่าวคำพูด ใจก็เข้าใจในความหมายไปพร้อมกัน

สาม .ยกย่องความยิ่งใหญ่, กล่าวคือขณะนมาซต้องยกย่องผู้ที่เราแสดงความเคารพ และเป้าหมายของผู้สร้างในอยู่ในความทรงจำเสมอ

สี่. แสดงความเกรงกลัว,กล่าวคือจงแสดงความเกรงกลัวในความยิ่งใหญ่ที่สุดของอัลลอฮฺ ซึ่งจะต้องไม่ปล่อยให้การอิบาดะฮฺนั้นมีความบกพร่อง

ห้า.มีความหวัง,ในฐานะอันมีเกียรติยิ่งแห่งการมีอยู่ของพระองค์ เพราะพระองค์คือผู้ทรงมีเกียรติเป็นที่สุด ซึ่งเป็นที่รับรู้เป็นอย่างดีสำหรับพวกเราถึงความเมตตาของพระองค์,แน่นอน พวกเราจะไม่ผิดหวังในความเมตตา และพระองค์จะทรงอภัยในความผิดของเรา

หก.มีความละอาย,กล่าวคือต้องเจียมตัวเองและอิบาดะฮฺของตนและสำนึกเสมอว่า สิ่งที่กำลังทำเล็กเพียงนิดเดียว ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ อิบาดะฮฺของตนคือการแสดงความอับอายที่สุด และตนต้องแสดงความเป็นบ่าวที่ต่ำต้อยออกมา[13]

โอ้ ท่านที่รักทั้งหลาย, และนี่คือขั้นสุดท้ายของการจาริกจิต ของผู้แสวงการขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งปราศจากสื่อกลางระหว่างเขากับอัลลอฮฺ ประโยคอันจำเริญหนึ่งกล่าวว่า (เพียงเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เรานมัสการและเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ) ซึ่งเรามักกล่าวประโยคนี้ซ้ำอยู่เสมอ

โอ้ อัลลอฮฺ, แม้คำพรรณนาเสียงสรรเสริญที่กึกก้องเทียมท้องฟ้า ก็มิอาจพรรณนาถึงพระองค์ได้ สติปัญญาแม้จะโบยบินไปสู่ความสง่างามของพระองค์ แต่ก็มิอาจไปถึงได้, โอ้ อัลลอฮฺ ความเข้าใจเพียงน้อยนิดของพวกเรา เมื่อไหร่จะเข้าใจและรับรู้ถึงพระองค์ได้ มันสมองที่ชาญฉลาดของเรา เมื่อไหร่จะสามารถบรรจุความสง่างามของพระองค์เอาไว้ได้? โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้เราเป็นเช่นต้นไม้ที่ขึ้นชูช่อและกิ่งก้านอยู่ในสวน รากของมันได้ชยชอนไชเพื่อแสวงหาอาหาร ประกายแห่งความรักของพระองค์ได้จุดสว่างอยู่ในหัวใจของพวกเขา และความสง่างามของพระองค์ได้เติบโตอยู่ในความคิดของพวกเขาเสมอ พวกเขาอยู่ในเรือกสวนที่ใกล้ชิดกับพระองค์ ทุ่งหญ้าอันเขียวขจีได้ขึ้นบานพร้อมสะพรั่ง พวกเขาได้ดื่มด่ำความรักด้วยถ้วยแก้วแห่งพระเมตตาของพระองค์ บรรดาพวกที่ได้เลือกสถานที่พักพิงเป็นเพื่อนบ้านของท่าน เขาต่างได้ดื่มน้ำฝนแห่งเมตตาของพระองค์ และสวมใส่อาภรณ์อันเป็นความการุณย์ของพระองค์[14]

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวว่า : “โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้ข้าพระองค์ได้ลิ้มรสความหวานชื่นในการรำลึกถึงพระองค์”[15]

เนื่องจากพวกเรายังมิเคยได้รับความหวานชื่นอันนั้น.นมาซสำหรับเราจึงเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่สุด. ทั้งที่เรานมาซ แต่เรายังไม่เคยรู้สึกว่าได้รับรัศมีอันเจิดจรัสของนมาซแม้แต่นิดเดียว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เรายังไม่เคยนมาซด้วยมารยาท ด้วยการรับรู้ และด้วยความรักที่มีต่อความเร้นลับของนมาซ[16]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวไว้ในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ โดยรายงานมาจากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ว่า ท่านได้กล่าวว่า : ฉันรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับบุคคลที่ภายในบ้านของเขามีตาน้ำ และเขาได้ชำระล้างตนในตาน้ำนั้น วันหนึ่ง 5 ครั้ง แต่เขาก็ยังสกปรกเหมือนเดิม. เนื่องจากนมาซนั้นประหนึ่งตาน้ำที่ใสสะอาด ซึ่งมนุษย์จะชำระล้างตนเองในตาน้ำวันหนึ่ง 5 ครั้ง”[17]

นมาซคือ เกาซัร ซึ่งจะทำความสะอาดมนุษย์ให้สะอาดอยู่เสมอ แต่ถ้าเขายังไม่รู้สึกถึงความสะอาดนั้น พึงรู้ไว้เถิดว่า ตนยังมิได้นมาซที่แท้จริง เป็นไปได้ว่านมาซนั้นถูกต้องทุกประการ แต่ไม่เป็นทียอมรับ ณ อัลลอฮฺ, เนื่องจากนมาซที่ถูกยอมรับคือ นมาซที่ทำความสะอาดจิตวิญญาณของมนุษย์ให้สะอาดหมดจด.เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์สามารถควบคุมจิตใจตนขณะนมาซให้มีสมาธิได้ เขาก็จะสามารถควบคุมสายตาและหูนอกเวลานมาซให้มีสมาธิได้เช่นกัน[18]

โอ้ ท่านผู้เป็นที่รักทั้งหลาย, จงมอบเรือนร่างแก่โลก และหัวใจแก่เมาลา,เพื่อเราจะได้รู้จักพระองค์, และสาส์นของพระองค์จะได้ให้ความสงบมั่นแก่จิตใจ. เพื่อหัวใจของผู้มีความรักจะได้เข้ากันได้กับสาส์น และจะได้พบกับความจริง และสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าระว่างจิตใจและเจ้าของจิตใจนั้นไม่มีม่านกีดขวาง จงพยายามขวนขวายเพื่อว่าในทุกภาวะกาลหัวใจของเราจะได้อยู่กับผู้ที่เรารัก มิใช่เร่ร่อนอยู่ตามตรอกซอกซอย หรือตามตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานมาซ เนื่องจาก “ผู้นมาซทุกคนในเวลานมาซเขาจะวิงวอน สารภาพ และเผยความในใจกับพระผู้อภิบาลของตน”[19]

สรุปสิ่งที่กล่าวมา นมาซ คือ : การพบปะกันระหว่างคนรัก, การปลีกเวลาเพื่ออยู่กับพระองค์, สิ้นสุดของการเดินทาง, ช่วงเวลาแห่งการสร้างความสัมพันธ์, การมีสมาธิ ณ เบื้องพระพักตร์ของจอมราชันย์แห่งโลกและจักรวาล, บางครั้งลิ้นได้สรรเสริญและพรรณนาถึงพระองค์, ช่วงเวลาแห่งการเปิดเผยความไร้สามารถ, การอนุญาตให้เข้าพบเพื่อสารภาพและแจ้งความต้องการ, เพื่อพบความเปล่งบานและความสง่างามของพระองค์, แบกความต้อยต่ำของตนไปยังความสงบมั่น, เป็นช่วงโอกาสทอง, การรำลึกถึงความสง่างามและความยิ่งใหญ่ของพระองค์, เนื่องจากเรามิได้ไปหาพระองค์ด้วยความวิสาสะ ทว่าเป็นการเชิญของพระองค์, เป็นการรักษามารยาทและสมาธิ, การเข้าไปใกล้เพื่อกระซิบกระซาบกับคนรัก, เป็นการแสดงให้เห็นถึงความดีและบ่าวที่เป็นกัลป์ญาณชน, ความเป็นกันเอง,การเอื้อนเอยพระนามอันไพรจิตของพระองค์ด้วยลิ้น, และ ....การจากคนรักด้วยความเศร้าสลดและสิ้นสุดเวลาเยี่ยมเพื่อเตรียมพบในโอกาสต่อไป, ได้กล่าวสลามแด่พระองค์เพื่อยืนยันการพบกันในครั้งต่อไป, ขณะที่ลิ้นได้เอ่ยนามอันจำเริญของพระองค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า,ด้วยหัวใจและด้วยชีวิต, ด้วยการรำลึกถึงพระองค์เราจึงดำรงชีวิตอยู่ต่อไป

ดังนั้น โอ้ ท่านผู้เป็นที่รักทั่งหลาย,การที่เราไม่รู้จักคนรัก,ไม่รู้จักพระลักษณะอันสง่างาม,การไม่มอบหัวใจแด่พระองค์,การไม่ได้ยินเสียงร้องเรียกของพระองค์, การนอนหลับ ความขี้เกลียด ความอิ่มแป้ และหัวใจที่มกมุ่นกับภารกิจทางโลก และการไม่อุทิศความสามารถเพื่อพระองค์, ฉะนั้น สภาพเช่นนี้เราจะเข้าพระองค์ได้อย่างไร? การไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า การไม่หวาดกลัว หรือจะรอจนหน้าเปลี่ยนสี และเท้าสั่นเทาเสียก่อน? ตราบที่ตนยังมกมุ่นอยู่ และเท้ายังก้าวเดินอยู่ภายนอก เมื่อไหร่เราจะประสบความสำเร็จได้พบพระองค์?

ต้องไม่ลืมว่าการเติบโตและความสำเร็จของเยาวชน ขึ้นอยู่กับการอบรมสั่งสอนของครอบครัว, ครอบครัวคือเคหสถาน คือสวนแห่งไม้พันธ์ที่ส่งกลิ่นหอมรัญจวน ถ้าหากบรรยากาศกลายเป็นความเศร้า,แล้วเราจะอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นได้อย่างไร



[1] ฟัยฎ์กาชานี,มุลลามุฮฺซิน,ดีวอน ชะเอร

[2] ชุญาอัต,ซัยยิดมะฮฺดี, ดัสต์ดุอาอฺจิชอุมีดมะนาญาตคอมซะตะ อะชะเราะ, มะนาญาตที่ 6, หน้า 81

[3] อัลกุรอาน บทฏอฮา โองการที่ 14

[4] อัลกุรอาน บทอัรเราะอฺดุ 28.

[5] อัลกุรอาน บทมะอาริจญ์, 19 - 23

[6] ญะวาดี ออมูลี,อับดุลลอฮฺ, ฮิกมะฮฺอิบาดะฮฺ, หน้า 95

[7] มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ, เล่ม 1, หน้า 210, ฮะดีซที่ 636.

[8]ซับซะวารีย์, มุลลาฮาดี,อัสรอรุลฮะกัม,หน้า 528

[9] เฟฎ กาชานีย์, ดีวอนเชรอ์

[10] มักตัลฮุเซน (.) มุก็อรริม, หน้า 232.

[11] อันวารุลบะฮียะฮฺ, หน้า 49

[12] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 46,หน้า 78.

[13] มิกดาร เอซฟาฮาน, อะลี, เนะชอนอัซบีเนะชอนฮอ, เล่ม 1, หน้า 325.

[14] ชุญออัต, ดัสต์ ดุอาอฺ จิชอุมีด, มะนาญาตบทที่ 12.

[15] มะฟาตีฮุลญินาน,มะนาญาตบทที่ 15.

[16] ญะวาดี ออมูลี, ฮิกมัตอิบาดาต, หน้า 105.

[17] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 199.

[18] ญะวาดี ออมูลี, ฮิกมัตอิบาดาต, หน้า 115, 116.

[19] ฮะซัน ซอเดะฮฺ ออมูลี, ตอซิยอเนะ ซุลูก, หน้า 12.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อะไรคือเหตุผลที่ต้องชำระคุมุสตามทัศนะชีอะฮ์ ต้องนำจ่ายแก่ผู้ใด และเหตุใดพี่น้องซุนหนี่จึงไม่ปฏิบัติ?
    8154 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    1. โองการที่กล่าวถึงศาสนกิจโดยเฉพาะนั้นมีไม่มากเมื่อเทียบกับกุรอานทั้งเล่มเนื่องจากกุรอานจะกล่าวถึงหัวข้อศาสนกิจอย่างกว้างๆเช่นนมาซศีลอด ...ฯลฯและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท่านนบี(
  • ถ้าหากบนผิวหนังมีจุด่างดำ หรือสีน้ำตาล สามารถผ่าตัด หรือยิงเลเซอร์ได้ไหม ถ้าสามียินยอม?
    7541 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ทัศนะของมัรญิอฺตักลีดบางท่านเกี่ยวกับการผ่าตัดจุดด่างดำปานบนผิวหนังด้วยการยิงเลเซอร์เช่นสำนักฯพณฯ
  • ศาสดาอาดัม (อ.) และฮะวามีบุตรกี่คน?
    12856 تاريخ بزرگان 2554/06/22
    เกี่ยวกับจำนวนบุตรของศาสดาอาดัม (อ.) และท่านหญิงฮะวามีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั่นหมายถึงไม่มีทัศนะที่จำกัดที่ตายตัวแน่นอนว่าต้องเป็นเช่นนั้นเพียงประการเดียวเนื่องจากตำราที่เชื่อถือได้ทางประวัติศาสตร์มีความขัดแย้งกันในเรื่องชื่อและจำนวนบุตรของท่านศาสดาการที่เป็นที่เช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าช่วงเวลาที่ยาวนานของพวกเขากับช่วงเวลาการบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรืออาจเป็นเพราะชื่อไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขาก็เป็นได้และฯลฯกอฎีนาซิรุดดีนบัยฏอวีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านเกี่ยวกับจำนวนบุตรของท่านศาสดาอาดัม (อ.) กับท่านหญิงฮะวากล่าวว่า:ทุกครั้งที่ท่านหญิงฮะวาตั้งครรภ์จะได้ลูกเป็นแฝดหญิงชายเสมอเขาได้เขียนไว้ว่าท่านหญิงฮะวาได้ตั้งครรภ์ถึง 120
  • เพราะเหตุใดจึงวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ ?
    7388 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    จุดประสงค์ของ “การตักลีด” คือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือเหตุผลทางสติปัญญาที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหาต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้นแน่นอนทั้งอัลกุรอาน
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6817 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
    12330 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/22
    ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี
  • เพราะเหตุใด อัลลอฮฺทรงรังเกลียดการหย่าร้างอย่างรุนแรง?
    11004 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    ถ้าหากพิจารณาสิ่งตรงข้ามกันระหว่างการหย่าร้าง กับการแต่งงาน,เพื่อค้นคว้าปรัชญาของความน่ารังเกลียดในการหย่าร้าง, อันดับแรกจำเป็นต้องกล่าวถึงความสำคัญของการแต่งงานก่อน[1] อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นมาเป็นคู่ มนุษย์ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายและเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้า อันเป็นเหตุของความสงบและความสันติ[2] รายงานฮะดีวจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการแต่งงานไว้ว่า เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่ง, ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการแต่งงานว่า : ไม่มีรากฐานอันใดได้ถูกวางไว้ในอิสลาม ซึ่งเป็นทีรักและมีเกียรติยิ่ง ณ พระองค์อัลลอฮฺ เหนือไปจากการแต่งงาน”[3] หนึ่งในประโยชน์อันสำคัญยิ่งของการแต่งงานคือ การขยายและดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ, ด้วยเหตุนี้เอง การหย่าร้างคือการทำลายการแต่งงาน ทำให้ครอบครัวต้องแตกแยก เด็กๆ ที่เกิดมาสมควรได้รับการดูแลจากมืออันอบอุ่นของบิดามารดา ร่มเงาของทั้งสองสมควรที่จะถอดเบียดบังพวกเขาให้ได้รับความปลอดภัย และมีความรู้สึกว่าได้รับความอบอุ่นเสมอ การปราศจากผู้ปกป้องดูแลคือ การขาดที่พำนักพักพิง ...
  • จะพิสูจน์ตำแหน่งอิมามและเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(อ.)ได้อย่างไร?
    6224 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/20
    อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลังตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบจากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรงถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาลวิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไปทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติและไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • การตัดขาดการใช้ชีวิตร่วมกับสังคม โดยปลีกวิเวกไปสู่ความสันโดษ มีกฎเกณฑ์เป็นเช่นไร
    12627 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร บางครั้งไม่สมบูรณ์และเลยเถิดการถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร วิธีการนี้มีปัญหาหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :1.ขัดแย้งกับซุนนะฮฺและการบริบาลของอัลลอฮฺ, เนื่องจากซุนนะฮฺและพระประสงค์ของอัลลอฮฺคือ ต้องการให้มนุษย์ไปถึงยังความสมบูรณ์ ด้วยเจตนารมณ์เสรี และด้วยเครื่องมือและสื่อที่มีอยู่ หมายถึงการผ่านทางหลงผิดและการชี้นำไปสู่ความสมบูรณ์แบบนั่นเอง2.ประเด็นที่ศาสนาของพระเจ้าได้ห้ามไว้ แต่ก็ยังพบความแปลกปลอมของคนอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งกรณีนี้ยังไม่เคยพบว่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า และตัวแทนของท่านเหล่านั้นได้ปลีกวิเวกและตัดขาดจากสังคมมนุษย์โดยสิ้นเชิง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41674 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38425 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25209 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...