การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13438
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2551/04/20
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2473 รหัสสำเนา 27002
คำถามอย่างย่อ
ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
คำถาม
อักษรย่อในอัลกุรอานมีความหมายอะไร? เป็นรหัสที่ไม่อาจเข้าใจได้สำหรับสามัญชน ระหว่างอัลลอฮฺกับเราะซูล? ขณะที่บางที่กล่าวว่า ถ้าหากเอาอักษรย่อเหล่านั้นมารวมกัน จะได้ประโยคหนึ่งคือ «صراط علی حق نمسکه» ถามว่าถูกต้องไหม?
คำตอบโดยสังเขป

อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ

คำตอบเชิงรายละเอียด

อักษรย่อนี้ จะปรากฏในตอนเริ่มต้นกุรอาน 29 บทด้วยกัน ซึ่งอาจจะมีอักษรย่อเพียงตัวเดียว หรือสองและสามหรือมากกว่านั้น, แต่เมื่อนับรวมกันแล้วมีทั้งสิ้น 78 ตัว จะเป็นคำซ้ำกัน 14 ตัว กล่าวคือครึ่งหนึ่งของอักษรย่อเป็น ฮุรูฟฮะญาอฺ ซึ่งมี 28 ตัว และเรียกอักษรเหล่านี้ทั้งหมดว่า “ฮุรูฟมุก็อดเฏาะอะฮฺ” หรือ “ฮุรูฟนูรอนนี”

เกี่ยวกับอักษรย่อมีทัศนะแตกต่างกันมากมาย ซึ่งจะขอนำเสนอบางทัศนะเหล่านั้น ดังนี้ :

1.อักษรเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงว่า คัมภีร์แห่งฟากฟ้าเล่มนี้ที่มีความยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ได้สร้างความฉงนสนเท่ห์ให้แก่ชาวอารับและมิใช่อารับมาอย่างช้านาน นอกจากนั้นบรรดานักวิชาการทั่วทั้งปฐพี ก็ไม่มีผู้ใดสามารถประดิษฐ์สิ่งที่คล้ายคลึงเยี่ยงกุรอานขึ้นมาได้ แต่อัลกุรอานเล่มนี้ได้ถูกสร้างขึ้นด้วย คำและอักษร ธรรมดา ที่มีอยู่ในมือของทุกคน

2.อักษรย่อถือว่าเป็น สิ่งคุมเครือของอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีวันจะเข้าใจได้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งไม่อาจถูกรู้ได้ตลอดกาล ซึ่งแนวทางของความรู้ในเรื่องนี้ ได้ถูกปิดโดยสมบูรณ์สำหรับสามัญชน

3.อักษรเหล่านี้ เป็นอักษรเดี่ยวไม่มีใครสามารถเข้าใจรหัสและความหมายได้ นอกจากกลุ่มชนอันเฉพาะเท่านั้น ปรัชญาของการนำเอาอักษรเหล่านี้มาในตอนเริ่มต้นบทบางบทของอัลกุรอาน ก็มิได้มีสิ่งใดเกินเลยไปจากคำและเสียง การอ่านคำเหล่านี้ในช่วงอ่านอัลกุรอาน เป็นเหตุให้ได้รับความสนใจจากผู้ฟัง เพื่อพวกเขาจะได้ตั้งใจสดับรับฟังกุรอาน เนื่องจาก ความหมายของมันต่อเนื่องกัน จึงทำให้เกิดเสียงร่ำลือต่างๆ เพื่อว่าอัลกุรอาน จะได้ไม่ไปถึงหูของชนอาหรับทั้งหลาย

4.อักษรย่อเหล่านี้ บ่งบอกให้เห็นว่าอักษรเหล่านี้ถูกใช้มากในบทดังกล่าว ในตอนแรกอักษรเหล่านี้จะเกิดรวมกัน เช่น อักษร ก็อฟ ที่ปรากฏในแต่ละบทของบท ฏ็อฟ หรือ ฮามีม อีน ซีน ก็อฟ ซึ่งจะมีการกล่าวซ้ำกันทั้งหมด 57 ครั้ง ขณะที่เมื่อเทียบกับอักษรอื่นในบทนั้น อักษรเหล่านี้จะถูกใช้มากกว่า ยกเว้นบางบท เช่น อัชชัมซ์ กิยามะฮฺ และฟะลัก ได้มีนักอักษรศาสตร์คนหนึ่งนับจำนวนอักษรที่สลับซับซ้อนเหล่านี้ด้วยคอบมพิวเตอร์ ซึ่งอักษรเหล่านี้ได้บ่งบอกให้เห็นว่า อัลกุรอานบทนั้นได้ใช้อักษรนี้มากครั้งกว่าอักษรอื่น และสิ่งนี้ย่อมบ่งบอกให้เห็นถึงความมหัศจรรย์

5. อักษรเหล่านี้ถูกใช้ไปเพื่อสาบาน สาบานกับอักษรดังกล่าวก็เนื่องด้วยสาเหตุว่า รากหลักของคำพูดของทุกภาษาวางอยู่บนรากฐานของอักษรเหล่านี้

6.ระหว่างอักษรเหล่านี้กับสาระของบทต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากเมื่อใคร่ครวญบทต่างๆ กับอักษรย่อ จะพบว่าบทเหล่านี้ในแง่ของสาระแล้วมีความละม้ายคล้ายกัน[1]

7.อักษรย่อบางตัวเป็นรหัสยะอันเฉพาะที่บ่งบอกให้เห็นพระนามอันไฟจิตรของพระเจ้า และอักษรบางตัวเป็นรหัสที่บ่งบอกให้เห็นถึงนามของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งแต่ละพระนามของพระเจ้าได้ถูกประกอบขึ้นด้วยอักษรหลายตัว และแต่ละนามชื่ออักษรได้ถูกเลือกโดยไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกัน ในตอนเริ่มต้นแต่ละบท รายงานจาก ยะวีรียะฮฺ ซึ่งรายงานมาจากซุฟยาน อัษษูรี โดยกล่าวว่า ฉันได้ถามญะอฺฟัร บุตรของมอฮัมมัด บุตรของอะลี บุตรของฮุซัยนฺ (อ.) ว่า “โอ้บุตรของเราะซูล ความหมายของคำเหล่านี้จากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ที่ตรัสว่า อลีฟ ลาม มีม และอื่นๆ นั้นหมายถึงอะไร?

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ความหมายของ อลีฟลามมีม ในตอนต้นบทบะเกาะเราะฮฺ หมายถึง "انا الله الملك" ข้าคืออัลลอฮฺผู้ทรงอภิสิทธิ ส่วน อลีฟลามมีม ในตอนเร่มต้นบท อาลิอิมรอน หมายถึง “ข้าคือมะญี” และ ....

8. อักษรย่อเหล่านี้คือส่วนหนึ่งแห่งพระนามของอัลลอฮฺ

9.อักษรเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงจำนวนโองการและบทต่างๆ ของอัลกุรอาน

10.อักษรเหล่านี้ในทุกๆ บทคือชื่อของบทนั้น ดังเช่น บท ยาซีน ฏอฮา ซ็อซด์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละบทจะเริ่มต้นด้วยอักษรย่อ และชื่อบทตามอักษรย่อนั้น

11.อักษรเหล่านี้บ่งบอกให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของประชาชาติอิสลาม

12.อักษระเหล่านี้เป็นรหัสที่ถูกจัดวางขึ้นเพื่อเป็นรหัสของบทต่างๆ แสดงให้เห็นว่าบทก่อนหน้าได้จบลงแล้ว และเป็นการเริ่มต้นบทใหม่หลังจากนั้น

13.อักษรเหล่านี้อยู่ในฐานะของการสรุปสาส์นและสาระโดยรวมของบท

14.อักษรเหล่านี้ บ่งชี้ให้เห็นถึงบุคคลที่มีต้นฉบับอัลกุรอานอยู่ในครอบครอง เช่น “ซีน” บ่งชี้ให้เห็นถึง สะอฺดิบนิ อะบีวะกอซ[2]

15.อักษรเหล่านี้คือรหัส ระหว่างอัลลอฮฺกับเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ ทัศนะนี้เป็นทียอมรับของนักปราชญ์ส่วนใหญ่[3]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “อลีฟลามมีม” คือรหรัสระหว่างอัลลอฮฺ และผู้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์มุฮัมมัด (ซ็อลฯ) พระองค์ประสงค์มิให้ผู้ใดล่วงรู้ในอักษรเหล่านั้น นอกจากพระองค์ ทรงให้เป็นอักษรเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นรหัสที่ปกปิดสายตาศัตรู แต่เป็นที่ชัดเจนแก่หมู่มิตรของพระองค์[4]

เมื่อนำเอาอักษรย่อเหล่านั้นมาจัดเรียงไว้เคียงข้างกัน จะสามารได้รับคำและประโยคจำนวนมากมาย เช่น บุคคลที่เป็นนักคิดเมื่อคำนึงถึงความเชื่อของตน ได้นำเอาอักษรดังกล่าวมารวมกันทำให้เกิดประโยคตามประสงค์ของตน เช่น บัดรุดดีน ซัรกะชี กล่าวว่า “จากการนำเอาอักษรย่อมารวมกันสามารถสร้างเป็นประโยคได้ เช่น «نص حکیم قاطع له سر» ส่วนเฟฎกาชานี (รฮ.) กล่าวว่าเมื่อนำอักษรย่อมารวมกันจะได้ประโยค «صراط علی حق نمسکه» แนวทางของอะลีคือสัจธรรม จงยึดมั่นกับแนวทางนั้นเถิด[5] แต่ทั้งหมดเหล่านั้นไม่มีที่มาจากฮะดีซแต่อย่างใด

 


[1] อัลมีซาน, ตอนอธิบายโองการที่ 6, บทชูรอ

[2] ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ “อักษรย่อ” ไซต์ฟังฮังวะมะอาริฟกุรอาน

[3] มะอฺริฟัต ฮาดี, อุลูมกุรอาน, หน้า 138.

[4] อิบนิฏอวูซ สะอฺดิบนิ สะอูด หน้า 217 พิมพ์นะญัฟ

[5] ตัฟซีรซอฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 91

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8624 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    11457 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7397 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • มีข้อแนะนำใดบ้างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนคลอดบุตร?
    12661 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/21
    มีข้อแนะนำบางอย่างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตรอาทิเช่นปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอนบริโภคอาหารที่ฮะลาลและสะอาดโดยเฉพาะผลไม้นานาชนิดเข้ารับการตรวจโรคทางพันธุกรรมงดความเครียด  มองทิวทัศน์ที่สวยงามรักษาสุขอนามัยออกกำลังกายฯลฯหากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ครบถ้วนก็จะทำให้มีสมาชิกครอบครัวที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิตส่งผลให้สังคมก้าวสู่ความผาสุกในอุดมคติ ...
  • การเล่นนกพิราบในอิสลามมีกฎอย่างไรบ้าง, เพราะเหตุใด?
    7752 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    การกระทำดังกล่าวโดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหาทางชัรอียฺแต่อย่างใดแต่โดยปกติแล้วถ้าเป็นการกลั่นแกล้งคนอื่นหรือเพื่อนบ้านซึ่งในบางพื้นที่ประชาชนจะมองว่าเขาเป็นคนมักง่ายเห็นแก่ตัวดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการกระทำเช่นนั้นมีปัญหา, ด้วยเหตุนี้มัรญิอฺตักลีดจึงได้มีทัศนะเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากกระทำนั้นไว้ดังนี้:สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอียฺ (
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8377 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6193 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7301 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]
  • ความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับตัวอ่อนมนุษย์เป็นไปในรูปแบบใด ทารกเจริญเติบโตก่อนวิญญาณจะสถิตได้อย่างไร?
    8492 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/11
    วิญญาณเป็นสิ่งที่พ้นญาณวิสัย ซึ่งจะสถิตหรือจุติในทารกที่อยู่ในครรภ์ และจะเจริญงอกงามทีละระดับ วิญญาณก็เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์เฉกเช่นร่างกาย ส่วนการที่พระองค์ทรงตรัสว่า “เราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในเขา”นั้น เป็นการสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของวิญญาณมนุษย์ด้วยการเชื่อมคำว่าวิญญาณเข้ากับพระองค์เอง กรณีเช่นนี้ในทางภาษาอรับเรียกกันว่าการเชื่อมแบบ “ลามี” อันสื่อถึงการยกย่องให้เกียรติ ดังกรณีของการเชื่อมโยงวิหารกะอ์บะฮ์เข้ากับพระองค์เองด้วยสำนวนที่ว่า “บัยตี” หรือ บ้านของฉัน การที่ทารกระยะตัวอ่อนยังไม่มีวิญญาณนั้น มิได้ขัดต่อการมีสัญญาณชีวิตก่อนที่วิญญาณจะสถิตแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์มีปราณสามระยะด้วยกัน ได้แก่ ปราณวิสัยพืช, ปราณวิสัยสัตว์, ปราณวิสัยมนุษย์ ปราณวิสัยพืชถือเป็นปราณระดับล่างสุดของมนุษย์ ซึ่งมีการบริโภคและสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ไม่มีความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ เสมือนพืชที่เจริญงอกงามทว่าไร้ความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ และเนื่องจากทารกระยะแรกมีปราณประเภทนี้ก่อนวิญญาณจะสถิต จึงทำให้มีชีวิตและเจริญเติบโตได้ ...
  • ผู้มีญุนุบที่ได้ทำตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ สามารถเข้ามัสยิดได้หรือไม่?
    6635 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ผู้ที่มีญุนุบที่อยู่ในเงื่อนไขที่สามารถทำตะญัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นหลังจากที่ได้ทำการตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่แล้วก็สามารถเข้าไปในมัสยิดเพื่อร่วมทำนมาซญะมาอัตหรือฟังบรรยายธรรมได้ท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า: “ผลพวงทางด้านชาริอะฮ์ที่เกิดขึ้นจากการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่จะมีในกรณีการทำการตะยัมมุมทดแทนเช่นกันนอกจากกรณีการตะยัมมุมทดแทนด้วยเหตุผลที่จะหมดเวลานมาซมัรญะอ์ท่านอื่นๆก็มีทัศนะนี้เช่นเดียวกัน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38391 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...