การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7108
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2579 รหัสสำเนา 14714
คำถามอย่างย่อ
บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
คำถาม
บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

สื่อมีความหมายกว้างมาก ซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่ง หรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อ ขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลาย บรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆ แน่นอนถ้าปราศจากปัจจัย สื่อ และสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอน ที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้า หรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์ อัลกุรอานหลายโองการ และรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้ และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้น มนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับคำตอบในเรื่องนี้, อันดับแรกต้องทำความเข้าใจกับความหมายของ สื่อ เสียก่อน

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฎาะบาอีกล่าวไว้ในตัฟซีร อัลมีซาน เกี่ยวกับโองการที่ว่า :

"یا ایها الذین آمنوا اتقوا الله و ابتغوا الیه الوسیلة"

โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา! พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์[1] ซึ่งในการอธิบายถึงสื่อ  อัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า :แก่นแท้ของคำว่าสื่อ  อัลลอฮฺ,คือการใส่ใจในแนวทางของอัลลอฮฺ. ในลักษณะที่ว่า ประการแรก : จงถวิลหาความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติของพระองค์ ประการที่สอง : จงแสดงความเคารพภักดีต่อพระองค์ ประการที่สาม : พยายามค้นหาแนวทางการปฏิบัติสิ่งที่เป็นมุสตะฮับ ... เนื่องจากวะซีละฮฺคือการติดต่อสัมพันธ์ประเภทหนึ่ง และการสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ซึ่งเป็นนามธรรม ปราศจากสถานที่และกายภาพ, เป็นการสร้างสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณเพื่อค้นหาสายสัมพันธ์ ระหว่างพระผู้อภิบาลกับปวงบ่าว และอีกด้านระหว่างบ่าวกับพระเจ้าไม่มีสายสัมพันธ์อันใดทั้งสิ้น เว้นเสียแต่ความต่ำต้อยด้อยค่าและความเป็นบ่าว, แน่นอน ด้วยสื่อของการแสดงความเคารพภักดี ทำให้แก่นแท้ของการแสดงความเคารพภักดีบังเกิดขึ้นในตัวเอง และพบว่าตนเป็นผู้ยากไร้และอนาถา  เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ ดังนั้น สื่อที่โองการกล่าวถึงก็คือความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เอง[2]

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ตอนอธิบายโองการดังกล่าวข้างต้นกล่าวถึงความหมายของ วะซีละฮฺ ว่า : วะซีละฮฺ เป็นคำที่มีความหมายกว้าง กล่าวคือครอบคลุมทุกภารกิจการงาน หรือทุกสิ่งอันเป็นสาเหตุทำให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งสำคัญที่สุดของสื่อเหล่านั้นคือ อีมานต่อพระผู้อภิบาลและศาสดา (ซ็อล ) การญิฮาดและอิบาดะฮฺ เฉกเช่น นมาซ, บริจาคทานบังคับ,ศีลอด, อัจญฺ การสร้างสายสัมพันธ์กับเครือญาติ การบริจาคในหนทางของอัลลอฮฺ ซึงครอบคลุมทั้งการบริจาคที่เปิดเผยและปิดบัง ตลอดจนทุกการงานที่ดี ...ทำนองเดียวกันการชะฟาอะฮฺของบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ บ่าวผู้เป็นกัลป์ญาณชนของอัลลอฮฺ ตามที่อัลกุรอานได้ระบุไว้ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้ใกล้ชิดกับพระผู้อภิบาล, และอยู่ในความหมายอันกว้างของการตะวัซซุลด้วย. ทำนองเดียวกันการปฏิบัติตามเราะซูลและบรรดาอิมาม การเจริญรอยตามแนวทางของพวกท่าน, เนื่องจากทั้งหมดเหล่านี้คือสาเหตุทำให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.) แม้กระทั่งการสาบานต่ออัลลอฮฺ ตำแหน่งของศาสดา อิมาม บ่าวผู้บริสุทธิ์ และฯลฯ[3]

ดังนั้น วัตถุประสงค์ของอัลกุรอานจากคำว่า สื่อหรือการตะวัซซุลของบรรดาผู้มีความสำรวมตนจากความชั่ว ให้ยึดมั่นกับสื่อเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ก็คือความหมายตามกล่าวมา

อัลกุรอาน นอกจากโองการที่กล่าวแล้ว, โองการที 97 บทยูซุฟกล่าวว่า : พี่น้องของยูซุฟได้ขอร้องบิดา (ยะอฺกูบ) ให้ขอลุกแก่โทษแก่พวกเขากล่าวว่า โอ้ พ่อของเรา โปรดขออภัยโทษแก่เราในความผิดของเรา แท้จริง เราเป็นผู้ผิด

อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ กล่าวถึงการขออภัยโทษของศาสดาอิบรอฮีม (.) ให้แก่บิดาของท่าน ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า บทบาทของดุอาอฺของบรรดาศาสดา (.) ในการขออภัยโทษให้แก่บุคคลอื่น[4]

รายงานจำนวนมากมายจากสายรายงานทั้งชีอะฮฺและซุนนียฺ,กล่าวถึงบทบาทสำคัญของการตะวัซซุล.

หนังสือวะฟาอุลวะฟาเขียนโดยซัมฮูดี (ซุนนีย) กล่าวว่า : การขอความช่วยเหลือและชะฟาอะฮฺจากท่านศาสดา (ซ็อล ) จากตำแหน่งและบุคลิกภาพของท่าน, หรือก่อนการสร้างท่านเป็นสิ่งอนุญาตทั้งสิ้น ตลอดจนหลังการกำเนิดและก่อนการจากไปของท่าน หรือหลังจากการจากไป, ในโลกบัรซัคและในวันฟื้นคืนชีพ[5] หรือหลังจากประโยคต่างๆ,รายงานกล่าวถึงการตะวัซซุลของศาสดาอาดัม (.) ที่มีไปยังท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) รายงานจากอุมัร บิน คัฏฏ็อบว่า : อาดัมได้วอนขอต่ออัลลฮฺ (ซบ.) จากความรู้ที่ว่าในอนาคตจะมีการสร้างศาสดาอิสลามขึ้นมาว่า :

"یا رب اسئلک بحق محمد (ص) لما غفرت لی"

โอ้ พระผู้อภิบาลฉันขอวิงวอนต่อพระองค์ ด้วยสิทธิของมุฮัมมัด ขอทรงโปรดอภัยแก่ฉันเถิด[6] รายงานบทอื่นจากซุนนีย์ที่บันทึกไว้ เช่น นะซาอียฺและติรมิซียฺกล่าวว่า : มีชายตาบอดคนหนึ่งได้ขอให้ท่านศาสดา (ซ็อล ) ดุอาอฺแก่เขาเพื่อการชะฟาะฮฺอาการป่วยไข้, ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้สั่งให้เขาดุอาอฺเช่นนี้ว่า : โอ้ อัลลอฮฺ ฉันขอวิงวอนต่อพระองค์ และขอมุ่งสู่พระองค์ ผ่านศาสดาของพระองค์ มุฮัมมัด ศาสดาแห่งเมตตา, โอ้ มุฮัมมัด  เบื้องพระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของฉัน ฉันขอมุ่งยังท่าน โปรดทำให้ดุอาอฺของฉันถูกยอมรับ โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้นบีเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่ฉัน[7]

บัยฮะกียฺ กล่าวว่า ช่วงยุคสมัยการปกครองของเคาะลิฟะฮฺที่ 2, มีความแห้งแล้งมากประมาณเกือบ 2 ปี ท่านบิลาลพร้อมกับเซาะฮาบะฮฺ ท่านอื่นได้เดินทางไปยังหลุมฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ) แล้วกล่าวว่า : โอ้ ยาเราะซูลลัลลอฮฺ โปรดขอฝนให้แก่ประชาชาติของท่านด้วย เนื่องจากความ (แห้งแล้ง) กำลังจะคร่าชีวิตพวกเรา ...[8]

แต่เป็นเพราะสาเหตุใด เราจึงต้องการสื่อด้วย ? คำตอบคือ โลกใบนี้ดำรงอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมวลมนุษย์ไปสู่ความพัฒนาและความสมบูรณ์ ซึ่งความต้องการของมนุษย์นั้นบางครั้งสัมฤทธิผลด้วย ปัจจัยอันเป็นวัตถุและบางครั้งก็ด้วยสาเหตุอื่นที่มิใช่วัตถุ

ตามความเป็นจริงแล้ว สื่อต่างๆ มีบทบาทต่อสาเหตุปัจจัยในการสร้างความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺทั้งสิ้น, เนื่องจากความเมตตาอันเหลือของพระองค์, เช่น การชี้นำทาง, การอภัยโทษ และ ...เช่นเดียวกันบนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะพระองค์ได้ประทานแก่มนุษย์ ประกอบกับความประสงค์ที่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญาของพระองค์ ที่ครอบคลุมสิ่งเหล่านั้นซึ่งทั้งหมดได้มาถึงมนุษย์ด้วยหนทางแห่งสาเหตุปัจจัยอันเฉพาะ และสาเหตุที่ระบุเอาไว้แล้ว.ด้วยเหตุนี้เอง, ดังที่ปรากฏในโลกของวัตถุ,จะเห็นว่าคำถามเหล่านี้ไร้สาระ : เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงให้โลกสว่างไสวด้วยแสงอาทิตย์? เพราะเหตุใดความกระหายของมนุษย์จึงถูกขจัดด้วยการดื่มน้ำ? เพราะเหตุใดตนจึงไม่ตอบสนองความต้องการของตน และของสรรพสิ่งอื่น โดยปราศจากสื่อเหล่านี้เล่า? ในโลกของจิตวิญญาณเช่นกันไม่สามารถกล่าวได้ว่า เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงไม่ให้การอภัยโทษ ความใกล้ชิด และการชี้น้ำครอบคลุมปวงบ่าว โดยปราศจากสื่อเล่า? อย่างไรก็ตามดั่งเช่นที่ทราบกันดีว่า พืชถ้าปราศน้ำ ดิน ปุ๋ย อากาศ และแสงสว่างแล้วละก็ไม่สามารถเจริญงอกงามไปสู่ความสมบูรณ์ได้, มนุษย์ก็เช่นเดียวกันถ้าปราศจาการช่วยเหลือจากสื่ออันเป็นความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าแล้ว,เขาก็ไม่อาจไปถึงยังเป้าหมายอันเป็นที่ยอมรับได้

ชะฮีด มุเฏาะฮะรี กล่าวว่า : การงานของพระเจ้า, มีระบบและระเบียบ ถ้าหากใครไม่ต้องการใส่ใจกับระบบการสร้างสรรค์ เขาก็จะหลงทาง. ด้วยสาเหตุนี้เอง อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงชี้นำทางบรรดาผู้กระทำผิดทั้งหลายว่า จงไปบ้านของท่านศาสดา (ซ็อล ) และนอกจากจะขอการอภัยโทษแล้ว ก็จงขอร้องให้ท่านศาสดาช่วยวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกตนด้วย อัลกุรอานกล่าวว่า[9] : และแม้นว่าพวกเขา ขณะที่อธรรมต่อตนเอง ได้มาหาเธอ แล้วขออภัยโทษต่ออัลออหฺ และศาสนทูตก็ได้ขออภัยโทษให้แก่พวกเขาด้วยแล้ว แน่นอน พวกเขาก็ย่อมพบว่า อัลลอฮฺนั้นคือพระผู้ทรงอภัยโทษ พระผู้ทรงปรานีเสมอ[10] [11]

เนื่องจากการใส่ใจต่อแบบฉบับของพระเจ้า ซึ่งโองการและรายงานต่างๆ (ซุนนะฮฺ) ได้เน้นย้ำเอาไว้อย่างมากมายถึงเรื่องสือ, การตะวัซซุลกับสื่อต่างๆ ในการอภัยโทษและสร้างความใกล้ชิด

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า :โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา! พึงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด (อย่าฝ่าฝืน) และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์[12]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี ได้กล่าวถึงบทบาทอันกว้างไกลของผู้ให้ชะฟาะฮฺ ในบทวิพากเรื่องชะฟาอะฮฺไว้ว่า ตามความเป็นจริงแล้วบุคคลที่ตะวัซซุล,ไปยังผู้ให้ชะฟาอะฮฺเนื่องจากพลังของตนฝ่ายเดียวไม่เพียงพอต่อการไปถึงยังเป้าหมาย ด้วยเหตุนี้ ตนจึงได้ผสมผสานพลังของตนเข้ากับพลังของผู้ให้ชะฟาอะฮฺ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มพูนพลังให้มากขึ้น,และได้รับในสิ่งที่ปรารถนา,ในลักษณะที่ว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้นโดยใช้พลังงานของตนเพียงอย่างเดียว,จะไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้, เนื่องจากพลังงานของตนฝ่ายเดียวไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ และไม่ยั้งยืน...ดังนั้นชะฟาะฮฺจึงเป็นสื่อหนึ่งเพื่อความสมบูรณ์ของสาเหตุ...[13]

จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญสองสามประเด็นในตอนท้าย :

1.แม้ว่าความต้องการด้านวัตถุปัจจัยของมนุษย์ได้บรรลุผล เนื่องจากสาเหตุทางวัตถุ,แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ดุอาอฺ การตะวัซซุล จะไม่มีบทบาทสำคัญในการสมปรารถนาด้านวัตถุ, สาเหตุทางจิตวิญญาณบางครั้งเป็นสาเหตุแห่งการสร้างสรรค์ และบางครั้งก็ให้ประโยชน์ล้นเหลือ,กล่าวคือบางครั้งผลอาจเกิดจากสาเหตุของวัตถุ,แต่การที่จะให้ผลเหล่านั้นบังเกิดขึ้นมันมาจากดุอาอฺ และ ...และบางครั้งดุอาอฺก็เป็นตัวลบล้างผลทางวัตถุ, เช่น ไฟจำเป็นต้องลุกไหม้,แต่เนื่องจากลมแรงทำให้ไฟไม่ติด อย่างไรก็ตามสาเหตุหลักที่แท้จริงคือ อัลลอฮฺ พระองค์ทรงสามารถให้ยาบังเกิดผล,พร้อมกับให้สาเหตุทางจิตวิญญาณสมจริง

2.วัตถุประสงค์ของการตะวัซซุลกับนบี (ซ็อล ) บรรดาอิมาม (.) หรือหมู่มิตรของอัลลอฮฺในการเป็นสื่อ ก็เนื่องจากตำแหน่งและฐานันดรอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา  อัลลอฮฺ ซึ่งตามความเป็นจริงเท่ากับได้ใช้ตำแหน่งความใกล้ชิดของพวกเขา เพื่อให้พวกเราได้ใกล้ชิดกับพระองค์เนื่องจากตำแหน่งของพวกเขา[14]



[1] อัลกุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ,35

[2] ตัฟซีร อัลมีซาน,ฉบับแปล, เล่ม 5, หน้า 535

[3] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ,เล่ม 4, หน้า 364-367

[4] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, 114

[5] วะฟาอุลวะฟาอฺ, เล่ม 3, หน้า 1371, คัดลอกมาจากตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4 หน้า 367

[6] อ้างแล้วเล่มเดิม

[7] "اللهم انی اسئلک و اتوجه الیک بنبیک محمد نبی الرحمة، یا محمد انی توجهک بک الی ربی فی حاجتی لتقضی لی اللهم شفعه فی"

วะฟาอุลวะฟาอฺ, เล่ม 2, หน้า 1372

[8] "یا رسول الله استسق لامتک فانهم قدهلکوا..."،อัตตะวัซซุล อิลา ฮะกีเกาะติลตะวัซซุล,หน้า 329, คัดลอกมาจากเล่มเดิม, หน้า 368-369

[9] "ولو انهم اذظلموا انفسهم جاؤوک فاستغفروا الله و استغفر لهم الرسول لوجدو الله تواباً رحیماً"

[10] อัลกุรอาน บทอันนิซาอฺ,64

[11] มัจญฺมูอฺ ออซอร ชะฮีดมุเฏาะฮะรี, เล่ม 1, หน้า 264

[12] อัลกุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ,35

[13] ตัฟซีรอันมีซาน,ฉบับแปล,เล่ม 1 หน้า 239,240, เพื่อการศึกษาเพิ่มเติม โปรดพิจารณาหัวข้อ, ความพยายามและบทบาทของมันในการกำหนดชะตาชีวิตในปรโลก, คำถามที่ 280

[14] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ,เล่ม 4, หน้า 167-172, ตัฟซีรมีซาน, เล่ม 1, หน้า 239-246

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ คืออะไร?
    5818 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุราอนและรายงานฮะดีซมิได้มีการตีความคำว่า »ดารุลฮัซเราะฮฺ« เอาไว้ คงมีแต่ประโยคที่ว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« (จะถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงวันแห่งความเสียใจ ความหดหู่ใจที่เกิดจากการสูญเสียบางสิ่งไป) ซึ่งถูกใช้ในอัลกุรอานเพียง 1 ครั้ง แต่ถูกใช้จำนวนหลายครั้งในรายงานฮะดีซ จุดประสงค์ของคำว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« ที่ปรากฏอยู่ทั้งในอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ หมายถึงวันกิยามะฮฺ (วันฟื้นคืนชีพ) เนื่องจากวันฟื้นคืนชีพนั้น ชาวสวรรค์ จะเสียใจว่าสามารถกระทำสิ่งที่ดีกว่านี้ได้ เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งกว่า ส่วนชาวนรกก็เสียใจว่า โอ้ พระเจ้าพวกเราไม่หน้ากระทำบาปเลย จะได้ไม่ต้องตกเป็นชาวนรกเช่นนี้ ...
  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    18286 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • มีหลักฐานอนุญาตให้มะตั่มให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือทำร้ายตัวเองของมุสลิมในช่วงเดือนมุฮัรรอม หรือเดือนอื่นหรือไม่?
    7667 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/12/21
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุดและการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรมถือว่าอนุญาต, เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง, หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรงซึ่งการทุบอก
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7414 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    9123 รหัสยปฏิบัติ 2553/10/21
    ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่นประเภทของ กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา :
  • เราสามารถทำงานในร้านที่ผลิตหรือขายอาหารที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อสุกรได้หรือไม่?
    5937 ข้อมูลน่ารู้ 2557/03/04
    บรรดามัรญะอ์ตักลี้ด (ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต่างก็ไม่อนุญาตให้ทำงานในสถานประกอบการที่จัดจำหน่ายสิ่งฮะรอม (ไม่อนุมัติตามหลักอิสลาม) ฉะนั้น หากหน้าที่ของท่านคือการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นการเฉพาะ งานดังกล่าวจะถือเป็นสิ่งฮะรอม ส่วนกรณีอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ถือว่าไม่มีข้อห้ามประการใด อย่างไรก็ดี สามารถสัมผัสอาหารฮะรอมตามที่ระบุในคำถามได้ (โดยไม่บาป) แต่หากสัมผัสขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จะต้องชำระล้างนะญิส (มลทินภาวะทางศาสนา) ด้วยน้ำสะอาดตามที่ศาสนากำหนด ...
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    8891 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    6003 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
    6847 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง 2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ...
  • ทำไมจึงเรียกการไว้อาลัยแด่ซัยยิดุชชูฮะดาว่า การอร่านร็อวเฎาะฮ์?
    5754 تاريخ کلام 2554/12/10
    สำนวน “ร็อวเฎาะฮ์” เกิดขึ้นเนื่องจากการนำบทต่างๆในหนังสือ “ร็อวเฎาะตุชชุฮะดา”มาอ่านโดยนักบรรยายหนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มแรกๆที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัรบาลาซึ่งเขียนโดยมุลลาฮุเซนกาชิฟซับซะวอรี (เกิด 910 ฮ.ศ.) เป็นหนังสือภาษาฟาร์ซีหนังสือเล่มนี้ใช้อ่านในการไว้อาลัยมาเป็นเวลาช้านานแล้วดังนั้นพิธีต่างๆที่มีการไว้อาลัยจึงเรียกว่าการร็อวเฎาะฮ์ถึงปัจจุบัน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38431 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27542 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27240 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27138 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...