การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8818
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8096 รหัสสำเนา 19870
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
จริงหรือไม่ที่อิมามฮุเซน (อ.) สมรสกับชะฮ์รบานู?
คำถาม
จริงหรือไม่ที่อิมามฮุเซน (อ.) สมรสกับชะฮ์รบานู? กรุณาระบุหลักฐานที่สามารถอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ เช่นหนังสือ ตารีคบัลอะมีย์
คำตอบโดยสังเขป

เกี่ยวกับประเด็นการสมรสระหว่างอิมามฮุเซน (.) กับชะฮ์รบานูซึ่งเป็นเชลยศึกของกองทัพมุสลิมนั้น มีหลายทัศนะด้วยกัน เนื่องจากบางรายงานเล่าว่าหญิงคนนี้ถูกจับเป็นเชลยในสมัยการปกครองของอุมัร บ้างกล่าวว่าสมัยอุษมาน อีกทั้งยังระบุนามของท่านและบิดาของท่านไว้แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ยากที่จะฟันธงว่าภรรยาขอของอิมามฮุเซน (.) และมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน(.) เป็นชาวอิหร่าน ( อีกทั้งการที่มีนามว่าชะฮ์รบานู)

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับประเด็นของการสมรสของอิมามฮุเซน (.) กับบุตรีของยัซด์เกิร์ดที่สามนั้น นักประวัติศาสตร์และนักรายงานฮะดีษมีทัศนะที่แตกต่างกันดังนี้

1.   เชคศอดู้ก (.) ได้รายงานฮะดีษเกี่ยวกับมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ว่า ซะฮ์ล บินกอซิม กล่าวว่าอิมามริฏอ (.) กล่าวกับฉันที่คุรอซานว่าเรากับท่านมีความเกี่ยวดองทางสายเลือดกันฉันได้กล่าวว่าเกี่ยวดองอย่างไรหรือท่าน?” ท่านตอบว่าสมัยที่อับดุลลอฮ์ บินอามิร บินกะรีซ ยึดแคว้นคุรอซานได้ เขาได้จับกุมบุตรสาวของยัซเกิร์ด กษัตรย์ของอิหร่านได้สองนาง และได้นำตัวพวกนางมามอบแก่อุษมาน บินอัฟฟาน เขาได้สองนางให้กับอิมามฮาซัน (.) และอิมามฮุเซน (.) ทั้งสองเสียชีวิตหลังคลอดบุตร  ภรรยาของอิมามฮุเซน (.) ได้ให้กำเนิดท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ก่อนนางจะเสียชีวิต แต่หลังจากที่นางเสียชีวิตลง อิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ก็ได้รับการเลี้ยงดูโดยหญิงรับใช้ของอิมามฮุเซน (.) นางหนึ่ง[1]รายงานนี้ระบุว่าบุตรีของยัซด์เกิร์ดถูกส่งตัวมายังมะดีนะฮ์ในยุคของอุษมาน มิไช่ยุคของอุมัร บินคอฏฏ้อบ

เชคอับบาส กุมี กล่าวถึงรายงานดังกล่าวว่าฮะดีษบทนี้ขัดกับบทอื่น  ที่ระบุว่าบุตรีของยัซเกิร์ดถูกนำตัวมาในสมัยของอุมัร บินคอฏฏ้อบ ซึ่งฮะดีษเหล่านี้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือมากกว่า[2]

2.   กุลัยนี (.) อธิบายเกี่ยวกับมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ด้วยฮะดีษที่ว่าเมื่อบุตรสาวของยัซด์เกิร์ดถูกนำตัวมามอบแด่อุมัร สตรีชาวมาดีนะฮ์ต่างเบียดเสียดกันจ้องมองนาง และเมื่อนางเข้ามายังมัสยิด ใบหน้านางขาวผ่องประดุจว่าทำให้มัสยิดสว่างไสว อุมัรมองนาง นางรีบปิดใบหน้าและกล่าวว่าโอ๊ฟ บีรู้จ บอดอ โฮ้รโมซอุมัรกล่าวขึ้นว่านางได้ด่าทอฉันว่าแล้วก็จ้องเขม็ง อิมามอลี (.) กล่าวกับอุมัรว่าท่านไม่มีสิทธิจะปองร้ายนาง ท่านควรที่จะมอบสิทธิแก่นางให้สามารถเลือกชายมุสลิมด้วยตนเอง แล้วจึงหักจากบัญชีสินสงครามของชายผู้นั้นจะได้รับ อุมัรได้ให้สิทธิ์นี้แก่นาง นางได้เดินมาและเอามือวางบนศีรษะของอิมามฮุเซน (.) อิมามอาลี (.) ได้ถามนางว่าเธอชื่ออะไร?” นางตอบว่าญะฮอนชอฮ์ท่านกล่าวว่าชื่อที่เหมาะแก่เธอคือ ชะฮ์รบอนูเยะฮ์

หลังจากนั้นได้กล่าวกับอิมามฮุเซน (.) ว่าโอ้อบาอับดิลลาฮ์ หญิงคนนี้จะให้กำเนิดบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนหน้าแผ่นดิน และในที่สุดอิมามอาลี บินฮุเซน (.) ก็ถือกำเนิดจากนาง โดยได้รับฉายานามว่าอิบนุลคิยะเราะตัยน์” (บุตรของผู้ถูกคัดเลือกทั้งสอง) เนื่องจากบนีฮาชิมและชนชาติเปอร์เซียเป็นชนที่เลือกสรรโดยอัลลอฮ์ จากอรับและอะญัม[3]

เนื้อหาและสายรายงานของฮะดีษดังกล่าวถูกวิจารณ์โดยนักวิจัยบางส่วน เช่นการที่ฮะดิษบทนี้รายงานโดยอัมร์ บินชิมร์ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือในทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านสายรายงาน[4]

ในแง่ของเนื้อหาก็อาจจะถูกวิจารณ์ได้หลายประเด็นดังนี้

-           การที่บุตรีคนหนึ่งของยัซด์เกิร์ดถูกจับเป็นเชลยนั้น ยังเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน

-           การที่อิมามฮุเซน (.) ได้แต่งงานกับสตรีคนหนึ่งในเวลานั้นเป็นที่เป็นที่น่าเคลือบแคลง เนื่องจากรานงานแรกระบุว่าหญิงผู้นี้ถูกจับเป็นเชลยในการพิชิตแคว้นคุรอซาน อันหมายถึงปีฮ.. 22 ในสมัยของอุษมาน
แต่รายงานที่สองระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยการปกครองของอุมัร และหากเรายึดตามคำพูดนี้ ต้องทราบว่าขณะที่อิหร่านถูกยึดนั้น อิมามมีอายุระหว่าง 10-11 ปี เนื่องจากการยึดอิหร่านเกิดขึ้นในปีที่ 2 ของการปกครองของอุมัร ดังนั้นเป็นไปได้ยากที่อิมามจะสมรสในช่วงอายุดังกล่าว

-           ตำราทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลแตกต่างกันในกรณีมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ทั้งนี้ ยะอ์กูบี (เสียชีวิต 284 ..)[5], มุฮัมหมัด บินฮะซัน กุมีย์[6], กุลัยนี (เสียชีวิต 329 ..)[7], มุฮัมหมัด บินฮะซัน ศ็อฟฟาร กุมีย์ (เสียชีวิต 290 ..), อัลลามะฮ์มัจลิซีย์[8], เชคศอดู้ก (เสียชีวิต 381 ..)[9] และเชคมูฟีด (เสียชีวิต 413 ..)[10] เชื่อว่านางเป็นบุตรสาวของยัซด์เกิรด ถึงแม้ว่าจะมีความเห็นต่างกันในประเด็นชื่อของนางก็ตาม

นอกจากนี้ ยังมีทัศนะอื่นที่ระบุไว้ในตำรารุ่นแรกและรุ่นหลังของพี่น้องซุนหนี่มากมายที่เล่าว่านางเป็นชาวเมืองซิซตาน หรือแคว้นสินธุ หรืออาจเป็นชาวคาบุล และมีสายรายงานมากมายไม่ได้กล่าวถึงสถานที่จองจำของนาง เพียงแต่ได้กล่าวว่านางเป็นอุมมุวะลัด” (สาวใช้ที่มีบุตร) นั้นเอง[11]

บ้างก็เชื่อว่าบิดาของนางเป็นผู้มีชื่อเสียงชาวอิหร่านที่สันนิษฐานว่าชื่อ ซุบฮาน, ซินญาน, นุชญาน หรือชีรูเยะฮ์

หากเราต้องการที่จะวิเคราะห์รายงานเหล่านี้ เราไม่สามารถที่จะพึ่งพาสายรายงานของคำบอกเล่าเหล่านี้แต่อย่างใด เนื่องจากแต่ละสายรายงานไม่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ หนังสือประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ เช่นหนังสือประวัติศาสตร์ยะอ์กูบี ก็รายงานโดยไม่ได้ระบุถึงแหล่งข้อมูลเลย

ดังนั้น เราจะต้องวิเคราะห์ในแง่เนื้อหาเพียงอย่างเดียว ซึ่งในวิธีนี้เราจะประสบปัญหาต่าง  เช่น:

1.     ปัญหาหลักก็คือ รายงานเหล่านี้ไม่สอดคล้องกันในเรื่องชื่อของนางและชื่อบิดา เนื่องจากสายรายงานต่าง ๆระบุว่านางมีชื่อต่างๆดังนี้ ชะฮ์บานู, ซัลลาเคาะฮ์, ฆ็อซซาละฮ์

2.     ทัศนะที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับระยะเวลาที่นางได้ถูกจับเป็นเชลยก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา ซึ่งบ้างก็เชื่อว่านางเป็นเชลยในสมัยของอุมัร และบ้างก็เชื่อว่าในสมัยอุษมาน และบางคน เช่น เชคมุฟี้ด เชื่อว่าเกิดขึ้นในสมัยของอิมามอลี (.)[12]

3.     โดยปกติแล้ว หนังสือบางเล่ม เช่น ตารีคเฏาะบะรี และอัลกามิล ของอิบนุอะษี้ร ซึ่งรายงานสงครามต่างๆระหว่างมุสลิมกับเปอร์เซียตามลำดับปี โดยได้ระบุเส้นทางการหลบหนีของยัซด์เกิร์ดที่ไปตามเมืองต่าง  ของอิหร่าน แต่กลับมิได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ราชธิดาถูกจับเป็นเชลยแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากกว่าเหตุการณ์ปลีกย่อยอื่นๆ ที่หนังสือดังกล่าวบันทึกไว้เสียอีก

4.     เมื่อนักประวัติศาสตร์ประพันธ์รุ่นแรกเช่น มัสอูดีกล่าวถึงบุตรธิดาของยัซด์เกิร์ด เขากล่าวเพียงราชธิดาที่มีนามว่า อัดรัก, ชอฮีน และมัรดอวันด์ ซึ่งไม่มีชื่อใดตรงกับชื่อที่มีรายงานไว้ว่าเป็นชื่อของมารดาอิมามซัยนุลอาบิดีน (.)เลย อีกทั้งไม่กล่าวถึงการถูกจับเป็นเชลยของพวกนางเลย[13]

อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงเบาะแสและทัศนะต่าง  เกี่ยวกับมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน กอปรกับประเด็นที่ว่า นักรายงานที่มีชีวิตอยู่ก่อนศตวรรษที่สามส่วนใหญ่เชื่อว่านางเป็นสาวใช้จากแคว้นสินธุ หรือคาบูล[14] ทำให้ไม่สามารถแสดงทัศนะเชิงฟันธงเกี่ยวกับมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ได้[15]



[1] อุยูน อัคบารุร ริฏอ, ภาค 2, หน้า 128, ฮะดีษที่ 6, ตรวจตราโดยซัยยิดมะฮ์ดี ฮุซัยนี ลอญะวาร์ดี, ..1377, สำนักพิมพ์มิรซอ มุฮัมหมัด ริฏอ มุฮ์ตะดี, พิมพ์ครั้งที่ 1, (คัดมาจากซีดีญามิอุลอะฮาดีษ นู้ร)

[2] กุมี, เชคอับบาซ, มุนตะฮัลอามาล, เล่ม 2, หน้า 30, สำนักพิมพ์ฮิจรัต

[3] อุศูลกาฟี, เล่ม 1, หน้า 467, สำนักพิมพ์ออคุนดี

[4] คุลาเซาะตุลอักวาล ฟี มะริฟะตุรริญาล, บทที่ 2, หน้า 241, คำว่า อัมร์, ดู: ชะฮ์รบานู ภรรยาของอิมามฮุเซน (.)

[5] ประวัติศาสตร์ยะอ์กูบี, เล่ม 2, หน้า 303

[6] ประวัติศาสตร์กุม, หน้า 195

[7] อุศูลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 369

[8] บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 46, หน้า 9

[9] อุยูนุ อัคบารุร ริฏอ, เล่ม 2, หน้า 369

[10] อัลอิรชาด, หน้า 492

[11] บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 46, หน้า 9

[12] อัลอิรชาด, หน้า 492

[13] ประวัติของอลี บินฮุเซน (.), หน้า 12

[14] ชุอูบียะฮ์, หน้า 305

[15] ดู: มารดาของอิมามซัจญาด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ประโยคที่ว่า لاتعادوا الایام فتعادیکم หมายความว่าอย่างไร?
    5896 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ประโยคดังกล่าวแปลว่า “จงอย่าเป็นศัตรูกับวันเวลาแล้ววันเวลาจะไม่เป็นศัตรูกับท่าน”ประโยคนี้ปรากฏอยู่ในฮะดีษของท่านนบี(ซ.ล.)บางบทอัยยามในที่นี้หมายถึงวันเวลาในรอบสัปดาห์สำนวนนี้ต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของวันเวลาและไม่ควรมองวันเวลาในแง่ลบเพราะอาจจะทำให้ประสบเคราะห์กรรมได้ควรคิดว่าวันเวลาเปี่ยมด้วยความเมตตาของพระองค์ที่เราจะต้องขวนขวายไว้อย่างไรก็ดีประโยคนี้ยังสามารถอธิบายได้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะนำเสนอในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    16674 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    6783 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • มีวิธีใดบ้างที่จะทำให้สามีภรรยาเข้าใจกันและกัน
    7915 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/15
    ความซื่อสัตย์คือต้นทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิตคู่ ในทางตรงกันข้าม ภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดที่ก่อให้เกิดความร้าวฉานระหว่างคู่รักก็คือความไม่ไว้วางใจและการหลอกลวงกัน จากที่คุณถามมา พอจะสรุปได้ว่าคุณสองคนขาดความไว้วางใจต่อกัน ขั้นแรกจึงต้องทำลายกำแพงดังกล่าวเสียก่อน วิธีก็คือ จะต้องหาต้นตอของความไม่ไว้วางใจให้ได้ แล้วจึงสะสางให้เป็นที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากเสริมสร้างความไว้วางใจได้สำเร็จ ไม่ว่าคุณไสยหรือเวทมนตร์คาถาใดๆก็ไม่อาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับภรรยาได้อีก ...
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8114 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6536 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]
  • ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ประสบความสำเร็จในการยืนหยัดแห่งอาชูรอ ท่านจะได้จัดตั้งรัฐบาล แล้ววันนี้โลกอิสลามจะอยู่ในสถานภาพอย่างไร?
    8173 تاريخ بزرگان 2555/09/08
    สาเหตุหลักในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยน (อ.) คือ การฟื้นฟูตำสอนศาสนา และการกำชับความดี ห้ามปรามความชั่วร้าย ต่อสู้กับผู้ปกครองที่อธรรม ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดอิสลามให้สิ้นซาก ซึ่งความคิดอันเลวร้ายนั้นได้ลุกลามอย่างกว้างขวางในสังคมอิสลาม โดยมีความเชื่อว่าเคาะลีฟะฮฺหรือฮากิมอิสลาม จะเป็นใครก็ตาม และไม่ว่าจะก่ออาชญากรรมมากน้อยเพียงใดก็ตาม เขาก็คือเคาะลิฟะฮฺของอัลลอฮฺ วาญิบต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา การยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ ในแง่นี้ประสบความสำเร็จและได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และถือว่าบรรลุเป้าหมายด้วย แม้ว่าเป้าหมายอันสูงส่งของอิสลาม ความสำเร็จของสังคมขึ้นอยู่การทำความดีต่างๆ และนำเอาบทบัญญัติมาดำเนินใช้ในสังคม การได้จัดตั้งรัฐอิสลาม ซึ่งแน่นอนว่า รูปแบบการจัดตั้งรัฐอิสลามโดยท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พร้อมกับการโค่นล้มการปกครองของผู้อธรรม ซึ่งผลที่จะได้รับนอกจากจะได้รับรัฐอิสลาม และความสำเร็จของสังคมแล้ว เราก็จะได้เห็นรูปลักษณ์ที่แท้จริงของอิสลาม แน่นอนว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อันอเนกอนันต์แก่ประชาชาติอิสลาม และถือว่านั้นคือความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในการเผยแผ่อิสลาม แต่น่าเสียดายว่าสิ่งนั้นมิได้เกิดขึ้นจริง ...
  • เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
    8290 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืมองค์พระผู้อภิบาลซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆของพระเจ้าการใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์
  • จะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และการปรากฏกายของท่าน ด้วยอัลกุรอานได้อย่างไร?
    6164 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เบื้องต้นจำเป็นต้องรับรู้ว่าอัลกุรอานเพียงแค่กล่าวเป็นภาพรวมเอาไว้ส่วนรายละเอียดและคำอธิบายปรากฏอยู่ในซุนนะฮฺของศาสดา (ซ็อลฯ).
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    6701 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59367 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27110 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...