การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7289
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/16
 
รหัสในเว็บไซต์ fa927 รหัสสำเนา 15117
คำถามอย่างย่อ
ถูกต้องแล้วหรือ ที่บางคนปวารณาตัวเองเป็นสัตว์ชนิดต่างๆเพื่อให้เกียรติบรรดาอิมาม(อ.)? (อย่างเช่นเรียกตัวเองว่าเป็นสุนัขของอิมามฮุเซน(อ.))
คำถาม
ผิดหรือไม่ที่บางคนถือว่าตัวเองเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ หรือมีพฤติกรรมอื่นๆในทำนองเดียวกันนี้?
คำตอบโดยสังเขป

กุรอานและฮะดีษจากนบีและบรรดาอิมามล้วนกำชับให้เห็นถึงความสำคัญของการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะมุอ์มิน
นอกจากนี้ยังได้สอนว่า การตั้งชื่ออันไพเราะและการเรียกขานผู้อื่นด้วยชื่ออันไพเราะนั้น นับเป็นการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ประการหนึ่ง
เช่นในซูเราะฮ์ฮุญุรอตได้กล่าวว่าจงอย่าเรียกขานกันและกันด้วยชื่ออันน่ารังเกียจยิ่งไปกว่านั้น อิสลามสอนเราว่าผู้ศรัทธามีเกียรติยิ่งกว่าวิหารอัลกะอ์บะฮ์ ผู้ศรัทธาทุกคนจึงไม่ควรจะทำลายศักดิ์ศรีของตนเองหรือผู้อื่น
ท่านนบี(..)และบรรดาอิมาม(.)ก็คงจะไม่ยินดีปรีดา หากต้องเห็นกัลญาณมิตรดูถูกตนเองเพื่อเทิดเกียรติแด่ท่าน
อย่างไรก็ดี การจะตัดสินว่าพฤติกรรมใดขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ ชื่อบางชื่อในวัฒนธรรมหนึ่งอาจเป็นการดูหมิ่น แต่สำหรับอีกวัฒนธรรมหนึ่ง นอกจากจะไม่น่ารังเกียจแล้ว กลับจะเป็นที่ภาคภูมิใจด้วยซ้ำ แน่นอนว่าเขาภูมิใจในความหมายเชิงอุปมาอุปไมย และความหมายประเภทนี้ไม่ขัดต่อศักดิ์ศรีของผู้ศรัทธาแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิสลามเคารพในศักดิ์ศรีและเกียรติยศของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะสำหรับมุสลิมและมุอ์มิน และถือว่ามนุษย์มีฐานะภาพที่สูงส่ง
อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงคุณลักษณะและขั้นตอนการสร้างมนุษย์ไว้ว่าแท้จริงเราได้สร้างมนุษย์ในรูปลักษณ์ที่ดีที่สุด [1] และเราได้ประทานเกียรติยศแก่วงศ์วานอาดัม[2]
จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่อัลลอฮ์ทรงสร้างอย่างวิจิตร ทรงคุณค่าและมีเกียรติยศสูงส่งในทัศนะของพระองค์ ในจำนวนนี้ ผู้ศรัทธาที่ยอมสยบต่อคำบัญชาของพระองค์จะได้รับเกียรติสูงกว่าผู้อื่น โดยกุรอานและฮะดีษได้เน้นย้ำให้ผู้ศรัทธารักษาฐานะภาพอันสูงส่งนี้ของตนเองและผู้อื่นไว้ให้นานเท่านาน[3]

ฮะดีษมากมายที่กล่าวถึงผลบุญอันมหาศาลของการช่วยเหลือ[4] การให้เกียรติผู้ศรัทธา[5] และยังห้ามมิให้เมินเฉยต่อผู้ศรัทธาในยามยาก[6] ห้ามมิให้ยั่วโทสะพวกเขา[7] เหล่านี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นที่จะต้องเคารพศักดิ์ศรีของผู้ศรัทธา ถึงขั้นที่มีฮะดีษระบุว่าเกียรติของผู้ศรัทธาเหนือกว่าเกียรติของวิหารกะอ์บะฮ์[8]
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อัลลอฮ์และบรรดามะอ์ศูมีนได้สอนให้เราตั้งชื่ออันดีงามแก่บุตรธิดา และยังสอนให้เรียกขานผู้อื่นด้วยชื่อหรือฉายาที่ดีเท่านั้น อิมามอลี(.)กล่าวว่าสิทธิที่บุตรธิดามีต่อพ่อก็คือ จะต้องตั้งชื่อที่ดีแก่พวกเขา[9]
กุรอานห้ามปรามไว้ว่าผู้ศรัทธาไม่ควรดูถูกกันและกัน ไม่ควรเรียกชื่อหรือฉายาอันไม่พึงประสงค์ ไม่ควรมีอคติกับพี่น้องมุสลิม ไม่ควรจ้องจับผิดและติฉินนินทากันและกัน[10] เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะบ่อนทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และโดยเฉพาะผู้ศรัทธาอย่างร้ายแรง
ดังที่อัลลอฮ์ไม่ปรารถนาจะเห็นผู้ศรัทธาเรียกขานชื่อที่น่ารังเกียจและดูถูกกันและกัน แน่นอนว่าหากผู้ศรัทธาคนใดตั้งชื่อหรือฉายาที่น่ารังเกียจแก่ตนเอง อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นหมิ่นประมาท ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม[11]

สรุปคือ ศาสนาที่เคารพศักดิ์ศรีมนุษยชนเช่นอิสลาม ไม่อนุญาตให้ผู้ศรัทธาขนานนามตนเองหรือผู้อื่นด้วยชื่ออันไม่พึงประสงค์ บทบัญญัตินี้ครอบคลุมถึงวิธีการอะซอดอรี(ไว้ทุกข์แด่บรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์)ด้วย กล่าวคือ แม้จะด้วยเหตุผลที่ต้องการเทิดเกียรติบรรดาอิมามก็ไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้น เนื่องจากการกระทำดังกล่าวขัดต่อคำสอนของกุรอานและบรรดาอิมาม บรรดาอิมามเองก็เคยห้ามปรามมิให้ผู้ที่เลื่อมใสแสดงพฤติกรรมที่ส่อถึงความต่ำต้อยเพื่อหวังจะให้เกียรติท่าน[12] หากได้ทราบว่านบี(..)และบรรดาอิมาม(.)ไม่ประสงค์จะเห็นผู้เลื่อมใสแสดงความต่ำต้อยเพียงการโค้งตัวให้เกียรติท่าน แน่นอนว่าคงจะไม่ยอมให้ผู้ใดให้เกียรติท่านด้วยวิธีขนานนามตัวเองว่าเป็นสุนัขหรือสัตว์ประเภทอื่นๆอย่างเด็ดขาด

ในยุคของของนบี(..)และบรรดาอิมาม(.) เราไม่เคยพบเห็นเศาะฮาบะฮ์ยุคแรก หรือสาวกระดับแนวหน้า หรือผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ อาทิเช่น อายะตุลลอฮ์ บุรูเญรดี, อิมามโคมัยนี ฯลฯ แสดงพฤติกรรมดังกล่าวเลย นอกจากนี้ การกระทำที่จะเป็นเหตุให้มัซฮับชีอะฮ์ถูกเหยียดหยาม ย่อมส่งผลให้ภาพลักษณ์ของบรรดาอิมามเสื่อมเสียไปด้วย บรรดาอิมามจึงห้ามปรามมิให้กระทำเช่นนี้ ดังที่ท่านอิมามญะอ์ฟัร(.)กล่าวไว้ว่าจงเป็นเครื่องประดับสำหรับเรา และจงอย่าเป็นเหตุให้เราเสื่อมเสีย[13]

จึงเป็นการเหมาะสมกว่า หากเราจะแสดงออกถึงความรักในลักษณะที่สอดคล้องกับคำสอนของบรรดาอิมาม(.) ตลอดจนระมัดระวังคำพูดที่จะทำให้บุคคล การไว้อาลัย และมัซฮับได้รับความเสื่อมเสีย
สุดท้ายนี้ อยากจะฝากข้อคิดต่อไปนี้ว่า สิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดพฤติกรรมที่ขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็คือวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ความแตกต่างของวัฒนธรรมแต่ละท้องที่จะเป็นตัวแปรในการพิจารณาพฤติกรรม ยกตัวอย่างเช่น ในวัฒนธรรมของบางพื้นที่ ชื่อบางชื่ออาจนำมาซึ่งความอับอาย แต่ในวัฒนธรรมของอีกพื้นที่หนึ่ง ไม่เพียงแต่จะไม่น่าอับอาย แต่อาจจะเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้ภาคภูมิใจก็คือความหมายเชิงอุปมาอุปไมย มิไช่ความหมายเชิงคำศัพท์ เนื่องจากความหมายเชิงอุปมาอุปไมย หรือกาพย์โคลงกลอน[14] ย่อมไม่ขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเป็นผู้ศรัทธาแต่อย่างใด



[1] ซูเราะฮ์ อัตตีน,4

[2] อัลอิสรออ์,70

[3] อันนู้ร,12 อัลฮุญุรอต,11,12 และ หนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 11(หมวดว่าด้วยการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว,ฮะดีษว่าด้วยการให้เกียรติมุอ์มิน)

[4] อ้างแล้ว, 582

[5] อ้างแล้ว, 590

[6] อ้างแล้ว, 597

[7] อ้างแล้ว, 569

[8] มุสตั้ดร่อกุลวะซาอิ้ล,เล่ม 9,หน้า 343,ฮะดีษที่ 9.

[9] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,ฮิกมะฮ์ 399.

[10] ซูเราะฮ์ ฮุญุร้อต, 11-14

[11] อัลมีซานฉบับแปลฟารซี,เล่ม 18,หน้า 481.

[12] ดู: นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,ถ้อยธรรมสั้นลำดับที่ 37

[13] อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 77,ฮะดีษที่ 9

[14] ดังที่ปรากฏในประวัติของเชคฏูซีว่า ท่านได้สั่งให้เขียนโองการที่เกี่ยวกับสุนัขของอัศฮาบุ้ลกะฮ์ฟิบนสุสานของท่าน หรือกรณีกลอนยกย่องอิ

ามอลี(.)ของท่านอายะตุลลอฮ์ วะฮีด โครอซอนี ที่ลงท้ายว่าฉันคือหนึ่งเดียวในเรื่องความผิดพลาด   เป็นเพียงสุนัขที่บัดนี้ชราภาพในถิ่นฐานของท่านอย่างไรก็ดี เหล่านี้เป็นการอุปมาอุปไมยเชิงกาพย์โคลงกลอนเท่านั้น ซึ่งไม่ขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แต่อย่างใด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
    9729 จริยธรรมทฤษฎี 2554/03/08
    ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน – อาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้าและการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิดซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกันอันก่อให้เกิดความก้าวหน้า
  • เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
    6915 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/11
    ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือดแต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกันตามความหมายแรกอิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่านแต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:1. "ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง2.มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้าชิวหาพระเจ้าและโลหิตพระเจ้าหมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใดมนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์หากทรงประสงค์จะตรัสเขาจะเป็นดั่งชิวหาและหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิตเขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์อิมามฮุเซน(อ.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่าแต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกันโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า ...
  • ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
    7094 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     คำว่าอิบาดะฮฺนักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึงขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่าดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งเว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ความสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมาฉะนั้นการแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้วถือเป็นชิริกทั้งสิ้น
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    6653 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด
  • กฏการโกนเคราและขนบนร่างกายคืออะไร?
    14710 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    เฉพาะการโกนเคราบนใบหน้า[1]ด้วยมีดโกนหรือเครื่องโกนหนวดทั่วไปถึงขั้นที่ว่าบุคคลอื่นเห็นแล้วกล่าวว่าบนใบหน้าของเขาไม่มีหนวดแม้แต่เส้นเดียว, ฉะนั้นเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบถือว่าไม่อนุญาต
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11010 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • เราสามารถที่จะใช้เงินคุมุสที่เกิดขึ้นจากการออมทรัพย์เพื่อการซื้อบ้านได้หรือไม่?
    5351 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ก่อนที่จะตอบคำถามของคุณจะต้องกล่าวว่า: ตามทัศนะของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีเงินออมจากกำไรของผลประกอบการนั้นแม้จะเป็นการออมเพื่อใช้ชำระในชีวิตประจำวันแต่เมื่อถึงปีคุมุสแล้วจะต้องชำระคุมุสนอกจากได้มีการออมเพื่อซื้อของใช้จำเป็นในชีวิตหรือค่าใช้ชำระจำเป็น
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12644 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • ศาสดาท่านหนึ่งมีนามว่า อิสราเอล ใช่หรือไม่? และสิ่งที่ได้ทำให้ฮะรอมสำหรับตนเองคืออะไร?
    6236 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    อิสราเอลคือชื่อของท่านยะอฺกูบ (อ.) ศาสดาท่านหนึ่งแห่งพระเจ้า และเนื่องจากความจำเป็นบางอย่างท่านไม่รับประทานเนื้ออูฐและนม โดยถือเป็นฮะรอมสำหรับตนเอง อัลกุรอานโองการที่ 93 บทอาลิอิมรอน อัลลอฮฺ ตรัสว่า "كُلُّ الطَّعامِ كانَ حِلاًّ لِبَنِي إِسْرائِيلَ إِلاَّ ما حَرَّمَ إِسْرائِيلُ عَلى‏ نَفْسِهِ مِنْ قَبْلِ أَنْ تُنَزَّلَ التَّوْراةُ قُلْ فَأْتُوا بِالتَّوْراةِ فَاتْلُوها إِنْ كُنْتُمْ صادِقِينَ"؛ “อาหารทุกชนิดนั้นเป็นที่อนุมัติแก่วงศ์วานอิสรออีลมาแล้ว นอกจากที่อิสรออีล [ยะอฺกูบ] ได้ทำให้เป็นที่ต้องห้ามแก่ตัวเอง ก่อนที่เตารอตจะถูกประทานลงมาเท่านั้น จงกล่าวเถิดว่า ...
  • ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
    7112 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภทรวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มฮะดีษแรกแม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้างแต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลังโดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้ “ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้หนึ่ง. ความผิดพลาดสอง.การหลงลืมสาม. สิ่งที่ไม่รู้สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือกหก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำเจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดีแปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลกเก้า. ความริษยาตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ลและมุบัยยันในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่าمالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59392 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41675 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38426 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38419 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25210 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...