การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8151
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/28
 
รหัสในเว็บไซต์ fa986 รหัสสำเนา 14817
คำถามอย่างย่อ
อะไรคือเหตุผลที่ต้องชำระคุมุสตามทัศนะชีอะฮ์ ต้องนำจ่ายแก่ผู้ใด และเหตุใดพี่น้องซุนหนี่จึงไม่ปฏิบัติ?
คำถาม
อัสลามุอลัยกุม เพราะเหตุใดครึ่งหนึ่งของเงินคุมุสจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของซัยยิด คุมุสมิไช่เรื่องที่ชีอะฮ์กุขึ้นหรอกหรือ เพราะแม้ในกุรอานเองยังกล่าวถึงคุมุสเพียงโองการเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องซุนหนี่ที่เคร่งครัดต่อสุนัตท่านนบี ยังไม่เห็นมีใครรู้เรื่องคุมุสเลย แต่โดยส่วนตัวก็เชื่อว่าคุมุสมีประโยชน์ในการควบคุมทรัพย์สินและช่วยลดช่องว่างชนชั้นในสังคมได้เป็นอย่างดี
คำตอบโดยสังเขป

1. โองการที่กล่าวถึงศาสนกิจโดยเฉพาะนั้น มีไม่มากเมื่อเทียบกับกุรอานทั้งเล่ม เนื่องจากกุรอานจะกล่าวถึงหัวข้อศาสนกิจอย่างกว้างๆเช่น นมาซ ศีลอด ...ฯลฯ และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท่านนบี(..)และตัวแทนของท่านที่จะอธิบายกฏเกณฑ์และเงื่อนไขปลีกย่อย จะเห็นได้จากการที่กุรอานเองก็กล่าวถึงกฏเกณฑ์ของศาสนกิจสำคัญอย่างการถือศีลอด,ฮัจย์ไว้เพียงเล็กน้อย และยังเหลือข้อปลีกย่อยอีกมากที่กุรอานมิได้อธิบาย กรณีคุมุสก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
2. เกี่ยวกับโองการคุมุส(อันฟาล:41) อุละมาอ์ฝ่ายซุนหนี่ต่างแสดงทัศนะกันอย่างเต็มที่ จากฮะดีษบางบทในตำราของพวกเขา ทำให้ฝ่ายซุนหนี่เองก็ยอมรับว่ามีการจ่ายคุมุสในสมัยท่านนบีจริง ทุกวันนี้ข้อแตกต่างระหว่างฝ่ายซุนหนี่กับชีอะฮ์มิไช่เรื่องการยอมรับหลักการคุมุสหรือไม่ หากแต่เป็นข้อแตกต่างทางรายละเอียดเสียมากกว่า
3. เหตุผลที่นำจ่ายคุมุสครึ่งหนึ่งแก่บรรดาซัยยิด(ลูกหลานนบี)นั้น ก็เพราะอัลลอฮ์ทรงห้ามมิให้บุคคลกลุ่มนี้รับทานซะกาตและเศาะดะเกาะฮ์. เมื่อยังมีซัยยิดที่ขัดสนอยู่ในสังคม กอปรกับความจำเป็นที่ต้องรักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิของท่านนบี(..) จึงอนุญาตให้บุคคลกลุ่มนี้รับเงินคุมุสได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

คุมุสถือเป็นศาสนกิจภาคบังคับประเภทหนึ่งในอิสลาม โดยที่กุรอานผูกโยงการมีศรัทธาไว้กับการชำระคุมุสจงทราบเถิด สิ่งที่สูเจ้าได้รับผลกำไรมานั้น เศษหนึ่งส่วนห้าเป็นกรรมสิทธิของอัลลอฮ์ และเราะซู้ล และเครือญาติ และลูกกำพร้า และผู้ขัดสน และผู้พลัดถิ่น หากสูเจ้ามีศรัทธาต่ออัลลอฮ์...”[1]
กุรอานมักจะกล่าวย้ำเกี่ยวกับเตาฮีด วันกิยามะฮ์ และสภาวะการเป็นเราะซู้ลอยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่กล่าวถึงกฏเกณฑ์ศาสนกิจค่อนข้างน้อย ว่ากันว่ามีโองการประเภทนี้เพียง 500 โองการเท่านั้น ซึ่งหากตัดโองการที่ซ้ำหรือคล้ายคลึงกันออกไป ก็จะเหลือเพียงไม่กี่ร้อยโองการ[2] ในขณะที่กฏเกณฑ์และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆของศาสนกิจแต่ละประเภทนั้น มีจำนวนมากกว่าโองการเหล่านี้หลายเท่าทวีคูณ ด้วยเหตุนี้เอง ในกรณีที่บทบัญญัติศาสนกิจใดไม่มีโองการกุรอานระบุไว้ ผู้รู้ศาสนาทุกแขนงมัซฮับจึงต้องหาคำตอบโดยอาศัยหลักฐานจากฮะดีษที่เชื่อถือได้.

ฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากการที่ศาสตร์แห่งฟิกเกาะฮ์มีความหลากหลายมากขึ้น กอปรกับการที่มีฮะดีษจากท่านนบี(..)และบรรดาอิมาม(.)มากมายที่สามารถตอบปัญหาทางศาสนกิจได้ เมื่อนั้น หากพบว่ากุรอานกล่าวเกี่ยวกับคุมุสเพียงโองการเดียว ก็ไม่นับว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดอีกต่อไป เพราะสามารถศึกษากฏเกณฑ์รายละเอียดได้จากฮะดีษที่มีความน่าเชื่อถือจากบรรดาอิมาม() หรืออีกตัวอย่างก็คือ การที่กุรอานกล่าวถึงศาสนกิจสำคัญๆ อย่างการถือศีลอดและการทำฮัจย์ไว้เพียงสามถึงสี่โองการเท่านั้น[3] รายละเอียดปลีกย่อยของรุก่นอิสลามอย่างการนมาซก็ไม่ได้มีการกล่าวถึงในกุรอาน ผู้รู้ของทุกมัซฮับจึงต้องศึกษาเพิ่มเติมจากฮะดีษเพื่อให้แตกฉาน อย่างไรก็ดี แม้กุรอานจะกล่าวถึงคุมุสเพียงโองการเดียว แต่เป็นโองการที่ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาสำคัญได้เป็นอย่างดี.

ท่านอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี อธิบายโองการดังกล่าวไว้ว่าغنمหรือغنیمهนั้น หมายถึงการได้มาซึ่งรายได้ ไม่ว่าจะด้วยการค้าขาย งานช่างฝีมือ หรือจากการสงคราม[4] และแม้ว่าในโองการจะกล่าวถึงสินสงครามก็จริง แต่กรณีตัวอย่างไม่อาจจะเจาะจงความหมายของคำๆหนึ่งได้[5] ฉะนั้น ความหมายของคำดังกล่าวยังคงเป็นความหมายเชิงกว้าง และจากรูปประโยคในโองการทำให้เข้าใจได้ว่าหมายถึงทุกสิ่งที่เรียกว่าผลกำไรได้ อันนอกเหนือจากสินสงครามแล้ว การทำเหมืองแร่ กรุสมบัติ ไข่มุกที่ต้องดำน้ำลงไปเก็บ และ... อิมามญะว้าด(.)กล่าวว่าสินสงครามและผลกำไรที่พวกท่านได้มา จะต้องชำระคุมุสหลังจากนั้นท่านได้อัญเชิญโองการคุมุส[6]
ฉะนั้น แม้ว่ากุรอานจะกล่าวถึงเพียงกรณีของสินสงคราม แต่อิมาม(.)ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงผลกำไรประเภทอื่นด้วย อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีกล่าวว่า“...ทัศนะที่ว่าคุมุสมิได้จำกัดเฉพาะสินสงครามนั้น เราได้มาจากฮะดีษมากมายในระดับมุตะวาติร(เชื่อถือได้)”[7]

ส่วนคำว่าذی القربیนั้น หมายถึงเครือญาติใกล้ชิด ซึ่งในโองการนี้หมายถึงเครือญาติของท่านนบี(..) ซึ่งฮะดีษบางบทระบุชัดเจนว่าหมายถึงบุคคลบางกลุ่มในหมู่เครือญาตินบี(..)มิไช่ทั้งหมด.[8]
มีฮะดีษในขุมตำราฝ่ายซุนหนี่มากมายที่ระบุว่า มีการแจกจ่ายคุมุสในสมัยท่านนบี(..)จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตท่าน สุยูฏีรายงานจากอิบนิ อบี ชัยบะฮ์ ซึ่งรายงานจาก ญุบัยร์ บิน มุฏอิมว่าท่านนบีได้แจกจ่ายส่วนของซิลกุ้รบา”(เครือญาตินบี) แก่บนีฮาชิมและลูกหลานอับดุลมุฏ็อลลิบ ฉันและอุษมาน บิน อัฟฟานจึงเดินเข้าไปหาท่านพร้อมกับกล่าวว่า ท่านจะแจกให้ลูกหลานอับดุลมุฏ็อลลิบซึ่งเป็นพี่น้องของเรา โดยที่ไม่แจกให้เราบ้างกระนั้นหรือ? ทั้งๆที่เราและพวกเขาเป็นเครือญาติชั้นเดียวกัน ท่านนบีตอบว่าพวกเขา(บนีฮาชิม)ไม่เคยหนีห่างจากเราทั้งยุคญาฮิลียะฮ์และยุคอิสลาม[9]

ตำราฟิกเกาะฮ์ของฝ่ายซุนหนี่ล้วนมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุมุสทั้งสิ้น บางเล่มแทรกในหมวดของซะกาต ส่วนบางเล่มแทรกไว้ในหมวดญิฮาด. กอฎี อิบนุ รุชด์(เสียชีวิต 595..) กล่าวไว้หลังแจกแจงทัศนะฝ่ายซุนหนี่เกี่ยวกับคุมุสว่ายังมีทัศนะที่ขัดแย้งกันในหมู่สหาย(ผู้รู้อะฮ์ลิสซุนนะฮ์)ว่าบุคคลกลุ่มใหนจึงจะเรียกว่าซิลกุรบาบ้างกล่าวว่าหมายถึงบนีฮาชิมเท่านั้น บ้างเชื่อว่าบนีฮาชิมและบนีอับดุลมุฏ็อลลิบ อย่างไรก็ดี ฮะดีษของญุบัยร์ บิน มุฏอิมคือแหล่งอ้างอิงของทัศนะที่สอง.”[10]

สรุปเบื้องต้นได้ว่า คุมุสมิไช่ประเด็นที่กุขึ้นโดยชีอะฮ์แต่ประการใด ข้อแตกต่างหลักระหว่างทัศนะชีอะฮ์และซุนหนี่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ชีอะฮ์เชื่อว่าบทบัญญัติคุมุสยังคงบังคับใช้เช่นเดิม เนื่องจากเครือญาติของท่านนบีที่เดือดร้อนขัดสนยังมีอยู่ในสังคม อิมามชาฟิอีก็เชื่อว่าคุมุสในส่วนของซิลกุรบามิได้ถูกยกเลิกภายหลังนบีวะฝาตเช่นกัน.[11]

ส่วนเหตุผลที่ต้องชำระคุมุสและแบ่งครึ่งหนึ่งให้แก่บุคคลที่เป็นซัยยิด(เชื้อสายนบี):
1.
ในสังคมมุสลิม ผู้นำจะต้องมีงบประมาณไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาของอัลลอฮ์ บังคับใช้กฏหมายของพระองค์ และบริหารสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข ผู้นำสังคมอย่างท่านนบี(..) บรรดาอิมาม(.) และเหล่าอุละมาอ์ซึ่งเป็นตัวแทนในยุคที่อิมามเร้นกายนั้น ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายเพื่อกิจการสาธารณะเช่น ช่วยเหลือผู้ยากไร้ สร้างและดูแลมัสญิด จัดทัพออกสงคราม และกิจกรรมการกุศลอื่นๆ ซึ่งงบประมาณส่วนนี้ได้รับมาจากคุมุส ดังที่ท่านอิมาม(.)กล่าวว่าคุมุสช่วยให้เราทำนุบำรุงศาสนาของพระองค์ได้[12]
2. 
คุมุสช่วยพัฒนาจิตวิญญาณให้สมบูรณ์ เนื่องจากผู้ที่ชำระคุมุสตั้งเจตนาปลีกตัวจากกิเลศ และมุ่งแสวงหาความพอพระทัยจากอัลลอฮ์อันเป็นความไพบูลย์สูงสุด.[13]

ส่วนสาเหตุที่ต้องแบ่งคุมุสครึ่งหนึ่งให้แก่เหล่าซัยยิดนั้น เบื้องต้นต้องคำนึงว่าทั้งคุมุสและซะกาตล้วนเป็นภาษีสำหรับรัฐอิสลามทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพื่อแบ่งสรรงบประมาณอย่างเป็นธรรม และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม อย่างไรก็ดี ยังมีข้อแตกต่างระหว่างคุมุสกับซะกาตตรงที่ว่า ซะกาตถือเป็นทรัพย์สินส่วนรวม การจำหน่ายงบประมาณจึงเป็นไปตามจุดประสงค์เพื่อสาธารณะเป็นหลัก ส่วนคุมุสนับเป็นภาษีที่หล่อเลี้ยงรัฐอิสลามโดยตรง ค่าใช้จ่ายของรัฐและผู้ดำเนินการจะได้จากส่วนนี้ เมื่อทราบดังนี้จึงเข้าใจได้ว่า การที่บรรดาซัยยิดถูกห้ามไม่ให้รับซะกาตก็ถือเป็นมาตรการที่ต้องการแยกลูกหลานศาสดาออกจากทรัพย์สินส่วนนี้ เพื่อไม่ให้ศัตรูสร้างข้อครหาได้ว่านบีมุฮัมมัด(..)จัดแจงให้ลูกหลานของตนเข้าไปแทรกแซงทรัพย์สินส่วนรวม แต่อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าในหมู่ซัยยิดก็มีผู้ขัดสนอยู่เช่นกัน ซึ่งก็ต้องได้รับการช่วยเหลือเหมือนคนอื่นๆ สรุปคือ การได้รับคุมุสมิไช่การปฏิบัติสองมาตรฐานเพื่อยกยอซัยยิด แต่เป็นเพียงมาตรการที่ตราไว้เพื่อไม่ให้เป็นข้อครหาในภายหลัง[14] เป็นไปได้อย่างไรที่อิสลามพร้อมที่จะจ่ายงบประมาณซะกาตเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ทั่วไป แต่กลับปล่อยลูกหลานนบีให้อดอยากปากแห้งโดยไม่เหลียวแล?! ฉะนั้นหลักการคุมุสจึงมิไช่สิทธิพิเศษเพื่อสรรเสริญเยินยอชนชั้นซัยยิด ทั้งนี้เพราะในแง่จำนวนเงินที่ได้รับก็ไม่ได้มากไปกว่าคนทั่วไปแต่อย่างใด กล่าวได้ว่าอิสลามมีสองกองทุน กองทุนคุมุสและกองทุนซะกาต ผู้ยากไร้ไม่ว่าซัยยิดหรือคนทั่วไป ต่างก็มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากแต่ละกองทุนในจำนวนเท่ากัน นั่นคือจำนวนเงินที่พอเพียงสำหรับหนึ่งปี. ผู้ยากไร้ทั่วไปได้รับจากกองทุนซะกาต และผู้ยากไร้ที่เป็นซัยยิดจะได้รับจากกองทุนคุมุส และบรรดาซัยยิดไม่มีสิทธิแตะต้องซะกาตเลยแม้แต่บาทเดียว.



[1] ซูเราะฮ์อันฟาล,41.

وَ اعْلَمُوا أَنَّما غَنِمْتُمْ مِنْ شَیْ‏ءٍ فَأَنَّ لِلَّهِ خُمُسَهُ وَ لِلرَّسُولِ وَ لِذِی الْقُرْبى‏ وَ الْیَتامى‏ وَ الْمَساکینِ وَ ابْنِ السَّبیلِ إِنْ کُنْتُمْ آمَنْتُمْ بِاللَّهِ و...

[2] กันซุลอิรฟาน,อะกี้ก บัคชอเยชี,หน้า 29.

[3] อ้างแล้ว,หน้า 179,242.

[4] อัลมีซานฉบับแปลฟารซี,เล่ม 9,หน้า 118.

[5] อ้างแล้ว,เล่ม 9,หน้า120.

[6] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 6,หน้า 8.(บทว่าด้วยสิ่งที่เป็นวาญิบต้องนำจ่ายคุมุส)

[7] อัลมีซานฉบับแปลฟารซี,เล่ม 9,หน้า 136,137.

[8] อ้างแล้ว,เล่ม 9,หน้า 118.

[9] อัดดุรรุล มันษู้ร,เล่ม 3,หน้า 186,อ้างจากอัลมีซาน,เล่ม 9,หน้า 138.

[10] อิบนิ รุชด์,บิดายะตุ้ลมุจตะฮิด,หมวดญิฮาด,หน้า 382,383.

[11] รวมคำถามคำตอบ,เล่ม10,หน้า32.(อะห์กามคุมุส)

[12] อิมามริฏอกล่าวว่า ان اخراجه (خمس) مفتاح رزقکم و تمحیص ذنوبکم (การชำระคุมุสเป็นกุญแจสู่ริซกีและจะนำมาซึ่งอภัยโทษจากพระองค์)วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 6,บทว่าด้วยอันฟาล,บท 3,เล่ม 2.

[13] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์,เล่ม 7,หน้า 184.

[14] อ้างแล้ว,หน้า183.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6360 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • ฮะดีษนบีและอะฮ์ลุลบัยต์ที่เกี่ยวกับความเศร้าหมองและการโอดครวญเทียบกับทัศนะของผู้รู้ชีอะฮ์ อย่างใดสำคัญกว่ากัน?
    7143 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/13
    เกี่ยวกับเรื่องนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่อไปนี้:1. ไม่ไช่ว่าฮะดีษทุกบทจะเชื่อถือได้ทั้งหมด2. ต้องคำนึงเสมอว่าปัจจัยกาลเวลาและสถานที่มีอิทธิพลต่อฮุก่ม(กฎศาสนา)3. ในจำนวนฮุก่มทั้งหมดมีฮุก่มวาญิบและฮะรอมเท่านั้นที่มีความอ่อนไหว4. จะต้องพิจารณาแหล่งอ้างอิงให้ถี่ถ้วนตัวอย่างเช่นกรณีของการร้องไห้นั้นยังมีข้อถกเถียงกันได้เพราะแม้ว่าวะฮาบีจะฟัตวาห้ามร้องไห้แก่ผู้ตายแต่ในแง่สติปัญญาแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้นอกจากนี้ฮะดีษทั้งสายซุนหนี่และชีอะฮ์ก็ปรากฏเหตุการณ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ร้องไห้ให้กับผู้ตายหรือบรรดาชะฮีดเช่นท่านฮัมซะฮ์หรือมารดาท่านนบี(ซ.ล.) ตลอดจนกรณีอื่นๆอีกมาก 5. อุละมาอ์และผู้รู้ระดับสูงสอนว่ามีบางพฤติกรรมที่ผู้ไว้อาลัยไม่ควรกระทำซึ่งบางกรณีอาจทำให้ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์ด้วยฉะนั้นจะต้องแยกแยะระหว่างพฤติกรรมที่ผิดหลักศาสนาของผู้คนที่ไม่รู้ศาสนากับคำสอนที่แท้จริงของอิสลามและบรรดาอุละมาอ์ ...
  • สายรายงานของฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)ที่ระบุให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทเศาะฮี้ห์หรือไม่? และสี่สิบบทนี้หมายถึงฮะดีษประเภทใด?
    8131 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/18
    ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษที่เรียกกันว่า “อัรบะอีน” ซึ่งรายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์[1]และซุนหนี่[2]บางเล่มเนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นการรณรงค์ให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทอาทิเช่นสำนวนต่อไปนี้: “ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ได้ท่องจำฮะดีษที่จำเป็นต่อการดำรงศาสนาของผู้คนถึงสี่สิบบทอัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขาในวันกิยามะฮ์และจะฟื้นคืนชีพในฐานะปราชญ์ศาสนาที่มีเกียรติ”[3] ฮะดีษนี้มีความเป็นเอกฉันท์ (ตะวาตุร) ในเชิงความหมาย[4]และเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ฮะดีษข้างต้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในหมู่นักวิชาการในการประพันธ์ตำรารวบรวมฮะดีษสี่สิบบทโดยตำราเหล่านี้รวบรวมฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนสี่สิบบทเกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาและหลักจริยธรรมในบางเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วยทั้งนี้ฮะดีษข้างต้นมิได้ระบุประเภทฮะดีษเอาไว้เป็นการเฉพาะแต่หมายรวมถึงฮะดีษทุกบทที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าอัลลามะฮ์มัจลิซีเชื่อว่า “การท่องจำฮะดีษ” ที่ระบุไว้ในฮะดีษข้างต้นมีระดับขั้นที่แตกต่างกันซึ่งจะกล่าวโดยสังเขปดังนี้: หนึ่ง. “การท่องจำฮะดีษ”ในลักษณะการรักษาถ้อยคำของฮะดีษอย่างเช่นการปกปักษ์รักษาไว้ในความจำหรือสมุดหรือการตรวจทานตัวบทฮะดีษฯลฯสอง. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะการครุ่นคิดถึงความหมายของฮะดีษอย่างลึกซึ้งหรือการวินิจฉันบัญญัติศาสนาจากฮะดีษสาม. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะปฏิบัติตามเนื้อหาของฮะดีษ
  • เพราะเหตุใดกอบีลจึงสังหารฮาบีล?
    9940 วิทยาการกุรอาน 2554/06/22
    จากโองการอัลกุรอานเข้าใจได้ว่าสาเหตุที่กอบีลได้สังหารฮาบีลเนื่องจากมีความอิจฉาริษยาหรือไฟแห่งความอิจฉาได้ลุกโชติช่วงภายในจิตใจของกอบีลและในที่สุดเขาได้สังหารฮาบีลอย่างอธรรม ...
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8124 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • เมื่อพิจารณาโองการต่างๆ และรายงานฮะดีซแล้ว ช่วยชี้แนะด้วยว่าระหว่างเกียรติยศและความประเสริฐของอัลกุรอานกับอะฮฺลุลบัยตฺ สิ่งไหนสูงกว่ากัน?
    6241 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/21
    รายงานต่างๆจำนวนมากมายเช่นฮะดีซซะเกาะลัยนฺและอิตรัต, ได้ถูกแนะนำว่าเป็นสองสิ่งหนักที่มีความเสมอภาคกัน, ใช่แล้วบางรายงานฮะดีซเฉกเช่นสิ่งที่กล่าวไว้ในฮะดีซซะเกาะลัยนฺ
  • ในเมื่อไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ แล้วคำว่า لَّمَحْجُوبُونَ หมายถึงอะไร?
    7088 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/08
    คำว่า “ฮิญาบ” (สิ่งปิดกั้น) มิได้สื่อถึงความหมายเชิงรูปธรรมเพียงอย่างเดียวทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลทางปัญญาและกุรอาน, ฮะดีษพิสูจน์แล้วว่าอัลลอฮ์มิไช่วัตถุธาตุ[1]ฉะนั้นฮิญาบในที่นี้จึงมีความหมายเชิงนามธรรมมิไช่ความหมายเชิงรูปธรรมดังที่ปรากฏในโองการต่างๆอาทิเช่นوَ إِذَا قَرَأْتَ الْقُرْءَانَ جَعَلْنَا بَیْنَکَ وَ بَینْ‏َ الَّذِینَ لَا یُؤْمِنُونَ بِالاَخِرَةِ حِجَابًا مَّسْتُورًا  (ยามที่เจ้าอัญเชิญกุรอานเราได้บันดาลให้มีปราการล่องหนกั้นกลางระหว่างเจ้ากับผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อปรโลก)
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    6686 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    8679 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59388 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41669 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38416 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25205 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...