การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7745
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/04/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa998 รหัสสำเนา 13577
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดอัลกุรอานบางโองการ มีความหมายขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของศาสดา
คำถาม
เพราะเหตุใดอัลกุรอานบางโองการ มีความหมายขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของศาสดา
คำตอบโดยสังเขป

คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่า

1) คำว่า อิซมัต เป็นสภาพหนึ่งทางจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความบริสุทธิ์ อันเป็นสาเหตุทำให้บุคคลนั้นหันหลังให้กับบาปกรรม พฤติกรรมชั่วร้าย และความผิดต่างๆ โดยสิ้นเชิง อีกทั้งสภาพดังกล่าวยังปกป้องบุคคลนั้น ให้รอดพ้นจากความผิดพลาด และการหลงลืม โดยปราศจากการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรี หรือมีการบีบบังคับให้บุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์

2. ความเร้นลับแห่งความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาก็คือสติสัมปชัญญะ ความเชื่อมั่น ความศรัทธาสมบูรณ์ และความรักที่มีต่ออาตมันบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺ พร้อมกับการยึดมั่นอยู่กับความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และคุณลักษณะอันสูงส่งและสง่างามของพระองค์ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ในการปกป้องบรรดาศาสดาให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอนมารร้าย และอำนาจฝ่ายต่ำแห่งตัวตน

3. เหตุผลด้านสติปัญญาจำนวนมากที่บ่งบอกถึงความจำเป็นที่ว่า บรรดาศาสดาต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่

4. กรณีที่ถ้าเพื่อว่าโองการอัลกุรอานกับเหตุผลของสติปัญญาเกิดความขัดแย้งกันขึ้น จำเป็นต้องพิจารณาโองการอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันก็จะไม่มองข้ามความหมายภายนอกของโองการในตอนแรก

5. มีโองการจำนวนมากมายที่บ่งบอกถึงความจำเป็นที่บรรดาศาสดาต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าคำว่า อิซมัต จะไม่ได้กล่าวไว้ในโองการเหล่านั้นก็ตาม เช่น

5.1- อัลกุรอาน มีหลายโองการที่ระบุว่าบรรดาศาสดาทั้งหลาย (.) ล้วนได้รับการทำให้สะอาดบริสุทธิ์แล้วทั้งสิ้น เช่น โองการที่ 45 – 48 บทซ็อด กล่าวว่า ผู้ที่ถูกทำให้บริสุทธิ์ หมายถึงบุคคลที่จะไม่ถูชัยฏอนล่อลวงให้หลงทางได้อีก

5.2- โองการที่อธิบายถึงการมีอยู่ของ การชี้นำของพระเจ้า ในบรรดาศาสดาทั้งหลาย ซึ่งโองการเหล่านี้มีจำนวนมากมาย เช่น โองการที่ 84 – 90 บทอันอาม กล่าวว่า บุคคลที่ได้รับการชี้นำจากพระเจ้าแล้วการหลงทางและความหวาดกลัวไม่มีความหมายอันใดสำหรับพวกเขา

5.3 – อัลลอฮฺ (ซบ.) มีคำสั่งอยู่ในหลายโองการให้เชื่อฟังปฏิบัติตามบรรดาศาสดา โดยกำชับให้ประชาชนเชื่อฟังปฏิบัติตามท่านเหล่านั้นโดยปราศจากเงือนไข เช่น โองการที่ 31 , 32 บทอาลิอิมรอน, โองการที่ 80 บทนิซาอ์, โองการที่ 52 บทนูร เป็นที่ชัดเจนว่าการเชื่อฟังปฏิบัติตามโดยปราศจากเงื่อนไขใดทั้งสิ้นจากบุคคลหนึ่ง ย่อมเป็นเหตุผลที่บ่งชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ของบุคคลดังกล่าว

5.4- โองการที่ 26 – 28 บทญิน ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปกป้องท่านศาสดาในทุกๆ ด้าน

5.5- โองการตัฏฮีร (บทอะฮฺซาบ 33) บ่งไว้อย่างชัดเจนถึงความบริสุทธิ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล )

6. โองการที่ไม่เข้ากันกับความบริสุทธิ์ บางทีมาในรูปของประโยคเงื่อนไข ซึ่งไม่ได้ระบุถึงการกระทำความผิดหรือบาปกรรม หรือบางทีระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่กำลังกล่าวถึงคือประชาชนผู้ศรัทธาโดยทั่วไป มิใช่บรรดาศาสดา

7. กรณีเกี่ยวกับศาสดาอาดัม (.) ซึ่งมีความคลางแคลงใจอย่างมากมายเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของท่าน ดังที่กล่าวว่า

ประการแรก การห้ามของโองการเกี่ยวข้องกับประเด็นที่กล่าวถึง เป็นการห้ามกระทำสิ่งที่ดีกว่า หรือห้ามในเชิงแนะนำ มิใช่เป็นการห้ามแบบ เมาลาวีย์ หมายถึงปฏิเสธไม่ให้ทำโดยเด็ดขาด

ประการที่สอง แม้ว่าจะเป็นการห้ามแบบเมาลาวียฺ ก็มิได้เป็นการห้ามชนิดที่เป็นฮะรอม เพียงแค่เป็นการละเว้นสิ่งที่ดีกว่าเท่านั้น มิใช่ความผิดแต่อย่างใด

ประการที่สาม แหล่งกำเนิดหรือโลกที่อาดัม (.) พำนักอยู่ในนั้น มิใช่โลกแห่งการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด ดังนั้น การปฏิบัติสิ่งขัดแย้งในโลกที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการปฏิบัติ จึงไม่ถือว่ามีความผิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น

8. ถ้าหากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสรุนแรงกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย ก็เป็นเพราะว่าท่านเหล่านั้นก็เป็นมนุษย์เหมือนกับมนุษย์ทั่วไป ที่ยังมีอารมณ์ธรรมชาติ มีความต้องการ มีความโกรธ และมีพลังอำนาจฝ่ายต่ำอยู่ในตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการคำแนะนำจากพระเจ้าทั้งสิ้น ฉะนั้น ถ้าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปล่อยให้มนุษย์อยู่กับตัวเองเพียงชั่วเวลาอันเล็กน้อย เขาก็จะพบกัยความหายนะทันที

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามดังกล่าวนี้ อันดับแรกสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือความหมายของคำว่า อิซมัต ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของเราจากคำว่า อิซมัต ก็คือสภาพหนึ่งที่มีอยู่ในตัวของบรรดาผู้ที่เป็นมะอฺซูม ซึ่งสภาพดังกล่าวนั้นจะเป็นอุปสรรกีดขวางไม่ให้เขาประพฤติในภารกิจที่ไม่อนุญาต เช่น การทำความผิด หรือบาปกรรม เป็นต้น[1]

ฟาฎิล มิกดาร เป็นนักเทววิทยาที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของฝ่ายชีอะฮฺ ได้อธิบายคำนี้ได้สมบูรณ์มากกว่า โดยกล่าวว่า อิซมัต คือความการุณย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกระทำแก่ปวงบ่าวคนหนึ่งในลักษณะที่ว่า การมีอิซมัตอยู่ในตัว ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่มีอำนาจในการกระทำความผิดอีกต่อไป ทว่าเขามีอำนาจในการควบคุมความผิด ซึ่งสิ่งนี้นับว่าเป็นความการุณย์ประกอบกับเป็นความเคยชินของบุคคลนั้น ที่จะคอยห้ามหรือยับยั้งไม่ให้เขากระทำความผิด นอกจากนี้ ผลบุญจากการเชื่อฟังปฏิบัติตามและการลงโทษที่เกิดจากการฝ่าฝืนยังเป็นที่รับรู้อย่างชัดเจน และเขายังหวั่นเกรงในเรื่องการลงโทษกรณีที่ละเว้นสิ่งที่ดีกว่า หรือการกระทำที่เกิดจากการหลงลืม[2]

ประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษในที่นี้คือ อิซมัต จะไม่บังคับให้บุคคลที่เป็นมะอฺซูม (ผู้บริสุทธิ์) กระทำการเชื่อฟังปฏิบัติตาม หรือบังคับให้ละเว้นสิ่งที่เป็นบาปกรรมแต่อย่างใด มิใช่ว่าผู้ที่เป็นมะอฺซูม ไม่มีอำนาจที่จะกระทำความผิด หรือเจตนารมณ์เสรีได้ถูกปฏิเสธไปจากเขาโดยสิ้นเชิง ทว่าพลังศรัทธาสมบูรณ์ ความรู้ และความสำรวมตนของเขาอยู่ในระดับสูง ซึ่งกล่าวได้ว่าเขาผู้นี้ได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และเข้าใจอย่างลึกซึ่งในความสมบูรณ์ และความสูงส่งของพระองค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นอุปสรรคกีดขวางมิให้เขาได้ล่วงละเมิดกระทำความผิด หรือละเว้นการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ นอกจากนั้นแล้ว ในกรณีที่เกี่ยวกับบรรดาศาสดา (.) หรือบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) มีรายงานจำนวนมากมายที่บ่งบอกว่าบรรดาท่านเหล่านั้นสนับสนุนส่งเสริมพระดำรัสของพระเจ้าเสมอ และอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กล่าวเรียกพวกเขาว่า รูฮุลกุดส์ หมายถึง วิญญาณบริสุทธิ์[3]

เหตุผลที่บ่งบอกว่าบรรดาศาสดาเป็นผู้บริสุทธิ์ : ก่อนที่เราจะเข้าไปในรายละเอียดของโองการ จำเป็นต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนกล่าวคือ ระหว่างสิตปัญญาและวะฮฺยูไม่มีความขัดแย้งกันแน่นอน ดังนั้น จำเป็นต้องตีความอัลกุรอานในลักษณะที่ว่า ความหมายของอัลกุรอานไม่ขัดแย้งกับสติปัญญา

เกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดา จะขอกล่าวเหตุผลในเชิงของสติปัญญาสักประการหนึ่ง กล่าวคือ เชคฏูซีย์ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ความบริสุทธิ์ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรดาศาสดา เพื่อจะได้มั่นใจในตัวพวกเขาได้ อีกอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่[4] ด้วยเหตุนี้ ความจำเป็นในการเป็นผู้บริสุทธิ์ของบรรดาศาดาคือ เหตุผลที่บ่งบอกถึงความสัตย์จริงของท่าน

บางคนกล่าวถึงเหตุผลแห่งการเป็นผู้บริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาว่าเมื่อการมีอยู่ของพระเจ้า ประกอบไปด้วยคุณลักษณะอันสูงส่งมากมาย ได้พิสูจน์ไห้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการมีอยู่ของวะฮฺยู และสภาะการเป็นศาสดาโดยทั่วไป อีกประเด็นหนึ่งที่สติปัญญาได้ตัดสินเรื่องนี้ก็คือ ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรดาศาสดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำเป็นในการรับวะฮฺยู และการเผยแผ่ออกไปแก่ประชาชน กล่าวคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานศาสดาลงมาเพื่อทำหน้าที่ชี้นำประชาชาติ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่บรรดาศาสดาของพระองค์ต้องปราศจาการหลงลืม หรือพลั้งเผลอใดๆ ทั้งสิ้น แล้วจะนับประสาอะไรกับการทำความผิดบาป ซึ่งสิ่งนี้ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างทางธรรมชาติของมนุษย์ วิทยปัญญาในการเลือกสรรศาสดาคือ การชี้นำประชาชาติ สั่งสอนประชาชนและสิ่งนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมือผู้นำสาส์นของพระเจ้า ต้องปราศจากความผิดพลาด ไม่หลงลืม และมีความบริสุทธิ์ในการรับวะฮฺยูมาสั่งสอน

ซึ่งรากที่มาของคำพูดนี้อยู่ในคุณลักษณะของพระเจ้า เช่น ความรู้ อำนาจ และวิทยปัญญาในการสร้างสรรค์ของพระองค์ วิทยปัญญาในการวางกฎระเบียบ ซึ่งในที่สุดแล้วพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความไม่ดี ความไร้สาระ และการกดขี่ทั้งปวง ดังนั้น ถ้าหากเราะซูลที่รับวะฮฺยูและนำไปเผยแผ่แก่ประชาชนเป็นผู้มีความผิดพลาดแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้บริบาลก็เป็นผู้โง่เขลา เสียสติ ไม่มีความเหมาะสม ด้วยเช่นกัน หรือถ้าหากศาสดามิได้เป็นมะอฺซูม หรือมีความผิดพลาดในการชี้นำทางโดยตั้งใจ หรือพลั้งเผลอ อย่างน้อยที่สุดประชาชาติก็จะไม่มีความเชื่อมั่นต่อเขา ต่อคำสอนที่อ้างว่าเป็นของพระเจ้า ในส่วนแรกแสดงให้เห็นความโง่เขลาและการทำให้ประชาชนหลงทาง ส่วนในกรณีที่สอง ถือว่าการงานของศาสดาไร้ประโยชน์ แน่นอน พระผู้อภิบาลทรงบริสุทธิ์จากทั้งสองกรณี[5]

บัดนี้ เราได้รับทราบแล้วว่าอิซมัตหมายถึงอะไร และความเร้นลับของอิซมัตนั้นอยู่ตรงไหน บางคนได้พิสูจน์ความจำเป็นของอิซมัตด้วยเหตุผลของสติปัญญา แต่ในส่วนทีจะกล่าวต่อไปนี้จะกล่าวในมุมมองของอัลกรอาน ในส่วนแรกโองการต่างๆ ที่กล่าวเกี่ยวกับ อิซมัต ของบรรดาศาสดา ส่วนที่สอง จะกล่าวถึงโองการต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดา และท้ายสุดจะกล่าวถึงคำตอบในเชิงสรุปที่ชัดแจ้งต่อไป

ส่วนที่หนึ่ง โองการต่างๆ ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ (อิซมัต) ของบรรดาศาสดา ซึ่งมีโองการจำนวนมากมายที่กล่าวถึงความเคยชินของจิตใจในนามว่า อิซมัต ที่มีอยู่ในบรรดาศาสดาทั้งหลาย แม้ว่าคำว่า อิซมัต มิได้ปรากฏอยู่ในตัวของพวกท่าน ทว่าความหมายและความเข้าใจ หรือความจำเป็นของความเคยชินนั้น สามารถเข้าใจได้จากโองการต่างๆ เหล่านั้น และเราสามารถแบ่งออกการออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 โองการที่ยกย่องว่าเหล่าบรรดาศาสดาล้วนเป็นผู้ถูกทำให้บริสุทธิ์ คำว่ามุคละซีน หมายถึงกลุ่มชนที่ซาตานมารร้ายไม่อาจลวงล่อพวกเขาได้ ฉะนั้น ในบทสรุปบุคคลที่มิได้อยู่ในบ่วงกรรมของชัยฎอน เขาจึงมีความบริสุทธิ์หรือเรียกว่า มะอฺซูม นั่นเอง

อัลกุรอาน บทซ็อด กล่าวว่าและจงรำลึกถึงปวงบ่าวของเรา อิบรอฮีม อิสหาก และยะอฺกูบ ผู้ที่เข้มแข็งและสายตาไกล (ในเรื่องศาสนา) เราได้เลือกพวกเขาโดยเฉพาะเพื่อเตือนให้รำลึกถึงปรโลก แท้จริงในทัศนะของเรา พวกเขาอยู่ในหมู่ผู้ได้รับเลือกเพราะพวกเขาเป็นคนดี และจงรำลึกถึงอิสมาอีล และอัลยะซะอฺ และซุลกิฟลิ และทุกคนอยู่ในหมู่ผู้ดีเลิศ[6]

โองการข้างต้นได้เอ่ยนามของบรรดาศาสดาบางท่านว่าเป็น มุลละซีน และเป็นผู้มีสายตายาวไกล ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งมุคลิซีน คือบุคคลที่มิได้ถูกชัยฎอนหลอกลวง ดังที่อัลกุรอาน ได้กล่าวอ้างถึงคำพูดของชัยฏอนว่าดังนั้น (ขอสาบาน) ด้วยพระอำนาจของพระองค์ แน่นอนข้าฯจะทำให้พวกเขาทั้งหมดหลงผิด เว้นแต่ปวงบ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขาที่มีใจบริสุทธิ์เท่านั้น[7] หรืออีกโองการหนึ่งกล่าวว่าเว้นแต่ปวงบ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขา ที่ได้รับการคัดสรรเท่านั้น[8]

กลุ่มที่ 2 โองการที่อธิบายว่า การชี้นำของพระเจ้า อยู่ในบรรดาศาสดา เช่น โองการที่กล่าวว่าและแก่เขา เราได้ให้อิสฮากและยะอฺกูบ ทั้งหมดนั้นเราได้นำทางแล้ว และนูฮฺเราก็ได้นำทางแล้วก่อนหน้านั้น และจากลูกหลานของเขานั้น คือ ดาวูด และสุลัยมาน 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • บรรดาอิมามและอุละมามีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับโคลงกลอน?
    6659 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/15
    บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติเกี่ยวกับบทกลอนบทกวี แต่นี่เป็นเพียงความเข้าใจผิดเท่านั้น ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย บรรดาอิมามกล่าวถึงบทกวีที่มีเนื้อหาสาระบ่อยครั้ง อีกทั้งยังเคยขอดุอาหรือตบรางวัลมูลค่าสูงแก่เหล่านักกวี แต่หากจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้ครบก็คงจะทำให้บทความเย่นเย้อโดยไช่เหตุ ...
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    6574 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11007 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7037 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5618 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • ท่านนบีเคยกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งศาสนทูตของตน และตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในอะซานหรือไม่?
    7422 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/22
    จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็นเราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่าท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอนทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆนอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซานในทางตรงกันข้ามมีหลักฐานยืนยันมากมายว่าท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?ต้องยอมรับว่าเราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าวนอกจากนี้ในสำนวนฮะดีษต่างๆจากบรรดาอิมามที่ระบุเกี่ยวกับบทอะซานก็ไม่ปรากฏคำปฏิญาณที่สาม(เกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอิมามอลี)แต่อย่างใดอย่างไรก็ดีเรามีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลของการเอ่ยนามท่านอิมามอลี(อ)ต่อจากนามของท่านนบี(ซ.ล)(โดยทั่วไปไม่เจาะจงเรื่องอะซาน) ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ล้วนฟัตวาพ้องกันว่าสามารถกล่าวปฏิญาณดังกล่าวด้วยเหนียต(เจตนา)เพื่อหวังผลบุญมิไช่กล่าวโดยเหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซานทั้งนี้ก็เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่าประโยคดังกล่าวมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานอันถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง. ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7952 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับตัวอ่อนมนุษย์เป็นไปในรูปแบบใด ทารกเจริญเติบโตก่อนวิญญาณจะสถิตได้อย่างไร?
    8498 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/11
    วิญญาณเป็นสิ่งที่พ้นญาณวิสัย ซึ่งจะสถิตหรือจุติในทารกที่อยู่ในครรภ์ และจะเจริญงอกงามทีละระดับ วิญญาณก็เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์เฉกเช่นร่างกาย ส่วนการที่พระองค์ทรงตรัสว่า “เราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในเขา”นั้น เป็นการสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของวิญญาณมนุษย์ด้วยการเชื่อมคำว่าวิญญาณเข้ากับพระองค์เอง กรณีเช่นนี้ในทางภาษาอรับเรียกกันว่าการเชื่อมแบบ “ลามี” อันสื่อถึงการยกย่องให้เกียรติ ดังกรณีของการเชื่อมโยงวิหารกะอ์บะฮ์เข้ากับพระองค์เองด้วยสำนวนที่ว่า “บัยตี” หรือ บ้านของฉัน การที่ทารกระยะตัวอ่อนยังไม่มีวิญญาณนั้น มิได้ขัดต่อการมีสัญญาณชีวิตก่อนที่วิญญาณจะสถิตแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์มีปราณสามระยะด้วยกัน ได้แก่ ปราณวิสัยพืช, ปราณวิสัยสัตว์, ปราณวิสัยมนุษย์ ปราณวิสัยพืชถือเป็นปราณระดับล่างสุดของมนุษย์ ซึ่งมีการบริโภคและสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ไม่มีความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ เสมือนพืชที่เจริญงอกงามทว่าไร้ความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ และเนื่องจากทารกระยะแรกมีปราณประเภทนี้ก่อนวิญญาณจะสถิต จึงทำให้มีชีวิตและเจริญเติบโตได้ ...
  • เราสามารถกล่าวคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนเวลาอะซานหรือไม่? หรือจำเป็นหรือไม่ที่จะกล่าวอะซานระหว่างสองคุฏบะฮ์
    5851 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    คำถามของคุณไม่ชัดเจนนัก ทำให้สามารถแบ่งคำถามนี้ได้เป็น 2 คำถาม แต่คาดว่าคำถามของคุณน่าจะหมายถึงข้อที่หนึ่งดังต่อไปนี้1. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องกล่าวหนึ่งในสองของคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนถึงเวลาอะซาน(เวลาที่ตะวันเริ่มคล้อยลง) หรือสามารถกล่าวคุฏบะฮ์ทั้งสองก่อนหรือหลังอะซานก็ได้?
  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7310 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59388 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41671 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27538 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25206 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...