การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12660
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1122 รหัสสำเนา 15324
คำถามอย่างย่อ
มีข้อแนะนำใดบ้างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนคลอดบุตร?
คำถาม
กรุณานำเสนอบทบัญญัติอิสลามและข้อควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตรด้วยค่ะ
คำตอบโดยสังเขป

มีข้อแนะนำบางอย่างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตร อาทิเช่น ปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วน ปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอน บริโภคอาหารที่ฮะลาลและสะอาดโดยเฉพาะผลไม้นานาชนิด เข้ารับการตรวจโรคทางพันธุกรรม งดความเครียด  มองทิวทัศน์ที่สวยงาม รักษาสุขอนามัย ออกกำลังกาย ฯลฯ
หากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ครบถ้วน ก็จะทำให้มีสมาชิกครอบครัวที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิต ส่งผลให้สังคมก้าวสู่ความผาสุกในอุดมคติ

คำตอบเชิงรายละเอียด

ลูกๆเปรียบเสมือนดอกไม้งามในสวนหย่อมแห่งชีวิต พวกเขาคืออนาคตของสังคม และเพื่อให้สังคมมุสลิมเจริญก้าวหน้า อิสลามจึงนำเสนอเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการมีบุตรไว้อย่างงดงามและเหมาะสมดังต่อไปนี้:

1. เลือกเฟ้นคู่ครองที่เหมาะสม
ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยายากจะหาสิ่งใดมาเปรียบปาน อัลลอฮ์จึงทรงถือว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของพระองค์และหนึ่งในสัญลักษณ์ของพระองค์ก็คือ การที่พระองค์ทรงสร้างคู่ครองเสมอเหมือนสูเจ้า เพื่อให้สูเจ้าได้พบกับความสงบ และได้ทรงบันดาลให้เกิดไมตรีจิตและความรักระหว่างสูเจ้า แน่นอน สำหรับผู้ไคร่ครวญในสิ่งเหล่านี้ ย่อมมีสัญลักษณ์ของพระองค์แฝงอยู่[1]
อีกด้านหนึ่ง เด็กๆก็มีสิทธิที่จะมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์ และแน่นอนว่าสุขอนามัยส่วนหนึ่งของของเด็กได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงแนะนำให้หนุ่มสาวพิจารณาลักษณะนิสัยและสุขภาพของคนรักให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจมีครอบครัว ทั้งนี้ก็เพื่อให้บุตรหลานมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์  ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงเลือกเฟ้นสถานที่อันเหมาะสมสำหรับอสุจิของพวกท่าน เพราะแท้จริงแก่นแท้(ยีน)ถ่ายทอดกันได้[2]
อีกฮะดีษหนึ่งกล่าวว่าพึงหลีกเลี่ยงต้นกล้าเขียวที่งอกเงยจากกองขยะมีผู้ถามว่าโอ้ร่อซูลุลลอฮ์ สิ่งนั้นคืออะไรเล่า? ท่านตอบว่าสตรีผู้เลอโฉมที่เติบโตในครอบครัวที่ต่ำทราม[3]
ด้วยเหตุนี้ การตรวจสุขภาพทางพันธุกรรมจึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพกายและใจของบุตรหลานที่จะเกิดมา

2. ดุอาและเตรียมความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร
อิมามซัยนุลอาบิดีน(.)ได้สอนดุอาบทหนึ่งแก่สาวกของท่าน โดยให้อ่านเจ็ดสิบจบ แล้วจึงขอให้พระองค์ประทานบุตรให้ ซึ่งมีใจความว่าโอ้อัลลอฮ์ โอ้ผู้สืบสานที่ประเสริฐยิ่ง โปรดอย่าปล่อยให้ข้าพระองค์อยู่โดยลำพัง ขอทรงประทานผู้ช่วยเหลือแก่ข้าฯ เพื่อเป็นตัวแทนในขณะที่ข้าฯมีชีวิต และพร่ำขอลุแก่โทษหลังข้าฯเสียชีวิต โอ้อัลลอฮ์ ขอให้เขาเป็นผู้สืบทอดที่ครบถ้วนสมบูรณ์และพ้นการลวงล่อของชัยฏอน โอ้อัลลอฮ์ ข้าฯขออภัยโทษและขอคืนสู่พระองค์[4]

3. ปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอน
จากเนื้อหาฮะดีษบางบททำให้ทราบว่าพฤติกรรมบางอย่างหรือเวลาบางช่วงเวลาไม่เหมาะแก่การร่วมหลับนอน เช่น
. ในวันที่เกิดสุริยุปราคาและคืนที่เกิดจันทรุปราคา
. ขณะตะวันตกดิน
. ระหว่างอะซานซุบฮิจนถึงช่วงตะวันขึ้น
. คืนแรกของแต่ละเดือน(นอกจากเดือนรอมฏอน)
. คืนสุดท้ายของแต่ละเดือน
. ร่วมหลับนอนหลังจากฝันเปียก
. ในสถานที่ๆมีเด็กอยู่และเห็นหรือได้ยินกามกิจ แม้จะไร้เดียงสาก็ตาม
. จ้องมองอวัยวะพึงสงวนของภรรยาขณะร่วมหลับนอน
. ร่วมหลับนอนในลักษณะไม่มีสิ่งใดปกปิดกายแม้แต่ชิ้นเดียว
๑๐. ในสถานที่ๆเปิดโล่งไร้เพดาน
๑๑. ผินหน้าหรือผินหลังให้กิบละฮ์
๑๒. ร่วมหลับนอนขณะที่อิ่มแปล้[5]
ประโยชน์บางประการที่จะได้รับจากคำแนะนำข้างต้น:
อบูสะอี้ด คุดรี รายงานว่า ท่านนบี(..)ได้ให้คำแนะนำแก่ท่านอลี(.)ว่าโอ้อลี จงงดกามกิจในคืนแรก คืนกลาง และคืนสุดท้ายของเดือน เพราะจะนำมาซึ่งความวิกลจริต  โรคเรื้อน ความพิกลพิการ และความบกพร่องทางปัญญาแก่ภรรยาและบุตร[6]
แม้ว่าฮะดีษบางบทจะมีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถือ แต่บางบทก็มีสายรายงานที่น่าเชื่อถือพอควร จึงควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว อีกประเด็นที่ควรทราบก็คือ การระบุถึงผลลัพท์ทางกรรมพันธุ์เหล่านี้มิได้หมายความว่าสิ่งเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นเสมอไป แต่เป็นเพียงปัจจัยเชิงลบที่หากเกิดขึ้นพร้อมกับปัจจัยอื่นๆก็จะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ แต่หากไม่ครบ ผลเสียก็อาจไม่เกิดขึ้น ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันนักวิชาการบางท่านพิสูจน์แล้วว่า นอกจากดวงจันทร์จะทำปฏิกิริยาต่อปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ยังทำปฏิกิริยากับร่างกายมนุษย์โดยเฉพาะขณะร่วมหลับนอนอีกด้วย[7] ฉะนั้น แม้จะยังพิสูจน์คำแนะนำทางศาสนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ แต่ก็ไม่ควรมองข้ามคำแนะนำอันมีค่าเหล่านี้

4. บำรุงสุขภาพขณะตั้งครรภ์
การบริโภคอาหารที่ถูกสุขอนามัยจะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสม จึงควรบริโภคอาหารให้ครบห้าหมู่และอุดมด้วยแร่ธาตุ และดื่มน้ำให้เพียงพอเสมอ[8]
ท่านนบี(..)กล่าวไว้ว่าจงสนับสนุนสตรีมีครรภ์ให้รับประทานอินทผลัมในเดือนที่เธอจะคลอด เพื่อบุตรในครรภ์จะเป็นผู้อดทนและมีความยำเกรงในอนาคต[9]
อินทผลัมอุดมด้วยพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งนี้เพราะยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าใด ความต้องการพลังงานก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งโดยปกติในช่วงสามเดือนแรก จำเป็นต้องได้รับอาหารที่อุดมด้วยพลังงาน150 กรัมเป็นอย่างต่ำ แต่หลังจากเดือนที่ห้าเป็นต้นไป เธอควรรับประทานอาหารประเภทนี้ถึง 225 กรัมต่อวันเป็นอย่างน้อย[10]
เป็นที่น่าภูมิใจที่ท่านนบี(..)รณรงค์ให้สตรีมีครรภ์รับประทานอินทผลัมในช่วงปลายระยะตั้งครรภ์ซึ่งจำเป็นต้องได้รับพลังงานมากเป็นพิเศษ  ท่านยังได้ใช้เหตุผล(ที่ว่าบุตรจะเป็นผู้อดทนและยำเกรง)เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คุณแม่ได้รับสารอาหารครบถ้วนอีกด้วย
ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่าจงให้สตรีมีครรภ์รับประทานลูกเบะฮ์เพื่อบุตรจะได้มีหน้าตางดงาม[11]
ท่านนบี(..)กล่าวว่าสตรีมีครรภ์ที่รับประทานคัรบุเซะฮ์[12] จะได้บุตรที่งดงามและมีอัธยาศัยดี[13]
และท่านยังกล่าวอีกว่าจงบอกให้สตรีมีครรภ์รับประทานผลเบะฮ์[14] เพื่อลูกๆจะได้เป็นผู้มีกริยามารยาทดี[15]
อิมามริฎอ(.)กล่าวว่าการรับประทานลูกเบะฮ์จะช่วยเพิ่มเชาวน์ปัญญา[16]
และท่านยังกล่าวอีกว่าจงบอกให้สตรีมีครรภ์รับประทานคุนดุร[17] เพราะหากทารกในครรภ์เป็นผู้ชาย จะทำให้มีปัญญาเฉียบแหลม มีความรู้ และกล้าหาญ แต่หากเป็นผู้หญิง ก็จะทำให้มีหน้าตาและกริยามารยาทที่งดงาม ...ฯลฯ[18]

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรระวังอาหารที่ฮะรอมหรือสงสัยว่าเป็นฮะรอมเป็นพิเศษ
ท่านนบี(..)กล่าวว่าผู้ใดกลืนกินอาหารที่ฮะรอม นมาซของเขาจะไม่เป็นที่ยอมรับถึงสี่สิบวัน ดุอาของเขาจะไม่ได้รับการตอบรับสี่สิบวัน เนื้อหนังมังสาที่เจริญจากอาหารฮะรอมจะถูกเผาด้วยไฟนรก ซึ่งอาหารเพียงคำเดียวก็สามารถทำให้เนื้อหนังมังสาเจริญได้[19]

5. ดูแลสุขภาพจิตช่วงตั้งครรภ์
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะสร้างเสริมสุขภาพของคุณแม่และเด็กก็คือ การดูแลสุขภาพจิตและการได้รับกำลังใจจากคนรอบข้างขณะตั้งครรภ์ หากคุณแม่รู้สึกว่าได้รับกำลังใจและการสนับสนุนจากคนรอบข้าง เธอย่อมจะสามารถอดทนต่อความยากลำบากช่วงตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี และจะให้กำเนิดลูกน้อยที่มีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์
อัลลอฮ์ได้เน้นย้ำถึงความยากลำบากในช่วงอุ้มท้อง เพื่อจะกำชับให้เรารำลึกถึงบุญคุณของบุพการี โดยเฉพาะมารดา[20] โองการเหล่านี้นับเป็นการให้กำลังใจคุณแม่ได้เป็นอย่างดี ท่านนบี(..)ได้กล่าวยกย่องระยะอุ้มท้องของสตรีไว้ว่าเมื่อสตรีตั้งครรภ์ ประหนึ่งว่าเธอถือศีลอดยามกลางวัน และหมั่นทำอิบาดัตยามราตรี[21]
อย่างไรก็ดี ความเครียดในระยะนี้เป็นอันตรายต่อครรภ์มารดา กล่าวกันว่า ความเครียดในระยะตั้งครรภ์เกิดขึ้นบ่อยกว่าช่วงหลังคลอดบุตรหลายเท่า ซึ่งส่งผลเสียร้ายแรงกว่าหลายเท่าในทำนองเดียวกัน อาการฟุ้งซ่านหลังคลอดบุตรเกิดขึ้นกับ10% ของมารดาทั่วไป ซึ่งบางรายหนักข้อถึงขั้นทำร้ายลูกตัวเองก็มี โรคเครียดและอารมณ์แปรปรวนนับเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอดบุตร ซึ่งจะค่อยๆทุเลาลงไปเอง แต่หากอาการเหล่านี้ไม่ทุเลาลง ก็จะส่งผลให้เกิดอารมณ์ฉุนเฉียว รู้สึกผิด กระวนกระวายใจ ซึ่งเมื่อคำนึงถึงโองการและฮะดีษที่นำเสนอข้างต้น อาจช่วยป้องกันอาการเหล่านี้ได้.

6. ประกอบศาสนกิจ
ผลวิจัยระบุว่า ผู้ที่เคร่งครัดศาสนามักจะอายุยืนมากกว่าคนทั่วไป สาเหตุหนึ่งอาจเป็นผลจากการนมาซซึ่งช่วยลดความดันโลหิตได้ นักวิจัยพบว่าความดันโลหิตของมุสลิมต่ำกว่าศาสนิกอื่นๆ โดยที่คัดเลือกตัวอย่างวิจัยจากผู้ที่เคร่งครัดศาสนาที่ทำละหมาดทุกเวลา
ทั้งนี้ การปล่อยให้ความดันโลหิตสูงจะนำโรคร้ายมาสู่มนุษย์ เช่น โรคหัวใจเฉียบพลัน ความผิดปกติของหลอดเลือด ความผิดปกติของไต เพราะเหตุนี้ การประกอบศาสนกิจอย่างเช่น นมาซ หรือการดุอาของพ่อแม่จึงมีผลดีต่อพัฒนาการทางจิตใจของลูกโดยตรง และดังที่การอ่านกุรอานทำให้จิตใจของคุณแม่สงบ ทารกในครรภ์ได้รับอานิสงส์ดังกล่าวเช่นกัน 

สิ่งที่นำเสนอทั้งหมดในข้อเขียนนี้ เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของข้อควรปฏิบัติทั้งหมด ซึ่งนอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำอื่นๆอย่างเช่น การมองทิวทัศน์ที่สวยงาม[22] การหมั่นออกกำลังกาย[23]...ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่ยอมรับของอิสลาม ประเด็นดังกล่าวจึงไม่สามารถแจกแจงได้ทั้งหมดในข้อเขียนอันจำกัดนี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาศึกษาจากตำราที่เกี่ยวข้อง



[1] อัรรูม,21 وَ مِنْ آیاتهِ أَنْ خَلَقَ لَکُم مِنْ أَنْفُسِکُمْ أًزواجاً ِلتسْکُنُوا إِلَیها وَ جَعَلَ بَیْنَکُمْ مَّوَدةً وَ رَحْمَةً إنَّ فی ذلِکَ لایاتٍ لِقومٍ یَتَفَکَّرونَ

[2] วะซาอิลุชชีอะฮ์,ฮุร อามิลี,เล่ม 3,หน้า 60.

[3] มะฮัจญะตุ้ลบัยฎออ์,เล่ม 2,หน้า 52.

[4] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 15,หน้า 106: 

رَبِّ لا تَذَرْنی‏ فَرْداً وَ أَنْتَ خَیْرُ الْوارِثین‏، واجعل لی من لدنک ولیا یرثنی فی حیاتی و یستغفرلی بعد موتی واجعله خلفا سویا و لاتجعل للشیطان فیه نصیبا، اللهم انی استغفرک و اتوب الیک انک انت الغفور الرحیم

[5] อ้างแล้ว,เล่ม 14,หมวดปฐมฤกษ์นิกาห์ และ บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 103,หน้า 281. และ ญะวาฮิรุ้ลกะลาม,เล่ม 29,หน้า 54.

[6] อ้างแล้ว.

[7] เว็บไซต์สำนักงานพณฯผู้นำสูงสุดประจำมหาวิทยาลัย.

[8] การดูแลสตรีและหญิงมีครรภ์,ดร.ฮุเซน นูรี,อาหารระยะตั้งครรภ์

[9] ดู: มะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า 169. اطعموا المراة فى شهرها الذى تلد فیه التمر فان ولدها یکون حلیما، تقیا

[10] การเติบโตก่อนถือกำเนิด,ดร.มะฮ์นอซ ชะฮ์ร ออรอย,หน้า 49.

[11] มะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า 372,ฮะดีษที่1230 . و اطعموه حبالاکم فانه یحسن اولادکم

[12] แคนตาลู้ปผลยาว

[13] มุสตั้ดร๊อก,เล่ม2,หน้า 635.

[14] ผลไม้ชนิดหนึ่งคล้ายแอปเปิ้ล มีกลิ่นหอม มีรสฝาดเล็กน้อย

[15] อ้างแล้ว,เล่ม3,หน้า 113,116.

[16] มะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า 196.

[17] สมุนไพรชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายกรวดสีขุ่น

[18] อ้างแล้ว,เล่ม1,หน้า 192,193,196,222.

[19] الْفرْدَوْس، عَنِ النَّبِیِّ ص قَالَ مَنْ أَکَلَ لُقْمَةَ حَرَامٍ لَمْ تُقْبَلْ لَهُ صَلَاةٌ أَرْبَعِینَ لَیْلَةً وَ لَمْ تُسْتَجَبْ لَهُ دَعْوَةٌ أَرْبَعِینَ صَبَاحاً وَ کُلُّ لَحْمٍ یُنْبِتُهُ الْحَرَامُ فَالنَّارُ أَوْلَى بِهِ وَ إِنَّ 

اللُّقْمَةَ الْوَاحِدَةَ تُنْبِتُ اللَّحْم. (บิฮ้ารฯ,เล่ม 63,หน้า 314.)

[20] อัลอะห์ก้อฟ,15.

[20] وَ وَصَّیْنَا الْإِنْسانَ بِوالِدَیْهِ إِحْساناً حَمَلَتْهُ أُمُّهُ کُرْهاً وَ وَضَعَتْهُ کُرْهاً وَ حَمْلُهُ وَ فِصالُهُ ثَلاثُونَ شَهْراً حَتَّى إِذا بَلَغَ أَشُدَّهُ وَ بَلَغَ أَرْبَعینَ سَنَةً قالَ رَبِّ أَوْزِعْنی أَنْ أَشْکُرَ نِعْمَتَکَ الَّتی أَنْعَمْتَ عَلَیَّ وَ عَلى والِدَیَّ وَ أَنْ أَعْمَلَ صالِحاً تَرْضاهُ وَ أَصْلِحْ لی فی ذُرِّیَّتی إِنِّی تُبْتُ إِلَیْکَ وَ إِنِّی مِنَ الْمُسْلِمینَ

[21] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 21,หน้า 451 اذا حملت المراة کانت‏بمنزلة الصائم القائم المجاهد بنفسه و ماله فى‏سبیل الله...

[22] นักวิจัยพบว่าเมื่อคนเรามองใบหน้าที่สวยงาม จะกระตุ้นให้สมองส่วนหนึ่งเริ่มทำงาน อิสลามก็ถือว่าการมองทิวทัศน์ที่สวยงาม ตัวอักษรกุรอาน ใบหน้าที่งดงาม(ไม่รวมถึงการมองที่ไม่อนุมัติ) ล้วนมีอิทธิพลต่อสมองและใบหน้าของเด็ก

[23] นักวิจัยค้นพบสารที่เรียกว่า“เฟนิลติลามีน” ในร่างกายมนุษย์ ที่กระตุ้นให้สดชื่นหลังเล่นกีฬา และเป็นสารต่อต้านความหดหู่ นักวิจัยยังพบอีกว่าสารดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นถึง70% หลังเล่นกีฬา ซึ่งจะเข้าสู่สมองผ่านทางกระแสเลือด นักวิจัยจึงแนะนำให้คุณแม่ออกกำลังกายตามอัตภาพ เพื่อสุขภาพกายและใจของตนเองและลูกน้อยในครรภ์ โดยการบำบัดความเครียดด้วยวิธีนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป จึงทำให้เป็นโรคเครียด, ดู: นิตยสารสตรีสาส์น,ฉบับที่ 118.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
    6885 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม ...
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9120 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • เมื่อกล่าวว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้า จุดประสงค์หมายถึงอะไร ? เฉพาะความหมายรวมๆ เท่านั้นที่มาจากพระเจ้า หรือว่าคำก็ถูกประทานจากพระเจ้าด้วยเช่นกัน
    8324 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    ตามความเป็นจริงแล้วการที่กล่าวว่า อัลกุรอานมาจากอัลลอฮฺ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในระดับต่างๆ  อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ่งและหลากหลาย ซึ่งในแต่ละประเด็นนั้นยังมีความหมายลึกและระเอียดลงไปอีก และในแต่ละคำพูดก็ยังมีคำพูดที่ระเอียดลงไปอีก :ก. เนื้อหาของอัลกุรอานนั้นมาจากพระเจ้าข. นอกจากนี้คำแต่ละคำยังมาจากพระเจ้าค. การรวมคำต่างที่ปรากฏอยู่ในโองการก็มาจากอัลลอฮฺเช่นกันง. โองการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในบทต่างๆ มาจากอัลลอฮฺ
  • ในกุรอานมีกี่ซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบี?
    20169 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    ในกุรอานมีหกซูเราะฮ์ที่มีชื่อคล้ายบรรดานบี ได้แก่ ซูเราะฮ์นู้ห์, อิบรอฮีม, ยูนุส, ยูซุฟ, ฮู้ด และ มุฮัมมัด อย่างไรก็ดี จากคำบอกเล่าของฮะดีษบางบททำให้นักอรรถาธิบายกุรอานเชื่อว่า ซูเราะฮ์บางซูเราะฮ์อย่างเช่น ฏอฮา[1], ยาซีน[2], มุดดัษษิร[3], มุซซัมมิ้ล[4] หมายถึงท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) จึงอาจจะจัดได้ว่าซูเราะฮ์ต่างๆข้างต้นถือเป็นซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบีได้เช่นเดียวกัน คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?
    5970 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    กุรอานและฮะดีษสอนว่า มีปัจจัยบางประการที่ช่วยชลอหรือขจัดปัดเป่าอะซาบให้พ้นจากสังคม ในที่นี้ขอหยิบยกมานำเสนอบางประการดังต่อไปนี้:หนึ่ง. การที่สังคมยังมีท่านนบี หรือผู้ขออภัยโทษอาศัยอยู่:  وَماکانَاللَّهُلِیُعَذِّبَهُمْ
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6170 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5377 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • มีหนทางใดบ้างสำหรับรักษาสายตาอันร้ายกาจ?
    6961 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/07/16
    สายตาอันร้ายกาจเกิดจากผลทางจิตวิญญาณ ซึ่งไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธแต่อย่างใด,ทว่ามีเหตุการณ์จำนวนมากมายที่เราได้เห็นกับตาตัวเอง มัรฮูมเชคอับบาส กุมมี (รฮ.) แนะนำให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะลัม เพื่อเยียวยาสายตาอันร้ายกาจ, ซึ่งเมื่อพิจารณาสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการแล้ว เหมาะสมกับการรักษาสายตาอันร้ายกาจอย่างยิ่ง นอกจากโองการดังกล่าวแล้ว ยังมีรายงานกล่าวเน้นถึง การอ่านอัลกุรอานบทอื่นเพื่อรักษาสายตาอันร้ายกาจไว้อีก เช่น อัลกุรอานบท »นาส« »ฟะลัก« »ฟาติฮะฮฺ« »เตาฮีด« นอกจากนี้ตัฟซีรอีกจำนวนมากยังได้กล่าวเน้นให้อ่านอัลกุรอานบทที่กล่าวมา ...
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6692 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6536 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38389 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...