การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9596
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2153 รหัสสำเนา 14707
คำถามอย่างย่อ
ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
คำถาม
ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
คำตอบโดยสังเขป

จากการศึกษาอัลกุรอาน หลายโองการเข้าใจได้ว่า สวรรค์ คือพันธสัญญาแน่นอนของพระเจ้า และจะตกไปถึงบุคคลที่มีความสำรวมตนจากความชั่วมุตตะกีหรือผู้ศรัทธามุอฺมินผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า (ซบ.) และคำสั่งสอนของท่านเราะซูล (ซ็อล ) โดยสมบูรณ์ บุคคลเหล่านี้คือผู้ได้รับความจำเริญและความสุขอันแท้จริง และเป็นผู้อยู่ในกลุ่มของผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลาย

ด้วยการพิจารณาพระบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) และคำสอนของท่านเราะซูล (ซ็อล ) เข้าใจได้ว่าพระบัญชาของพระองค์และคำสั่งของเราะซูล (ซ็อล ) กำชับว่าจำเป็นต้องเชื่อฟังปฏิบัติตาม วะลียุลอัมริ, และการรู้จักบรรดาอิมามพร้อมกับมอบสิทธิอันชอบธรรมแก่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (.) ดังนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสำหรับผู้ที่ไม่มีได้มีความเชื่อด้วยหัวใจ, หรือด้วยคำพูด อีกทั้งมิได้ปฏิบัติคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูล (ซ็อล ) ของพระองค์ อัลกุรอาน และอะฮฺลุลบัยตฺ (.) แล้วไซร้ เขาผู้นั้นมิใช่ผู้ศรัทธาที่แท้จริง เมื่อเป็นเช่นนั้นความเมตตา และพันธสัญญาของอัลลอฮฺจะไม่ครอบคลุมไปถึงพวกเขาอย่างแน่นอน, เนื่องจากอัลกุรอานกล่าวว่า

إِنَّ الَّذِینَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ لَهُمْ جَنَّاتٌ تَجْرِی مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ ذَلِکَ الْفَوْزُ الْکَبِیرُ      

ส่วนบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย พวกเขาจะได้รับสรวงสวรรค์หลากหลาย  เบื้องล่างมีลําน้ำหลายสายไหลผ่าน นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง[i]

ตามความเป็นจริงแล้วสวรรค์หรือนรก คือ ผลลัพธ์ของหลักความเชื่อและการปฏิบัติตัว ซึ่งเราได้ประกอบไว้บนหน้าแผ่นดิน อัลกุรอาน กล่าวว่า :

إِنْ أَحْسَنتُمْ أَحْسَنتُمْ لِأَنفُسِکُمْ وَإِنْ أَسَأْتُمْ فَلَهَا

หากสูเจ้าทำความดี สูเจ้าก็ทำเพื่อตัวของเจ้าเอง และหากว่าสูเจ้าทำความชั่ว ก็เพื่อตัวเอง

ความจำเป็นในการเชื่อฟังปฏิบัติตามอะฮฺลุลบัยตฺ (.) สูงส่งและยิ่งใหญ่เกินกว่าคำกล่าวอ้างว่า รักพวกเขา และสิ่งนี้มิใช่เฉพาะชีอะฮฺเท่านั้นที่กล่าวอธิบายเอาไว้ ความลับในการเข้าสู่สรวงสวรรค์ขึ้นอยู่กับ ความรู้จักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (.) แก่นของการรู้จักอันเป็นความเข้าใจและเป็นกุญแจสำคัญคือ : ความหมายของคำว่า อิมาม. วาญิบต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามอิมาม, ความจำเป็นในการมีอยู่ของอิมาม, ความต้องการในอิมามเพื่อการรู้จักความสุขและความจำเริญอันแท้จริง และฯลฯ

ซึ่งสามารถกล่าวสรุปได้ว่า บุคคลใดก็ตามที่ไม่อาจเข้าถึงความจริงนี้ได้ หรือเขามิได้เพิกเฉยต่อการศึกษาหาความจริงแต่อย่างใด เขาจึงไม่มีความผิด และไม่ต้องถูกลงโทษในนรก เนื่องจาก นรก คือสถานที่ ที่ถูกเตรียมไว้สำหรับบุคคลที่ทำความผิดและบาปกรรมต่างๆ มิได้ถูกเตรียมไว้สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักความจริง หรือแก่แท้ของความจริง หรือไม่อาจเข้าถึงความจริงได้แต่อย่างใด



[i] อัลกุรอาน บทอัลบุรูจญฺ โองการที่ 11

คำตอบเชิงรายละเอียด

สรวงสวรรค์,คือสัญญาแน่นอนของอัลลอฮฺ (ซบ.)[1] แต่ส่วนข้อสัญญาของพระองค์ครอบคลุมถึงผู้ใดบ้าง? จากการศึกษาอัลกุรอานหลายโองการที่กล่าวถึงชาวสวรรค์ เข้าใจได้ว่า :

"وعدالله المؤمنین و المؤمنات جنات تجری من تحتها الانهار"،

อัลลอฮฺได้ทรงสัญญาแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธาหญิง ว่าจะให้สวนสวรรค์ซึ่ง  เบื้องล่างมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน[2]

โองการระบุให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การเข้าสวรรค์นั้นมีเงื่อนไขสำคัญอยู่ประการหนึ่งนั่นคือ การเป็นผู้ศรัทธามุอฺมินแต่ผู้ศรัทธาเป็นใคร? การเอ่ยชะฮาดะตัยนฺด้วยปากเพียงอย่างเดียวถือว่าเพียงพอต่อการเป็นผู้ศรัทธา แล้วได้เข้าสวรรค์ไปรวมกับผู้ศรัทธาทีแท้จริงกระนั้นหรือ?

อัลกุรอาน กล่าวถึงผู้ศรัทธาว่า

"و من یطع الله و رسوله یدخله جنات تجری من تحتها الانهار".

ผู้ใดที่เชื่อฟังอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะทรงนำเขาเข้าสู่สวนสวรรค์หลากหลาย  เบื้องล่างมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน[3]

บรรดาผู้ศรัทธาที่ได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ได้แก่บรรดาผู้ซึ่ง เชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูลของพระองค์โดยสมบูรณ์ ส่วนการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและเราะซูลนั้นทำอย่างไร? อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้ เข้าใจได้ว่า การเชื่อฟังปฏิบัติตามนั้นมี 2 ลักษณะ กล่าวคือความศรัทธาและการปฏิบัตินั่นเอง อัลกุรอานกล่าวว่า 

إِنَّ الَّذِینَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ لَهُمْ جَنَّاتٌ تَجْرِی مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ ذَلِکَ الْفَوْزُ الْکَبِیرُ      

ส่วนบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย พวกเขาจะได้รับสรวงสวรรค์หลากหลาย  เบื้องล่างมีลําน้ำหลายสายไหลผ่าน นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง[4]

ฉะนั้น :

- ตราบที่ยังไม่ได้เชื่อฟังปฏิบัติตามเราะซูล (ซ็อล ) ถือว่าเขามิใช่ผู้ปฏิบัติตามโดยแท้

- การเชื่อฟังปฏิบัติตามต้องเกิดจากใจโดยมีศรัทธามั่น ควบคู่กับการปฏิบัติตามความเชื่อนั้น

-เพียงแค่ไม่เชื่อหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเราะซูล (ซ็อล ) เพียงคำสั่งเดียว ไม่ถือว่าเป็นผู้ภักดีโดยสมบูรณ์

ผลของการมีศรัทธาและประกอบการดีคืออะไร?

จากการพิจารณาอัลกุรอานอันเป็นองค์ประกอบสมบูรณ์ด้วย วิทยปัญญาและความละเอียดอ่อน ซึ่งผลจากทั้งสองประการนี้ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์แห่งความสำรวมตนจากความชั่วหรือที่เรียกว่าตักวานั่นเอง ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าผู้มีตักวาล้วนเป็นชาวสวรรค์ทั้งสิ้น อัลกุรอานกล่าวว่า:

"للذین اتقوا عند ربهم جنات تجری من تحتها الانهار".

บรรดาผู้ยำเกรงนั้น  พระผู้อภิบาลของพวกเขา พวกเขาจะได้รับบรรดาสวนสวรรค์  เบื้องล่างมีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน[5]

จากสิ่งที่กล่าวมาสรุปได้ว่า :

กลุ่มชนที่ได้รับความผาสุกอย่างแท้จริงคือ ผู้มีความสำรวมตนจากความชั่ว (ตักวา) และตักวาก็คือ การเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูล (ซ็อล ) โดยสมบูรณ์

แม้ว่า ตักวา จะมีระดับชั้นอยู่ก็ตาม ซึ่งระดับชั้นต่ำสุดของตักวาก็คือ การปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) ทั้งหลาย และหลีกเลี่ยงจากการกระทำความผิดทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ ขอบข่ายเบื้องต้นของตักวาคือ การเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งอย่างสมบูรณ์โดยละเอียด

ดังนั้น หนึ่งในคำสั่งของท่านเราะซูล (ซ็อล ) คือสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้จัก และต้องปฏิบัติตามตัวแทนผู้เป็นอิมาม ที่แท้จริงภายหลังจากท่าน[6] มิต้องสงสัยเลยว่าผู้ที่มีความเชื่อเพียงแค่ลมปาก และไม่ได้แสดงความเชื่อฟังปฏิบัติตามตำแหน่งอิมามโดยแท้จริง เขาไม่ถูกนับว่าเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงที่ประกอบการดีต่างๆ นอกจากนั้นเขายังไม่มีระดับชั้นของความสำรวมตนจากความชั่ว (ตักวา) อีกด้วย

ประเด็นสำคัญ : จากโองการที่ 59 บทนิซาอฺ, ที่กล่าวถึงการเชื่อฟังปฏิบัติตาม วะลียุลอัมริ ว่าอยู่ในระดับเดียวกันกับการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องกล่าวสำทับในเรื่องนี้ก็คือ วะลียุลอัมริ ต้องเป็นมะอฺซูม (ผู้บริสุทธิ์) มิได้หมายความว่าทุกคนที่ได้เป็นผู้ปกครองแล้วจะถือว่าเป็น วะลียุลอัมริ เนื่องจากถ้าวะลียุลอัมริ มิได้เป็นมะอฺซูมแล้วละก็ เป็นไปได้ที่คำสั่งของเขาอาจขัดแย้งกับคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูล (ซ็อล ) และในกรณีนี้ เท่ากับว่าคำสั่งให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ (ซบ.) และอูลิลอัมรินั้น เป็นการนำเอา 2 ความขัดแย้ง ที่ต่อต้านกันมารวมกันไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งการกระทำทำนองนี้เป็นไปไม่ได้แน่นอน

เราได้กล่าวไปแล้วว่าความจำเริญผาสุก และบทบาทของการเชื่อเรื่อง อิมามมะฮฺ คือปัจจัยสำคัญในการสร้างความผาสุกที่แท้จริง ดังนั้น ลำดับต่อไปจะอธิบายให้เห็นว่า บทบาทของอิมามมีผลต่อความจำเริญผาสุกของบุคคล และสังคม สวรรค์และนรกได้อย่างไร[7]

ความสำเร็จและบทบาทความเชื่อที่มีต่ออิมาม

เพื่อเน้นย้ำสิ่งที่ได้กล่าวผ่านมาก่อนหน้านี้ จะขอทำความเข้าใจกับคำว่า การประสบความสำเร็จ หรือผู้มีชัยชนะ ความผาสุกบนโลกนี้และปรโลก ตลอดจนการรู้จักบทบาทความเชื่อที่มีต่ออิมามะฮฺ คือปัจจัยสำคัญนำไปสู่ความจำเริญและความสำเร็จ

) ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำเร็จ

แต่ละคนจะมีคำจำกัดความสำหรับคำว่า ความสำเร็จและความสุขต่างกันออกไป แต่ความแตกต่างเหล่านั้นจะไม่ยังประโยชน์อันใดแก่พวกเขาเลย ถ้าหากพวกเขาไม่ถวิลหาความสัตย์จริง

 มวลสิ่งดีงามวางอยู่  เบื้องหน้า สิ่งต้องห้ามชั่วช้าอยู่เบื้องหลัง

ถ้าหากกล่ำกลืนก็ถึงแก่ความตาย แต่ถ้ามุ่งหน้าไปก็จะมีชัย

ดังนั้น ดีกว่าสำหรับประเด็นนี้คือ เรียนรู้การตีความที่แท้จริงของคำนี้จาก อัลลอฮฺ (ซบ.) ครั้นเมื่อพระองค์ต้องจำแนกชนสองกลุ่มคือผู้ประสบความสำเร็จและผู้ได้รับความเสียหายให้ชัดเจนออกจากกัน เพื่อเราจะได้ประจักษ์ชัด

ดังนั้น เมื่อพระองค์ต้องการกล่าวถึงมนุษย์ผู้ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง เฉกเช่นท่านศาสดาอิบรอฮีม (.) พระองค์ได้แนะนำไว้เช่นนี้ว่า :

"و ان من شیعته لأبراهیم. اذ جاء ربه بقلب سلیم".

แท้จริง หนึ่งในบรรดาชนผู้ดำเนินตามแนวทางของเขานั้น คืออิบรอฮีม เมื่อเขาได้เข้าหาพระผู้อภิบาลของเขาด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว[8]

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อิบรอฮีม คือผู้เจริญรอยตามและเป็นชีอะฮฺที่แท้จริงของท่าน (ศาสดานูฮฺ) ด้วยสัญลักษณ์ที่ว่า เมื่ออิบรอฮีมได้เข้าหาพระผู้อภิบาลของเขา เขาได้เข้าไปด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ด้วยความสงบเชื่อมั่นอันเปี่ยมไปด้วยความนอบน้อม

ดุอาอฺบตอนหนึ่งของท่านศาสดาอิบรอฮีม (.) กล่าวว่า :

โปรดอย่าให้ข้าฯได้รับความอัปยศอดสูในวันที่พวกเขาถูกให้ฟื้นคืนชีพ วันซึ่งทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่อํานวยประโยชน์อันใด เว้นแต่ผู้มาหาอัลลอฮฺด้วยดวงใจที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว[9]

จากการที่อัลกุรอานได้เน้นย้ำถึง หัวใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เข้าใจได้ว่า : ผู้ประสบความสำเร็จ ได้รับชัยชนะ และมีความสุขแท้จริงคือ บุคคลที่ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาด้วยความเคร่งครัด ปาวนาตนให้เข้ากับศาสนา ดังนั้น เวลาไปพบอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงไปด้วยจิตใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว มีสัมมาคารวะ และหัวใจที่นอบน้อมต่อพระองค์

แต่ประเด็นที่สร้างความสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โองการข้างต้น (ชุอฺอะรอ 89) ได้เน้นย้ำว่าวันฟื้นคืนชีพ สรวงสวรรค์เป็นเครื่องประหนึ่งหนึ่งของมวลผู้ศรัทธาที่มีความสำรวมตนจากความชั่วสวรรค์จะพยายามเข้าใกล้พวกเขา สาระสำคัญของโองการได้เน้นย้ำว่า การมีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วคือผลของความสำรวมตน และรางวัลของผู้มีความสำรวมตนก็คือสรวงสวรรค์นั่นเอง

ดังนั้น ความผาสุก, ความสำเร็จและความปิติสุขทั้งหลายที่อยู่ในความพยายามนั้น ด้านหนึ่งคือการมีหัวใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วนั่นเอง ส่วนผู้ที่มีความผาสุกที่แท้จริงคือ ผู้ที่เป็นเจ้าของหัวใจผ่องแผ้ว ยอมจำนนโดยดุษณี ฉะนั้นความผาสุกจึงผูกพันอยู่กับการมีหัวใจที่สมบูรณ์

) บทบาทของความเชื่อที่มีต่ออิมามะฮฺอยู่ในความผาสุก

นักรายงานฮะดีซและนักเขียนจำนวนมากมายฝ่ายซุนนียฺ ได้บันทึกรายงานบทสำคัญนี้ไว้ ซึ่งบางตอนของรายงานกล่าวว่า :

ท่านเราะซูล (ซ็อล ) ได้กล่าวแก่ท่านอิมามอะลี (.) ว่า :

ประชาชาติของศาสดามูซาจะแบ่งออกเป็น 71 พวก ซึ่งมีอยู่พวกเดียวในหมู่พวกเขาทีจะได้รับความช่วยเหลือ ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นชาวนรก, และประชาชาติของศาสดาอีซา จะแบ่งออกเป็น 72 พวก ซึ่งมีอยู่พวกเดียวในหมู่พวกเขาทีจะได้รับความช่วยเหลือ ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นชาวนรก, ส่วนประชาชาติของฉันจะแบ่งออกเป็น 73 พวก ซึ่งมีอยู่พวกเดียวในหมู่พวกเขาทีจะได้รับความช่วยเหลือ ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นชาวนรก, อะลี (.) ถามว่า : โอ้ เราะซูลแห่งอัลลอฮฺ ประชาชาติพวกไหนหรือที่ได้รับความช่วยเหลือ? ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า : ได้แก่บุคคลที่ยึดถือปฏิบัติตามแนวทางของเจ้า[10] 

บุรีดะฮฺ อัสละมี (ฝ่ายซุนนียฺเชื่อว่าเขาเป็นเซาะฮาบะฮฺของท่านเราะซูล (ซ็อล )) เขาได้รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ) ว่าวัตถุประสงค์ของซิรอฏ็อลมุสตะกีม (หนทางอันเที่ยงตรง) ในโองการอิฮฺดินัซซิรอฏ็อลมุสตะกีมหมายถึงมุฮัมมัดและลูกหลานของมุฮัมมัด[11]

ท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามที่ต้องการข้ามสะพานซิรอตได้อย่างรวดเร็ว หรือกระแสลมพัดผ่าน และเข้าสู่สรวงสวรรค์โดยปราศจากการตรวจสอบ ดังนั้น เขาต้องยอมรับวิลายะฮฺของอะลี บุตรของอบีฏอลิบ ผู้เป็นวะลี และเป็นตัวแทนของฉัน เพราะเคาะลีฟะฮฺของฉันอยู่  ครอบครัวของฉัน 

ส่วนบุคคลใดก็ตามต้องการไปสู่ไฟนรก :

"فلیترک ولایته، فو عزت ربی و جلاله انه لباب الله الذی لایوتی الا منه، و انه الصراط المستقیم و انه الذی یسال الله عن ولایته یوم القیامة"

ดังนั้น จงละทิ้งวิลายะฮฺของเขา ฉันขอสาบานด้วยเกียรติยศและความสูงส่งของอัลลอฮฺว่า แท้จริงเขาคือ ประตูแห่งอัลลอฮฺ (ประตูทางเข้าเมื่อผ่านเข้าไปจะได้พบหนทางไปสู่อัลลอฮฺ) ประตูซึ่งนอกจากประตูนี้แล้ว ไม่มีหนทางอื่นไปสู่อัลลอฮฺได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาคือหนทางอันเที่ยงธรรม และเขาคือบุคคลซึ่งในวันฟื้นคืนชีพ อัลลอฮฺจะสอบถามประชาชนเกี่ยวกับวิลายะฮฺของเขา[12]

การงานของบุคคลใดถูกตอบรับ?

วิลายะฮฺคือ เงื่อนไขสำคัญของการตอบรับอิบาดะฮฺ

ตามรายงานจำนวนมากมายจากอะฮฺลิซซุนนะฮฺ กล่าวว่า เงื่อนไขของอัลลอฮฺ (ซบ.) ในการตอบรับการงานของประชาชาติคือ การยอมรับวิลายะฮฺของอะมีรุลมุอฺมินีน อะลี บุตรของอบีฏอลิบ (.)

ท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่า : การมองใบหน้าของอะลีอมีริลมุอฺมีนีน บุตรของอบีฏอลิบ เป็นอิบาดะฮฺ, การรำลึกถึงอะลีเป็นอิบาะฮฺ, อีมานของบุคคลจะไม่ถูกยอมรับ เว้นเสียแต่ว่ามีความรักต่ออะลี และเกลียดชังศัตรูของเขา[13]

สิ่งที่ได้รับจากรายงานบทนี้คือ เงื่อนไขในการตอบรับอีมาน (ความศรัทธาแล้วจะนับประสาอะไรกับอิบาดะฮฺ) คือการมีวิลายะฮฺและบะรออะฮฺ

อุละมาอฺและนักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺ รายงานว่า :

ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า : โอ้ อะลีเอ๋ย ถ้าหากบุคคลใดได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานเท่าอายุขัยของศาสดา (นูฮฺ) และเขามีแก้วแหวนเงินทองมากมายเท่าภูเขาอุฮุด พร้อมกับบริจาคทรัพย์สินเหล่านั้นในหนทางของอัลลอฮฺ เขาเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญฺด้วยเท้าเปล่า ตลอดอายุขัยของเขา เวลานั้นเขาได้ถูกสังหารเสียชีวิตระหว่างเนินเขาเซาะฟาและมัรวะฮฺ ด้วยความอธรรม แต่ถ้าเขาไม่มีวิลายะฮฺของเจ้า โอ้ อะลีเอ๋ย เขาจะไม่ได้กลิ่นอายของสวรรค์เป็นอันขาด และจะไม่มีวันเข้าสู่สรวงสวรรค์แน่นอน[14]

แต่สำหรับประเด็นที่ว่า ผู้ที่มิใช่ชีอะฮฺจะถูกส่งไปยังนรกหรือไม่ คือบทวิพากที่ต้องวิพากต่อไป แต่จะชี้ให้เห็นคร่าวๆ ก่อน :

อย่างไรก็ตามประชาชนที่ไม่ได้รับอิสลามแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

1.กลุ่มที่หนึ่งได้แก่กลุ่มชนซึ่งโดยหลักการเรียกว่า ญาฮิลมุกัซซิรหรือผู้ปฏิเสธศรัทธา กล่าวคืออิสลามได้ไปถึงพวกเขาแล้ว และพวกเขาได้ศึกษาหาความจริง แต่เนื่องจากความดื้อรั้นและอวดดี ทำให้พวกเขาไม่อาจยอมรับความจริงได้ แน่นอน ชนกลุ่มต้องถูกการลงโทษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2. อีกกลุ่มหนึ่งโดยหลักการเรียกว่า ญาฮิลกอซิร หมายถึงกลุ่มชนที่อิสลามและความจริงมิได้ไปถึงพวกเขา หรืออิสลามที่ขาดๆ เกินๆ และไม่ใช่ความจริงได้ไปถึงพวกเขา หรือบางกลุ่มชนที่คิดว่าอิสลามเป็นศาสนาที่อยู่ในระดับเดียวกันกับศาสนาฮินดู เชน หรือสูงไปกว่านั้นอยู่ในระดับเดียวกันกับศาสนายะฮูดียฺ และตริสเตียน แต่พวกเขายึดมั่นและปฏิบัติตามคำสอนศาสนาตนด้วยความเคร่งครัด ฉะนั้น พวกเขาย่อมได้รับการช่วยเหลือ

ด้วยเหตุนี้ ในทัศนะอิสลามถือว่าบุคคลเหล่านั้น ถ้าเขาปฏิบัติตัวเคร่งครัดตามคำสอนของศาสนาของตน ซึ่งวางอยู่บนธรรมชาติของความจริง เช่น ไม่โกหก หลีกเลี่ยงการทำบาป และการงานที่ฝ่าฝืนความเป็นมนุษย์ แน่นอน พวกเขาย่อมได้รับความช่วยเหลือ

ประเด็นที่กำลังกล่าวถึงนี้ ครอบคลุมบรรดานักปราชญ์และผู้รู้ ซึ่งอิสลามได้แนะนำพระเจ้าแก่พวกเขาไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ประเด็นนี้จึงครอบคลุมบรรดาซุนนะฮฺ ที่ความจริงของชีอะฮฺยังมิได้ถูกอธิบายแก่พวกเขา

สรุปได้ว่า บุคคลใดก็ตามที่ความจริงยังไปไม่ถึงพวกเขา และพวกเขามิได้เพิกเฉยต่อการค้นหาความจริง เขาจึงไม่มีความผิด และไม่ต้องถูกลงโทษในนรก เนื่องจาก นรก คือสถานที่ ที่ถูกเตรียมไว้สำหรับบุคคลที่ทำความผิดและบาปกรรมต่างๆ มิได้ถูกเตรียมไว้สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักความจริง หรือแก่แท้ของความจริง หรือไม่อาจเข้าถึงความจริงได้แต่อย่างใด

คำแนะนำเพื่อศึกษาเพิ่มเติม

1. นรกและผู้มิใช่มุสลิม, คำถามลำดับที่ 47 (ไซต์ : 283)

2. กอซิรีนและนิญาตอัซ ยะฮันนัม, คำถามลำดับที่ 323 (ไซต์ : 1751)



[1] อัลกุรอาน บทอัรเราะอฺดุ โองการที่ 35 กล่าวว่า (مَّثَلُ الْجَنَّةِ الَّتِی وُعِدَ الْمُتَّقُونَ) “อุปมาสวนสวรรค์ซึ่งได้ถูกสัญญาไว้แก่บรรดาผู้สำรวมตน (ประหนึ่งสวนซึ่ง) ”

[2] อัลกุรอาน บทอัตเตาบะฮฺ โองการ 72

[3] อัลกุรอาน บทอันนิซาอฺ โองการ 13

[4] อัลกุรอาน บทอัลบุรูจญฺ โองการที่ 11

[5] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 15

[6] อัลกุรอาน บทอันนิซาอฺ โองการ 59 กล่าวว่าโอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และจงเชื่อฟังศาสนทูต และผู้ปกครองในหมู่พวกเธอเถิดอัลกุรอาน บทอัชชูรอ โองการที่ 23 กล่าวว่าจงกล่าวเถิด ฉันไม่ได้ขอร้องค่าตอบแทนใด  เพื่อการนี้เว้นแต่เพื่อความรักในเครือญาติใกล้ชิด" ฮะดีซบทจากท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีผู้นี้ก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย” (อัลมุสตัดร็อก อะลัซเซาะฮีฮัยนฺ เล่ม 3, หน้า109)

[7]  อย่างไรก็ตามความเร้นลับที่ประชาชนมีความต้องการในอิมามะฮฺ นั้นจำเป็นต้องใช้เวลา และมีรายละเอียดมากไปกว่านี้ ซึ่งเกินพิกัดของบทความนี้ แต่จะกล่าวอธิบายในโอกาสเหมาะสมต่อไป

[8] อัลกุรอาน บทอัซซอฟาต โองการ 83-84

[9] อัลกุรอาน บทชุอฺอะรอ โองการ 87-89

[10] อัลอะซอบะฮฺ ฟี ตัมยีซซิซเซาะฮาบะฮฺ, อัสกะลานียฺ, เล่ม 2 หน้า 174

[11] รุชฟะตุซซอดียฺ, ซัยยิดชะฮาบุดดีน ชาฟิอียฺ, เล่ม 25, ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ, เชคซัลมาล ฮะนะฟียฺ, หน้า 114

[12]  ชะวาฮิร อัตตันซีล,ฮัสกานียฺ, เล่ม 1, หน้า 59, 90

[13] มะนากิบ คอรัซมียฺ, หน้า 19, 212, กิฟายะตุฏฏอลิบ, กันญียฺ ชาฟิอียฺ, หน้า 214

[14] (ثم لم یوالیک یا علی لم یشم رائحة الجنة ولم یدخلها) มะนากิบ, เคาะฏีบ คอรัซมียฺ, มักตัลฮุซัยนฺ (.), คอรัซมียฺ, เล่ม 1, หน้า 37

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • บรรพบุรุษและลูกหลานของมาลิก อัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและเชื่อในวิลายัตหรือไม่?
    8772 تاريخ بزرگان 2554/12/11
    ตำราประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมิได้กล่าวถึงประเด็นความศรัทธาของบรรพบุรุษของมาลิกอัชตัรซึ่งมาจากเผ่า “นะเคาะอ์” และ “มิซฮัจ” ในเยเมนแต่อย่างใดสิ่งที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้คือเผ่านี้เป็นกลุ่มแรกๆในเยเมนที่เข้ารับอิสลามมาลิกอัชตัรมีบุตรชายสองคนคนหนึ่งมีนามว่าอิสฮากและอีกคนมีชื่อว่าอิบรอฮีมอิสฮากเป็นหนึ่งในทหารของอิมามฮุเซน (อ.) ในกัรบาลาและได้เป็นชะฮาดัตเคียงข้างกับซัยยิดุชชุฮาดาอ์ในที่สุดอิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตารษะเกาะฟีและได้ทำหน้าในฐานะแม่ทัพอย่างเต็มความสามารถโดยได้ฆ่าบุคคลที่สังหารอิมามฮุเซน (อ.) เช่นอิบนุซิยาดประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าอิบรอฮีมมีบุตร 5 คนนามว่านุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลานในจำนวนบุตรทั้งหมดของอิบรอฮีมกอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา ...
  • สามารถครอบครองที่ดินบริจาคได้หรือไม่? สามารถขายที่ดินบริจาคได้หรือไม่?
    5506 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    โปรดพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน
  • จะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?
    8740 ปรัชญาของศาสนา 2554/07/16
    ผู้ที่คิดว่าศาสนาและวิทยาศาสตร์ไม่อาจจะปรับเข้าหากันได้แสดงว่าไม่เข้าใจธรรมชาติของศาสนาเทวนิยมโดยเฉพาะศาสนาอิสลามอีกทั้งไม่เข้าใจว่าพื้นที่คำสอนของศาสนาและพื้นที่ความรู้ของวิทยาศาสตร์ก็แยกออกเป็นเอกเทศ เมื่อพื้นที่ต่างกันก็ย่อมไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นคำสอนของศาสนามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในสามพื้นที่ด้วยกันนั่นคือความสัมพันธ์กับตนเองความสัมพันธ์กับผู้อื่น(สังคมและสิ่งแวดล้อม) และความสัมพันธ์กับพระเจ้า และในฐานะที่อิสลามถือเป็นศาสนาที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดได้สนองตอบความต้องการของมนุษย์ทุกยุคสมัยด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “อิจญ์ติฮาด”ซึ่งได้รับการวางรากฐานโดยวงศ์วานศาสดามุฮัมมัดส่วนเทคโนโลยีนั้นมีอิทธิพลเพียงในพื้นที่แห่งประสาทสัมผัสและมีไว้เพื่อค้นพบศักยภาพของโลกและจักรวาลที่ซ่อนอยู่ตลอดจนเพื่อประดิษฐ์เครื่องมือในการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากเนียะอฺมัตของอัลลอฮ์เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่านวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ช่วยแผ่ขยายพื้นที่ในการตรากฏเกณฑ์ศาสนาให้กว้างยิ่งขึ้นเพราะในทัศนะอิสลามแล้วสามารถจะวินิจฉัยปัญหาใหม่ๆได้โดยใช้กระบวนการอิจญ์ติฮาดและอ้างอิงขุมความรู้ทางฟิกเกาะฮ์. ...
  • ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
    9732 จริยธรรมทฤษฎี 2554/03/08
    ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน – อาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้าและการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิดซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกันอันก่อให้เกิดความก้าวหน้า
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    6820 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    6761 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    6899 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • ขณะวุฎูอฺ แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จำเป็น, โดยมีบุคคลอื่นราดน้ำลงบนมือและแขนให้เรา ถือว่ามีปัญหาทางชัรอียฺหรือไม่?
    5937 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    วุฎูอฺ มีเงื่อนไขเฉพาะตัว ดังนั้น การไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง เป็นสาเหตุให้วุฎูอฺบาฏิล หนึ่งในเงื่อนไขของวุฎูอฺคือ การล้างหน้า มือทั้งสองข้าง การเช็ดศีรษะ และหลังเท้าทั้งสองข้าง ผู้วุฎูอฺ ต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่น วุฎูอฺ ให้แก่เขา, หรือช่วยเขาราดน้ำที่ใบหน้า มือทั้งสองข้างแก่เขา หรือช่วยเช็ดศีรษะและหลังเท้าทั้งสองแก่เขา วุฎูอฺ บาฏิล[1] มีคำกล่าวว่า บรรดานักปราชญ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ ต่างกัน : 1.บางท่านแสดงทัศนะว่า : บุคคลต้อง วุฏูอฺ ด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่นช่วยเขาวุฎูอฺ ในลักษณะที่ว่าถ้าคนอื่นเห็นจะไม่พูดว่า บุคคลดังกล่าวกำลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฏูอฺ บาฏิล
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7252 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • การทำหมันแมวเพื่อป้องกันมิให้จรจัด แต่ก็มีผลกระทบไม่ดีด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ฮุกุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?
    8135 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน):

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38430 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27239 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27136 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...