การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7188
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/03/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2230 รหัสสำเนา 12551
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
คำจำกัดความของท่านเกี่ยวกับวิทยาการ สติปัญญา และศาสนาเป็นอย่างไร ระหว่างทั้งสามมีความแตกต่างกันอย่างไร และประเด็นนี้มีความถูกต้องและเป็นไปได้อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ที่ว่าแหล่งที่มาของความรู้ทั้งอยู่ในอัลกุรอาน ประเด็นนี้มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
คำถาม
คำจำกัดความของท่านเกี่ยวกับวิทยาการ สติปัญญา และศาสนาเป็นอย่างไร ระหว่างทั้งสามมีความแตกต่างกันอย่างไร และประเด็นนี้มีความถูกต้องและเป็นไปได้อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ที่ว่าแหล่งที่มาของความรู้ทั้งอยู่ในอัลกุรอาน ประเด็นนี้มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
คำตอบโดยสังเขป

คำว่าความรู้นั้นมี 3 ความหมายกับ 2 นิยามกล่าวคือ :

บางครั้งคำว่า อิลม์ หมายถึงความรู้ บางครั้งหมายถึงวิทยาการ และบางครั้งก็หมายถึงสิ่งที่ได้ถูกรู้แล้ว ซึ่งทั้งสามความหมายนั้นความหมายแรกเป็นความหมายตามรากของคำ ความหมายที่สองเป็นอาการนาม ส่วนความหมายที่สามหมายถึงการอธิบายถึงวัตถุ

คำว่าความรู้ (Knowledge) นั้นมี 2 นิยามด้วยกัน กล่าวคือ บางครั้งหมายถึง ความรู้และความเข้าใจอันสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม และบางครั้งจุดประสงค์หมายถึง ความเข้าใจที่ตรงกับความเป็นจริง

ในบทวิพากษ์เกี่ยวกับ ตะอารุฎ (ความขัดแย้ง) จุดประสงค์ของความรู้คือ การได้รับวิทยาการตามธรรมชาติ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ในการวิเคราะห์เหตุการณ์และวัตถุทางกายภาพ (Science)

ด้วยเหตุนี้ ตามความหมายล่าสุดนี้จะเห็นว่าในมุมมองของ คริสต์ ระหว่างคำสอนของพระคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ กับการได้รับความรู้ตามธรรมชาตินั้น มีความขัดแย้งกันอันสืบเนื่องมาจาก การสังคายนาและการบิดเบือนพระคัมภีร์นั่นเอง แต่ในมุมมองของมุสลิมนั้น จะพบว่าการค้นหาความรู้สมัยใหม่ไม่ขัดแย้งกับอัลกุรอานเลยแม้แต่นิดเดียว ทว่าอัลกุรอานได้แจ้งข่าวถึงประเด็นใหม่ๆ เอาไว้ว่า ความรู้สมัยใหม่นั้นสามารถพิสูจน์ได้โดยประสบการณ์ ซึ่งประเด็นใหม่ๆ เหล่านั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความมหัศจรรย์เชิงความรู้ของอัลกุรอาน แต่น่าเสียดายว่าปัญหานี้เองกลายเป็นสาเหตุทำให้นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางกลุ่ม ไม่ใส่ใจต่อกฎเกณฑ์การตีความอัลกุรอาน (ตัฟซีร) และขาดการแยกเด็ดขาดระหว่างทฤษฎีทางความรู้แน่นอน กับและสมมติฐานทางความรู้ พวกเขาพยายามประยุกต์เอาโองการอัลกุราอนให้เข้ากับสมมติฐานทางความรู้ ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นข้อผิดพลาดอันใหญ่หลวง ตามความเป็นจริงพวกเราต่างเชื่อว่า อัลกุรอาน คือคัมภีร์แห่งการชี้นำ และอธิบายทุกสิ่งที่เป็นความการของมนุษย์ ถ้าบางครั้งอัลกุรอานกล่าวถึงปัญหาเชิงวิชาการ ก็เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลุ่มชน และเป็นส่วนหนึ่งในความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน

แต่ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่เราจะต้องมาพิสูจน์ หรือกล่าวอ้างความเหนือกว่าและความเป็นสัจพจน์ของอัลกุรอาน ว่าวิทยาการทั้งหมดนั้นปรากฏอยู่ในอัลกุรอาน ถึงแม้ว่าอัลกุรอานจะโอบอุ้มเอาความรู้ที่ยังไม่ถูกรู้จักอีกจำนวนมากมายเอาไว้ก็ตาม ซึ่งในยุคสมัยนี้ได้ถูกพิสูจน์แล้วสำหรับปวงปราชญ์ที่ถวิลหาความจริงก็ตาม

ส่วนสติปัญญานั้นมีการนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะที่แตกต่างกัน และจุดประสงค์ของสติปัญญาในความหมายของเรา หมายถึงพลังหรือศักยภาพที่สามารถเข้าใจแนวคิดและรับรู้สิ่งเหล่านั้นได้ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่เริ่มต้นในมุมมองของศาสนาคริสต์: มีกลุ่มชนบางกลุ่มที่เชื่อว่า การสอนสั่งของศาสนาคริสต์นั้นไม่เข้ากันกับสติปัญญา และไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลแห่งปัญญาได้ ดังนั้น พวกเขาจึงได้แยกและประเมินความเชื่อและเหตุผลทางสติปัญญาไว้ต่างกัน ในสองลักษณะ

แต่ในมุมมองของอิสลาม, สติปัญญานั้นได้รับการยกไว้ในตำแหน่งที่มีความพิเศษ หลายต่อหลายครั้ง และอัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวเชิญชวนและสนับสนุนประชาชนให้ใช้สติปัญญา และการใคร่ครวญ ส่วนในประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อศรัทธา ถ้าไม่วางอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาไม่สามารถยอมรับได้ ส่วนในแง่ของบทบัญญัติและรายละเอียดปลีกย่อยของศาสนา ถือว่าสติปัญญาคือแหล่งอ้างอิงสำคัญในการพิสูจน์บทบัญญัติ ซึ่งบางครั้งได้มีคำกล่าวว่า ในบางกรณีถ้าสติปัญญาคือพื้นฐานสำคัญในกาพิสูจน์ความจริงแน่นอน แต่เผอิญว่าขัดแย้งกับภายนอกของรายงาน อนุญาตให้ตีความรายงานเข้าข้างสติปัญญา ซึ่งจุดประสงค์ก็คือ ให้ตีความรายงานนั้นโดยใช้เหตุผลของสติปัญญานั่นเอง

ดีนหรือศาสนา หมายถึง : ประมวลความเชื่อ จริยธรรม และบทบัญญัติ ซึ่งได้ถูกวางไว้เพื่ออบรมและพัฒนามนุษย์ และเป็นกฎที่ใช้ควบคุมภารกิจทางสังคม ซึ่งมีการกำหนดไว้ในระดับที่แตกต่างกัน

ศาสนา ในฐานะที่เป็นประมวลความรู้และเป็นบทบัญญัติ ซึ่งถูกบันทึกไว้ในความรู้แห่งพระเจ้าและแผ่นบันทึก หรือที่เรียกว่าเลาฮุลมะฮฺฟูซ และสิ่งที่ปรากฏอยู่ในคลังแห่งความรู้ของพระเจ้านั้น พระองค์ได้ประทานลงมาบางส่วนแก่บรรดาศาสดาของพระองค์ เพื่อสอนสั่งและชี้นำมวลมนุษย์ชาติไปตามความเหมาะสมตามเวลา สถานที่ และกาลเทศะ และเมื่อมนุษย์ได้ย้อนกลับไปยังสติปัญญาและเหตุผลอ้างอิงแล้ว ทุกอย่างก็จะชัดเจนขึ้นมา ซึ่งในที่สุดแล้วบางส่วนจากสิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นหลักการประมวลกฎหมาย สำหรับบุคคลทั่วไปและเป็นเป็นบัญญัติทางศาสนาสำหรับประชาชน

ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า ดีน หรือศาสนานั้นแบ่งออกเป็นขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้ :

1 ดีนหรือศาสนาคือ ตัวตนของพระบัญญัติ

2 ดีนหรือศาสนาคือ ศาสดาผู้ถูกประทาน

3 ดีนหรือศาสนาคือ สิ่งที่ถูกเปิดเผย

4 ดีนหรือศาสนาคือ องค์กรหรือสถาบัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับคำว่า ความรู้ นั้นถูกกล่าวไว้ใน 3 ความหมาย : กล่าวคือบางครั้งคำว่า อิลม์ ให้ความหมายเป็น มัซดัรรีย์ (รากของคำ) หมายถึงการรู้ หรือการรู้จัก และบางครั้งก็ให้ความหมายเป็น อิสม์มัซดาร (อาการนาม) หมายถึง หมายถึง ความรู้ บางครั้งหมายให้ความหมาย เป็นกรรมกิริยา หรือคำคุณศัพท์ที่อธิบายกรรมกริยาอีกที่หนึ่ง หมายถึง การรู้ในสิ่งทีเป็นความประสงค์ หรือเรื่องทีต้องการอยากรู้ ซึ่งเรื่องนั้นเกิดในความเข้าใจของเราพอดี

แต่บางครั้งก็ถูกนำไปใช้ในความหมายผิดๆ เช่น   อิลม์ นั้นหมายถึงความรู้เพียงอย่างเดียวเป็นต้น การตีความเช่นนี้บางครั้งก่อให้เกิดความสับสนและทำให้เข้าใจผิด เช่น ความรู้สมบูรณ์ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นความสมบูรณ์ในตัวตนของมนุษย์ เกี่ยวกับการรู้จัก แต่ได้เข้าใจผิดไปว่าเป็นเป็นการพัฒนาด้านจิตภาพ หรือเป็นการเติบโตด้านความรู้และการรู้จัก ทั้งที่สิ่งนี้เป็นการผสมกันระหว่างความรู้กับสิ่งที่รู้ แน่นอน สิ่งที่มีความสมบูรณ์คือความรู้ของมนุษย์ มิใช่สิ่งที่ถูกรู้จักหรือความรู้อย่างอื่น

คำว่าความรู้ (Knowledge) นั้นมี 2 นิยามด้วยกัน

. ความรู้และความเข้าใจอันสมบูรณ์แบบในสิ่งที่เป็นจริงตามกล่าวคือไม่ว่าจะตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม หมายถึงทุกสิ่งในนามของรูปที่ปรากฏในความคิดในแง่ของการรู้จักบุคคล (Popper โลกที่สอง) หรือเป็นข้อเสนอเนื้อหาและความรู้ที่นำเสนอในโลกของความรู้ (Popper Third World)

. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงก็คือว่า ในการอภิปรายความขัดแย้งทางศาสนากับความรู้ วัตถุประสงค์ความรู้คือศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences) ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์และการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของเหตุการณ์อุปนัยและข้อเสนอวัตถุทางกายภาพ ดังนั้น สองนิยามนี้นอกเหนือไปจากสองนิยามที่ได้กล่าวถึงความรู้ (Knowledge)

คำว่า อักล์ (ภูมิปัญญา) ถูกนำใช้งานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ของเราเกี่ยวกับอักล์หมายถึง, พลังที่มีความสามารถรับรู้และเข้าใจโดยทั่วไปได้[1] และถ้าการรับรู้นี้ในบทนำของมันได้ใช้รูปแบบที่ถูกต้องในการพิสูจน์แล้วละก็ ข้อสรุปที่ได้รับก็จะถูกต้องไปด้วย.

แต่ต้องสังเกตด้วยว่าขอบข่ายของความความเข้าใจของสติปัญญานั้นจำกัดอยู่ในความรู้ทั่วไป ถ้านอกเหนือไปจากนี้ต้องอาศัยเครื่องมือเพิ่มเติมเป็นตัวช่วยเหลือ เช่น ความรู้สึกที่จะได้รับประโยชน์ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและข้อสรุปของของพวกเขา เป็นหน้าที่ของสติปัญญา ด้วยเหตุนี้ บางครั้งเป็นข้อผิดพลาดของประสาทสัมผัส การอนุมานของสติปัญญาก็ผิดพลาดตามไปด้วย[2]

แต่คำดีน (ศาสนา) : ศาสนาหมายถึงการเชื่อฟัง, ความอ่อนน้อมถ่อมตน, การปฏิบัติตาม, การภักดี, การสวามิภักดิ์, และการจำนนต่อการตัดสิน บางครั้งในอัลกุรอานวางอยู่บนกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการตัดสินใจของมนุษย์[3] และบางครั้งถูกใช้กับศาสนาผิดๆ เช่น ระเบียบเกี่ยวกับการรวบรวมของอำนาจอธิปไตยของ Coptic ที่มีเหนือวงศ์วานของอิสราเอล[4] หรือบางครั้งศาสนาถูกใช้กับการปล้นสะดมศาสนาและพวกเคารพรูปปั้นบูชาแห่งฮิญาซ[5]

ดังนั้น ในทัศนะของอัลกุรอาน ศาสนา จึงหมายถึง : ประมวลความเชื่อ จริยธรรม และกฎหมายที่อุปถัมภ์กิจการของมนุษย์และควบคุมชุมชนและสังคม ในความเป็นจริงศาสนาคือการสร้างซึ่งบ่งบอกว่าพื้นฐานของมันครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ และจักรวาล และรอบรู้ถึงวิธีการดำเนินการขัดเกลาความเป็นมนุษย์ และแนวทางที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสุขนิรันดร ขณะที่ศาสนานั้นจะถูกต้องเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อได้รับการประทานและจัดระบบโดยพระเจ้าเท่านั้น[6] เพราะเพียงพระองค์เท่านั้นที่รู้จักโลกและมนุษย์อย่างเพียงพอ พระองค์จึงวางกฎเกณฑ์ของพระองค์บนพื้นฐานของความเข้าใจและการรู้จักที่ถูกต้องตามความสามารถ และศักยภาพที่ยอมรับได้ของมนุษย์[7]

จากนั้นวัตถุประสงค์ของเราจากความหมายของศาสนาคือ ศาสนาแห่งพระเจ้าเท่านั้น ซึ่งสามารถพิจารณาในระดับและขั้นตอนที่แตกต่างกัน

1 ศาสนานัฟซุลอัมรี หมายถึง; สิ่งที่อยู่ในความรอบรู้ของพระเจ้า และความประสงค์ของพระผู้อภิบาลเพื่อการชี้นำมนุษย์ไปสู่ความถูกต้องและการมีอยู่ และเนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้น ศาสนาก็ต้องเป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งผลก็คือ โลกมีความครอบคลุมเป็นสากล จึงไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ตำแหน่ง และสถานที่

2 ศาสนาเป็นมุรซัล กล่าวคือสิ่งที่มาจากพระเจ้าเพื่อเป็นทางนำแก่มนุษย์ชาติ พระองค์ได้ประทานให้กับบรรดาเราะซูลหมดแล้ว ซึ่งแหล่งที่มาของมันมาจาก ศาสนานัฟซุลอัมรี ด้วยเหตุนี้เองศาสนาจึงต้องมีองค์ประกอบสากล และอีกด้านหนึ่งศาสนาต้องมีความเหมาะสมกับอนุชนรุ่นต่างๆ ที่ศาสนาได้ถูกส่งมาเพื่อพวกเขาด้วย และเนื่องจากสถานภาพ เวลา และสถานที่ของมวลมนุษย์ ศาสนาจึงต้องครอบคลุมทั้งองค์ประกอบสถานภาพ

3 ดีนมักชูฟ หมายถึงศาสนาที่เป็นนัฟซุลอัมร์ และดีนมุรซัล เมื่อย้อนกลับไปสู่สติปัญญาหรือเหตุผลทางการรายงานแล้ว เป็นที่ชัดเจนสำหรับบุคคลทั่วไป

4 ดีนเนะฮอดีย์ (สถาบันศาสนา) นั่นคือส่วนหนึ่งของศาสนาอันชัดแจ้งสำหรับประชาชนทั่วไป ที่ได้ตั้งเป็นสถาบันศาสนา ในรูปของระเบียบเพื่อกลุ่มชนในสังคม

เมื่ออัลกุรอานกล่าวว่าศาสนา  อัลลอฮฺคืออัลอิสลาม"[8] ได้พิจารณาที่ ดีนนัฟซุลอัมร์ และเมื่อกล่าวว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาสุดท้าย และ ... ฯลฯ วัตถุประสงค์หมายถึง ศาสนามุรซัลนั่นเอง และเมื่อกล่าวว่าศาสนาเป็นเรื่องเกี่ยวกับคน วัตถุประสงค์คือ ศาสนาอันชัดแจ้ง (มักชูฟ)[9]

บางคนกล่าวว่า ศาสนาหมายถึงคัมภีร์และแบบฉบับ (ซุนนะฮฺ) ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่า ความเข้าใจทางศาสนาเป็นความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์และแบบฉบับ โดยเน้นย้ำว่าสิ่งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของบุคคล เป็นสิ่งที่พบบ่อยและเป็นสากล ( Popper โลกที่สาม) ดังนั้น จึงเป็นที่เชื่อถือ[10]

แต่ควรจะสังเกตว่าการใช้ประโยชน์เช่นนี้ ประกอบกับเนื้อหาที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น เท่ากับเป็นจำกัดความของคำว่า ศาสนา ไว้ในพื้นที่ส่วนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ถ้าหากศาสนาเป็นเพียงคัมภีร์หรือแบบฉบับ (ซุนนะฮฺ) เท่านั้น และไม่เป็นจริงตามที่ปรากฏในวัตถุประสงค์แห่งความรู้ของพระเจ้า หรือในเลาฮุลมะฮฺฟูซ (แผ่นบันทึก  ฟากฟ้า) จำเป็นต้องกล่าวว่า : การตีความดังกล่าวมีความคลุมเครือสำหรับศาสนา ซึ่งเราจะต้องไม่ปล่อยให้บ่วงของเขาได้ดำเนินต่อไปอีก เนื่องจากคัมภีร์และซุนนะฮฺ ได้กล่าวถึงศาสนาที่เป็น นัฟซูลอัมร์ ซึ่งศาสนาดังกล่าวได้ถูกแนะนำด้วยคัมภีร์และซุนนะฮฺ และได้ถูกแนะนำด้วยสิ่งอื่นเช่นกัน ด้วยมุมมองที่แตกต่างกันตามหลักการของวิชา เทววิทยา อุซูล ริญาล และปรัชญาของศาสนา, สึงได้ตีความว่าศาสนา คือคัมภีร์และซุนนะฮฺ; ตัวอย่างเช่น ถ้าหากในหลักวิชาอุซูลถือว่า คำพูดที่เป็น ซิกเกาะฮฺ เชื่อถือได้และเป็นเหตุผล ขอบข่ายสำหรับความหมายของศาสนาตามที่กล่าวมา จะเกิดการการเปลี่ยนแปลงทันที[11]

ศาสนาในทัศนะของชาวตะวันตก :

ความหมายของศาสนาในทัศนะของตะวันตก, ประเทศหนึ่งของมุมมองอันเฉพาะ เช่น : จากจุดของมุมมองนักจิตวิทยากล่าวว่า ศาสนาคือความรู้สึก การปฏิบัติหน้าที่และเป็นประสบการณ์ของบุคคลเมื่อเขาต้องอยู่ตามลำพัง แล้วนำตัวเองไปเผชิญกับสิ่งที่ได้เรียกด้วยนามของพระเจ้า (William James)

จากมุมมองของสังคมวิทยา พวกเขาได้ตีความศาสนาว่า : เป็นความเชื่อหนึ่ง เป็นการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งมนุษย์ได้เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา (Talkvt Parsvn)

จามมุมมองของธรรมชาตินิยมศาสนาคือ คำสั่งใช้และคำสั่งปฏิเสธ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับการกระทำที่อิสระและศักยภาพตลอดจนความสามารถของมนุษย์ (Ray nakh)

จากมุมมองของศาสนานิยม ศาสนาคือคำสารภาพต่อความจริงของสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ประจักษ์ ซึ่งอยู่เหนือความรู้และภูมิปัญญาของเรา (Herbert Spencer)[12]

ดูเหมือนว่าคำนิยามที่ครอบคลุมมากที่สุดของการตีความนี้คือ ศาสนาประกอบด้วยองค์ความเชื่อ ความรู้สึก และการกระทำ (ทั้งบุคคลและส่วนรวม)

ความเชื่อได้แสดงให้เห็นว่าได้ทำลายความจริงและเท็จให้หมดไป ความเชื่อของแต่ละศาสนา, จะอธิบายการกระทำเฉพาะที่เห็นว่าศาสนานั้นยอมรับ หรือกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ความรักขึ้นมา[13]

ดังนั้น หนึ่งในนิยามของความรู้คือ ความเข้าใจที่เป็นไปตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าการประยุกต์ใช้ในตะวันตก ซึ่งในขณะที่มีการวิพากษ์ถึงการเชื่อมต่อหรือความขัดแย้งระหว่างความรู้และศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาการธรรมชาติ (วิทยาศาสตร์) ขณะที่สติปัญญา (เหตุผล) คือการรับรู้ทั่วไป ศาสนาในเวลานั้นคือ การชี้นำต่างๆ จากพระเจ้าโดยผ่านบรรดาศาสดาผ่านวะฮฺยู (วิวรณ์) ของพระเจ้าและได้ตกมาถึงมือประชาชนในที่สุด

โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างทั้งหลายระหว่างทั้งสาม ซึ่งการวิพากษ์ของพวกเขาได้วิพากษ์ภายใต้ 2 ประเด็น กล่าวคือ :

1 เหตุผลและศาสนา (เหตุผลและความเชื่อ) :

ในวัฒนธรรมของคริสเตียน เนื่องจากมีการบิดเบือนในศาสนาของพระเยซู () จึงทำให้มีความรู้สึกว่า ระหว่างข้อมูลของสติปัญญากับคำสอนของพระคริสต์เข้ากันไม่ได้และมีความขัดแย้งกัน แล้วสิ่งที่ปรากฏตามมาคือ 2 คำถามอันเป็นพื้นฐานถูกกล่าวขานในหมู่นักวิชาการ กล่าวคือ สติปัญญาในขอบข่ายของศาสนามีที่อยู่หรือไม่? และถ้าเพื่อว่าภายนอกบุคคลหนึ่งโดยหลักการแล้วได้ใช้เหตุผลของสติปัญญาเพื่อทำความข้าใจตรงนี้ความเชื่อจะมีคำพูดใดได้อีก ? แต่คำถามที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดคือ สติปัญญาในขอบข่ายของความศรัทธาอยู่ในตำแหน่งใดหรือ;? กล่าวคือว่าบุคคลหนึ่งจำเป็นต้องมีเหตุผลแน่นอนที่น่าเชื่อถือสำหรับยืนยันถึงความเชื่อที่เป็นจริงหรือไม่ ?

สำหรับการแสวงหาตอบเพื่อคำถามนี้ เรามาทำการรู้จัก 3 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก :

1) เหตุผลนิยมส่วนใหญ่ กล่าวคือทุกความเชื่อที่มีหลักฐานไม่เพียงพอต่อการยอมรับ จะได้รับคำสบประมาทและการวิจารณ์ ขณะที่ระบบของความเชื่อทางศาสนาจะสามารถยอมรับได้ ก็ต่อเมื่อได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงอันเป็นที่น่าเชื่อถือในหมู่นักวิชาการ

Clifford, นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ และจอห์นล็อคมีความเชื่อเช่นนั้น ขณะที่ Aquinas ก็ได้กล่าวว่า ความจริงของคริสเตียน สามารถวิจัยในลักษณะที่ถูกต้องน่าเชื่อโดยสติปัญญาและด้วยเหตุผลที่ละเอียดอ่าน ในลักษณะที่น่าเชื่อถือในเชิงของเหตุผล ทว่าแนวทางของเหตุผลและและความเชื่อนั้นแยกจากกัน ซึ่งเราต้องตามความเชื่อไม่ใช่เหตุผล สถานะภาพของ Sweeney เบิร์น ยังอยู่ใกล้กับหลักการใช้เหตุผลมากที่สุด

2) ความเชื่อนิยม : มุมมองของกลุ่มนี้ถือว่าระบบต่างๆ ของความเชื่อในศาสนา ไม่สามารถประเมินผลได้ด้วยระบบเหตุผลหรือสติปัญญา พวกเขากล่าวอ้างว่า ระบบความเชื่อทางศาสนามีรากที่มาอันเป็นพื้นฐานมั่นคง ซึ่งไม่มีสิ่งใดเป็นพื้นฐานที่มั่นคงไปกว่านี้ได้อีก เพื่อจะได้สามารถพิสูจน์ความจริงนี้ได้ "Kyrk Guard (Kierkegaard) "เขามีความเชื่อเช่นนี้ และยังเชื่ออีกว่าทฤษฎีของปัญญาเป็นความเชื่อขัดแย้ง

แต่มุมมองนี้ ลืมไปว่าความเชื่อของผู้ศรัทธาที่บริสุทธิ์ใจคนหนึ่ง วางอยู่บนพื้นฐานที่ว่ามีผู้ชี้นำโดยหลักการ มีความครอบคลุมครบวงจรสำหรับวิธีการดำเนินชีวิตของตน อีกทั้งต้องนำเอาเป้าหมายและเหตุผลออกมาเพื่อเขาด้วย แต่หลักการนี้ไม่สามารถสรุปไดว่า ความเชื่อเหล่านี้เป็นพื้นฐานหมายถึง ความรู้อื่นและความเชื่อของบุคคลมีความรู้มากกว่าและชัดเจนมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด 

3) หลักการของเหตุผลนิยม : ทัศนะได้อธิบายให้เห็นถึงระบบของความเชื่อทางศาสนา มีความเป็นไปได้ที่จะให้มีการตรวจสอบและประเมินผลโดยสติปัญญา แม้ว่าหลักฐานดังกล่าวจะไม่สามารถพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของระบบดังกล่าวได้ก็ตาม

วิธีการนี้เป็นประการแรก : แทนการพิสูจน์ให้ทุกคนได้รับรู้ ได้พิสูจน์เพื่อบุคคลถือว่าเพียงพอแล้ว (George Mavrvds กล่าวว่า ความเข้าใจในการพิสูจน์เราถือว่าจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับบุคคล)

ประการที่สอง : ไม่อาจตัดสินได้อย่างจริงจังได้ว่า การวิพากษ์เกี่ยวกับความจริงและความถูกต้องของความเชื่อทางศาสนา ได้ถึงผลสรุปสุดท้ายแล้ว แน่นอน นิยามดังกล่าวยังมีระยะห่างอีกมากตามความหมายอันเป็นวัตถุประสงค์ของ Popper ที่จะนำมาประยุกต์เข้าด้วยกัน[14]

แต่ตามคำสอนของอิสลาม,

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เซาบานมีบุคลิกเป็นอย่างไร? บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับเขาและรายงานของเขา?
    6848 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    “เซาบาน” ในฐานะที่ถูกกล่าวขานถึงว่าเป็น “เมาลาของท่านเราะซูล” ทั้งที่เขาคือทาสคนหนึ่ง ซึ่งได้รับความเป็นไทโดยการไถ่ตัวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว เขาได้กลายเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นผู้จงรักภักดีกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับความจงรักภักดีและความรักที่เขาทีต่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และครอบครัวของท่านนั้น ตำราบางเล่มได้สาธยายถึงรายงานฮะดีซเกี่ยวกับเขาเอาไว้ ...
  • อะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องเชื่อเช่นไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
    6076 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    ชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมากมายอาจมีบางประเด็นที่เห็นต่างกันข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับซุนหนี่ก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) พี่น้องซุนหนี่จะรับสายธารชีอะฮ์ได้ก็ต่อเมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสียก่อนทั้งนี้ก็เนื่องจากชีอะฮ์เชื่อว่าหากไม่นับรวมสถานภาพการรับวะฮีย์แล้ว
  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • อะฮ์ลุลบัยต์หมายถึงบุคคลกลุ่มใด?
    11548 ปรัชญาอิสลาม 2554/06/28
    คำว่า“อะฮ์ลุลบัยต์”เป็นศัพท์ที่ปรากฏในกุรอานฮะดีษและวิชาเทววิทยาอิสลามอันหมายถึงครอบครัวท่านนบี(ซ.ล.) ความหมายนี้มีอยู่ในโองการตัฏฮี้ร(อายะฮ์33ซูเราะฮ์อะห์ซาบ).นักอรรถาธิบายกุรอานฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมดและฝ่ายซุนหนี่บางส่วนแสดงทัศนะฟันธงว่าโองการดังกล่าวประทานมาเพื่อกรณีของชาวผ้าคลุมอันหมายถึงตัวท่านนบีท่านอิมามอลีท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน. อะฮ์ลุลบัยต์ในที่นี้จึงหมายถึงบุคคลเหล่านี้ (อ้างจากฮะดีษที่รายงานจากอิมามอลีอิมามฮะซันอิมามฮุเซนอิมามซัยนุลอาบิดีนและอิมามท่านอื่นๆรวมทั้งที่รายงานจากอุมมุสะลามะฮ์อาอิชะฮ์อบูสะอี้ดคุดรีอิบนุอับบาสฯลฯ) นอกจากนี้ยังมีฮะดีษจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ระบุว่าอะฮ์ลุลบัยต์หมายรวมถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนจนถึงอิมามมะฮ์ดี(อ.)ด้วยเช่นกัน. ...
  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    6155 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9366 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
    7916 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/08
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อัศล์ อะมะลีและดะลี้ล อิจติฮาดีหมายความว่าอย่างไร และมีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่?
    7011 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    อัศล์อะมะลีอัศล์อะมะลีในวิชาฟิกเกาะฮ์หมายถึงหลักการที่นำมาใช้เมื่อไม่สามารถพิสูจน์ฮุก่มชัรอีได้โดยตรงโดยจะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในยามที่ไม่พบหลักฐานหรือข้อสันนิษฐานใดๆกล่าวคืออัศล์อะมะลีหรืออุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือหลักที่จะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในกรณีที่เผชิญกับข้อสงสัยฉะนั้นมูลเหตุของอุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือ “ข้อสงสัย” อีกชื่อหนึ่งของอัศล์อะมะลีก็คือ “ดะลี้ลฟะกอฮะตี” ดะลี้ลฟะกอฮะตีคือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยฮุก่มเฉพาะกาลอันได้แก่บะรออะฮ์เอียะฮ์ติยาฏตัคยี้รและอิสติศฮ้าบดะลี้ลอิจติฮาดีดะลี้ลอิจติฮาดีคือหลักฐานที่บ่งชี้ถึงฮุก่มที่แท้จริงสาเหตุที่ตั้งชื่อไว้เช่นนี้ก็เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับนิยามของอิจติฮาด (การทุ่มเทความพยายามเพื่อแสวงหาข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริง) และเนื่องจากหลักฐานประเภทนี้ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริงจึงขนานนามว่าดะลี้ลอิจติฮาดีซึ่งในส่วนของอัมมาเราะฮ์ก็ถือเป็นดะลี้ลอิจติฮาดีได้เช่นกันดะลี้ลอิจติฮาดีมีไว้เพื่อวินิจฉัยฮุ่กุ่มที่แท้จริงอันได้แก่กุรอานซุนนะฮ์อิจมาอ์และสติปัญญาความเชื่อมโยงระหว่างดะลี้ลและอัศล์ควรทราบว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลและอัศล์แต่สองสิ่งนี้มีสัมพันธ์ในลักษณะลูกโซ่อยู่ทั้งนี้ก็เพราะหากข้อสงสัยใดมีดะลี้ลก็จะไม่เหลือความสงสัยอันเป็นมูลเหตุของอัศล์อะมะลีอีกต่อไปในประเด็นความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลกับอัศล์นั้นในกรณีของดะลี้ลที่ชัดเจนแน่นอนว่าไม่มีอัศล์ใดจะสามารถเทียบเคียงได้เนื่องจากมูลเหตุของอัศล์คือความสงสัยเมื่อมีความแน่นอนในแง่มูลเหตุอัศล์ก็ย่อมหายไปแต่ในกรณีดะลี้ลที่ไม่ชัดเจนอย่างเช่นอิมาเราะฮ์ปะทะกับอัศล์ในกรณีเช่นนี้ถือเป็นการหักล้างกันซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศู้ลเชื่อว่าควรถือข้างอิมาเราะฮ์มากกว่าอัศล์ทุกประเภทแม้กระทั่งอิสติศฮ้าบ (ตามหลักเฏาะรีกียะฮ์)[1][1]อ่านเพิ่มเติมได้ตามหนังสือวิชาอุศู้ล อาทิเช่น อุศูลุลฟิกฮ์ ของท่านมุซ็อฟฟัร, กิฟายะตุ้ลอุศู้ล ของออคูนด์โครอซอนี ฯลฯ ...
  • ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
    6633 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบีทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ฉะนั้นในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆวุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้นถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับฉะนั้นการที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด ...
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6692 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...