การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6758
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa18013 รหัสสำเนา 21851
คำถามอย่างย่อ
โองการ وَ یُطْعِمُونَ الطَّعامَ عَلى‏ حُبِّهِ مِسْکیناً وَ یَتیماً وَ أَسیراً ประทานลงมาในช่วงเวลาใด?
คำถาม
โองการ وَ یُطْعِمُونَ الطَّعامَ عَلى‏ حُبِّهِ مِسْکیناً وَ یَتیماً وَ أَسیراً ประทานลงมาในช่วงเวลาใด?
คำตอบโดยสังเขป

นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษ และนักอรรถาธิบายกุรอานจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างเห็นพ้องกันว่า บางโองการของซูเราะฮ์ อัลอินซาน อาทิเช่น وَ یطْعِمُونَ الطَّعامَ... ประทานลงมาในกรณีของวงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประกอบด้วย ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) โองการนี้ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงที่ท่านอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)กำลังแก้นะซัรที่เคยทำไว้เพื่อขอให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซนหายป่วย
อิบนิ อับบาสเล่าว่า ฮะซันและฮุเซนล้มป่วยอย่างหนัก ถึงขั้นที่เหล่าเศาะฮาบะฮ์หมุนเวียนกันมาเยี่ยมไข้ ในจำนวนนั้นก็มีอบูบักร์ และอุมัรด้วย พวกเขา(เศาะฮาบะฮ์) กล่าวแก่อลีว่า โอ้บิดาของฮะซัน คงจะดีหากท่านจะกระทำนะซัร (บนบานกับอัลลอฮ์) อลีตอบว่า “ฉันนะซัรว่าหากอัลลอฮ์ทรงรักษาหลานท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.)จนหายไข้ จะถือศีลอดเป็นเวลาสามวัน” ฟาฏิมะฮ์ได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ฉันก็ขอรับภาระดังที่ท่านลั่นวาจาไว้เพื่อพระองค์ ฮะซันและฮุเซนเมื่อได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า โอ้พ่อจ๋า เราก็ขอกระทำดังที่พ่อลั่นวาจาไว้เช่นกัน
เมื่ออัลลอฮ์ทรงรักษาอาการของฮะซันและฮุเซน ครอบครัวนี้ก็พร้อมใจกันแก้นะซัรด้วยการถือศีลอดสามวัน เมื่อจะละศีลอดในวันแรก พวกเขาก็บริจาคขนมปังที่เตรียมไว้ละศีลอดให้แก่ยาจกคนหนึ่งที่เคาะประตูและร้องขออาหาร และเช่นเดียวกัน วันที่สองและวันที่สามก็ได้ให้อาหารแก่เด็กกำพร้าและเชลยศึกตามลำดับ ในระหว่างนี้พวกเขาละศีลอดและเตรียมถือศีลอดด้วยน้ำเปล่าถึงสามวัน กระทั่งโองการนี้ประทานลงมา

คำตอบเชิงรายละเอียด

นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษ และนักอรรถาธิบายกุรอานจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่[1]ต่างเห็นพ้องกันว่า บางโองการของซูเราะฮ์ อัลอินซาน อาทิเช่น وَ یطْعِمُونَ الطَّعامَ... ประทานลงมาเกี่ยวกับวงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประกอบด้วย ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) โองการนี้ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงที่ท่านอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)กำลังแก้นะซัรที่เคยทำไว้เพื่อให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซนหายป่วย

มีฮะดีษสองประเภทเนื้อหาเกี่ยวกับการนะซัรและการบริจาคอาหารของอะฮ์ลุลบัยต์แก่ยาจก เด็กกำพร้า และเชลยศึก

หนึ่ง. เนื้อหาที่แพร่หลาย
อิบนิอับบาสเล่าเกี่ยวกับโองการ
وَ یطْعِمُونَ الطَّعامَ... [2]ว่า ฮะซันและฮุเซนล้มป่วยอย่างหนัก ถึงขั้นที่เหล่าเศาะฮาบะฮ์หมุนเวียนกันมาเยี่ยมไข้ ในจำนวนนั้นก็มีอบูบักร์ และอุมัรด้วย พวกเขา(เศาะฮาบะฮ์) กล่าวแก่อลีว่า โอ้บิดาของฮะซัน คงจะดีหากท่านจะกระทำนะซัร (บนบานกับอัลลอฮ์) อลีตอบว่า “ฉันนะซัรว่าหากอัลลอฮ์ทรงรักษาหลานท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.)จนหายไข้ จะถือศีลอดเป็นเวลาสามวัน” ฟาฏิมะฮ์ได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ฉันก็ขอรับภาระดังที่ท่านลั่นวาจาไว้เพื่อพระองค์ ฮะซันและฮุเซนเมื่อได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า โอ้พ่อจ๋า เราก็ขอกระทำดังที่พ่อลั่นวาจาไว้เช่นกัน แล้วอัลลอฮ์ก็ทรงรักษาให้หายขาด พวกเขาจึงถือศีลอด[3]

เมื่ออัลลอฮ์ทรงรักษาอาการของฮะซันและฮุเซน อลีได้ไปพบชาวยิวนามชัมอูนที่เป็นเพื่อนบ้านของท่าน ชัมอูนมอบขนสัตว์จำนวนหนึ่งเพื่อให้ท่านนำไปปั่นด้าย โดยให้ค่าแรงเป็นข้าวบาเล่ย์สามส่วน ฟาฏิมะฮ์นำข้าวบาเล่ย์ที่ได้มาโม่เป็นแป้ง และอบขนมปังห้าชิ้นสำหรับห้าคน[4] เมื่อท่านอิมามอลีกลับจากนมาซมัฆรับ ก่อนที่ท่านจะหยิบขนมปัง เสียงเคาะประตูก็ดังขึ้นพร้อมกับมีผู้ร้องขอว่า ฉันเป็นยาจกมุสลิมคนหนึ่ง กรุณาให้อาหารฉันด้วย ขอให้อัลลอฮ์ทรงประทานอาหารสวรรค์แก่พวกท่าน

อลีมอบขนมปังของตนให้แก่ยาจกคนนั้น ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน ฮุเซน(อ.) และฟิฎเฎาะฮ์ (สาวใช้)ก็ให้ขนมปังตามท่าน โดยยอมละศีลอดด้วยน้ำเปล่าแทน ในวันที่สอง ครอบครัวนี้ก็ถือศีลอดอีก ฟาฏิมะฮ์ก็อบขนมปังห้าชิ้นเช่นเคย แต่ขณะที่จะละศีลอดก็มีเสียงร้องเรียกว่า السّلام علیکم یا اهل بیت النبوة و معدن الرسالة ฉันเป็นลูกกำพร้ามุสลิมคนหนึ่ง โปรดให้อาหารฉันเถิด คืนนั้นทุกคนก็มอบอาหารให้เช่นเคย วันที่สามก็ถือศีลอดกันอีก ยามที่จะละศีลอดก็มีเสียงเรียกจากหน้าประตูว่า ฉันเป็นเชลยศึก ฉันหิวเหลือเกิน กรุณาเลี้ยงอาหารฉันเถิด[5] ทั้งหาคนก็มอบอาหารเช่นเคย และยอมอดทนหิวต่อไป

ในวันที่สี่ อิมามอลีจูงมือฮะซันและฮูเซนมาพบท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยร่างกายที่อ่อนแอและสั่นเทา เมื่อท่านนบีเห็นเช่นนั้นจึงรู้สึกรันทดใจอย่างยิ่ง จึงชวนกันมาเยี่ยมฟาฏิมะฮ์ เมื่อเข้ามาในห้องก็พบว่าฟาฏิมะฮ์กำลังทำอิบาดัตอยู่ โดยมีสภาพอิดโรย สั่นเทา ตากลวง และท้องยุบลงแนบแผ่นหลังเพราะความหิวโหย เมื่อท่านนบีเห็นลูกหลานตนในสภาพเช่นนี้จึงยกมือขอดุอา โดยร้องเรียนต่อพระองค์ว่า “โอ้อัลลอฮ์ บัดนี้วงศ์วานของข้าฯกำลังจะตายจากด้วยความหิวโหย” พลันญิบรออีลนำโองการนี้มอบให้ท่านจากประโยค یوفُونَ بِالنَّذْرِ จนถึง إِنَّ هذا کانَ لَکُمْ جَزاءً وَ کانَ سَعْیکُمْ مَشْکُوراً [6] [7]

สอง. เนื้อหาที่ไม่แพร่หลาย
อีกฮะดีษหนึ่งเล่าว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เตรียมอาหารชุดหนึ่งไว้เพื่อละศีลอด เมื่อถึงเวลาละศีลอด ปรากฏว่ามียาจกคนหนึ่งมาขออาหาร ท่านอลี(อ.)ได้มอบเศษหนึ่งส่วนสามของอาหารทั้งหมดแก่เขา หลังจากนั้นก็มีเด็กกำพร้ามาขออาหารและได้รับอีกส่วนไป ต่อจากนั้นก็มีเชลยศีกมาขออาหารและได้รับส่วนที่เหลือไป โดยอิมามอลีและครอบครัวละศีลอดด้วยน้ำเปล่าแทน ในเวลานี้เองที่โองการ “นี่คือรางวัลของสูเจ้า และความเพียรพยายามของสูเจ้าย่อมได้รับการขอบคุณ”ประทานลงมา

อนึ่ง การตอบแทนอันยิ่งใหญ่นี้มีสาเหตุมาจากการต่อสู้ทางจิตวิญญาณบนพื้นฐานการขัดเกลาจิตใจ ซึ่งผู้ศรัทธาทุกคนที่สามารถกระทำการทุกอย่างเพื่ออัลลอฮ์องค์เดียวนั้น ก็ย่อมจะได้รับการตอบแทนความพากเพียร ณ พระองค์อย่างแน่นอน[8]

นักวิชาการสายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างเห็นพ้องกันว่า โองการเหล่านี้ล้วนประทานลงมาในกรณีของวงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประกอบด้วย ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) โองการนี้ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงที่ท่านอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)กำลังแก้นะซัรที่เคยทำไว้เพื่อให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซนหายป่วย



[1] ดู: เฏาะบัรซี, มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 26,หน้า 147-148,สำนักพิมพ์ฟะรอฮอนี,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี1360

[2] อัลอินซาน,8

[3] ญะฟะรี,ยะอ์กู้บ,โฉมหน้าอิมามอลี(อ.)ในกุรอาน,หน้า 264,อุสวะฮ์,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1381

[4] ตามรายงานที่ระบุว่าฟิฎเฎาะฮ์ร่วมนะซัรกับทั้งสี่ท่านด้วย

[5] อาจเกิดข้อสงสัยว่า เหตุใดเชลยศึกจึงมาที่บ้านท่านอลี(อ.)ได้ ทั้งๆที่ควรจะอยู่ในการจองจำมิไช่หรือ? ต้องชี้แจงว่า ประวัติศาสตร์ระบุว่าในยุคของท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยมีเรือนจำเลยแม้แต่แห่งเดียว แต่ท่านนบีใช้วิธีแบ่งเชลยศึกฝากให้มวลมุสลิมดูแล และสั่งให้ระมัดระวังและให้ปฏิบัติดีต่อพวกเขา และหากไม่มีอาหารจะให้เชลย ก็จะขอความช่วยเหลือจากพี่น้องมุสลิมข้างเคียง โดยอาจจะนำเชลยมาขอแบ่งอาหารตามบ้าน หรืออาจจะบอกให้เชลยออกมาขอแบ่งอาหารด้วยตัวเอง เนื่องจากในเวลานั้น มุสลิมอยู่ในภาวะกระเบียดกระเสียรเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อรัฐมุสลิมแผ่ขยายออกไป และเริ่มมีเชลยศึกรวมทั้งอาชญากรจำนวนมาก จึงดำริให้มีเรือนจำขึ้น โดยค่ากินอยู่ของเชลยแบ่งมาจากบัยตุลมาล” มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 25,หน้า 354,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี 1374

[6] อัลอินซาน, 7-22

[7] อมีน,ซัยยิดะฮ์ นุศร็อต, มัคซะนุ้ลอิรฟาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 14,หน้า 237-239,ขบวนการสตรีมุสลิม,เตหราน,ปี 1361

[8] ดู: มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 35,หน้า 243, สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1409

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    17706 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    6959 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • ฮะดีษที่ว่า “วันที่มุสลิมจะจำแนกเป็น 73 จำพวกจะมาถึง” เชื่อถือได้หรือไม่?
    12639 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษชุด“การแตกแยกของอุมมะฮ์”มีบันทึกในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตามสายรายงานที่หลากหลายเนื้อหาของฮะดีษเหล่านี้ล้วนระบุถึงการที่มุสลิมจำแนกเป็นกลุ่มก้อนภายหลังท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งถือเป็นเอกฉันท์ในแง่ความหมายส่วนในแง่สายรายงานก็มีฮะดีษที่เศาะฮี้ห์และสายรายงานเลิศอย่างน้อยหนึ่งบท ...
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    6708 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6066 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5675 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำนายฝันได้?
    7928 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    แม้การฝันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนในชีวิตประจำวัน  แต่จนถึงบัดนี้นักวิชาการก็ยังไขปริศนาเกี่ยวกับความฝันไม่ได้อัลกุรอานกล่าวถึงท่านนบียูซุฟที่หยั่งรู้เหตุการณ์จริงจากความฝัน[1]และยังได้รับพรจากอัลลอฮ์ให้สามารถทำนายฝันได้อย่างแม่นยำ[2]ท่านเคยทำนายฝันของเพื่อนนักโทษในเรือนจำและมีโอกาสได้ทำนายฝันกษัตริย์แห่งอิยิปต์อีกด้วยจึงกล่าวได้ว่าการทำนายฝัน (หรือที่กุรอานเรียกว่าการ“ตีความ”[3]ฝัน) เป็นศาสตร์ที่มีอยู่จริงและพระองค์ทรงประทานแก่ศาสนทูตของพระองค์
  • ในพิธีขว้างหินที่ญะมารอตหากต้องการเป็นตัวแทนให้ผู้ที่ไม่สามารถขว้างหินเองได้ อันดับแรกจะต้องขว้างหินของเราเองก่อนแล้วค่อยขว้างหินของผู้ที่เราเป็นตัวแทนให้เขาใช่หรือไม่?
    7342 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ดังทัศนะของมัรญะอ์ตักลีดทุกท่านรวมไปถึงท่านอิมามโคมัยนี (ร.) อนุญาตให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สามารถขว้างหินของตัวแทนของตนก่อนก่อนที่จะขว้างหินของตนเอง[i][i]มะฮ์มูดี, มูฮัมหมัดริฏอ, พิธีฮัจญ์ (ภาคผนวก),หน้าที่
  • ข้อแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนา
    6611 เทววิทยาใหม่ 2554/10/24
    คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆคำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญาโดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้นมะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดาและนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนากล่าวคือโดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญาทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้อย่างไรก็ดีสภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีกในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้นได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8665 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59560 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56976 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41782 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38561 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38511 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33567 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27613 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27389 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27246 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25309 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...