ผู้เยี่ยมชม
7997
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/02
รหัสในเว็บไซต์ fa10510 รหัสสำเนา 23039
คำถามอย่างย่อ
ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
คำถาม
ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน? สามารถจะทำพินัยกรรมในทรัพย์สินที่จะตกเป็นมรดกได้หรือไม่ จะได้ไม่เหลือทรัพย์สินให้แบ่งมรดก มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดใดบ้างเกี่ยวกับมูลค่าของทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมสามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดจนกระทั่งไม่เหลือมรดกสำหรับทายาทได้หรือไม่? ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่? ขอบคุณค่ะ
คำตอบโดยสังเขป

คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งเราขอตอบทีละส่วนดังนี้
1. ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
กุรอานและฮะดีษระบุว่าให้สะสางหนี้สินและปฏิบัติตามพินัยกรรมของผู้ตายก่อนที่จะแบ่งมรดก
มีสี่โองการเป็นอย่างน้อยที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน  مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصي‏ بِها أَوْ دَيْن(...ภายหลังจากจำแนกส่วนที่ระบุในพินัยกรรมและหนี้สินออก และส่วนของมรดก...)[1]
จะเห็นได้ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อว่าการปฏิบัติตามพินัยกรรมกระทำก่อนการแบ่งมรดก[2]

2. สามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่เหลือเป็นมรดกเลยได้หรือไม่?
บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะย่อมมีอิสระในการบริหารทรัพย์สินของตนในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้นว่าสามารถวะกัฟ หรือนะซัร หรือมอบให้ผู้อื่นตามแต่จะเห็นสมควร แต่หากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสูญเสียสิทธิบางส่วนเหนือทรัพย์สินของตนไป แม้ผู้ตายระบุขอบเขตของพินัยกรรมเกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินที่มี พินัยกรรมดังกล่าวก็จะมีผลเพียงเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น สำหรับส่วนที่เกินจากนี้ หากทายาททุกรายบรรลุนิติภาวะแล้วและให้อนุญาตก็สามารถกระทำตามพินัยกรรมได้ทั้งหมด แต่หากทายาทที่บรรลุนิติภาวะบางรายให้อนุญาต ก็ให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมตามสัดส่วนจำนวนของผู้ที่อนุญาต มิเช่นนั้นก็ให้ปฏิบัติเพียงกรอบเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น[3]

ส่วนหนี้สินของผู้ตายก็ให้สะสางให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกในหมู่ทายาท ไม่ว่าผู้ตายจะทำพินัยกรรมให้ชำระหรือไม่ก็ตาม

3. ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่?
ทายาทจะต้องปฏิบัติตามในกรอบสิทธิพินัยกรรม (เศษหนึ่งส่วนสาม) และไม่มีสิทธิจะเพิกเฉยเด็ดขาด

 

 


[1] อันนิซาอ์,11,12

[2] ชะฮอบี,มะฮ์มู้ด,ประวัติฟิกเกาะฮ์,เล่ม 2,หน้า 217

[3] ซัยยิด อัลยัซดี,ถามตอบ,เนื้อหา,หน้า 347, ในกรณีที่ผู้ตายทำพินัยกรรมครอบคลุมทรัพย์สินทั้งหมด จะมีผลก็เฉพาะเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น ซึ่งจะต้องแยกไปใช้ตามที่ระบุในพินัยกรรม ส่วนอีกสองส่วนที่เหลือนั้น หากทายาทไม่อนุญาตตามพินัยกรรมก็ให้แบ่งตามหลักมรดกต่อไป

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ