Please Wait
ผู้เยี่ยมชม
6396
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/03
รหัสในเว็บไซต์ fa877 รหัสสำเนา 14937
หมวดหมู่ สิทธิและกฎหมาย
คำถามอย่างย่อ
เราสามารถกล่าวคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนเวลาอะซานหรือไม่? หรือจำเป็นหรือไม่ที่จะกล่าวอะซานระหว่างสองคุฏบะฮ์
คำถาม
ในพิธีนมาซวันศุกร์ จำเป็นหรือไม่ที่อะซานจะต้องอยู่ระหว่างสองคุฏบะฮ์?
คำตอบโดยสังเขป

คำถามของคุณไม่ชัดเจนนัก ทำให้สามารถแบ่งคำถามนี้ได้เป็น 2 คำถาม แต่คาดว่าคำถามของคุณน่าจะหมายถึงข้อที่หนึ่งดังต่อไปนี้

1. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องกล่าวหนึ่งในสองของคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนถึงเวลาอะซาน(เวลาที่ตะวันเริ่มคล้อยลง) หรือสามารถกล่าวคุฏบะฮ์ทั้งสองก่อนหรือหลังอะซานก็ได้?

2. การกล่าวอะซานระหว่างสองคุฏบะฮ์ถือเป็นวาญิบหรือไม่?

เกี่ยวกับคำถามแรก บรรดามัรญะอ์แสดงทัศนะดังต่อไปนี้

คำตอบเชิงรายละเอียด

ช่วงเวลาของนมาซวันศุกร์เริ่มตั้งแต่ตะวันเริ่มคล้อยลงจนกระทั้งเงาของคนทั่วไปทอดยาวถึงประมาณสองก้าว อย่างไรก็ดี ตามหลักเอียะฮ์ติยาฏวาญิบ ไม่ควรปล่อยให้ล่าช้ากว่าช่วงเวลาซุฮ์ริตามปกติ แต่ถ้าหากปล่อยให้ถึงช่วงเวลาดังกล่าว เอียะฮ์ติยาฏมุสตะฮับให้นมาซซุฮ์ริแทน

อนุญาตให้กล่าวคุฏบะฮ์วันศุกร์ทั้งสองส่วนก่อนจะถึงช่วงเวลาซุฮริตามหลักชัรอีย์  โดยต้องให้คุฏบะฮ์ทั้งสองสิ้นสุดพอดีกับเวลาซุฮ์ริ แต่โดยเอียะฮ์ติยาฏมุสตะฮับแล้ว ควรกล่าวคุฏบะฮ์หลังเข้าเวลาซุฮ์ริจะดีกว่า

หากอิมามเริ่มกล่าวและสิ้นสุดคุฏบะฮ์ในเวลาซุฮ์ริ โดยเริ่มนมาซวันศุกร์หลังจากนั้นทันที ถือว่าถูกต้อง

อายาตุลลอฮ์มะการิม :
ระยะเวลาของละหมาดวันศุกร์เริ่มตั้งแต่เวลาซุฮริ และดำเนินเรื่อยไปเท่าที่ต้องใช้เวลาตามปกติในการอะซาน คุฏบะฮ์ และนมาซ หลังจากนั้นให้ถือว่าสิ้นสุดระยะเวลาของนมาซวันศุกร์

เอียะฮ์ติยาฏมุสตะฮับให้กล่าวคุฏบะฮ์ทั้งสองส่วนหลังเข้าเวลาซุฮริ

อายาตุลลอฮ์ฟาฎิล ลังกะรอนี :
ไม่จำเป็น และหากอิมามได้เริ่มคุฏบะฮ์ก่อนที่จะตะวันจะเริ่มคล้อยลง และได้จบคุฏบะฮ์ลงในช่วงที่ตะวันคล้อยลงแล้ว นมาซวันศุกร์นั้นถือว่าถูกต้อง และไม่สำคัญว่าในช่วงอะซาน เขาจะบรรยายอยู่ช่วงใหนของสองคุฏบะฮ์

อายาตุลลอฮ์ตับรีซี :
เอียะฮ์ติยาฏวาญิบให้กล่าวสองคุฏบะฮ์หลังจากเข้าเวลานมาซซุฮ์ริแล้ว  และไม่ควรอ่านคุฏบะฮ์ก่อนเวลาดังกล่าว แม้จะพยายามให้สิ้นสุดคุฏบะฮ์เมื่อถึงเวลาซุฮริก็ตาม[1]

สำนักงานของอายาตุลลอฮ์ซิซตานี :
-
หนึ่งในเงื่อนไขของนมาซวันศุกร์ที่ถูกต้องคือการเข้าเวลานมาซ และการเข้าเวลานมาซก็คือการที่ดวงอาทิตย์คล้อยลงหรือเวลาเที่ยงนั้นเอง ดังนั้นหากไม่ได้นมาซวันศุกร์ในเวลาดังกล่าว ถือว่าเวลาได้ล่วงเลยไปแล้ว และจะต้องนมาซซุฮริแทน
-
การกล่าวคุฏบะฮ์ก่อนเวลาเที่ยงถือว่าไม่ถูกต้อง[2]

และเกี่ยวกับคำถามที่สอง บรรดามัรญะอ์มีความคิดเห็นดังต่อไปนี้

สำนักงานของอายะตุลลอฮ์ซีซตานี :
การกล่าวอะซานระหว่างสองคุฏบะฮ์ของนมาซวันศุกร์ไม่ถือว่าเป็นวาญิบ เพียงรักษาระยะห่างระหว่างสองคุฏบะฮ์เทียบเท่าการนั่งพักครู่หนึ่งก็เพียงพอ วัลลอฮุอะอ์ลัม

อายาตุลลอฮ์ฟาฏิล ลังกะรอนี :
ก่อนและหลังคุฏบะฮ์ไม่ควรกล่าวอะซานสองครั้ง[3]

สำนักงานของอายาตุลลอฮ์มะการิม :
ไม่จำเป็น



[1] ดู: ประมวลฟัตวาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก),เล่ม1,หน้า847,หมวดหุก่มนมาซวันศุกร์,ปัญหาที่15,16,27.

[2] อ้างแล้ว,หน้า861.

[3] อ้างแล้ว,หน้า854,ปัญหาที่ 40.