การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10361
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/05
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1569 รหัสสำเนา 26986
คำถามอย่างย่อ
อะไรคือสัญญาณของพระเจ้า ที่อยู่ในท้องฟ้าและแผ่นดิน?
คำถาม
โปรดอธิบายสัญญาณของพระเจ้า ที่อยู่ในท้องฟ้าและแผ่นดิน
คำตอบโดยสังเขป

ท้องฟ้าและแผ่นดิน และทุกสรรพสิ่งที่อยู่ในนั้น ทว่าทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดเป็นสัญญาณ ที่บ่งบอกให้เห็นพลานุภาพของพระเจ้า สัญญาณต่างๆ นั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถคำนวณนับได้หมดสิ้น อัลกุรอาน ได้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเรียนรู้จักสัญญาณเหล่านั้น ทั้งความกว้างไพศาล จำนวนกาแลคซี่ต่างๆ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์, หมู่ดวงดาวต่างๆ และสิ่งมหัศจรรย์อีกจำนวนมากในนั้น การประสานกันของมวลเมฆ การเกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และฟ้าแลบ พร้อมประโยชน์มหาศาลของมัน การสร้างมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ ที่สลับซับซ้อนที่สุด ในขบวนการสร้างของพระองค์ การดำรงชีพและวัฎจักรชีวิตของผึ้ง และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งแห่งสัญญาณของพระองค์ ที่บ่งบอกให้เห็นความรู้ วิทยญาณ และความปรีชาญาณของพระองค์

คำตอบเชิงรายละเอียด

ท้องฟ้าและแผ่นดินและทุกสิ่งที่อยู่ในระหว่างทั้งสอง ทั้งหมดเป็นความโปรดปราน และเป็นสัญญาณที่บ่งบอกให้เห็นถึงอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์ ดังนั้น ทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นสัญญาณหนึ่งของพระองค์เท่านั้นเอง และไม่มีผู้ใดสามารถนับจำนวนเหล่านั้นได้อย่างครบครัน อัลกุรอาน ได้เชิญชวนมนุษย์หลายต่อหลายครั้งให้ศึกษาถึงสัญญาณต่างๆ เหล่านั้น ซึ่ง ณ ที่นี้จะขอนำเสนอบางสัญญาณเหล่านั้น อาทิเช่น

1.สัญญาณของพระองค์ในท้องฟ้าและแผ่นดิน : อัลกุรอานหลายโองการ เช่น โองการบทอาลิอิมรอน : 19, บะเกาะเราะฮฺ : 164, ญาษียะฮฺ : 3, โรม : 22, อังกะบูต : 44, 61, ยูนุส : 3, ฆอฟิร :  57, ซาริยาต : 47-48, อันบิยาอฺ : 32, เราะอฺดุ : 2 กล่าวถึงสัญญาณของพระองค์ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน ขนาดอันใหญ่ไพศาล ขอบเขตที่กว้างขวาง จำนวนดวงดาวอันมหาศาล และกาแลคซี่ต่างๆ สิ่งเหล่นี้ถือว่าเป็นสัญญาณอันชัดเจน ที่บ่งบอกให้เห็นถึงอำนาจอันไร้ขอบเขตจำกัดของอัลลอฮฺ ซึ่งจะขอหยิบยกตัวอย่างอันบ่งบอกให้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระองค์

ไม่มีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้อย่างถ่องแท้ว่า ท้องฟ้าทั้งหลายมีขนาดกว้างมากเท่าใด กาแลคซี่ต่างๆ นั้นนับเป็นกลุ่มกาแลคซี่เดียวกัน หนึ่งในกลุ่มกาแลคซี่ชื่อว่า »แอนโดรมีดา« เป็นกาแลคซี่ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด กระนั้นก็ยังอยู่ห่างออกไปไกลถึง 2.2 ล้านปีแสง มีลักษณะคล้ายๆ ทางช้างเผือก แต่อาจจะใหญ่กว่าเล็กน้อย กาแลคซี่ แอนโดรมีดา กำลังเข้าใกล้กาแลคซี่ทางช้างเผือกของเรา ด้วยความเร็วประมาณ 500,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่จะไม่เกิดการชนกันในช่วงนี้ คาดว่าจะได้สัมผัสโลกอีกประมาณ สามพันล้านปีข้างหน้า บางคนกล่าวว่ายังอีกยาวนานซึ่งอาจยาวถึง 75 ล้านศตวรรษก็เป็นไปได้[1]ส่วนในกาแลคซี่ของเรา ดวงอาทิตย์ นั้นใหญ่กว่าโลกประมาณ 1 ล้านรอบ ตรงนี้จะเห็นว่า หอดูดาว “ปาแลร์โม” ได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของท้องฟ้าไว้อย่างหน้าสนใจว่า : ตราบที่กล้องดูดาวขนาดใหญ่ของหอดูดาวยังไม่ได้สร้างขึ้น ความกว้างใหญ่ของโลกในทัศนะของเรามีขนาดไม่ใหญ่กว่า 500 ปีแสง (ปรกติแสงจะวิ่งด้วยความเร็วประมาณ สามแสนกิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งนั้นหมายถึงว่าภายใน 1 นาที แสงจะวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 18 ล้านกิโลเมตร) แต่หลังจากสร้างกล้องดูดาวแล้ว เราพบว่าโลกมีความกว้างเป็นพันๆ ล้านปีแสง มีกลุ่มกาแลคซี่จำนวนเป็นล้านกลุ่มที่เพิ่งค้นพบใหม่ และไม่ต้องสงสัยเลยว่าเบื้องหลังต่อไปนั้นย่อมมี กาแลคซี่ อยู่อีกนับจำนวนเป็นร้อยล้านกลุ่ม ดูเหมือนว่าโลกอันยิ่งใหญ่ทั้งหมดที่เราเห็นอยู่นี้ เป็นเพียงอนุภาคขนาดเล็ก และเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่มีขนาดใหญ่กว่า[2]

ส่วนพื้นโลก :นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วเมื่อประมาณหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมาว่า โลกจะหมุนไปบนพื้นในเจ็ดทิศทางที่แตกต่างกัน ปัจจุบันจึงทำให้รู้สึกว่าโลกไม่ได้เคลื่อนไปทางทิศใดเลย ทั้งที่ในความเป็นจริงโลกหมุนไปในเจ็ดทิศทาง ด้วยความเร็วสูงบางครั้งเร็วถึง 1.8 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหนึ่งในการเคลื่อนของโลกคือการหมุนรอบตัวเองนั้นถูกค้นพบโดย มีแชล ฟูโก นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขากล่าวว่าการหมุนรอบตัวเองของโลกใช้ความเร็วประมาณ 1300 กิโลเมตร/ชั่วโมง  แต่เมื่อเทียบกับการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์แล้วไม่อาจเทียบกันได้ นักดาราศาสตร์ต่างเชื่อว่า โลกมีความเร็วอยู่ที่110/000 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งจะใช้ความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตร/วินาที ด้วยเหตุนี้ ทุกวันเราจะเดินทางไปทางทิศหนึ่งประมาณ 2/600/000 กิโลเมตร เด็กคนหนึ่งวันที่บิดามารดได้จัดงานวันเกิดให้แก่เขาในรอบ 1 ปี เท่ากับเขาได้เดินทางไปประมาณ 950 ล้านกิโลเมตร ดังนั้น ถ้ามนุษย์คนหนึ่งมีอายุยืน 70 ปี ตลอดอายุขัยของเขาต้องเดินทางประมาณ 75 พันล้านกิโลเมตร ประมาณ 5 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของระบบสุริยะ[3] แต่ผู้เดินทางจะไม่มีความรู้สึกอันใด อัลลอฮฺ ตรัสถึงความสงบของพื้นดินไว้หลายต่อหลายครั้ง เพื่อการดำเนินชีวิตที่มั่นคงและสืบสานสายตระกูลต่อไป[4] ดังนั้น การโคจรของโลกที่มีความเร็วไปในทิศทางแตกต่างกัน แต่ยังให้ความสงบมั่นคงแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์ สิ่งนี้ยังไม่เป็นเหตุผลแน่นอนที่ยืนยันให้เห็นถึง พลานุภาพของอัลลอฮฺอีกหรือ

2.สัญญาณของอัลลอฮฺ ในการเกิดฟ้าร้องและฟ้าผ่า อัลกุรอาน โองการที่ 24 บทโรม, เราะอฺดุ, 12, 13, กล่าวว่า ฟ้าร้องและฟ้าผ่าเป็นสัญญาณหนึ่งของพระเจ้า อันเป็นสัญญาณซึ่งบางครั้งเกิดพร้อมกับความหวาดกลัว และบางครั้งก็มาพร้อมกับความหวัง ซึ่งความกลัวเกิดจากเสียงฟ้าผ่า และมีความหวังที่ว่าหลังจากนั้นฝนจะตก

อัลกุรอาน กล่าวว่า แน่นอนเสียงฟ้าร้องและฟ้าผ่าคือ การสรรเสริญแซ่ซ้องต่ออัลลอฮฺ ด้วยเหตุนี้  นักวิชาการจึงมีทัศนะว่า ฟ้าร้องและฟ้าผ่า เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจำนวนมากระหว่างวัตถุที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างพื้นโลกกับก้อนเมฆ หรือระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน  นอกจากนั้นลมซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของแก๊สชนิดต่างๆ เมื่อพัดด้วยความเร็วสูงจะทำให้เกิดการขัดสีกับผิวพื้นโลกและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จึงทำให้โมเลกุลของลมได้รับอิเลคตรอน และไปถ่ายเทให้กับด้านล่างของก้อนเมฆ เมื่อประจุลบ (อิเล็กตรอน) รวมตัวกันที่ด้านล่างของก้อนเมฆมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขนาดหนึ่ง แรงผลักระหว่างอิเลคตรอนบนก้อนเมฆ และจะผลักให้อิเลคตรอนที่ผิวโลกแยกตัวออกจากประจุบวก จนทำให้ผิวโลกมีประจุเป็นบวกเพิ่มมากขึ้น ประจุลบบนก้อนเมฆจะผลักกันเองและขณะเดียวกันจะถูกดูดโดยประจุบวกจากพื้นโลก จึงทำให้มีประจุลบเคลื่อนที่ลงสู่ผิวโลก เนื่องจากแรงผลักจากด้านบนและแรงดูดจากด้านล่าง

ซึ่งการที่ประจุเคลื่อนที่จากก้อนเมฆไปสู่ผิวโลกจะเรียกว่า ฟ้าผ่า ถ้าประจุเคลื่อนที่จากก้อนเมฆไปยังก้อนเมฆเรียกว่า ฟ้าแลบ และในขณะที่ประจุไฟฟ้าแหวกผ่านไปในอากาศด้วยอัตราเร็วสูงมันจะผลักดันให้อากาศ แยกออกจากกัน แล้วอากาศก็กลับเข้ามาแทนที่โดยฉับพลันทันที ทำให้เกิดเสียงดังลั่นขึ้น เราเรียกว่า ฟ้าร้อง แม้ว่าระยะเวลาที่ฟ้าฝ่าจะเป็นระยะเวลาที่น้อยมากแค่เพียง 1/10 วินาที บางครั้งก็ 1/100 แต่ความร้อนที่ผลิตออกมานั้นมีพลังความร้อนมหาศาลถึง 15000 ° C เลยที่เดียว สามารถสร้างอันตรายได้อย่างใหญ่หลวง (ขณะที่อุณหภูมิพื้นผิวของดวงอาทิตย์เป็นเพียง 8000 องศาเท่านั้น)[5]

จากคำอธิบายเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากฟ้าร้องและฟ้าผ่า ซึ่งถือว่าเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดความกลัว ดังที่โองการกล่าวถึงนั้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ฟ้าร้องและฟ้าผ่า นอกจากจะเป็นสัญญาณหนึ่งของพระเจ้าแล้ว ยังมีคุณประโยชน์มากมายหลายประการ

ก) ระบบชลประทาน โดยปรกติฟ้าร้องจะผลิตพลังงานความร้อนอยู่ที่ 15000 องศาเซลเซียส ความร้อนดังกล่าวนี้เพียงพอที่จะเผาผลาญอากาศบริเวณรอบๆ จำนวนมากมาย อันเป็นผลทำให้เกิดความดันอากาศต่ำ ดั่งที่รู้กันดีว่าเมื่อเกิดความดันอากาศต่ำ เมฆก็จะลอยตัวต่ำลง ด้วยเหตุนี้เอง โดยทั่วไปหลังจากนั้นฝนก็จะโปรยปรายลงมา ซึ่งสิ่งนี้ล้วนเป็นอนิจสงค์ ที่เกิดจากฟ้าร้องฟ้าผ่า และการชลประทานก็ตามมา[6]

ข) การฉีดพ่น เมื่อประจุไฟฟ้าได้ปรากฏชัดเจนพร้อมกับความร้อน สายฝนที่ตกลงมา ออกซิเจนจำนวนหนึ่งจะถูกเพิ่มรวมเข้าไป ปริมาณน้ำที่หนัก นั้นจะสามารถสร้างน้ำออกซิเจน (O2 H2) ขึ้นมา ซึ่งประโยชน์โดยตรงของมันคือ กำจัดเชื้อโรคและไวรัสต่างๆ ให้หมดไป ดังจะเห็นว่าทางการแพทย์ก็ใช้น้ำนี้สำหรับล้างบาดแผล และน้ำออกซิเจนเหล่านี้เมื่อตกถึงพื้นดิน ก็จะช่วยกำจัดศัตรูพืช และโรคที่ทำลายพืชให้หมดไป ซึ่งในความเป็นจริงมันได้ฉีดพ่นไปทั่ว ด้วยเหตุนี้ จึงมีเสียงกล่าวว่า ปีใดที่มีฟ้าร้องฟ้าผ่าน้อย พืชก็จะเป็นโรคมากขึ้น

3.สัญญาณของพระเจ้าในการสร้างมนุษย์ อัลกุรอานหลายโองการ เช่น บทโรม, 20, บทอินซาน, 2, บทมุอฺมินูน, 12, 13, บทอลีฟลามมีมซัจญฺดะฮฺ, 6-9 , บทญาซียะฮฺ, 4, และอื่นๆ กล่าวถึงสัญญาณของพระเจ้าในการสร้างมนุษย์

ปัจจุบันนี้ การเกิดชีวิตและการเติบโตของชีวิตที่มีเซลเดียว ได้สร้างความประหลาดใจแก่นักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง แต่ทว่ามันเป็นความเร้นลับอย่างเหลือเชื่อตรงที่ว่า การสร้างสิ่งมีชีวิตที่สลับซับซ้อน ประกอบด้วยเซลต่างๆ จำนวนมากมาย  นั้น ได้ถูกสร้างขึ้นจากโคนตรมสกปรกที่ตายและเป็นอนัตตา

ทุกวันนี้อวัยวะส่วนที่เล็กที่สุดของร่างกายมนุษย์ ได้รับการศึกษาวิจัยในรูปแบบของเทคนิค ที่เหนือเทคนิค และได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ แต่ก็ยังมีอีกมากมายที่มนุษย์ไม่รู้ ทุกคนเชื่อดอกว่า สำหรับการรู้จัก (เพื่อการรักษา) อวัยวะที่เล็กที่สุด (เช่นตา) นั้นต้องการผู้เชี่ยวชาญและเทคนิคที่เหนือเทคนิคหลายประการ แต่สำหรับการสร้างสิ่งเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องอาศัยสติปัญญา และความรู้แต่อย่างใด

ร่างกายมนุษย์ ถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ต่างๆ จำนวนสิบล้านพันล้าน ซึ่งแต่ละเซลล์สามารถเปรียบได้กับเมือง ซึ่งแต่ละเมืองมีการติดตั้งหลายพันชนิด มีห้องปฏิบัติการเพื่อแปลงอาหารให้เป็นสารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย และแน่นอนว่าปรากฏการณ์ทางอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด และทันสมัยที่สุดก็ไม่สามารถเปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์

4.สัญญาณต่างๆ ของพระเจ้าในชีวิตผึ้ง

ชีวิตผึ้งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอำนาจของพระเจ้า ผลิตผลที่ผึ้งได้ผลิดขึ้นมาในคัมภีร์กุรอานเรียกว่า “การรักษา” อัลลอฮฺตรัสเกี่ยวกับชีวิตและการทำงานของผึ้งไว้ดังนี้ : พระผู้อภิบาลของเจ้าทรงดลใจแก่ผึ้งว่า เจ้าจงทำรังตามภูเขาและตามต้นไม้ และตามที่พวกเขาทำร้านขึ้น แล้วเจ้าจงกินจากผลไม้ทั้งหลาย แล้วจงดำเนินตามทางของพระผู้อภิบาลของเจ้า โดยถ่อมตัว มีเครื่องดื่ม (น้ำผึ้ง) หลากสีออกมาจากท้องของผึ้ง ในนั้นมีสิ่งบำบัดแก่ปวงมนุษย์ แท้จริง ในการนั้น ย่อมเป็นสัญญาณแก่กลุ่มชนผู้ตรึกตรอง”[7] ใช่แล้ว ทุกวันนี้มีชีวิตลึกลับของผึ้งนั้นสามารถอธิบายได้โดยวะฮฺยูของพระเจ้าเท่านั้น มอริซ แมเตอร์ลิงค์ นักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง กล่าวว่า “เราไม่รู้ทราบเรื่องกฎระเบียบและระบบ (การดำเนินชีวิตของผึ้ง) เลยว่าเริ่มต้นมาจากที่ใดและมีสภาพเป็นอย่างไร ฉันเคยเฝ้าคิดว่าคงมีสักวันหนึ่ง ที่ฉันจะได้เข้าใจความเร้นลับเหล่านั้น และเข้าใจซาบซึ้งถึงผู้วางกฎเกณฑ์เหล่านั้น แต่แล้วเราก็ไม่อาจรู้ได้เลยว่า กฎระเบียบการดำเนินชีวิตของผึ้งผ่านรัฐสภาของประเทศใด จึงได้มีการตัดสินใจใช้ระเบียบเหล่านั้น แล้วใครคือผู้ออกคำสั่งให้มีการเคลื่อนในวันที่กำหนดตายตัว”[8]

นักวิชาการท่านหนึ่ง ได้มีการวัดความลึกของรวงผึ้ง มุมที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ที่ 109 องศา และ 28 นาที ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ถูกนำไปถามนักวิศวกรชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งนามว่า คลิน ว่า ถ้ามีคนต้องการวัสดุจำนวนน้อยในการสร้างพีระมิดที่มีความจุที่ใหญ่ที่สุด โดยสร้างให้สามระดับ ซึ่งมุมของมันควรจะเป็นเท่าไหร่, เขาได้คำนวณโดยใช้วิธีอนุพันธ์ หรือความแตกต่าง แล้วแก้โจทย์ข้อนั้นได้ เขาได้ตอบว่า มุมของมันน่าจะเป็นที่ 109 องศา 26 นาที โดยที่เขามิได้ไปสำรวจที่รวงผึ้งเลย แต่การคำนวณของเขาต่างไปจากรวงผึ้งเพียงแค่ 2 นาที

หลังจากนั้นเขาได้นำคำถามเดียวกันไปถาม วิศวกรอีกคนหนึ่งนามว่า มาก เลาเซ่น ซึ่งเขาได้คำนวณละเอียดกว่า และ 2 นาที ซึ่งมิได้อยู่ในการคำนวณของวิศวกรคนแรก เป็นคำตอบที่เขาได้รับ และคำตอบที่ถูกต้องคือ งานของผึ้งนั่นเอง[9]

สัญลักษณ์เหล่านี้ และสัญลักษณ์อื่นๆ อีกมากมาย ยังมิได้เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน เกี่ยวกับเหตุผลของการมีผู้สร้าง ผู้มีอำนาจไม่มีที่สิ้นสุดอีกหรือ แน่นอน ยังมีความเร้นลับจำนวนหลายร้อยพันชนิดอยู่อีก ในโลกของการสร้างสรรค์ แต่การพิจารณาแค่เพียงประการเดียวก็เกินพอแล้ว สำหรับมนุษย์ผู้มีใจเป็นธรรม และเพียงพอแล้วต่อการชี้นำเขาไปสู่อำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า ถ้าหากมนุษย์เปิดตาของตนให้กว้างขึ้น เขาก็จะพบว่าทุกอนุภาคของอนุภาคทั้งหลาย ได้บ่งบอกให้เห็นถึงการมีอยู่ของพระเจ้า และอำนาจของพระองค์ ซึ่งความเป็นระบบระเบียบเหล่านี้ และความมหัศจรรย์อีกมากมาย ทั้งหมดเป็นความบังเอิญกระนั้นหรือ และสิ่งเหล่านี้มีขึ้นมาโดยปราศจากผู้สร้างหรือ

ใช่แล้ว ทุกอนุภาคของจักรวาล เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกให้เห็นถึงการมีอยู่ของพระเจ้า พระผู้ซึ่งทรงรอบรู้ ทรงพลานุภาพ และทรงปรีชาญาณยิ่ง ซึ่งต้องอาศัยปัญญาที่ชาญฉลาดเท่านั้นจึงจะมองเห็นได้

 


[1] ดาอิเราะตุลมะอาริฟ นู สะอีดียาน หน้า 1557.

[2] วารสารฟะฎอ, ลำดับที่ 56 ฟัรวัรดีน ปี 1351 คัดลอกมาจาก พัยยอมกุรอาน, เล่ม 2, หน้า 177.

[3] ดาอิเราะตุลมะอาริฟ นู สะอีดียาน หน้า 1558

[4] บทนะบะอฺ, 6.

[5] อิอฺญาซกุรอาน, หน้า 78, พัยยอมกุรอาน อายะตุลลอฮฺ นาซิร มะการิมชีรอซียฺ เล่ม 2, หน้า 264,

[6] พัยยอมกุรอาน อายะตุลลอฮฺ นาซิร มะการิมชีรอซียฺ เล่ม 2, หน้า 264,

[7] บทอันนะฮฺลุ, 68, 69

[8] ผึ้ง มันซิลงก์, หน้า 35,36, คัดลอกมาจากพัยยอมกุรอาน หน้า 387.

[9] ตัฟซีรอบุลฟุตูฮฺ รอซียฺ, คำอธิบายของมัรฮูม ชะอฺรอนียฺ, เล่ม 7, หน้า 123, พัยยอมกุรอาน, เล่ม 2, หน้า 388.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    19780 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    9339 زن 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • อัมร์ บิน อ้าศมีอุปนิสัยอย่างไรในประวัติศาสตร์?
    9138 تاريخ بزرگان 2554/08/02
    อัมร์ บิน อ้าศ บิน วาอิ้ล อัสสะฮ์มี โฉมหน้านักฉวยโอกาสที่แฝงด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ถือกำเนิดจากหญิงที่ชื่อ“นาบิเฆาะฮ์” บิดาของเขาคืออ้าศ บิน วาอิ้ล เป็นมุชริกที่เคยถากถางเยาะเย้ยท่านนบีด้วยคำว่า“อับตัร”หลังจากกอซิมบุตรของท่านนบีถึงแก่กรรมในวัยแบเบาะ ซึ่งหลังจากนั้น อัลลอฮ์ได้ประทานอายะฮ์ “ان شانئک هو الابتر” เพื่อโต้คำถากถางของอ้าศอัมร์ บิน อ้าศ เป็นที่รู้จักในเรื่องความเจ้าเล่ห์ ในสมัยที่อิมามอลี(อ.)ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ เขากลายเป็นมือขวาของมุอาวิยะฮ์ในสงครามศิฟฟีนเพื่อต่อต้านท่าน และสามารถล่อลวงทหารฝ่ายอิมามเป็นจำนวนมาก ท้ายที่สุดก็ใช้เล่ห์กลหลอกอบูมูซา อัลอัชอะรี เพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่มุอาวิยาะฮ์ ท้ายที่สุดได้รับแต่งตั้งโดยมุอาวิยะฮ์ให้เป็นผู้ปกครองเมืองอิยิปต์ ...
  • จากเนื้อหาของดุอากุเมล บาปประเภทใดที่จะทำให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บะลาถาโถมมา และทำให้ดุอาไม่ได้รับการตอบรับ?
    9130 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/13
    โดยปกติแล้วบาปทุกประเภทจะเป็นเหตุให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาดบาปทุกประเภทสามารถทำให้เกิดบะลายับยั้งการตอบรับดุอาและริซกีของมนุษย์ได้ทั้งสิ้นเหล่านี้เป็นผลกระทบตามธรรมชาติของการทำบาปซึ่งตำราวิชาการของเราก็เน้นย้ำไว้เช่นนี้อย่างไรก็ดีบางฮะดีษเจาะจงถึงผลลัพท์ของบาปบางประเภทเป็นการเฉพาะอาทิเช่นการกดขี่ข่มเหงผู้อื่น
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    5562 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก
  • ชะตากรรมของเหล่าภรรยาท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺเป็นอย่างไรบ้าง?
    6436 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มีภรรยาทั้งสิ้น 5 คน, นักประวัติศาสตร์บางท่านจำนวนบุตรของท่านท่านอิมาม (อ.) ที่เกิดจากภรรยาเหล่านี้มีจำนวน 6 คนหรือบางคนกล่าวว่ามีมากกว่า
  • เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
    7554 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืมองค์พระผู้อภิบาลซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆของพระเจ้าการใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์
  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    15839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
    12477 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ ...
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    6402 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57358 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55097 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40363 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37420 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36079 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32389 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26679 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26128 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25956 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24130 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...