การค้นหาขั้นสูง

คำถามและคำตอบล่าสุด

  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4728 สิทธิและกฎหมาย
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4498 ดิรอยะตุลฮะดีซ
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) ได้นำเอาประโยคปฏิเสธขึ้นหน้าก่อนการปฏิญาณ (ในความเป็นเอกะของพระองค์) มีเหตุผลอันใดหรือ?
    24410 ادله نقلی
    คำว่า ชะฮาดะตัยนฺ คือการผนวกสองประโยคเข้าด้วยกันคือ คำปฏิญาณประโยคแรกคือ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และสารภาพถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า ซึ่งเฉพาะเจาะจงและคู่ควรยิ่งแก่การเคารพภักดี สำหรับองค์พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ส่วนคำปฏิญาณที่สอง (อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลลุลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และปฏิญาณว่า ท่านนะบีมุฮัมมัดคือ ศาสนทูตแห่งอิสลาม มิได้พิสูจน์การเป็นศาสนทูตคู่ควรแก่ท่านนะบี ด้วยเหตุนี้ ชะฮาดัตแรก จึงเป็นเน้นอันเฉพาะเจาะจงสำหรับพระองค์ ประโยคจึงเริ่มต้นด้วย “การปฏิเสธ” ลานะฟีญินซฺ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญของคำว่า “อิลาฮะ” ซึ่งถือว่าเป็นคำนามที่เป็นนักกิเราะฮฺ (มิได้ระบุเจาะจง) แน่นอน บริบทของการปฏิเสธนี้ ให้ประโยชน์ในแง่รวมทั้งหมด โดยปฏิเสธพระเจ้าที่มีทั้งหมดบนโลก และปฏิเสธการมีส่วนร่วมในความเป็นพระเจ้า ของพระเจ้าที่แท้จริง ดังนั้น การที่กล่าวว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด “นอกจาก” อิลลา นั่นเป็นจำกัดให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะสำหรับ อัลลอฮฺ เพื่อประกาศให้รู้ว่าไม่มีใคร หรือสิ่งใดมีส่วนร่วมในการเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์ ดังนั้น ในความเป็นจริงจึงพิสูจน์ด้วยประโยคที่กล่าวว่า “นอกจากอัลลอฮฺ” ...
  • การคบชู้หมายถึงอะไร?
    10438 สิทธิและกฎหมาย
    การซินา หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์โดยผิดประเวณีกับหญิงอื่น ที่มิใช่ภรรยาตามชัรอีย์ (ภรรยาที่สมรสถาวร หรือชั่วคราว) การซินาในทัศนะอัลกุรอาน, ถือเป็นบาปใหญ่ อัลลอฮฺ ตรัสถึงการซินาไว้ว่า “จงอย่าเข้าใกล้การลอบผิดประเวณี เนื่องจากเป็นการลามกและทางอันชั่วช้ายิ่ง”[1],[2] การกระทำดังกล่าว ถ้ากระทำโดยหญิงมีสามี หรือชายมีภรรยาอยู่แล้ว เรียกว่า การเป็นชู้[3] แต่ถ้ามิได้เป็นไปในลักษณะดังกล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นการทำชู้ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบัญญัติของการซินา และการลงโทษที่จะติดตามมา อันถือว่าเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ และหน้าขยะแขยงยิ่งนี้ กรุณาศึกษาจากคำตอบต่อไปนี้ อย่างไรหรือที่เรียกว่า ซินา, 8243 (ไซต์ 8288) การลงโทษ และการลุแก่โทษ กรณีการทำชู้ 7159 (ไซต์ 7508) ฮุกุ่มของการซินากับหญิงมีสามี 2688 (ไซต์ ...
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    7286 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8788 آراء شناسی
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    8913 รหัสยปฏิบัติ
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...
  • การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
    11922 วิทยาการกุรอาน
    ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ ...
  • เราสามารถทำงานในร้านที่ผลิตหรือขายอาหารที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อสุกรได้หรือไม่?
    6346 ข้อมูลน่ารู้
    บรรดามัรญะอ์ตักลี้ด (ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต่างก็ไม่อนุญาตให้ทำงานในสถานประกอบการที่จัดจำหน่ายสิ่งฮะรอม (ไม่อนุมัติตามหลักอิสลาม) ฉะนั้น หากหน้าที่ของท่านคือการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นการเฉพาะ งานดังกล่าวจะถือเป็นสิ่งฮะรอม ส่วนกรณีอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ถือว่าไม่มีข้อห้ามประการใด อย่างไรก็ดี สามารถสัมผัสอาหารฮะรอมตามที่ระบุในคำถามได้ (โดยไม่บาป) แต่หากสัมผัสขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จะต้องชำระล้างนะญิส (มลทินภาวะทางศาสนา) ด้วยน้ำสะอาดตามที่ศาสนากำหนด ...
  • เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
    10530 ประวัติสถานที่
    นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ 1. อะกี้ก 2. บัฏฮาต 3. เกาะน้าต[1] เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม 2. หลังยุคอิสลาม 1. ก่อนยุคอิสลาม กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน 1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ ...
  • ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
    10845 بیشتر بدانیم
    “เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1] นิยามของเศาะดะเกาะฮ์ เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2] บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน 1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ ...
  • ผู้ที่เป็นวากิฟ (คนวะกัฟ) สามารถสั่งปลดอิมามญะมาอัตได้หรือไม่?
    8264 ข้อมูลน่ารู้
    ผู้วะกัฟหลังจากวะกัฟทรัพย์สินแล้ว เขาไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป, เว้นเสียแต่ว่าผู้วะกัฟจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทรัพย์วะกัฟด้วยตัวเอง ส่วนกรณีเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดูแลทรัพย์วะกัฟจะมีหรือไม่ มีทัศนะแตกต่างกัน บางคนกล่าวว่า ผู้ดูแลไม่มีสิทธิ์อันใดทั้งสิ้น บางกลุ่มเชื่อว่าผู้ดูแลนั้นสามารถกระทำการตามที่ถามมาได้ ถ้าใส่ใจเรื่องความเหมาะสม ...
  • เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา
    8110 วิทยาการกุรอาน
    ไม่มีคำสั่งหรือรายงานใดจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอาน ตามการประทานลงมามาถึงพวกเรา การรวบรวมอัลกุรอานได้ถูกกระทำลงไปหลายขั้นตอนด้วยกัน ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอัลกุรอานตามการประทานลงมา แต่ในที่สุดอัลกุรอานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการรวบรวมโดยเหล่าบรรดาสากวก โดยได้รับความเห็นชอบจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ว่าสมบูรณ์ ...
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    8027 فضایل اخلاقی
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ท่านสุลัยมาน (อ.) หลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป จึงได้วอนขออำนาจการปกครอง แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า โอ้ อะลีหลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับความหายนะ?
    10329 การตีความ (ตัฟซีร)
    เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ” ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ ...
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9303 สิทธิและกฎหมาย
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
    14030 สิทธิและกฎหมาย
    การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น ...
  • เพราะสาเหตุใด การถอนคิ้วสำหรับสาววัยรุ่นทั้งหลาย จึงไม่อนุญาต?
    9484 สิทธิและกฎหมาย
    คำตอบจากสำนักมัรญิอฺตักลีดทั้งหลาย เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสาววัยรุ่น มีรายละเอียดดังนี้ มัรญิอฺตักลีดทั้งหมด : มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การทำเช่นนี้โดยตัวของมันแล้วถือว่า ไม่มีปัญหาทางชัรอียฺ (แม้ว่าจะมองไม่ออกนักก้ตาม) ซึ่งโดยปกติต้องปกปิดหน้าตนจากชายที่สามารถแต่งงานกันได้[1] ฉะนั้น การกระทำดังกล่าว โดยตัวของมันแล้วถือว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าในกรณีนี้บรรดามัรญิอฺตักลีด จะมีความเห็นว่าการใส่ใจต่อสาธารณเป็นสิ่งดีงามก็ตาม[2] [1] ข้อมูลจาก ซีดี เพรเซะมอน
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    10626 หลักกฎหมาย
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...
  • อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
    11235 เทววิทยาดั้งเดิม
    สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน 1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น 2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา ...
  • อัลกุรอานและรายงานกล่าวถึงหรือนำเสนอเรื่องราวของเคฎ (อ.) ไว้บ้างหรือเปล่า?
    9441 تاريخ بزرگان
    อัลกุรอาน มิได้กล่าวถึงนามของ ท่านเคฎ ไว้อย่างตรงไปตรงมา แต่กล่าวในฐานะของ "عَبْداً مِنْ عِبادِنا آتَيْناهُ رَحْمَةً مِنْ عِنْدِنا وَ عَلَّمْناهُ مِنْ لَدُنَّا عِلْماً" “แล้วทั้งสองได้พบบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา ที่เราได้ประทานความเมตตาจากเราให้แก่เขา และเราได้สอนความรู้จากเราให้แก่เขา”[i] โองการสาธยายถึงฐานะภาพความเป็นบ่าว และความรู้อันเฉพาะของเขา,และอยู่ในฐานะของครูของมูซา บิน อิมรอน ซึ่งรายงานจำนวนมากมายกล่าวแนะนำถึงชายผู้มีความรู้นี้คือ เคฎ นั่นเอง เขาเป็นหนึ่งในผู้มีความรู้ และได้รับความโปรดโปรานอันเฉพาะจากพระผู้อภิบาล นอกจากนั้นท่านยังล่วงรู้ในระบบกฎเกณฑ์การสร้างสรรค์โลก ความเร้นลับบางประการ และในด้านหนึ่งเป็นครูของศาสดามูซา บิน อิมรอน แม้ว่ามูซาจะมีความรู้เหนือพวกเขาอยู่หลายด้านก็ตาม บางส่วนของรายงาน และคำอรรถาธิบายโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่าเขามีฐานะเป็นนะบี และเป็นหนึ่งในศาสดาที่ถูกส่งมา ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเพื่อประชาชาติของเขา เพื่อเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว การเป็นศาสดา ...
  • อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
    20284 การตีความ (ตัฟซีร)
    เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ ...
  • ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
    14828 การตีความ (ตัฟซีร)
    »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น : 1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด 2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม 3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ 4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี
  • เพราะเหตุใดอัลกุรอานจึงเป็นโองการ โองการ? และซูเราะฮฺใดจากซูเราะฮฺต่างๆ ที่ได้ประทานแก่นะบี (ซ็อลฯ) ในครั้งเดียว?
    15443 วิทยาการกุรอาน
    อัลกุรอานถูกประทานลงมาในสองลักษณะกล่าวคือ ลงมาคราวเดียวกัน และทยอยลงมา (เป็นโองการ โองการ และเป็นซูเราะฮฺ ซูเราะฮฺ) ขณะเดียวกันได้มีเหตุผลกล่าวไว้ถึงการทยอยประทานลงมา เช่น : 1.เพื่อสร้างความมั่นคงแก่จิตใจของนะบี 2.เพื่อความต่อเนื่องของวะฮฺยู และการทยอยประทานลงมานั้นได้สร้างความอบอุ่นใจแก่ท่านนะบี (ซ็อลฯ) และบรรดามุสลิมทั้งหลาย 3.เพื่อจะได้ทิ้งช่วงในการอ่านแก่ประชาชน เป็นการง่ายดายต่อการจดจำของพวกเขา สามารถคิดใคร่ครวญได้อย่างรอบคอบ และจดจำได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังให้ความรู้และการปฏิบัติตามใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเนื่องจากว่ามีประเด็นเรื่องราวถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานมากมาย ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องจัดแบ่งประเด็นเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่ และหมวดหมู่เหล่านั้น ที่มีความเหมาะสมกันยังถูกจัดไว้ในหมวดเดียวกัน ซึ่งแยกไปจากหมวดอื่น ด้วยเหตุนี้เอง จึงเห็นว่าอัลกุรอานถูกจัดเป็นโองการๆ และเป็นบทแยกต่างหาก สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงขอบข่าย การเริ่มต้น และสิ้นสุดของทุกโองการ ได้ถูกกระทำขึ้นตามคำสั่งของท่านนะบี (ซ็อลฯ) ซึ่งจำเป็นต้องยอมรับสิ่งนั้นโดยปริยาย แน่นอน อัลกุรอานบางบทอาจมีขนาดเล็ก ...
  • ความเสียหายของศาสนาคือสิ่งไหน?
    9348 دین و فرهنگ
    ศาสนา,เป็นพระบัญชาศักดิ์สิทธิ์,มาจากพระเจ้า ซึ่งในนั้นจะไม่มีทางผิดพลาด และไม่มีผลกระทบอันเสียหายอย่างแน่นอน, การยอมรับความผิดพลาดและการกระทำผิด เกี่ยวข้องกับภารกิจของมนุษย์ แน่นอนการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการรู้จักผลกระทบของศาสนา และการตื่นตัวของผู้มีศาสนา สิ่งเหล่านี้จะไม่ย้อนกลับไปสู่แก่นแท้ความจริงของศาสนา, ทว่าจะย้อนกลับไปสู่ประชาชาติที่นับถือศาสนา ความใจและการพัฒนาของมนุษย์ที่มีต่อศาสนา ประเภทของการรู้จักในศาสนา และรูปแบบของการตื่นตัวในศาสนา ความเสียหายและผลกระทบต่อศาสนา มีรายละเอียดแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา เป็นความเสียหายที่มีผลกระทบ ต่อความศรัทธาของบุคคลที่นับถือศาสนา หรือผู้มีความสำรวมตน ซึ่งความเสียหายดังกล่าวนี้เองจะอยู่ในระดับของการรู้จักทางศาสนา (ความเสียหายทางศาสนาและการศึกษา) บางครั้งก็อยู่ในระดับของการปฏิบัติบทบัญญัติและคำสั่งของศาสนา การรักษาบทบัญญัติ บทลงโทษ และสิทธิ ซึ่งศาสนาได้กำหนดเป็นข้อบังคับให้รักพึงระมัดระวังต่อสิ่งเหล่านั้น เช่น ความอิจฉาริษยา ความอคติ และเกียรติยศ อีกกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา จะอยู่ในปัญหาด้านสังคมทางศาสนา เช่น ความบิดเบือน การอุปโลกน์ และการกระทำตามความนิยมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย และเป็นความกดดันต่อการระวังรักษาความศักดิ์สิทธิ์ และการขยายศาสนาให้กว้างขวางออกไป ...

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยังชีพและปัจจัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้น ความพยายามของมนุษย์คืออะไร?
    21077 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็นคำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เองในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่าริซกีฏอลิบ
  • บทบาทและเป้าหมายของอะฮ์ลุลบัยต์คืออะไร?
    7275 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มีฮะดีษทั้งในสายของชีอะฮ์และซุนนะฮ์มากมายที่บ่งชี้ถึงความประเสริฐของอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบี(ซ.ล.)อันประกอบด้วยผู้มีเกียรติทั้งห้านั่นคือตัวท่านนบีเอง, ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
  • ท่านสุลัยมาน (อ.) หลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป จึงได้วอนขออำนาจการปกครอง แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า โอ้ อะลีหลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับความหายนะ?
    10329 การตีความ (ตัฟซีร) 2556/08/19
    เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ” ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ ...
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    8998 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • อิสลามมีกฏเกณฑ์อย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว?
    22054 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/09
    อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกันหนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือความต้องการทางเพศทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจะต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้อิสลามถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงานไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสื่อหากเป็นไปด้วยความไคร่หรือเกรงว่าจะเกิดความไคร่ถือว่าไม่อนุมัติแต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงานวิชาการและการศึกษาถือเป็นที่อนุมัติเฉพาะในกรณีที่ไม่โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ...
  • ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์มีทัศนคติเกี่ยวกับความยุติธรรมแตกต่างกันอย่างไร?
    10387 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/24
    ทั้งสองสำนักคิดนี้ต่างก็ถือว่าความยุติธรรมของอัลลอฮ์คือหนึ่งในหลักศรัทธาของตน ทั้งสองเชื่อว่าความดีและความชั่วพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญา กล่าวคือสติปัญญาสามารถจะพิสูจน์ความผิดชอบชั่วดีในหลายๆประเด็นได้แม้ไม่ได้รับแจ้งจากชะรีอัตศาสนา ความอยุติธรรมก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่สติปัญญาของมนุษย์ทุกคนพิสูจน์ได้ว่าเป็นความชั่ว ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮ์จึงไม่ทรงลดพระองค์มาแปดเปื้อนกับความชั่วดังกล่าว แต่ทรงเป็นผู้ไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย ข้อแตกต่างระหว่างสองสำนักคิดข้างต้นก็คือ เมื่อเผชิญข้อโต้แย้งที่ว่า “หากทุกการกระทำของมนุษย์มาจากพระองค์จริง แสดงว่าการให้รางวัลและการลงโทษมนุษย์ย่อมไม่มีความหมาย” มุอ์ตะซิละฮ์ชี้แจงด้วยการปฏิเสธเตาฮี้ด อัฟอาลี (เอกานุภาพเชิงกรณียกิจ) แต่ชีอะฮ์ปฏิเสธทางออกดังกล่าวที่ถือว่ามนุษย์ไม่ต้องพึ่งพาอัลลอฮ์ในการกระทำ โดยเชื่อว่าการกระทำของมนุษย์เชื่อมต่อกับการกระทำของอัลลอฮ์ในเชิงลูกโซ่ มิได้อยู่ในระนาบเดียวกัน จึงทำให้ตอบข้อโต้แย้งข้างต้นได้โดยที่ยังเชื่อในความยุติธรรมของพระองค์ดังเดิม ...
  • เราเชื่อว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ยังมีชีวิตอยู่และสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเราเสมอมา กรุณาพิสูจน์ความคงกระพันของท่านให้ทราบหน่อยค่ะ
    6407 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/19
    การพิสูจน์เกี่ยวกับอายุขัยและสถานะความเป็นอิมามของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นประเด็นหนึ่งในหลักอิมามัตเชิงจุลภาคลำพังสติปัญญาไม่อาจจะพิสูจน์ความเชื่อดังกล่าวได้สติปัญญาจะต้องพิสูจน์หลักอิมามัตเชิงมหภาคให้ได้เสียก่อนแล้วจึงใช้เหตุผลทางฮะดีษตลอดจนรายงานทางประวัติศาสตร์เข้าเสริมเพื่อพิสูจน์ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เท่านั้นที่ดำรงตำแหน่งอิมามสำหรับยุคสมัยนี้ความจำเป็นที่จะต้องมีมนุษย์ผู้ปราศจากบาปที่เป็นฮุจญัต(ข้อพิสูจน์)ของพระองค์ในทุกยุคสมัยนั้นพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผลทางสติปัญญาเกี่ยวกับหลักอิมามัตเชิงมหภาคอาทิเช่นการให้เหตุผลว่าศาสนทูตและอิมามถือเป็นเมตตาธรรมของอัลลอฮ์และโดย"หลักแห่งเมตตาธรรม"แล้วเมตตาธรรมของพระองค์ย่อมมีอยู่ตราบชั่วนิรันดร์มีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าณเวลานี้มนุษย์ผู้ปราศจากบาปดังกล่าวมีเพียงท่านอิมามมะฮ์ดี(
  • ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
    10035 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    เตาฮีด หมายถึงความเป็นเอกะหรือเอกเทศ, เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หมายถึงจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง, สรรพสิ่งที่มีอยู่, ร่องรอยและกิจการงานของพวกเขา, แม้แต่มนุษย์และผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา หรือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ โดยความเป็นจริงแล้วและมิได้เป็นการกล่าวอย่างเลยเถิด ทั้งหมดเหล่านั้นคือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกใบนี้คือ สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าบางสิ่งปราศจากสื่อและบางสิ่งมีสื่อในการสร้าง ...
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    8002 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • สถานะและบุคลิกภาพของซุรอเราะฮฺ ณ บรรดาอิมามเป็นอย่างไร?
    6641 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    ซุรอเราะฮฺ เป็นหนึ่งในสหายของอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่มีฐานะภาพและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ณ อิมาม เขาถูกจัดว่าเป็นสหายอิจญฺมาอฺ หมายถึงความหน้าเชื่อถือ ความซื่อตรง และการพูดความจริงของเขา เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่สหายของอิมาม (อ.) แม้ว่าจะมีรายงานกล่าววิจารณ์เขาอยู่บ้างก็ตาม, แต่เมื่อนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกันแล้ว สามารถสรุปให้เห็นถึงความถูกต้องของเขามากกว่า และจัดว่าเขาเป็นหนึ่งในสหายที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติคนหนึ่งของอิมาม (อ.) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60110 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57527 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42190 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39336 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38931 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33989 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28006 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27943 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27775 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25775 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...