การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5996
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/13
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17599 รหัสสำเนา 21629
คำถามอย่างย่อ
สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
คำถาม
สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ท่านอิมามอลี(.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(..)ว่า طبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทราม โดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน จุดประสงค์ของสำนวนดังกล่าวคือ ท่านนบี(..)อาสาเสนอตัวเพื่อหวังรักษาความป่วยไข้ของเหล่าผู้หลงผิดอย่างเต็มใจ
ข้อคิดที่ได้จากประเด็นนี้ก็คือ ในขณะที่วัตรปฏิบัติของแพทย์ทั่วไปคือการนั่งรอผู้ป่วยที่โรงพยาบาล แต่ท่านนบี(..)กระทำตรงกันข้ามโดยการเข้าหาผู้ป่วยแทน กล่าวคือ ท่านมีภาระกิจอันยิ่งใหญ่ในการขจัดโรคภัยทางจิตวิญญาณของมวลมนุษย์ ซึ่งภารกิจดังกล่าวจะบรรลุผลได้ก็ต่อเมื่อท่านสืบเสาะและรักษาผู้ป่วยไข้ทางจิตวิญญาณ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อให้เข้าใจความหมายของสำนวนแพทย์สัญจรเบื้องต้นเราจะนำเสนอคุฏบะฮ์ของอิมามอลี(.)ท่อนที่มีสำนวนดังกล่าว แล้วจึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นข้อซักถาม

ท่านอิมามอลี(.)กล่าวว่า 

وَ مِنْهَا طَبِیبٌ دَوَّارٌ بِطِبِّهِ قَدْ أَحْکَمَ مَرَاهِمَهُ وَ أَحْمَى مَوَاسِمَهُ یَضَعُ ذَلِکَ حَیْثُ الْحَاجَةُ إِلَیْهِ مِنْ قُلُوبٍ عُمْیٍ وَ آذَانٍ صُمٍّ وَ أَلْسِنَةٍ بُکْمٍ مُتَتَبِّعٌ بِدَوَائِهِ مَوَاضِعَ الْغَفْلَةِ وَ مَوَاطِنَ الْحَیْرَةِ ...[1]

(ท่าน(นบี) คือแพทย์ผู้สัญจรไปพร้อมกับวิชาความรู้ในการรักษา ท่านได้ตระเตรียมโอสถและอุปกรณ์สมานแผลด้วยการเผา (แผนโบราณ) ซึ่งจะใช้ต่อเมื่อจำเป็นต้องรักษาดวงใจที่มืดบอดและหนวกใบ้ ท่านจะให้การรักษาผู้หลงลืมและสับสนที่มิได้รับอานิสงส์จากวิทยปัญญา และไม่ยอมจุดประกายความคิดของตนให้สว่างด้วยรัศมีที่ส่องถึงเบื้องลึกของจิตวิญญาณ...”[2]

ท่านอิมามอลี(.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(..)ว่า طبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทราม โดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน จุดประสงค์ของสำนวนดังกล่าวคือ ท่านนบี(..)อาสาเสนอตัวเพื่อหวังรักษาความป่วยไข้ของเหล่าผู้หลงผิดอย่างเต็มใจ
คำว่ามะรอฮิม” (พหูพจน์ของ มัรฮัม แปลว่ายาทารักษาโรค) เป็นการเปรียบเปรยถึงความรู้และจรรยามารยาทอันงดงามของท่าน ส่วนคำว่ามะวาซิมก็เป็นการเปรียบเปรยการลงอาญาในกรณีของผู้ที่ดื้อแพ่งเกินกว่าจะฟังคำตักเตือนของท่าน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเปรียบเสมือนแพทย์สัญจรที่เตรียมโอสถรักษาโรคไว้พร้อมสรรพ ไม่ว่าจะยาทาหรืออุปกรณ์เผาเพื่อสมานแผล เพื่อใช้ในกรณีที่จำเป็นต้องรักษาผู้ป่วยที่มีใจมือบอด เพื่อจะช่วยฉุดดึงให้กลับเข้ามายอมรับวิทยปัญญาและก้าวเดินบนหนทางที่ถูกต้อง และเสริมโลกทรรศน์ให้กว้างไกล รักษาให้ได้ยินคำตักเตือนด้วยความปรารถนาดี
คำว่าศุมม์” (หูหนวก) ใช้เปรียบเปรยคนที่ทำหูทวนลมไม่ฟังคำตักเตือนใดๆ เนื่องจากผู้ที่หูหนวกมักไม่ได้รับประโยชน์จากทุกเสียง อันรวมไปถึงเสียงตักเตือนด้วย จึงนำมาเปรียบเปรยในที่นี้
นอกจากนี้ คำว่าบุกม์ก็ใช้เปรียบเปรยผู้ที่เงียบอมพะนำ ไม่พูดในสิ่งที่ควรจะพูด ไม่ต่างอะไรจากผู้ที่เป็นใบ้ จึงควรได้รับการรักษาให้หันมารำลึกถึงพระองค์และกล่าวสิ่งที่เปี่ยมด้วยสาระ 

ด้วยเหตุนี้ คนเราจึงจำเป็นต้องพึ่งพาแพทย์ทางจิตวิญญาญมากกว่าแพทย์ทางร่างกายหลายเท่า เนื่องจากการรักษาโรคของร่างกายเป็นไปเพื่อรักษาชีวิตอันมีอายุขัยจำกัด แต่การรักษาโรคทางจิตใจเป็นไปเพื่อชีวิตอันนิรันดร์

ข้อคิดที่ได้จากประเด็นนี้ก็คือ ในขณะที่วัตรปฏิบัติของแพทย์ทั่วไปคือการนั่งรอผู้ป่วยที่โรงพยาบาล แต่ท่านนบี(..)กระทำตรงกันข้ามโดยการเข้าหาผู้ป่วยแทน กล่าวคือ ท่านมีภาระกิจอันยิ่งใหญ่ในการขจัดโรคภัยทางจิตวิญญาณของมวลมนุษย์[3] ซึ่งภารกิจดังกล่าวจะบรรลุผลได้ก็ต่อเมื่อท่านสืบเสาะและรักษาผู้ป่วยไข้ทางจิตวิญญาณ

อิบนิ อบิลฮะดี้ด (นักอรรถาธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์) กล่าวถึงคำว่าแพทย์สัญจรไว้ว่า ท่านนบี(..)คือแพทย์สัญจร เนื่องจากแพทย์สัญจรจะมีประสบการณ์มากกว่า สำนวนดังกล่าวหมายถึงว่าท่านจะเป็นฝ่ายไปหาผู้ป่วย เพราะเหล่ากัลยาณชนคนใจงามมักจะเป็นฝ่ายเข้าหาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณเพื่อให้การรักษา กล่าวกันว่า มีผู้พบเห็นท่านนบีอีซาในบ้านของคนชั่วคนหนึ่ง ครั้นเมื่อมีผู้ทักท้วงท่านว่าที่นี่ไม่เหมาะสมกับท่าน ท่านกล่าวว่าแพทย์เป็นฝ่ายที่ควรตามรักษาผู้ป่วย[4]

 



[1] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คุฏบะฮ์ที่ 108

[2] ดู: อิบนิมัยษัม บะฮ์รอนี, ชัรฮ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, แปล: มุฮัมมะดี มุก็อดดัม, กุรบานอลี, นะวออี ยะฮ์ยาซอเดะฮ์, อลี อัศฆ็อร, เล่ม 3,หน้า 74-75,มูลนิธิวิจัยอิสลาม ธรรมสถานอิมามริฎอ และ อิบนิ อบิลฮะดี้ด,ชัรฮ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 7,หน้า 184, หอสมุดอายะตุลลอฮ์มัรอะชี นะญะฟี,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,1337

[3] คล้ายกับองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน ซึ่งปฏิบัติภารกิจอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าผู้ป่วยชาติใดก็ตาม

[4] อิบนิ อบิลฮะดี้ด,ชัรฮ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 7,หน้า 184

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เราสามารถที่จะใช้เงินคุมุสที่เกิดขึ้นจากการออมทรัพย์เพื่อการซื้อบ้านได้หรือไม่?
    4758 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ก่อนที่จะตอบคำถามของคุณจะต้องกล่าวว่า: ตามทัศนะของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีเงินออมจากกำไรของผลประกอบการนั้นแม้จะเป็นการออมเพื่อใช้ชำระในชีวิตประจำวันแต่เมื่อถึงปีคุมุสแล้วจะต้องชำระคุมุสนอกจากได้มีการออมเพื่อซื้อของใช้จำเป็นในชีวิตหรือค่าใช้ชำระจำเป็น
  • มีฟัตวาเกี่ยวกับอาชีพที่สองไหม? หรือว่าการมีอาชีพที่สองเท่ากับเป็นคนหลงโลก?
    6695 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ในทัศนะอิสลามไม่มีความหมายอันใดเกี่ยวกับอาชีพหรืออาชีพที่สอง, สิ่งที่ศาสนาอิสลามหรืออัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประณามเอาไว้คือ, ความลุ่มหลงและจิตผูกพันอยู่กับโลกทำให้ห่างไกลจากศีลธรรมและปรโลก
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    5897 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • ศาสดาอาดัม (อ.) และฮะวามีบุตรกี่คน?
    12022 تاريخ بزرگان 2554/06/22
    เกี่ยวกับจำนวนบุตรของศาสดาอาดัม (อ.) และท่านหญิงฮะวามีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั่นหมายถึงไม่มีทัศนะที่จำกัดที่ตายตัวแน่นอนว่าต้องเป็นเช่นนั้นเพียงประการเดียวเนื่องจากตำราที่เชื่อถือได้ทางประวัติศาสตร์มีความขัดแย้งกันในเรื่องชื่อและจำนวนบุตรของท่านศาสดาการที่เป็นที่เช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าช่วงเวลาที่ยาวนานของพวกเขากับช่วงเวลาการบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรืออาจเป็นเพราะชื่อไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขาก็เป็นได้และฯลฯกอฎีนาซิรุดดีนบัยฏอวีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านเกี่ยวกับจำนวนบุตรของท่านศาสดาอาดัม (อ.) กับท่านหญิงฮะวากล่าวว่า:ทุกครั้งที่ท่านหญิงฮะวาตั้งครรภ์จะได้ลูกเป็นแฝดหญิงชายเสมอเขาได้เขียนไว้ว่าท่านหญิงฮะวาได้ตั้งครรภ์ถึง 120
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55082 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • ฮุกุมของการขับร้องเพลงวันประสูติพร้อมกับการบรรเลง (ในงานเฉพาะสตรี)เป็นอย่างไร?
    5037 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    ในทัศนะของอิสลามเพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอมกล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟังและการรับค่า
  • จัดเลี้ยงวันเกิดเป็นฮะรอมหรือไม่?
    21175 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    การฉลองวันเกิดมิได้เป็นประเพณี (ซุนนะฮฺ) อิสลาม และคำสอนของศาสนาอิสลามก็ไม่ได้แนะนำไว้ว่า มนุษย์ต้องจัดฉลองวันเกิดของเขา แต่เราไม่ต้องการที่จะประณามการกระทำนี้ว่าเป็นประเพณีใหม่ แต่ก็ไม่อาจยอมรับการนำเข้าประเพณีอื่น ๆ อย่างสุ่มสี่สุ่มห้าได้ เนื่องจากเราเชื่อว่า ประเพณีต่างๆ จะต้องมีที่มาอันเป็นรากลึกในการรับรู้ของประชาชน แต่หลังจากการพิจารณาแล้วประเพณีเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความสมบูรณ์และการพัฒนาได้ ซึ่งสามารถให้นิยามสำหรับประเพณีใหม่นี้ ซึ่งเป็นวันเกิดของคนๆ หนึ่งให้มีความเหมาะสมกับเขา โดยตั้งชื่อว่า เป็นวันขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงดูและขาให้มีชีวิตอยู่นับตั้งแต่วันเกิด จนถึงบัดนั้น เช่นเดียวกันถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งสำหรับการคิดใคร่ครวญในอายุขัยของเขาว่า เขาได้ใช้ไปในหนทางใด และส่วนอายุขัยที่เหลือเขาจะใช้มันไปอย่างไร หรือมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการ ขั้นตอน และแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ วิงวอนต่อพระองค์ว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้ก้าวเดินต่อไปของเรามีแต่ความดีงาม ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา โปรดทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นวันที่ดีที่สุด และโปรดทำให้วันต่างๆ ของเราเป็นวันพบกับพระองค์ ด้วยเหตุนี้, การจัดงานวันเกิดสำหรับตนเองหรือบุตรหลาน, ถ้างานนั้นเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุหร่าย หรือไม่ขัดต่อชัรอียฺ, เช่น ไม่มีการขับกล่อมบรรเลงเพลงที่ฮะรอม เต้นรำ และ ...ร่วมอยู่ในงาน ถือว่าไม่เป็นไร ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับฮูรุลอัยน์ และถามว่าจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสุภาพสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10145 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/07/16
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.นอกจากนี้คำว่าฮูรุลอัยน์ยังสามารถใช้กับเพศชายและเพศหญิงได้ทำให้มีความหมายกว้างครอบคลุมคู่ครองทั้งหมดในสวรรค์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อคู่สาวสำหรับชายหนุ่มผู้ศรัทธาหรืออาจจะเป็นเนื้อคู่หนุ่มสำหรับหญิงสาวผู้ศรัทธา[i]นอกจากเนื้อคู่แล้วยังมี“ฆิลมาน”หรือบรรดาเด็กหนุ่มที่คอยรับใช้ชาวสวรรค์ทั้งชายและหญิงอีกด้วย[i]ดีดอเรย้อร(โลกหน้าในครรลองวะฮีย์),อ.มะการิมชีรอซี,หน้า
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    7957 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • จุดประสงค์ของท่านอิมามอะลี (อ.) จากการที่อัลลอฮฺทรงนิ่งเงียบต่อบางบทบัญญัติ? เพราะเหตุใดจึงตรัสว่าเพื่อการได้รับสิ่งนั้นไม่ต้องทำตนให้ลำบากดอก?
    6078 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/07
    ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในคำพูดของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงอธิบายแก่แท้ของทุกสิ่งเกี่ยวบทบัญญัติและวิชาการ, ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พระองค์มิทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่แก่มนุษย์ พระองค์ทรงนิ่งเงียบกับสิ่งเหล่านั้น, เช่น หน้าที่ในการรับรู้วิชาการบางอย่างโดยละเอียด ซึ่งไม่มีผลต่อปรโลกแต่อย่างใด, แต่พระองค์ก็มิได้เฉยเมยเนื่องจากการหลงลืมแต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺทรงห่างไกลจากการหลงลืมทั้งปวง, ทว่าเนื่องจากสิ่งนั้นไม่มีมรรคผลอันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง บางทีจุดประสงค์จาก การนิ่งเฉย เกี่ยวกับบางอย่าง, อาจเป็นเรื่องมุบาฮฺก็ได้ เช่น ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57326 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55082 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40347 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37408 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36054 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32376 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26675 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26111 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25941 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24123 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...