ผู้เยี่ยมชม
23007
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
รหัสในเว็บไซต์ fa18977 รหัสสำเนา 23229
คำถามอย่างย่อ
จัดเลี้ยงวันเกิดเป็นฮะรอมหรือไม่?
คำถาม
จัดเลี้ยงวันเกิดเป็นฮะรอมหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

การฉลองวันเกิดมิได้เป็นประเพณี (ซุนนะฮฺ) อิสลาม และคำสอนของศาสนาอิสลามก็ไม่ได้แนะนำไว้ว่า มนุษย์ต้องจัดฉลองวันเกิดของเขา แต่เราไม่ต้องการที่จะประณามการกระทำนี้ว่าเป็นประเพณีใหม่ แต่ก็ไม่อาจยอมรับการนำเข้าประเพณีอื่น ๆ อย่างสุ่มสี่สุ่มห้าได้ เนื่องจากเราเชื่อว่า ประเพณีต่างๆ จะต้องมีที่มาอันเป็นรากลึกในการรับรู้ของประชาชน แต่หลังจากการพิจารณาแล้วประเพณีเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความสมบูรณ์และการพัฒนาได้ ซึ่งสามารถให้นิยามสำหรับประเพณีใหม่นี้ ซึ่งเป็นวันเกิดของคนๆ หนึ่งให้มีความเหมาะสมกับเขา โดยตั้งชื่อว่า เป็นวันขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงดูและขาให้มีชีวิตอยู่นับตั้งแต่วันเกิด จนถึงบัดนั้น เช่นเดียวกันถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งสำหรับการคิดใคร่ครวญในอายุขัยของเขาว่า เขาได้ใช้ไปในหนทางใด และส่วนอายุขัยที่เหลือเขาจะใช้มันไปอย่างไร หรือมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการ ขั้นตอน และแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ วิงวอนต่อพระองค์ว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้ก้าวเดินต่อไปของเรามีแต่ความดีงาม ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา โปรดทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นวันที่ดีที่สุด และโปรดทำให้วันต่างๆ ของเราเป็นวันพบกับพระองค์

ด้วยเหตุนี้, การจัดงานวันเกิดสำหรับตนเองหรือบุตรหลาน, ถ้างานนั้นเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุหร่าย หรือไม่ขัดต่อชัรอียฺ, เช่น ไม่มีการขับกล่อมบรรเลงเพลงที่ฮะรอม เต้นรำ และ ...ร่วมอยู่ในงาน ถือว่าไม่เป็นไร

คำตอบเชิงรายละเอียด

การจัดงานฉลองวันเกิด มิได้เป็นแบบฉบับของอิสลาม และตามคำสอนของอิสลามก็มิได้แนะนำเอาไว้ว่า ให้มนุษย์จัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดของตัวเอง, หรือแม้แต่การให้เกียรติผู้หลักผู้ใหญ่ถึงแม้ว่าจะมีผลบุญ และมีผลสะท้อนในแง่ดีก็ตาม แต่ในประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกและตะวันออกก็ไม่เคยมีมาก่อน อัลลอฮฺ (ซบ.) ก็มิได้ทรงเอ่ยถึงวันเกิดของใครนอกจาก 2 เหตุการณ์ด้วยกัน กล่าวคือวันเกิดของศาสดามูซา (อ.) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเมตตากรุณาของพระองค์ ที่มีต่อมูซา และการให้เกียรติอันเฉพาะเจาะจงสำหรับเขา และทรงช่วยเหลือเขาให้รอดพ้นจากน้ำมือของฟาโรห์ และทรงชุบเลี้ยงให้เติบโตขึ้นมาภายในครอบครัวของเขา อัลกุรอานกล่าวว่า < فَالْتَقَطَهُ آلُ فِرْعَوْنَ لِيَكُونَ لَهُمْ عَدُوًّا وَ حَزَناً >:  ดังนั้น บริวารของฟิรเอานได้เก็บเขาขึ้นมา (จากน้ำ) เพื่อให้เขากลายเป็นศัตรูและเป็นความเศร้าโศกแก่พวกเขา[1]

สองวันประสูติศาสดาอีซา (อ.) ในฐานะที่เป็นแหล่งเผยอำนาจของพระเจ้า, แต่พระองค์มิได้กล่าวถึงการประสูติของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และศาสดาท่านอื่นเลย, เนื่องจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องถือกำเนิดตามวาระกำหนด, จึงไม่มีคุณค่าอันใดพิเศษสำหรับเขา ด้วยเหตุนี้เองชัรอียฺอิสลาม จึงมิได้มีการแนะนำว่าให้จัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดแก่ตนเองแต่อย่างใด หรือแม้แต่วันประสูติของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) หรือบุคคลอื่นก็มิได้สนับสนุนให้จัด ในกรณีนี้บรรดามุสลิมได้ลอกเรียนแบบวัฒนธรรมของคนอื่นมา และจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติให้แก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังที่บรรดาคริสเตียนได้จัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้แก่ผู้อาวุโส นักวรรณกรรม นักศีลปะ และผู้มีความสำคัญในชีวิตของพวกเขา ขึ้นทุกปี หรือแม้แต่จุดเริ่มต้นของวันที่ ก็ถือเอาวันเกิดของศาสดาอีซา (อ.) เป็นที่ตั้ง ขณะที่มุสลิมได้ถือเอาการอพยพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในครั้งแรกเป็นเริ่มต้นวันที่และปี

อย่างไรก็ตาม เรามิได้มองการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดไปในแง่ลบ หรือไม่ดีแต่อย่างไร,เนื่องจากเราถือว่าการลอกเรียนแบบลักษณะนี้ หรือการจัดงานฉลองวันเกิดให้แก่ผู้อาวุโสแห่งอิสลาม มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด เนื่องจากงานเหล่านี้หรือการให้ความสำคัญต่อต่อการฉลองวันเกิด ทำให้ประชาชนได้รู้จักบรรดาคำสอน ความพยายาม สาส์น และจริยธรรมของบรรดาท่านผู้นำเหล่านั้นดียิ่งขึ้น เพื่อประยุกต์ตนเองให้เข้ากับคำสอนเหล่านั้น และเท่ากับเป็นการนำเสนอท่านเหล่านั้นเพื่อให้สังคมได้รู้จักอีกครั้ง และเป็นการทำให้ประชาชาติมุสลิมมีความสนุกสนานรื่นเริง ประกอบกับได้นำเอาวิถีชีวิตของท่านเหล่านั้น มาเป็นแบบอย่าง หรือปลุกเร้าประชาชนให้ตื่นตัวในทุกปี จากจุดนี้เองที่เรามีความเห็นต่าง และไม่เห็นด้วยกับมุสลิมบางกลุ่มที่ต่อต้านการจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูตินบี (ซ็อล ฯ) โดยกล่าวโจมตีว่าการจัดงานดังกล่าว เป็นบิดอะฮฺ (อุปโลกน์) ขึ้นใหม่ในอิสลามและฮะรอม, ด้วยเหตุผลว่า บิดอะฮฺ มิได้ครอบคลุมภารกิจซึ่งประชาชนรู้ว่า มิได้มีกฎเกณฑ์อันใดมาจากพระเจ้าในเรื่องนั้น เพื่อจะได้กล่าวว่านั้นเป็นซุนนะฮฺที่ฮะรอม. 2) การจัดงานฉลองวันเกิดมีผลในแง่บวก, เนื่องจากได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชาติอิสลาม กับบรรดาผู้นำศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในโลกอิสลาม และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกับท่านเหล่านั้น ได้นำเอาแบบอย่างของพวกเขา ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยแนวคิด ประสบการณ์ สาระอันเป็นแก่สาร มาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตัว และเป็นแบบอย่างแก่ชีวิตของพวกเขา อีกด้านหนึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ทรงสั่งห้ามโดยถือว่าการจัดงานฉลองวันเกิด วันตรุษ และการแสดงความสุขสันต์ต่อกันเป็นสี่งฮะรอม หรือการปฏิบัติตามแบบอย่าง เฉกเช่น การนำเอาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตที่ผลิตขึ้นมา ซึ่งชีวิตมนุษย์คุ้นเคย ต้องใช้ประโยชน์ และต้องใช้ชิวิตอยู่ร่วมกับสิ่งเหล่านั้น ถือว่าไม่เป็นไร

ปัญหาเรื่องการจัดงานฉลองวันเกิดสำหรับบุคคลหนึ่ง, ถือว่าเป็นสภาพของการแสดงความเป็นมิตร และความใกล้ชิด ซึ่งบุคคลหนึ่งได้จัดขึ้นเนื่องจากตัวเขาได้ย่างก้าวเข้ามาสู่โลก หรือเพื่อสำเหนียกการดำเนินชีวิตตลอดระยะหนึ่งปีที่ผ่านมา เราไม่ต้องการทำร้ายประเพณีเหล่านี้ แม้ว่าเราจะไม่ยอมรับการนำเข้าประเพณีของคนอื่นโดยการปฏิบัติตามเยี่ยงคนตาบอด เนื่องจากโดยหลักการแล้วเชื่อว่า ประเพณีและแบบอย่างต่างๆ ต้องมีรากที่มาที่ลุ่มลึกเพื่อสร้างความชัดเจนแก่ประชาชาติ แต่หลังจากได้รับรู้ประเพณีเหล่านี้แล้ว หรือประเพณีเหล่านี้ได้ถูกจัดขึ้นในสังคมแล้ว เราสามารถทำให้มีความสมบูรณ์เกิดขึ้นได้ เช่น งานฉลองวันเกิดบุตรหลานของตน เราสามารถดัดแปลงเป็นงานขอบคุณต่อพระเจ้า ที่พระองค์ทรงโปรดประทานความโปรดปราน และชีวิตแก่เราตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นโอกาสหนึ่งสำหรับการกล่าวสรรเสริญต่อพระองค์ ด้วยวิธีการเฉกเช่นที่ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้ต้อนรับยามรุ่งอรุณในตอนเช้าและยามพลบค่ำ โดยกล่าวว่า ..

«و هذا يوم حادث جديد و هو علينا شاهد عتيد، ان احسنّا ودّعنا بحمد، و ان اسأنا فارقنا بذم»

“วันนี้คือ วันเกิดขึ้นใหม่ วันซึ่งเพิ่งจะมาถึงใหม่ เป็นวันซึ่งได้ยืนยันต่อการกระทำของเรา ถ้าหากเรากระทำสิ่งดีขอให้เราจากวันนี้ด้วยการสรรเสริญพระองค์, แต่ถ้าเรากระทำชั่วร้ายขอให้เราแยกออกจากความชั่วร้ายนั้นด้วยเถิด”[2]

ดังนั้น เราสามารถดัดแปลงประเพณีที่เกิดขึ้นใหม่ หรืองานฉลองวันเกิดของบุคคล ให้เป็นงานที่คู่ควรเหมาะสมต่อการสรรเสริญขอบคุณพระเจ้า ที่พระองค์ได้ดูแลเขาตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบัน, อีกทั้งเป็นโอกาสดีสำหรับการคิดใคร่ครวญว่า เขาได้ใช้ชีวิตไปอย่างไรตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา และชีวิตที่เหลือเขาควรจะปรับปรุงแก้ไขให้ดีได้อย่างไร และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงวิงวอนต่อพระองค์ว่า :

«اللّهم اجعل مستقبل امرى خيراً من ماضيه و خير اعمالى خواتيمها و خير ايامى يوم القاك فيه»؛

“โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้ก้าวเดินต่อไปของเรามีแต่ความดีงาม ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา โปรดทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นวันที่ดีที่สุด และโปรดทำให้วันต่างๆ ของเราเป็นวันพบกับพระองค์”[3]

ด้วยเหตุนี้, การจัดงานวันเกิดสำหรับตนเองหรือบุตรหลาน, ถ้างานนั้นเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุหร่าย หรือไม่ขัดต่อชัรอียฺ, เช่น ไม่มีการขับกล่อมบรรเลงเพลงที่ฮะรอม เต้นรำ และ ...ร่วมอยู่ในงาน ถือว่าไม่เป็นไร

 

 


[1] อัลกุรอาน บทเกาะซ็อซ 8.

[2] คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลของซัยยิด ฟัฏลุลลอฮฺ

[3] อ้างแล้ว

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ