Please Wait
13494
พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงาม ความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเ
พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา แต่เขากลับเลือกหนทางที่ถูกต้อง, แน่นอน เวลานั้นเขาจะสูงส่งกว่ามลาอิกะฮฺ เพราะว่ามวลมลาอิกะฮฺไม่มีพลังของเดรัจฉานและชัยฏอนมาลวงล่อใจ แต่ถ้ามนุษย์เลือกแนวทางผิด แน่นอนตรงนี้เขาจะตกต่ำยิ่งกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย เนื่องจากสรรพสัตว์ไม่มีพลังแห่งปัญญาในการคิดเหมือนกับมนุษย์
ถ้าหากพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาให้สมบูรณ์ตั้งแต่แรกและมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ สิ่งนี้จะไม่ถือว่าเป็นความสมบูรณ์ในเชิงของเจตนารมณ์เสรี เพราะพระเจ้าทรงสร้างสิ่งสมบูรณ์ที่สุดก่อนหน้าพวกเขามาแล้วตั้งแต่ต้น ดังนั้น จุดประสงค์ของการสร้างมนุษย์จะบรรลุก็ต่อเมือเขามีศักยภาพของความสมบูรณ์ และมีเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไม่สามารถเข้าถึงความสมบูรณ์แบบของอัลลอฮฺได้ แม้ว่าจุดประสงค์หลักของการสร้างมนุษย์ – ก็คือการวางกฎหมายของพระเจ้า -- ยังไม่บรรลุผลก็ตาม แต่ไม่ได้คัดค้านการสร้างมนุษย์ในเป้าหมายของการรังสรรค์โดยการกำหนดกฎเกณฑ์จากพระองค์ เนื่องจากพระเจ้าทรงอุปสงค์ (การพัฒนาความต้องการ) ให้พวกเขาสามารถเลือกหนทางที่ถูกหรือผิดได้ด้วยตนเอง ถ้าหากพระเจ้าทรงให้การเลือกแนวทางผิดพลาดเป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์แล้ว ความเชื่อและเชื่อฟังปฏิบัติตามของเขา ก็จะไม่เป็นความประสงค์หรือเจตนารมณ์เสรีของเขา
เพื่อความเข้าใจอันดีงามในคำตอบ จำเป็นต้องพิจารณาเนื้อหาบางอย่างต่อไปนี้ :
ก. จุดประสงค์ของพระเจ้าในการสร้าง :
1) พระเจ้าผู้ทรงอำนาจในฐานะที่เป็น วาญิบุลวุญูด (จำเป็นต้องมี) การมีอยู่ของพระองค์ไม่เกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่มีข้อจำกัดและข้อบกพร่อง พระองค์มีความสมบูรณ์แบบทั้งหมด
2) เนื่องจากพระองค์ทรงงดงามทรงเมตตา พระองค์ตรัสในอัลกุรอานว่า :และการประทานให้ของพระเจ้าของเจ้านั้นมิถูกห้าม (แก่ผู้ใด)[1] พระเจ้านั้นการประทานให้จากพระองค์ไม่มีข้อจำกัดอันใดทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าหากพระองค์ไม่ประทานให้ทุกที่ ก็เนืองมาจากศักยภาพในการรับมีข้อจำกัด มิใช่ผู้ให้มีข้อจำกัด ฉะนั้น ทุกสิ่งที่คู่ควรต่อการให้พระองค์จะประทานให้เขา
3) ทุกสิ่งที่ดีและความสมบูรณ์แบบนั้นมาจากพระองค์ และทุกความบกพร่องและทุกความชั่วร้ายเกิดขึ้นจากการไม่มี ตัวอย่างเช่น ความรู้เป็นสิ่งที่ดีและเป็นความสมบูรณ์แบบ, ความไม่รู้, ความชั่วร้าย และความล้มเหลวเป็นความบกพร่อง นอกจากนี้อำนาจ ที่เผชิญกับความไร้อำนาจหรือไร้ความสามารถ ถือเป็นความสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าการมีอยู่เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งนั้นคือ ทุกความชั่วร้ายและความบกพร่องไม่มีอยู่จริง
4) เมื่อพิจารณาบทนำที่สามแบ้วสามารถได้บทสรุปว่า ความงดงามและความเมตตาของพระเจ้าการสร้างสรรค์ของพระองค์จะสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ความจำเป็นของความงดงามคือ การสร้างสรรค์
อีกนัยหนึ่ง ถ้าหากสิ่งสมควรและเหมาะสมต่อการสร้าง แต่พระองค์ไม่ทรงสร้าง ซึ่งการไม่สร้างของพระองค์ประกอบกับความดีของการมีอยู่ ถือว่าเป็นการขัดขวางความดีและเป็นความตระหนี่ถี่เหนียวอย่างยิ่ง แน่นอนว่า ความตระหนี่ถี่เหนียวเป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์ จากบทนำดังกล่าวได้บทสรุปว่า ถ้าหากถามว่า เพราะสาเหตุใดพระเจ้าจึงสร้าง คำตอบคือ เพราะความเมตตาและความงดงามของพระองค์นั่นเอง
5) คุณลักษณะของพระเจ้ามิใช่สิ่งเพิ่มเติมบนอาตมันของพระองค์ คุณลักษณะของมนุษย์และร่างกายส่วนอื่น ๆ คือสิ่งที่เพิ่มเข้ามาบนตัวตนของเขา ตัวอย่าง เช่น ผลแอ
ปเปิ้ลหนึ่งผล แต่มีคุณสมบัติคือผิวสีแดง และรสชาติหวาน สีแดงกับความหวานคือสิ่งที่นอกเหนือไปจากแก่นแท้ของแอปเปิ้ล ดังนั้น แอปเปิ้ล อาจแทนที่คุณสมบัติดังกล่าวด้วยการมี รสเปรี้ยว สีเขียว แก่นแท้ของแอปเปิ้ลก็ยังคงอยู่
บทวิพากษ์เกี่ยวกับ ความเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้า เป็นหนึ่งในวิชาวิพากษ์วิทยาที่ลุ่มลึก ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหมวด ความเป็นเอกะของพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ สิ่งที่สำคัญสำหรับเราในที่นี้คือ ความเป็นผู้มีเมตตาและงดงาม— คือสาเหตุสุดท้ายของการสร้าง – เป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ ซึ่งไม่ได้ออกจากอาตมันของพระองค์ ดังนั้น ถ้าถามว่า เพราะเหตุใดพระเจ้าทรงสร้าง เราสามารถกล่าวได้ว่า "เนื่องจากทรงเป็นพระเจ้า ดังนั้น สาเหตุสุดท้ายอันที่จริงก็คือพระเจ้า และนี่ก็คือคำพูดในเชิงปรัชญาของเราที่กล่าวว่า สาเหตุสิ้นสุดและสาเหตุของการกระทำในการกระทำพระเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกัน[2] บางทีอาจเป็นไปได้ที่จะนำเอาคุณลักษณะนั้นออกมาจากบางโองการ[3] เช่นกัน ที่กล่าวว่า และยัง: และยังพระองค์การงานทั้งมวลจะถูกนำกลับไป [4]
ข.จุดประสงค์ของของพระเจ้าในการสร้างมนุษย์ :
สิ่งที่กล่าวมาแล้วคือ เป้าหมายของผู้กระทำในการสร้างทั่วไป แต่จุดมุ่งหมายของผู้สร้างในการสร้างสิ่งอันเฉพาะ เช่น มนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยจุดที่เป็นความพิเศษ ซึ่งจุดพิเศษเกี่ยวกับมนุษย์นั้นก็คือ ความสมบูรณ์แบบอันเฉพาะบางประการ ซึ่งพระเจ้าประสงค์ที่จะสร้างสิ่งนั้นด้วยการสร้างมนุษย์
คำอธิบาย : ความสมบูรณ์แบบการเป็นผู้งดงามของพระเจ้าคือ พระองค์สามารถสร้างทุกความสมบูรณ์ที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งก่อนการสร้างมนุษย์พระองค์ได้สร้างสิ่งอื่นที่มีความสมบูรณ์แบบมาก่อน ซึ่งสิ่งมีชีวิตนั้นเรียกว่าทูตสวรรค์หรือมะลาอิกะฮฺ มวลมะลาอิกะฮฺเป็นสิ่งถูกสร้างสมบูรณ์แบบนับตั้งแต่เริ่มต้นของการสร้าง หมายถึง มีความสมบูรณ์โดยรูปธรรม ดังนั้น มวลมะลาอิกะฮฺจึงไม่มีโอกาสไปถึงยังความสมบูรณ์แบบใหม่ และการมีอยู่ของมะลาอิกะฮฺก็จะไม่สมบูรณ์ยิ่งไปกว่านี้อีก อัลลอฮฺ ตรัสด้วยภาษาของมะลาอิกะฮฺว่า: และไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเรา เว้นแต่เขาได้มีตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้แล้ว แท้จริง เรานั้นเป็นผู้ที่ยืนเข้าแถวอยู่แล้ว แท้จริง เรานั้นเป็นผู้แซ่ซ้องสดุดีอัลลอฮฺ”[5]
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : ต่อมาพระองค์ทรงเปิดเผยสิ่งที่อยู่ท่ามกลางฟากฟ้าอันสูงส่ง ทรงจัดสรรให้ที่นั่นดาษดื่นไปด้วยมวลมลาอิกะฮฺของพระองค์ที่มีหน้าที่สลับสับเปลี่ยนกันไป จำนวนหนึ่งมุ่งมั่นเฉพาะการกราบกรานโดยไม่ได้โค้ง อีกจำนวนหนึ่งมุ่งมั่นเฉพาะการโค้งคารวะโดยไม่ได้เงยขึ้นเลย จำนวนหนึ่งได้ประชิดแถวเข้าด้วยกันโดยไม่แยกจากกัน มลาอิกะฮฺจำนวนหนึ่งสรรเสริญพระองค์โดยไม่เหนื่อยหน่าย”[6] พวกเขาได้มนัสการพระเจ้าและนี่คือความสมบูรณ์ที่พระเจ้าทรงประทานแก่พวกเขา ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ อัลลอฮฺ ตรัสว่า : พวกเขาจะไม่ชิงกล่าวคำพูดก่อนพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์[7] บางโองการตรัสว่า : ไฟนรกซึ่งเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน มีมลาอิกะฮฺผู้แข็งกร้าวคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชาอย่างเคร่งครัด”[8]
พระเจ้าเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีความงดงาม ซึ่งนอกจากมลาอิกะฮฺที่มีความสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว พระองค์ยังทรงประสงค์ที่จะสร้างความสมบูรณ์แบบที่เหนือกว่ามลาอิกะฮฺขึ้นไปอีก ซึ่งความสมบูรณ์แบบนั้นอยู่ในการเลือกสรรของมนุษย์ หมายถึง พระองค์จะทรงสร้างสรรพสิ่งหนึ่งซึ่งความสมบูรณ์ทั้งหมดเหล่านี้ เขาสามารถนำมาได้ด้วยการเลือกสรรและเจตนารมณ์เสรีของตน ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มนุษย์ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มต้นเขาไม่มีความสมบูรณ์นี้อยู่ในตัว แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการเขาสามารถไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้ เป็นที่ชัดเจนว่า ความสมบูรณ์ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์เสรีและการเลือกสรรอย่างเสรีของตน ซึ่งแน่นอนว่าความสมบูรณ์อันนั้นสูงส่งกว่าความสมบูรณ์ของมลาอิกะฮฺเสียอีก ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรทรงสร้างมลาอิกะฮฺขึ้นจาก ภูมิปัญญา และไม่ได้ประทานความต้องการแก่มลาอิกะฮฺ พระองค์ทรงสร้างบรรดาสรรพสัตว์ขึ้นมาจากความต้องการ (ชะฮฺวัต) และไม่ได้มอบปัญญาแก่สรรพสัตว์ ขณะที่พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากสติปัญญาและความต้องการ ดังนั้น ใครก็ตามที่เอาสติปัญญาควบคุมต้องการได้ เขาจะสูงส่งกว่ามลาอิกะฮฺ แต่บุคคลใดก็ตามเอาความต้องการควบคุมสติปัญญา เขาจะเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน[9] เมาลาได้เน้นย้ำประเด็นดังกล่าวไว้ว่า
ฮะดีซ กล่าวถึงการรังสรรค์อันสูงส่ง
พระองค์ทรงสร้างจักรวาลใน 3 ลักษณะ
กลุ่มหนึ่ง เปี่ยมด้วยสติปัญญาและความรอบรู้
นามว่ามลาอิกะฮฺ พวกเขาไม่รับรู้สิ่งใดนอกจากการกราบกราน
ความโลภ และโมหะไม่มีอยู่ในตัว
รัศมีสมบูรณ์แห่งชีวิตคือความรักต่อพระเจ้า
อีกกลุ่มหนึ่ง ไม่มีความรอบรู้
นามว่าสัตว์ ไม่รู้จักสิ่งใดนอกจากใบหญ้า
มันมองไม่เห็น เว้นแต่คอกและยอดหญ้า
มันไม่เห็นมีเกียรติและศักดิ์ศรี
กลุ่มที่สามนามว่ามนุษย์ผู้มีเนื้อหนัง
ครึ่งหนึ่งจากเทพแห่งฟากฟ้าและครึ่งหนึ่งจากลาผู้โง่เขลา
ครึ่งหนึ่งของลาคือความต่ำทราม
อีกครึ่งหนึ่งคือความสูงศักดิ์
สิ่งใดมีชัยเหนืออีกสิ่งในการต่อสู้
คือเครื่องประดับที่จะชนะคู่ต่อสู้
ดังนั้น จุดประสงค์ของผู้กระทำและสาเหตุสุดท้ายในการสร้างมนุษย์ คือความงดงามของพระเจ้า ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับความงดงามของพระเจ้าคือ การสร้างความสมบูรณ์แบบที่เป็นไปได้ สมบูรณ์ซึ่งดีกว่าความสมบูรณ์นั้นคือ ความสมบูรณ์ยิ่งกว่า
ค. ทำไมพระเจ้าจึงไม่สร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์ :
ถ้าหากพิจารณาเรื่องราวที่ได้นำเสนอไป สามารถสรุปได้ว่า จุดประสงค์ในการสร้างมนุษย์จะมีความเป็นไปได้ก็ต่อเมือ มนุษย์มีศักยภาพที่จะไปถึงยังความสมบูรณ์ ซึ่งเขาจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ด้วยการกระทำและเจตนารมณ์เสรีของตนเอง ในขณะที่ถ้าเขามีความสมบูรณ์แบบนั้นตั้งแต่แรกแล้ว ความสมบูรณ์แบบนั้นก็จะไม่ได้เกิดจากเจตนารมณ์เสรีของตน และจุดประสงค์ในการสร้างมนุษย์ก็จะบกพร่อง
สิ่งที่ควรพิจารณาคือ แม้แต่การพัฒนาขั้นหนึ่งของบันไดแห่งความสมบูรณ์สำหรับมนุษย์, ก็จะถูกนับว่าเป็นความสมบูรณ์ที่เกิดจากเจตนารมณ์เสรี ซึ่งจะทำให้จุดประสงค์หลักของการสร้างนั้นสมบูรณ์ไปด้วย
ง. มนุษย์ผู้ปฏิเสธและมีความผิด :
ถ้าหากมนุษย์ไม่สามารถวิวัฒนาการความสมบูรณ์ของตนขึ้นไปสักขั้นหนึ่ง ตลอดอายุขัยของเขาก็จะจมปรักอยู่กับบาปกรรมและการปฏิเสธ ซึ่งเท่ากับเขาได้ออกจากจุดประสงค์ของการสร้าง เนื่องจากเขาได้ทำให้ศักยภาพของตนเป็นรูปธรรมขึ้นมา ทั้งที่ในตัวมนุษย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนไปสู่ก้นบึ้งของความตกต่ำ อันเป็นชั้นที่ต่ำที่สุด พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะที่ว่าเขาสามารถเลือกหนทางสมบูรณ์หรือหนทางตกต่ำก็ได้ แม้คนผิดและผู้ปฏิเสธก็จะไม่ขับเคลื่อนไปในหนทางที่ขัดแย้งกับความประสงค์ที่ดีของพระเจ้า ทว่าพระเจ้าทรงทรงยอมรับความสูงส่งของมนุษย์ไปตามความสมบูรณ์แต่ไม่ทรงยอมรับความตกต่ำของเขา อีกนัยหนึ่ง ในการสร้างมนุษย์ของพระเจ้านั้นทรงมีจุดประสงค์ที่เป็นตักวียน์ และตัชรีอีย์ จุดประสงค์ที่เป็นตักวีนีย์คือ : มนุษย์ทุกคนสามารถทำให้ศักยภาพของตนเป็นรูปธรรมทั้งดีและไม่ดีได้ ส่วนความต้องการที่เป็นตัชรีอีคือ เฉพาะพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์เท่านั้น ที่มนุษย์สามารถเปลี่ยนศักยภาพให้เป็นรูปธรรม
จากคำอธิบายสามารถกล่าวได้ว่า ผู้ศรัทธาคือผู้ที่ทำให้จุดประสงค์ที่เป็นตัชรีอีย์ บรรลุผลและตนยังตั้งอยู่ในจุดประสงค์ที่ป็นตักวีนีย์อีกด้วย ส่วนผู้ปฏิเสธและคนบาป แม้ว่าจะไม่ทำให้เป้าหมายของตัชรีอีบรลุผล แต่ก็ยังอยู่ในเป้าหมายของตักวีนียะฮฺ
หมายเหตุ : เนื่องจากการให้ความสำคัญต่อประเด็นของการมีอยู่ มีเหตุผลอ้างอิงเป็นจำนวนมาก เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับการศึกษาค้นคว้าต่อไป
[1] อัลกุรอานบทอัสรอ 20
[2] เฏาะบาเฏาะบาอี มุฮัมมัดฮุซัยนฺ อัลมีซาน เล่ม 8 หน้า 44, มิซบายัซดี มุฮัมมัดตะกี มะอาริฟกุรอาน เล่ม 1 หน้า 154
[3] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 210, อาลิอิมรอน 109, อินฟิอาล 144, ฮัจญ์ 76, ฟาฏิร 4, ฮะดีด 5
[4] อัลกุรอาน บทฮูด 123
[5] อัลกุรอานบทซอฟาต 164-166
[6] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนา 1
[7] อัลกุรอาน บทอัลอันบิยาอ์ 27
[8] อัลกุรอาน บทอัตตะฮฺรีม 6
[9] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 11 หน้า 164