การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7100
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7416 รหัสสำเนา 20023
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
การสู่ขออดีตภรรยาของอับดุลลอฮ์ บิน สะลามที่ชื่ออุร็อยนับโดยอิมามฮุเซน(อ.)และยะซีดในเวลาเดียวกัน มีผลต่อเหตุการณ์กัรบะลาอย่างไร?
คำถาม
1. เรื่องราวการสู่ขออุร็อยนับ อดีตภรรยาของอับดุลลอฮ์ บิน สะลาม โดยอิมามฮุเซน(อ.)และยะซีดในเวลาเดียวกัน เชื่อถือได้เพียงใด?
2. หากเชื่อถือได้ กรุณาเล่ารายละเอียดให้ฟังด้วยค่ะ
3. คุณคิดว่าอิมามฮุเซน(อ.)เข้าไปพัวพันกับเรื่องนี้เพื่ออะไร?
4. จริงหรือไม่ที่ว่าเรื่องดังกล่าวมีส่วนทำให้ยะซีดโกรธและบงการให้เกิดเหตุนองเลือดที่กัรบะลา
จะขอบคุณมาก หากจะกรุณาแนะนำหนังสือภาษาฟารซีเกี่ยวกับเรื่องนี้
คำตอบโดยสังเขป

ตำราประวัติศาสตร์บางเล่มระบุว่า แม้ยะซีดจะมีสิ่งบำเรอกามารมณ์อย่างครบครัน แต่ก็ยังอยากจะเชยชมหญิงที่มีสามีแล้วอย่างอุร็อยนับ บินติ อิสฮ้าก ภรรยาของอับดุลลอฮ์ บิน สะลาม
มุอาวิยะฮ์ผู้เป็นพ่อของยะซีดจึงคิดอุบายที่จะพรากหญิงสาวคนนี้จากสามีเพื่อให้ลูกชายของตนสมหวังในกามราคะ อิมามฮุเซน(.) ทราบเรื่องนี้เข้าจึงคิดขัดขวางแผนการดังกล่าว โดยใช้บทบัญญัติอิสลามทำลายอุบายของมุอาวิยะฮ์ และปล่อยให้อุร็อยนับคืนสู่อับดุลลอฮ์ บิน สะลามผู้เป็นสามีอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ยะซีดหมดโอกาสที่จะย่ำยีครอบครัวนี้ได้อีกต่อไป
แม้รายงานทางประวัติศาสตร์ชิ้นนี้จะมีข้อกังขามากพอสมควร แต่สมมติว่าเป็นเรื่องจริง ก็มิไช่เรื่องเสียหายสำหรับอิมามฮุเซนแต่อย่างใด กลับจะชี้ให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดและเมตตาธรรมของท่านในการรักษาเกียรติยศครอบครัวมุสลิมได้เป็นอย่างดี
อนึ่ง ไม่มีตำราที่มีชื่อเสียงเล่มใดระบุว่าเรื่องราวดังกล่าวเป็นสาเหตุให้ยะซีดแค้นฝังใจและก่อเหตุนองเลือดที่กัรบะลา

คำตอบเชิงรายละเอียด

สิ่งที่ตำราประวัติศาสตร์บันทึกไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ในรัชสมัยของมุอาวิยะฮ์ มีสตรีผู้ศรัทธาคนหนึ่งนามว่า อุร็อยนับ บุตรีของอิสฮ้าก ซึ่งชื่อเสียงความงดงามของเธอเลื่องลือไปทั่ว
ยะซีดซึ่งยังดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมารอยู่ ได้ยินเช่นนั้นก็หลงรักเธอ แต่ก่อนที่ยะซีดจะดำเนินการเพื่อให้ได้เชยชมเธอ เธอก็ตัดสินใจแต่งงานกับญาติที่มีนามว่า อับดุลลอฮ์ บิน สะลาม เสียก่อน และใช้ชีวิตที่แผ่นดินอิรักอย่างรื่นรมย์ใจ

มุอาวิยะฮ์ผู้เป็นพ่อทราบความทั้งหมด จึงสัญญาว่าจะทำให้ยะซีดสมปรารถนาให้จงได้ โดย  เวลานั้นอับดุลลอฮ์เป็นข้าราชการคนหนึ่งของมุอาวิยะฮ์ในอิรัก มุอาวิยะฮ์เรียกตัวอับดุลลอฮ์มาที่เมืองชาม โดยแจ้งแก่เขาผ่านอบูดัรดาอ์และอบูฮุร็อยเราะฮ์ว่าประสงค์จะยกลูกสาวตนให้แต่งงานกับอับดุลลอฮ์ เนื่องจากมีศักยภาพพอที่จะเป็นราชบุตรเขยของมุอาวิยะฮ์

อับดุลลอฮ์ตอบรับอุบาย อบูฮุร็อยเราะฮ์และอบูดัรดาอ์รีบแจ้งแก่มุอาวิยะฮ์  มุอาวิยะฮ์ซักซ้อมกับลูกสาวตนเองว่า หากสองคนนั้นมาสู่ขอเธอให้อับดุลลอฮ์ จงแสร้งทำเป็นตอบรับการสู่ขอ แต่จงบอกไปว่าเธอมีเงื่อนไขว่าอับดุลลอฮ์จะต้องหย่าขาดจากภรรยาคนเก่าเสียก่อนจึงจะยอมแต่งงาน
ในที่สุด อับดุลลอฮ์ก็หลงอุบายและยอมหย่าจากภรรยา โดยขอให้มุอาวิยะฮ์ทำตามสัญญาที่ให้ไว้

มุอาวิยะฮ์ตอบว่าหากลูกสาวของข้าพึงพอใจ ข้าก็ไม่ว่ากระไรอบูดัรดาและอบูฮุร็อยเราะฮ์หารือกับลูกสาวมุอาวิยะฮ์และแจ้งให้ทราบว่าอับดุลลอฮ์ได้หย่าจากอุร็อยนับแล้ว แต่นางตอบว่า ขอฉันไตร่ตรองเกี่ยวกับเรื่องนี้เสียก่อน

เวลาผ่านไปกระทั่งอิดดะฮ์ของอุร็อยนับสิ้นสุดลง ทั้งสองคนสอบถามลูกสาวมุอาวิยะฮ์อีกครั้ง นางตอบปฏิเสธว่าฉันเห็นว่าไม่เหมาะสม !มุอาวิยะฮ์รีบส่งสองคนนี้ไปที่อิรักเพื่อให้สู่ขออุร็อยนับให้แก่ยะซีด เมื่อทั้งสองย่างเข้าสู่อิรัก ก็ทราบว่าอิมามฮุเซน(.) ก็พำนักอยู่ที่อิรักเช่นกัน จึงตัดสินใจจะไปเยี่ยมอิมามก่อน แล้วจึงหวนไปปฏิบัติภารกิจของมุอาวิยะฮ์ต่อ เมื่อได้พบอิมาม ท่านถามว่า พวกท่านมาทำอะไรที่อิรัก? อบูดัรดาเล่าความทั้งหมดให้อิมามฟัง ท่านจึงกล่าวว่าฉันเองก็ตัดสินใจจะสู่ขออุร็อยนับอยู่เหมือนกัน ในเมื่อท่านจะไปอยู่แล้ว ก็ขอฝากไปบอกเรื่องนี้แก่เธอด้วยเมื่อไปถึงบ้านอุร็อยนับ อบูดัรดาจึงสู่ขอให้กับยะซีดและอิมามฮุเซนพร้อมกัน นางขอคำปรึกษาว่าจะเลือกผู้ใดดี อบูดัรดาตอบว่า อิมามฮุเซนเหมาะจะเป็นสามีของเธอมากกว่า ด้วยเหตุฉะนี้ อิมามฮุเซนจึงแต่งงานกับเธอด้วยสินสอดเท่ากับจำนวนเงินที่ยะซีดฝากมาเพื่อการนี้

เมื่ออับดุลลอฮ์ (ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ที่เมืองชาม) ทราบว่าตนเองพ่ายกลอุบายของมุอาวิยะฮ์และถูกตัดเงินเดือน จึงกลับสู่อิรักเพื่อจะมารับของที่เคยฝากไว้กับอุร็อยนับคืนไป เขาเข้าพบอิมามฮุเซนและแจ้งว่าต้องการเพียงแค่จะรับของฝากจากอดีตภรรยาเท่านั้น เมื่ออดีตคู่รักเจอหน้ากัน จึงหวลรำลึกถึงอดีตแล้วร้องไห้ด้วยกัน ท่านอิมามเห็นเช่นนั้นจึงสงสารพร้อมกับกล่าวว่าฉันหย่าขาดจากนางสามครั้งแล้ว โอ้อัลลอฮ์ พระองค์ทรงทราบดีว่าข้าพระองค์มิได้สมรสกับนางเพราะต้องการทรัพย์สินหรือความเลอโฉม แต่เพื่อจะส่งมอบนางแก่สามีเท่านั้นจากนั้นอิมามจึงมอบมะฮัรแก่นาง อับดุลลอฮ์และภรรยาต้องการจะมอบของกำนัล แต่ท่านอิมามกล่าวว่า ของกำนัลที่ฉันหวังจากพระองค์นั้นยิ่งใหญ่กว่านี้นักแล้วสองสามีภรรยาก็กลับไปใช้ชีวิตเช่นอดีต[1]

ข้อสังเกตุที่พบเห็นได้ในเรื่องราวนี้ที่สามารถบ่งบอกว่าเป็นเรื่องที่กุขึ้นก็คือ
1. เรื่องดังกล่าวไม่มีสายรายงาน จึงไม่สามารถนำมาวิพากษ์วิจารณ์ได้ เนื่องจากอิบนิ กุตัยบะฮ์ (ผู้ประพันธ์หนังสืออัลอิมามะฮ์วัสสิยาสะฮ์) มีชีวิตในศตวรรษที่สาม (..) ถือกำเนิดในปีฮ..213 ในขณะที่อิมามฮุเซนเสียชีวิตที่กัรบะลาในปีฮ.. 61 แสดงว่าเขาถือกำเนิดหลังเหตุการณ์กัรบะลาถึง 152  ปี ย่อมจะต้องรายงานเรื่องนี้มาจากผู้อื่น ทว่าเขาไม่ระบุสายรายงาน ทำให้ไม่สามารถจะตรวจสอบได้ ซึ่งมีความเป็นได้ที่อาจมีผู้กุเรื่องแล้วเล่าให้เขาฟัง

2. อบูดัรดาซึ่งในเรื่องนี้ระบุว่าเป็นสื่อกลางระหว่างมุอาวิยะฮ์และอับดุลลอฮ์ บิน สะลามและอุร็อยนับนั้น เป็นที่ทราบกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ว่าเสียชีวิตตั้งแต่สมัยอุษมานแล้ว (ราวๆปี .. 38,39)[2] ดังนั้น จะเป็นไปได้อย่างไรที่เขาจะอยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นช่วยท้ายรัชสมัยของมุอาวิยะฮ์ขณะที่ยะซีดเป็นมกุฏราชกุมาร?

3. ไม่มีตำราที่มีชื่อเสียงเล่มใดบันทึกเรื่องราวดังกล่าวเลย ตำราที่พอจะเป็นที่รู้จักที่รายงานไว้ก็คือ อัลอิมามะฮ์ วัสสิยาสะฮ์ ของอิบนิ กุตัยบะฮ์ ซึ่งหลายคนก็ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นงานเขียนของเขาจริงหรือไม่[3]

4. ไม่มีตำราที่น่าเชื่อถือเล่มใดระบุว่าอิมามฮุเซนกลับมาที่อิรัก ภายหลังจากที่เดินทางกลับมะดีนะฮ์หลังอิมามอลี(.)เสียชีวิต นอกจากเหตุการณ์อาชูรอ ในขณะที่เรื่องอุร็อยนับอ้างว่าเกิดขึ้นก่อนกัรบะลา

5. เรื่องนี้ระบุว่าอิมามหย่าขาดจากอุร็อยนับสามรอบในคราเดียว ในขณะที่ตามฮุก่มฝ่ายชีอะฮ์นั้น การหย่าสามรอบในคราเดียวถือว่าไม่มีผล และให้นับเป็นหนึ่งรอบ[4]

6. หนึ่งในเงื่อนไขของการหย่าร้างก็คือการมีพยานสองคน กุรอานกล่าวว่า “...และจงจัดให้มีพยานชายสองคนในหมู่สูเจ้า และจงเป็นพยานเพื่ออัลลอฮ์[5] อิมามศอดิกเคยกล่าวไว้ว่าการหย่าร้างจะไม่เกิดขึ้นเว้นแต่มีพยานสองคน[6]

ข้อสังเกตุแต่ละข้อก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เราต้องตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเล่าดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี หากจะมองข้ามข้อบกพร่องเรื่องสายรายงานและเนื้อหา โดยสมมติว่ายอมรับเรื่องดังกล่าว ไม่เพียงแต่อิมามฮุเซนจะไม่ด่างพร้อยในเรื่องนี้ กลับจะชี้ให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดและเมตตาธรรมของท่านในการรักษาเกียรติยศครอบครัวมุสลิมได้เป็นอย่างดี

ตามเนื้อหาของเรื่องเล่านี้ อิมามฮุเซน(.)ได้ช่วยหญิงสาวให้พ้นจากกลอุบายอันสกปรกของมุอาวิยะฮ์ และคืนแก่สามีของนาง โดยเฉพาะที่ระบุว่าท่านกล่าวว่าโอ้อัลลอฮ์ พระองค์ทรงทราบดีว่าข้าพระองค์มิได้สมรสกับนางเพราะต้องการทรัพย์สินหรือความเลอโฉมทันทีที่ท่านเห็นความรักระหว่างคนสองคน ท่านก็ได้หย่าจากนางทันที
ดังนั้น จึงสัมผัสได้ถึงความประสงค์อันแรงกล้าของท่านในการปกป้องสิทธิของผู้ถูกกดขี่ได้อย่างชัดเจน

พึงทราบว่า ไม่มีตำราที่มีชื่อเสียงเล่มใดระบุว่าเรื่องดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักหรือสาเหตุรอง ที่ทำให้ยะซีดแค้นฝังใจและก่อเหตุโศกนาฏกรรมกัรบะลาขึ้น 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือผู้นำและการเมือง (แปลจากอัลอิมามะฮ์วัสสิยาซะฮ์) หน้า 212-216



[1] ดัยนะวะรี,อบูมุฮัมมัด อับดุลลอฮ์ บิน มุสลิม บิน กุตัยบะฮ์, อัลอิมามะฮ์วัสสิยาซะฮ์, ค้นคว้าเพิ่มโดยอลี ชีรี, เล่ม 1,หน้า 217 เป็นต้นไป,สำนักพิมพ์ ดารุลอัฎวาอ์,เบรุต

[2] อิบนุ อะษี้ร, อัลกามิล ฟิตตารีค, เล่ม 3,หน้า 129, สำนักพิมพ์ดาร ศอดิร, เบรุต และ อิบนุ อับดิร็อบบิฮ์, อัลอิสตีอ้าบ, เล่ม 3,หน้า 1229,1230, ค้นคว้าเพิ่มโดย มุฮัมมัด อัลบะญาวี, สำนักพิมพ์ดารุลญะบัล,เบรุต ..1414 และ อิบนุ ฮะญัร อัสเกาะลานี,อัลอิศอบะฮ์ ฟี ตะมีซิศเศาะฮาบะฮ์,เล่ม 4,หน้า 622,ค้นคว้าเพิ่มโดย อาดิล อะห์มัด อับดุลเมาญู้ด และ อลีมุฮัมมัด มุเอาวัฎ, สำนักพิมพ์ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เบรุต,พิมพ์ครั้งแรก,..1415

[3] อภิสารานุกรมอิสลาม,เล่ม,บทความที่ (อัลอิมามะฮ์วัสสิยาซะฮ์), สำนักพิมพ์ศูนย์อภิสารานุกรมอิสลาม,เตหราน,1376

[4] ฮุร อามิลี, วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 22,หน้า 21,สำนักพิมพ์อาลุลบัยต์

[5] อัฏเฏาะล้าก, 2 وَ أَشهْدُواْ ذَوَىْ عَدْلٍ مِّنکمُ‏ْ وَ أَقِیمُواْ الشَّهَادَةَ لله

[6] ฮุร อามิลี, วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 22,หน้า 25 و لا یجوز الطلاق إلا بشاهدین ...

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • บรรดาอิมามและอุละมามีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับโคลงกลอน?
    6659 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/15
    บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติเกี่ยวกับบทกลอนบทกวี แต่นี่เป็นเพียงความเข้าใจผิดเท่านั้น ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย บรรดาอิมามกล่าวถึงบทกวีที่มีเนื้อหาสาระบ่อยครั้ง อีกทั้งยังเคยขอดุอาหรือตบรางวัลมูลค่าสูงแก่เหล่านักกวี แต่หากจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้ครบก็คงจะทำให้บทความเย่นเย้อโดยไช่เหตุ ...
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    6574 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11007 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7037 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5618 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • ท่านนบีเคยกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งศาสนทูตของตน และตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในอะซานหรือไม่?
    7422 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/22
    จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็นเราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่าท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอนทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆนอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซานในทางตรงกันข้ามมีหลักฐานยืนยันมากมายว่าท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?ต้องยอมรับว่าเราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าวนอกจากนี้ในสำนวนฮะดีษต่างๆจากบรรดาอิมามที่ระบุเกี่ยวกับบทอะซานก็ไม่ปรากฏคำปฏิญาณที่สาม(เกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอิมามอลี)แต่อย่างใดอย่างไรก็ดีเรามีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลของการเอ่ยนามท่านอิมามอลี(อ)ต่อจากนามของท่านนบี(ซ.ล)(โดยทั่วไปไม่เจาะจงเรื่องอะซาน) ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ล้วนฟัตวาพ้องกันว่าสามารถกล่าวปฏิญาณดังกล่าวด้วยเหนียต(เจตนา)เพื่อหวังผลบุญมิไช่กล่าวโดยเหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซานทั้งนี้ก็เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่าประโยคดังกล่าวมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานอันถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง. ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7952 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับตัวอ่อนมนุษย์เป็นไปในรูปแบบใด ทารกเจริญเติบโตก่อนวิญญาณจะสถิตได้อย่างไร?
    8498 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/11
    วิญญาณเป็นสิ่งที่พ้นญาณวิสัย ซึ่งจะสถิตหรือจุติในทารกที่อยู่ในครรภ์ และจะเจริญงอกงามทีละระดับ วิญญาณก็เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์เฉกเช่นร่างกาย ส่วนการที่พระองค์ทรงตรัสว่า “เราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในเขา”นั้น เป็นการสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของวิญญาณมนุษย์ด้วยการเชื่อมคำว่าวิญญาณเข้ากับพระองค์เอง กรณีเช่นนี้ในทางภาษาอรับเรียกกันว่าการเชื่อมแบบ “ลามี” อันสื่อถึงการยกย่องให้เกียรติ ดังกรณีของการเชื่อมโยงวิหารกะอ์บะฮ์เข้ากับพระองค์เองด้วยสำนวนที่ว่า “บัยตี” หรือ บ้านของฉัน การที่ทารกระยะตัวอ่อนยังไม่มีวิญญาณนั้น มิได้ขัดต่อการมีสัญญาณชีวิตก่อนที่วิญญาณจะสถิตแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์มีปราณสามระยะด้วยกัน ได้แก่ ปราณวิสัยพืช, ปราณวิสัยสัตว์, ปราณวิสัยมนุษย์ ปราณวิสัยพืชถือเป็นปราณระดับล่างสุดของมนุษย์ ซึ่งมีการบริโภคและสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ไม่มีความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ เสมือนพืชที่เจริญงอกงามทว่าไร้ความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ และเนื่องจากทารกระยะแรกมีปราณประเภทนี้ก่อนวิญญาณจะสถิต จึงทำให้มีชีวิตและเจริญเติบโตได้ ...
  • เราสามารถกล่าวคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนเวลาอะซานหรือไม่? หรือจำเป็นหรือไม่ที่จะกล่าวอะซานระหว่างสองคุฏบะฮ์
    5851 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    คำถามของคุณไม่ชัดเจนนัก ทำให้สามารถแบ่งคำถามนี้ได้เป็น 2 คำถาม แต่คาดว่าคำถามของคุณน่าจะหมายถึงข้อที่หนึ่งดังต่อไปนี้1. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องกล่าวหนึ่งในสองของคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนถึงเวลาอะซาน(เวลาที่ตะวันเริ่มคล้อยลง) หรือสามารถกล่าวคุฏบะฮ์ทั้งสองก่อนหรือหลังอะซานก็ได้?
  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7310 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59388 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41671 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27538 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25206 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...