การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11470
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/28
คำถามอย่างย่อ
ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
คำถาม
อายะฮ์ที่ 190-196 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ได้กล่าวไว้ว่า บุคคลใดก็ตามที่ได้กลับจากอุมเราะฮ์ตะมัตตุอ์มาสู่พิธีฮัจญ์นั้น ให้ทำกุรบานจากอูฐ, วัว และแพะเท่าที่มีความสามารถ การที่เราจะต้องฆ่าสัตว์มากมายขนาดนี้จะมีประโยชน์อะไรสำหรับประชาชน พิธีกรรมทางศาสนาที่ไม่ส่งผลอะไรต่อประชาชนจะมีไว้เพื่ออะไร? พิธีกรรมเหล่านี้นอกจากจะไม่ช่วยอะไรสังคมแล้ว ยังจะสร้างความเดือดร้อนในแง่ของอนามัยแก่พวกอาหรับท้องถิ่นที่น่าสงสารอีกด้วย
คำตอบโดยสังเขป

บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว

เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์

คำตอบเชิงรายละเอียด

เนื่องจากอัลลอฮ์คือผู้ทรงกำหนดบทบัญญัติของอิสลาม บทบัญญัติทั้งหมดจึงตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถรับรู้ถึงเหตุผลประกอบบทบัญญัติก็ตาม บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือ การเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา [1]

นักวิชาการในโลกอิสลามได้อ้างอิงโองการกุรอานและฮะดีษบทต่าง ๆ เพื่อกล่าวถึงประโยชน์และปรัชญาหลากหลายของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์ ซึ่งเราจะกล่าวถึงปรัชญาบางประการ ณ ที่นี้

1. การทำกุรบานเป็นสัญลักษณ์ของการกำราบกิเลส

การที่บรรดาฮุจญาจได้ทำการกุรบานในวันอีดกุรบานนั้น เป็นสัญลักษ์หนึ่งของการทำกุรบานอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ดังคำสั่งของอัลลอฮ์ที่มีต่อท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) เกี่ยวกับการเชือดท่านนบีอิสมาอีล (อ.) ก็เป็นไปเพื่อการนี้ด้วยเช่นกัน ด้วยการกระทำดังกล่าวท่านจึงสามารถต่อสู้กับการเสพติดความรักที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการยึดติดที่ฝังรากลึกที่สุดของอารมณ์ อย่างไรก็ดี ดังที่การปฏิบัติตามคำสั่งนี้มีบทบาทสำคัญในการปลดเปลื้องพันธนาการของอารมณ์ไฝ่ต่ำ ตลอดจนพันธะทางอารมณ์ที่ท่านอิบรอฮีมและท่านอิสมาอีล(อ.)มีอยู่ ทำให้ตำแหน่งของนบีทั้งสองท่านนี้ได้รับการเชิดชูให้สูงส่งขึ้นในทัศนะของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ดังนั้นการที่บรรดาฮุจญาจได้กระทำกุรบานก็ถือเป็นการต่อสู้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำเพื่อขจัดพันธะทางโลกย์ และช่วยให้หลุดพ้นจากความลุ่มหลงในทรัพย์สินและโลกีย์นั่นเอง[2]

2. เสริมสร้างตักวาและความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์ (..)

อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวประเด็นนี้ว่า “เลือดเนื้อของมันหาได้ถึงอัลลอฮ์ไม่ แต่การยำเกรงของพวกเจ้าจะถึงพระองค์...”[3] เนื่องจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่มีความต้องการเนื้อกุรบานแต่อย่างใด เพราะพระองค์ไม่มีร่างกายและไม่มีความต้องการใด ๆ ทั้งสิ้น พระองค์เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์และปราศจากข้อจำกัดทุกประการ

กล่าวคือ เป้าหมายของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในการกำหนดให้การทำกุรบานเป็นวาญิบนั้นคือ การที่ทำให้มนุษย์สามารถก้าวไปถึงจุดสูงสุดของตักวาในฐานะมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ และช่วยให้ใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น ทุกๆการอิบาดะฮ์เปรียบเสมือนชั้นเรียนของการขัดเกลา การทำกุรบานสอนให้มนุษย์ตระหนักถึงการเสียสละและเตรียมพร้อมเป็นชะฮีดในหนทางของอัลลอฮ์ อีกทั้งเป็นบทเรียนของการช่วยเหลือผู้ยากไร้[4]

หากได้คำนึงถึงปรัชญาที่กล่าวมา แม้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อของกุรบาน ก็สามารถได้รับประโยชน์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

3. การช่วยเหลือผู้ยากไร้ (การแจกจ่ายอาหาร)

มีหลายโองการในกุรอานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เป้าหมายประการหนึ่งของการทำกุรบานก็คือ การรับประทานเนื้อกุรบาน เพื่อให้ผู้ที่ทำกุรบานและผู้ยากไร้สามารถรับประโยชน์เนื้อเหล่านี้โดยถ้วนหน้า[5]

ด้วยหลักการอันทรงคุณค่าประการนี้นี่เองที่บรรดามุสลิมไม่ควรที่จะทิ้งเนื้อกุรบาน ณ แผ่นดินมินาให้เน่าเสียหรือฝังดิน แต่ทว่าเนื้อกุรบานในแผ่นดินอันศักดิ์สิทธ์นี้ อันดับแรกจะต้องแจกจ่ายผู้ยากไร้ในพื้นที่ก่อน และหากในวันเวลาดังกล่าวไม่สามารถหาผู้ยากไร้ได้ จะต้องนำส่งไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้ผู้ยากไร้ผู้อื่นได้ใช้บริโภคเนื้อเหล่านี้ และหากเนื้อเหล่านี้ไม่ได้ส่งถึงมือผู้ยากไร้ได้ทันท่วงทีและเน่าเสียเสียก่อนที่จะเป็นไปตามปรัชญาที่กล่าวมา ก็ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าการกุรบานถือเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่ทว่าบรรดามุสลิมจะต้องพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อที่จะรักษาทรัพย์สินมหาศาลนี้เอาไว้ และแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ให้ทันท่วงที กล่าวคือ จะต้องไม่คิดว่าเพราะเหตุที่เนื้อเหล่านี้ไม่ถูกแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำกุรบานอีกต่อไป แต่จะต้องถือว่า เนื่องจากการทำกุรบานเป็นสิ่งที่วาญิบ และหนึ่งในปรัชญาของการทำกุรบานคือเพื่อให้ผู้ยากไร้ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อเหล่านี้ ดังนั้นจะต้องสรรหาสิ่งอำนวยที่จำเป็นสำหรับการนี้นั่นเอง

เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์

 

 


[1] มะนาซิกฮัจญ์ของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), หน้า 100, มะนาซิก ฮัจญ์ (อายะตุลลอฮ์คอเมเนอีย์) หน้า 16

[2] จาก เว็บไซต์ โพรเซมอเน กุรอาน http://tabnak.ir/fa/pages/?cid=94761

[3] ซูเราะฮ์ฮัจญ์, 37, " لَنْ يَنالَ اللَّهَ لُحُومُها وَ لا دِماؤُها وَ لكِنْ يَنالُهُ التَّقْوى‏ مِنْكُمْ"

[4] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 14, หน้า 107

[5] เพิ่งอ้าง, เล่ม 14, หน้า 83

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ในกุรอานมีกี่ซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบี?
    20192 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    ในกุรอานมีหกซูเราะฮ์ที่มีชื่อคล้ายบรรดานบี ได้แก่ ซูเราะฮ์นู้ห์, อิบรอฮีม, ยูนุส, ยูซุฟ, ฮู้ด และ มุฮัมมัด อย่างไรก็ดี จากคำบอกเล่าของฮะดีษบางบททำให้นักอรรถาธิบายกุรอานเชื่อว่า ซูเราะฮ์บางซูเราะฮ์อย่างเช่น ฏอฮา[1], ยาซีน[2], มุดดัษษิร[3], มุซซัมมิ้ล[4] หมายถึงท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) จึงอาจจะจัดได้ว่าซูเราะฮ์ต่างๆข้างต้นถือเป็นซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบีได้เช่นเดียวกัน คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม ...
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6555 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • อัลกุรอาน บทใดขณะประทานลงมามีมลาอิกะฮฺ จำนวน 70,000 ท่าน รายล้อมอยู่?
    8469 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตามรายงานที่บันทึกไว้, สิ่งที่กล่าวมาเป็นความพิเศษเฉพาะบทอันอาม ท่านอิมาม ซอดิก (อ.) กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า : บทอันอามมีประโยคคล้ายกัน ซึ่งได้ประทานลงมาในคราวเดียวกัน, ขณะที่มีมลาอิกะฮฺจำนวน 70,000 ท่าน ห้อมล้อมและแบกอัลกุรอาน บทนี้เอาไว้ จนกระทั่งไปนำอัลกุรอานบทนี้มาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังนั้น จงให้เกียรติและแสดงความเคารพอัลกุรอาน บทนี้ให้มากเถิด เนื่องจากในบทนี้มีพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮฺ ถูกกล่าวซ้ำถึง 70 ครั้ง และถ้าหากประชาชนทราบถึงความยิ่งใหญ่และความจริงของบทนี้ เขาจะไม่มีวันปล่อยอัลกุรอานบทนี้ไป[1] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเป็นรายละเอียด.
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8347 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • ในทัศนะของรายงานและโองการต่างๆ มีการกระทำใดบ้าง ที่ทำลายการงานที่ดี อันเป็นที่ยอมรับ?
    5946 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ทั้งอัลกุรอานและรายงานกล่าวว่า, การมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺและการห่างไกลจากการตั้งภาคีและการตกศาสนาคือเงื่อนไขแรกในการตอบรับการกระทำดังนั้นถ้าปราศจากสิ่งนี้จะไม่มีการงานที่ดีอันใดถูกยอมรับณ
  • ภารกิจของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) หลังจากปรากฏกายแล้วคืออะไร? แล้วเป็นไปได้ไหมที่ท่านจะถูกทำชะฮาดัตโดยน้ำมือของสตรีชราที่มีนวดเครา?
    5995 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้จัดตั้งทั้งด้านวัตถุปัจจัยและด้านคุณธรรมมโนธรรมเพื่อจะได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งความยุติธรรมขึ้นมาปกครองโลกซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดบนโลกนี้ ท่านจะเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมเกียรติและคุณค่าของความเป็นมนุษย์พร้อมกับเรียกร้องไปสู่ความปลอดภัยชีวิตมนุษย์จะกลายเป็นชีวิตแห่งพระเจ้าในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยังชีพและปัจจัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้น ความพยายามของมนุษย์คืออะไร?
    20724 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็นคำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เองในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่าริซกีฏอลิบ
  • เพราะสาเหตุใด การถอนคิ้วสำหรับสาววัยรุ่นทั้งหลาย จึงไม่อนุญาต?
    9026 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    คำตอบจากสำนักมัรญิอฺตักลีดทั้งหลาย เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสาววัยรุ่น มีรายละเอียดดังนี้ มัรญิอฺตักลีดทั้งหมด : มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การทำเช่นนี้โดยตัวของมันแล้วถือว่า ไม่มีปัญหาทางชัรอียฺ (แม้ว่าจะมองไม่ออกนักก้ตาม) ซึ่งโดยปกติต้องปกปิดหน้าตนจากชายที่สามารถแต่งงานกันได้[1] ฉะนั้น การกระทำดังกล่าว โดยตัวของมันแล้วถือว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าในกรณีนี้บรรดามัรญิอฺตักลีด จะมีความเห็นว่าการใส่ใจต่อสาธารณเป็นสิ่งดีงามก็ตาม[2] [1] ข้อมูลจาก ซีดี เพรเซะมอน
  • ฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดสิ้นลมโดยปราศจากสัตยาบัน ถือว่าเขาตายในสภาพญาฮิลียะฮ์” รวมถึงตัวท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยหรือไม่?
    7949 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/19
    สัตยาบัน(บัยอัต)มีสองด้านด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตามในเมื่อท่านนบีเป็นผู้นำจึงถือเป็นฝ่ายได้รับสัตยาบันมิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบันแน่นอนว่าฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าลำพังการรู้จักอิมามยังไม่ถือว่าเพียงพอแต่จะต้องเจริญรอยตามด้วยอย่างไรก็ดีฮะดีษข้างต้นมิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.)เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)นั้นเรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านรายละเอียดโปรดคลิกอ่านจากคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5459 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41674 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38426 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25209 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...