การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6965
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa843 รหัสสำเนา 14394
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
คำถาม
ใครคือสุภาพสตรีที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานถึงสี่สิบปี?
คำตอบโดยสังเขป

มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือ ฟิฎเฎาะฮ์ ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี.

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตำราที่เชื่อถือได้ต่างระบุว่า ฟิฎเฎาะฮ์ ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ และมารดาของวะฮับ บิน อับดุลลอฮ์ คือสุภาพสตรีที่ตอบทุกคำถามด้วยโองการกุรอานนานกว่ายี่สิบปี ดังกรณีตัวอย่างที่รายงานจากตำราบิฮารุลอันวารต่อไปนี้:

อบุลกอซิม กุชัยรี อ้างคำพูดของเพื่อนในหนังสือของตนว่า: ฉันท่องไปในทะเลทรายกระทั่งได้พบสตรีนางหนึ่ง จึงถามนางว่าเธอคือใคร?
สตรี:  และจงกล่าวสลาม และเจ้าจะรู้ในไม่ช้า[1]
ฉันจึงกล่าวสลามนางแล้วถามว่า: เธอมาทำอะไรที่นี่เล่า?
สตรี: และผู้ที่พระองค์นำทาง จะไม่มีใครชักนำให้หลงทาง[2]
ฉัน: เธอเป็นคนหรือญินกันแน่?
สตรี: โอ้พงศ์พันธุ์ของอาดัมเอ๋ย พึงประดับประดาตัวสูเจ้า....”[3]
ฉัน: เธอเดินทางมาจากใหน?
สตรี: จากถิ่นอันไกลโพ้น[4]
ฉัน: แล้วเธอจะเดินทางไปที่ใด?
สตรี: และเป็นสิทธิของพระองค์เหนือประชาชาติที่จะพวกเขาจะประกอบพิธีฮัจย์[5]
ฉัน: เธอเดินทางมากี่วันแล้ว?
สตรี: เราได้สร้างชั้นฟ้าและผืนดินในหกวัน[6]
ฉัน: เธออยากทานอะไรหรือเปล่า?
สตรี: เรามิได้กำหนดให้พวกเขาเป็นเรือนร่างที่ไม่บริโภค[7]
ฉันจึงให้อาหารนางแล้วบอกนางว่า: ช่วยเดินให้เร็วกว่านี้ได้ไหม?
สตรี: อัลลอฮ์มิได้ทรงกำหนดหน้าที่ผู้ใดเหนือขีดความสามารถของเขา[8]
ฉัน: เธอจะขึ้นขี่พาหนะซ้อนท้ายฉันหรือเปล่า?
สตรี: หากชั้นฟ้าและผืนดินมีพระเจ้าสององค์ไซร้ ย่อมเสื่อมเสียเป็นแน่แท้[9]
ฉันจึงลงจากอูฐและให้นางขึ้นขี่แทน นางรำพันว่ามวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระผู้ทรงสยบ(พาหนะ)นี้แก่เรา[10]
เราเดินมาจนถึงกองคาราวานของนาง ฉันจึงถามว่าเธอรู้จักใครหรือไม่?”
สตรี: โอ้ดาวูด เราได้แต่งตั้งเจ้าเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน[11], “และมุฮัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์มิไช่อื่นใด[12], “โอ้ยะฮ์ยา จงรับคัมภีร์[13], “โอ้มูซา ข้านี้คือพระเจ้า[14]
ฉันจึงเรียกขานทั้งสี่ชื่อดังกล่าว ปรากฏว่ามีเด็กหนุ่มสี่คนรีบเดินมารับสตรีแปลกหน้าคนนั้น! ฉันจึงถามว่า:  หนุ่มสี่คนนี้เป็นอะไรกับเธอหรือ?”
สตรี: ทรัพย์สินและบุตรคือเครื่องประดับของชีวิตในโลกนี้[15]
นางได้กล่าวแก่เด็กหนุ่มว่าโอ้พ่อจ๋า จ้างเขาเถิด แท้จริงผู้ที่เหมาะแก่การจ้างมากที่สุดคือผู้ที่แข็งแรงและซื่อสัตย์[16]
พวกเขาจึงได้มอบของกำนัลแก่ฉัน นางพูดขึ้นว่า: และอัลลอฮ์จะเพิ่มพูนแก่ผู้ที่พระองค์เห็นควร[17]
ลูกชายของนางจึงเพิ่มของกำนัลให้ฉัน ฉันจึงถามลูกๆของนางว่านางเป็นใครกันแน่? พวกเขาตอบว่า แม่ของเราคือฟิฎเฎาะฮ์ ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ยี่สิบปีมาแล้วที่นางตอบทุกคำถามด้วยกุรอานเท่านั้น[18]

เป็นไปได้ว่านางอาจมีชีวิตอยู่และสนทนาด้วยกุรอานหลังเหตุการณ์นี้อีกยี่สิบปี อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ว่านางสนทนาด้วยกุรอานถึงสี่สิบปีคงต้องได้รับการค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งคงไม่สะดวก  ที่นี้.



[1] ซุครุฟ, 89

[2] ซุมัร, 37

[3] อัลอะอ์รอฟ, 31

[4] ก่อศ็อศ, 44

[5] อาลิ อิมรอน, 97

[6] กอฟ, 38

[7] อันบิยาอ์, 8

[8] บะเกาะเราะฮ์, 286

[9] อันบิยาอ์, 22

[10] ซุครุฟ, 13

[11] ศอด, 26

[12] อาลิอิมรอน, 144

[13] มัรยัม, 12

[14] ก่อศ็อศ, 30

[15] อัลกะฮ์ฟิ, 46

[16] ก่อศ็อศ, 26

[17] บะเกาะเราะฮ์, 261

[18] หนังสือบิฮารุลอันวาร, เล่ม43 หน้า87:

"أَبُو الْقَاسِمِ الْقُشَیْرِیُّ فِی کِتَابِهِ قَالَ بَعْضُهُمْ انْقَطَعْتُ فِی الْبَادِیَةِ عَنِ الْقَافِلَةِ فَوَجَدْتُ امْرَأَةً فَقُلْتُ لَهَا مَنْ أَنْتِ

فَقَالَتْ وَ قُلْ سَلَامٌ فَسَوْفَ تَعْلَمُونَ

فَسَلَّمْتُ عَلَیْهَا فَقُلْتُ مَا تَصْنَعِینَ هَاهُنَا

قَالَتْ مَنْ یَهْدِ اللَّهُ فَلَا مُضِلَّ لَهُ

فَقُلْتُ أَ مِنَ الْجِنِّ أَنْتِ أَمْ مِنَ الْإِنْسِ

قَالَتْ یا بَنِی آدَمَ خُذُوا زِینَتَکُمْ

فَقُلْتُ مِنْ أَیْنَ أَقْبَلْتِ

قَالَتْ یُنادَوْنَ مِنْ مَکانٍ بَعِیدٍ

َقُلْتُ أَیْنَ تَقْصِدِینَ

قَالَتْ وَ لِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَیْتِ

فَقُلْتُ مَتَى انْقَطَعْتِ

قَالَتْ وَ لَقَدْ خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ... فِی سِتَّةِ أَیَّامٍ

فَقُلْتُ أَ تَشْتَهِینَ طَعَاماً

فَقَالَتْ وَ ما جَعَلْناهُمْ جَسَداً لا یَأْکُلُونَ الطَّعامَ

فَأَطَعَمْتُهَا ثُمَّ قُلْتُ هَرْوِلِی وَ لَا تَعَجَّلِی

قَالَتْ لا یُکَلِّفُ اللَّهُ نَفْساً إِلَّا وُسْعَها

فَقُلْتُ أُرْدِفُکِ

فَقَالَتْ لَوْ کانَ فِیهِما آلِهَةٌ إِلَّا اللَّهُ لَفَسَدَتا

فَنَزَلْتُ فَأَرْکَبْتُهَا فَقَالَتْ سُبْحانَ الَّذِی سَخَّرَ لَنا هذا

فَلَمَّا أَدْرَکْنَا الْقَافِلَةَ قُلْتُ أَ لَکِ أَحَدٌ فِیهَا

قَالَتْ یا داوُدُ إِنَّا جَعَلْناکَ خَلِیفَةً فِی الْأَرْضِ وَ ما مُحَمَّدٌ إِلَّا رَسُولٌ یا یَحْیى‏ خُذِ الْکِتابَ یا مُوسى‏ إِنِّی أَنَا اللَّهُ

فَصِحْتُ بِهَذِهِ الْأَسْمَاءِ فَإِذَا أَنَا بِأَرْبَعَةِ شَبَابٍ مُتَوَجِّهَیْنِ نَحْوَهَا فَقُلْتُ مَنْ هَؤُلَاءِ مِنْکِ

قَالَتْ الْمالُ وَ الْبَنُونَ زِینَةُ الْحَیاةِ الدُّنْیا

فَلَمَّا أَتَوْهَا قَالَتْ یا أَبَتِ اسْتَأْجِرْهُ إِنَّ خَیْرَ مَنِ اسْتَأْجَرْتَ الْقَوِیُّ الْأَمِینُ

فَکَافُونِی بِأَشْیَاءَ فَقَالَتْ وَ اللَّهُ یُضاعِفُ لِمَنْ یَشاءُ

فَزَادُوا عَلَیَّ فَسَأَلْتُهُمْ عَنْهَا

فَقَالُوا هَذِهِ أُمُّنَا فِضَّةُ جَارِیَةُ الزَّهْرَاءِ ع مَا تَکَلَّمَتْ مُنْذُ عِشْرِینَ سَنَةً إِلَّا بِالْقُرْآنِ".

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ฮะดีษ“หากไร้ซึ่งฟาฏิมะฮ์...”มีสายรายงานอย่างไร? กรุณาชี้แจงความหมายด้วยครับ
    7159 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    ผู้เขียนหนังสือ“ญุนนะตุ้ลอาศิมะฮ์”ได้อ้างอิงฮะดีษนี้จากหนังสือ“กัชฟุ้ลลิอาลี”ประพันธ์โดย
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6514 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    7263 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • สรรพสัตว์นั้นมีจิตวิญญาณหรือไม่ ถ้าหากมีชีวิตของสัตว์กับมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร
    13709 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ก่อนที่จะเข้าเรื่องสิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือพื้นฐานของคำตอบที่จะนำเสนอนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของฮิกมัตมุตะอาลียะฮฺ (ฟัลซะฟะฮฺ
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6374 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    6986 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • อ่านกุรอานซูเราะฮ์ใดจึงจะได้ผลบุญมากที่สุด?
    24787 วิทยาการกุรอาน 2554/06/28
    อิสลามถือว่ากุรอานคือครรลองสำหรับการดำเนินชีวิตและเป็นชุดคำสอนที่จะเสริมสร้างจิตวิญญาณมนุษย์ให้สมบูรณ์หากจะอัญเชิญกุรอานโดยคำนึงเพียงว่าซูเราะฮ์ใดมีผลบุญมากกว่าก็ย่อมจะสูญเสียบะเราะกัต(ความศิริมงคล)ที่มีในซูเราะฮ์อื่นๆฉะนั้นจึงควรอัญเชิญกุรอานให้ครบทุกซูเราะฮ์และพยายามนำสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ดีแต่ละซูเราะฮ์มีคุณสมบัติพิเศษในแง่ของความศิริมงคลและผลบุญตามคำบอกเล่าของฮะดีษอาทิเช่นซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์มีฐานะที่เทียบเท่าเศษสองส่วนสามของกุรอานหรืออายะฮ์กุรซีที่เป็นที่กล่าวขานกันถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลหรือซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ที่เทียบเท่าเศษหนึ่งส่วนสามของกุรอานส่วนซูเราะฮ์อื่นๆก็มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป. ...
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6606 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6681 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไร? ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ทราบเรื่องนี้หรือไม่?
    9016 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์เป็นชื่อหนังสือที่บันทึกโดยท่านอิมามอลี(อ.)ภายหลังนบีวะฝาตไปแล้วเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลที่ญิบรออีลหรือมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งถ่ายทอดแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตตลอดจนความเร้นลับของอาลิมุฮัมมัด(ซ.ล.) หนังสือเล่มนี้ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของตำแหน่งอิมามและเป็นมรดกตกทอดระหว่างอิมามปัจจุบันอยู่ในครอบครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นหลังท่านนบี(ซ.

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59928 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57277 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42057 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39035 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38756 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33867 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27872 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27763 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27566 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25585 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...