การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5340
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2562/06/12
 
รหัสในเว็บไซต์ id13592 รหัสสำเนา 24940
คำถามอย่างย่อ
นมาซมีรหัสยะและปรัชญาอย่างไรในทัศนะของชีอะฮ์?
คำถาม
การบัญญัตินมาซมีปรัชญาอย่างไรในทัศนะของชีอะฮ์? ดิฉันทราบมาว่ามีไม่มากนัก จะดีกว่าใหมหากจะมีเหตุผลสำหรับทุกท่วงท่าและบทอ่านในนมาซมากกว่านี้
คำตอบโดยสังเขป

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าบทบัญญัติทุกข้อของพระองค์ย่อมมีปรัชญาและเหตุผลแฝงอยู่ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเสาะหาเหตุผลของบทบัญญัติแต่ละข้อเสมอไป มุสลิมจะต้องสยบแด่สาส์นแห่งวิวรณ์โดยดุษณี จิตที่สยบเช่นนี้แหล่ะคือความสมบูรณ์ของมนุษย์ ซึ่งจริงๆแล้วบทบัญญัติบางข้อก็มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบจิตประเภทดังกล่าว
อย่างไรก็ดี กุรอานได้ระบุถึงเหตุผลของบทบัญญัติศาสนาในหลายวาระด้วยกัน บรรดาอิมามมะอ์ศูมก็เคยกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ นักวิชาการมุสลิมก็ได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับรหัสยะและปรัชญาของบทบัญญัติศาสนา อาทิเช่นองค์ประกอบต่างๆของนมาซไม่ว่าจะเป็น การเหนียต ตะชะฮุด รุกู้อ์ สุญูด สลาม ฯลฯ ไว้หลายเล่มด้วยกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าบทบัญญัติทุกข้อของพระองค์ย่อมมีปรัชญาและเหตุผล แต่ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเสาะหาเหตุผลของบทบัญญัติแต่ละข้อเสมอไป มุสลิมจะต้องสยบแด่สาส์นแห่งวิวรณ์โดยดุษณี จิตที่สยบเช่นนี้แหล่ะคือความสมบูรณ์ของมนุษย์ ซึ่งจริงๆแล้วบทบัญญัติบางข้อก็มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบจิตประเภทดังกล่าว พระบัญชาของอัลลอฮ์ที่กำหนดให้นบีอิบรอฮีมต้องเชือดพลีอิสมาอีลบุตรชายก็ถือเป็นบทบัญญัติประเภทนี้

ประเด็นที่ถือเป็นข้อสรุปของข้อเขียนนี้คือความเชื่อที่ว่าทุกบทบัญญัติในอิสลามล้วนมีเหตุผลทั้งสิ้น
ประการแรก. เนื่องจากมีโองการและฮะดีษกว่าร้อยบทรณรงค์ให้มนุษย์ไตร่ตรองด้วยสติ[1]
ประการที่สอง. ข้อวิพากษ์ที่สำคัญของกุรอานที่มีต่อกาเฟรมุชริกีนก็คือ การที่พวกเขาเลียนแบบบรรพบุรุษอย่างหูหนวกตาบอด[2]
ประการที่สาม. กุรอานเองระบุถึงเหตุผลภายหลังจากนำเสนอบทบัญญัติในหลายวาระด้วยกัน[3] บรรดาอิมามมะอ์ศูมก็เคยกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ นักวิชาการมุสลิมหลายท่านก็เคยประพันธ์ตำราเกี่ยวกับรหัสยะและปรัชญาของบทบัญญัติศาสนาไว้

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ได้ข้อสรุปว่า
หนึ่ง. มิไช่ว่าผู้คนแต่ละยุคสมัยจะสามารถเข้าใจเหตุผลของบทบัญญัติได้ทุกคน
สอง. เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ควรคำนึงถึงผลประโยชน์เชิงวัตถุอาทิเช่น เศรษฐกิจ สุขภาวะ ฯลฯ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์สุขด้านจิตวิญญาณ
สาม. ผู้ที่ศรัทธาว่าอัลลอฮ์ทรงเปี่ยมด้วยวิทยปัญญา และเชื่อว่าบทบัญญัติของพระองค์สอดคล้องกับวิทยปัญญา บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเน้นเสาะหาเหตุผลให้มากนัก แต่ควรมอบหมายแด่พระองค์ อย่างไรก็ดี ได้มีการกล่าวถึงเหตุผลในกรณีขององค์ประกอบนมาซบางประการอาทิเช่น การเหนียต ตะชะฮุด รุกู้อ์ สุญูด สลาม ฯลฯ ซึ่งเราจะขอหยิบยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

นมาซจะช่วยยับยั้งกิเลสตัณหา
กุรอานกล่าวถึงนมาซไว้ว่า นมาซจะช่วยยับยั้งมนุษย์ให้ออกห่างจากบาปกรรมต่างๆ[4]

นมาซช่วยขจัดความหลงดุนยา
อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า จงนมาซเพื่อรำลึกถึงฉัน[5]

นมาซช่วยให้จิตใจสงบ
กุรอานกล่าวว่า ด้วยการระลึกถึงพระองค์ จิตใจจะสงบมั่น[6]

ต่อสู้กับอุปนิสัยเย่อหยิ่ง
ในฐานะที่นมาซคือการเพ่งสมาธิสู่พระผู้เป็นต้นกำเนิดแห่งความยิ่งใหญ่ทั้งปวง และถือเป็นการขอความช่วยเหลือจากแหล่งอำนาจอันเกรียงไกร ทำให้สามารถขจัดความเย่อหยิ่งให้หมดไปจากมนุษย์ได้ กล่าวคือ นมาซจะทำลายความหยิ่งจองหอง เนื่องจากคนเรานมาซสิบเจ็ดเราะกะอัตในแต่ละวัน แต่ละเราะกะอัตมีการศิโรราบต่อพระองค์เหนือดินสองครั้ง ทำให้ตระหนักได้ว่าตนเองเสมือนดั่งผงธุลีเบื้องหน้าความยิ่งใหญ่ของพระองค์ อันจะช่วยลบเลือนความเย่อหยิ่งได้ ด้วยเหตุนี้เองที่ท่านอิมามอลี(อ.)จึงอธิบายเกี่ยวกับนมาซในฐานะที่เป็นอิบาดะฮ์ประการแรกภายหลังจากที่ได้กล่าวถึงอีหม่านไว้ว่า “อัลลอฮ์ทรงกำหนดให้มีอีหม่านเพื่อขจัดความคลางแคลงใจ และบัญชาให้นมาซเพื่อขจัดความทรนงตน”[7]

ส่งเสริมระเบียบวินัย
นมาซจะช่วยเสริมอุปนิสัยความมีวินัย เพราะศาสนกิจประเภทนี้จะต้องปฏิบัติในช่วงเวลาอันจำเพาะ การกระทำก่อนหรือหลังเวลาที่กำหนดจะทำให้เป็นโมฆะ นอกจากนี้ ความรอบคอบในกรณีของกฏเกณฑ์อื่นๆอาทิเช่นการเหนียต การยืน รุกู้อ์ สุญูด นั่ง ฯลฯ ก็มีส่วนช่วยให้มนุษย์ปรับตัวให้มีระเบียบวินัยอย่างง่ายดาย

ระลึกถึงวันปรโลก
เมื่อผู้นมาซกล่าวคำว่า “มาลิกิเยามิดดีน” ก็ทำให้หวลรำลึกถึงความยิ่งใหญ่ของกิยามะฮ์ อีกทั้งยังทำให้ตระหนักว่ายังมีอีกภพหนึ่งที่เป็นผลสะท้อนของภพปัจจุบัน

ตะวัลลาและตะบัรรอ
ตะวัลลา(ความรัก)และตะบัรรอ(ความชัง)ถือเป็นปรัชญาข้อหนึ่งที่ได้จากซูเราะฮ์ฟาติฮะฮ์ เมื่อผู้นมาซเปล่งคำว่า “อียากะนะอ์บุดุ วะอียากะนัสตะอีน อิฮ์ดินัศศิรอฎ็อลมุสตะกีม ศิรอฏ็อลละซีนะอันอัมตะอะลัยฮิม” ถือว่ากำลังวอนขอและจาริกสู่มิตรภาพจากอัลลอฮ์ เหล่าศาสนทูต บรรดาผู้สัจจริง เหล่าผู้พลีชีพ และผู้บำเพ็ญธรรม และเมื่อเปล่งคำว่า “ฆ็อยริลมัฆฎูบิ อะลัยฮิม วะลัฎฎอลลีน” ถือว่าได้แสดงความจำนงที่จะออกห่างจากพวกหลงทางแล้ว

ท้ายนี้ขอเรียนว่า นมาซบัญญัติไว้เพื่อจุดประสงค์ของการเทิดไท้อัลลอฮ์ในฐานะพระผู้เป็นเจ้า, ต่อต้านการตั้งภาคี, ยืนขึ้นเบื้องหน้าพระองค์อย่างสุดความนอบน้อม, สารภาพบาปและขอลุแก่โทษในสิ่งที่เคยผิดพลาด นอกจากนี้ยังทำให้มนุษย์มีสติอยู่ตลอดเวลา มิให้ฝุ่นผงแห่งความหลงลืมเกรอะกรังหัวใจ ให้กลายเป็นผู้นอบน้อมไม่อหังการ์ และเป็นผู้ที่แสวงหาผลกำไรทั้งในโลกนี้และโลกหน้า[8]

ท้ายนี้ขอแจ้งให้ทราบว่านักวิชาการชีอะฮ์หลายท่านได้กรุณาประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับรหัสยะของการนมาซไว้มากมาย อาทิเช่น
อิละลุชชะรอยิอ์ โดยเชคเศาะดู้ก
สิรรุศเศาะลาฮ์ วะ อาดาบุศเศาะลาฮ์ โดยอิมามโคมัยนี
ปรัชญาแห่งบทบัญญัติ โดยมุฮัมมัด วะฮีดี
รัศมีรหัสยะแห่งการนมาซ โดยมุฮ์ซิน กิรออะตี

ระเบียนที่เกี่ยวข้อง
นัยยะและผลดีของการนมาซ, 2997 (ลำดับในเว็บไซต์ 3242)
ปรัชญาแห่งเวลานมาซทั้งห้า, 3837 (ลำดับในเว็บไซต์ 4101)
ปรัชญาแห่งการตะชะฮุดและสลาม, 13141(ลำดับในเว็บไซต์ 12808)
ความจำเริญและคุณูปการของการนมาซในเชิงวัตถุและจิตวิญญาณ, 9593(ลำดับในเว็บไซต์ 10797)

 


[1] อันนะฮ์ลิ, 44 และ อาลิอิมรอน, 191

[2] อะอ์ร้อฟ, 173

[3] อัลอังกะบู้ต, 45 และ อัลบะเกาะเราะฮ์, 183

[4] อัลอังกะบู้ต, 45

[5] ฏอฮา, 14

[6] อัรเราะอ์ดุ, 24

[7] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ฮิกมะฮ์ที่ 252 وَ قَالَ (ع) فَرَضَ اللَّهُ الْإِیمَانَ تَطْهِیراً مِنَ الشِّرْکِ وَ الصَّلَاةَ تَنْزِیهاً عَنِ الْکِبْر

[8] เชคเศาะดู้ก, มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม1,หน้า 214, ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน,กุม,พิมพ์ครั้งที่สอง,ฮ.ศ.1404 และ เชคเศาะดู้ก, อิละลุชชะรอยิอ์,เล่ม 2,หน้า 317,ดอวะรี,กุม,พิมพ์ครั้งแรก

إنّ علة الصلاة أنها إقرار بالرّبوبیة للّه عزّ و جلّ، و خلع الأنداد و قیام بین یدی الجبّار جلّ جلاله بالذّلة و المسکنة و الخضوع و الاعتراف، و الطّلب للإقالة من سالف الذّنوب، و وضع الوجه على الأرض کلّ یوم إعظاما للّه جلّ جلاله و أن یکون ذاکرا غیر ناس و لا بطر.و یکون خاشعا متذلّلا راغبا طالبا للزیادة فی الدّین و الدنیا مع ما فیه من الإیجاب، و المداومة على ذکر اللّه عزّ و جل باللّیل و النهار و لئلّا ینسى العبد سیّده و مدبّره و خالقه، فیبطر و یطغى و یکون ذلک فی ذکره لربّه عزّ و جلّ، و قیامه بین یدی"

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ในวันอีดกุรบาน สามารถจะเชือดสัตว์กุรบานที่เขาหักได้หรือไม่?
    7221 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    หากกุรบานในที่นี้หมายถึงการเชือดกุรบานในพิธีฮัจย์ที่ต้องกระทำในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา อุละมาส่วนใหญ่ให้ทัศนะไว้ว่า หากสัตว์ที่จะนำมาเชือดกุรบานมีเขาแต่เดิมอยู่ ทว่าปัจจุบันไม่มี หรือหักไป สามารถนำมาเชือดกุรบานได้[1] เว้นแต่ว่าเขาภายในหักหรือถูกตัดไป ในกรณีนี้จะทำให้กุรบานไม่ถูกต้อง แต่หากเขาภายนอกหักถือว่าไม่เป็นไร[2] ส่วนการเชือดกุรบานนอกพิธีฮัจย์ที่เหนียตกระทำเพื่อผลบุญในเชิงมุสตะฮับนั้น หากจะเชือดสัตว์ที่เขาหักก็ไม่มีปัญหาใดๆ อย่างไรก็ดี เราได้สอบถามปัญหานี้จากสำนักงานของมัรญะอ์ตักลี้ดท่านต่างๆได้ความดังนี้ อายะตุลลอฮ์คอเมเนอี,ซีสตานี, มะการิมชีรอซี : ไม่มีปัญหาใดๆ อายะตุลลอฮ์ศอฟี โฆลพอยฆอนี: สามารถกระทำได้ อินชาอัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงตอบรับ คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] ผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ได้แก่ อายะตุลลอฮ์.. ...
  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    8094 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ
  • อะไรคือมาตรฐานความจำกัดของเสรีภาพในการพูดในมุมมองของอิสลาม
    5683 สิทธิและกฎหมาย 2553/12/22
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
    8962 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง ...
  • ฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดสิ้นลมโดยปราศจากสัตยาบัน ถือว่าเขาตายในสภาพญาฮิลียะฮ์” รวมถึงตัวท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยหรือไม่?
    7937 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/19
    สัตยาบัน(บัยอัต)มีสองด้านด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตามในเมื่อท่านนบีเป็นผู้นำจึงถือเป็นฝ่ายได้รับสัตยาบันมิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบันแน่นอนว่าฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าลำพังการรู้จักอิมามยังไม่ถือว่าเพียงพอแต่จะต้องเจริญรอยตามด้วยอย่างไรก็ดีฮะดีษข้างต้นมิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.)เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)นั้นเรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านรายละเอียดโปรดคลิกอ่านจากคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ในทางศาสนาแล้ว สามารถรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ได้หรือไม่?
    9405 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/27
    การขอรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์หากไม่นำสู่ธุรกรรมดอกเบี้ยและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างครบถ้วนก็ถือว่ากระทำได้ต่อไปนี้คือข้อควรระวังเกี่ยวกับสินเชื่อโดยสังเขป1. การขอรับสินเชื่อหรือขอกู้ยืมจากธนาคารหรือสหกรณ์ต้องไม่มีการระบุเงื่อนไขว่าจะต้องฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนอายะตุ้ลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า: หากการชำระเงินแก่กองทุนเป็นไปในลักษณะที่ว่าให้กองทุนกู้ไว้เพื่อกองทุนดังกล่าวจะตอบแทนด้วยการให้เขากู้ยืมเงินในภายหลังหรือกรณีที่กองทุนจะให้กู้ยืมโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขเหล่านี้ถือเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามและเป็นโมฆะทว่าการกู้ยืมทั้งสองกรณีถือว่าถูกต้อง[1]อย่างไรก็ดีการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสมาชิกหรือจะต้องมีภูมิลำเนาใกล้เคียงหรือเงื่อนไขอื่นๆที่จำกัดสิทธิในการยื่นขอกู้เงินนั้นถือว่าถูกต้องนอกจากนี้การสัญญาว่าจะให้สิทธิในการขอรับสินเชื่อเฉพาะผู้ที่จะเปิดบัญชีถือว่ากระทำได้แต่หากตั้งเงื่อนไขว่าจะมอบสินเชื่อในอนาคตเฉพาะผู้ที่เปิดบัญชีและวางเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขประเภทนี้เข้าข่ายผลประโยชน์เชิงนิติกรรมในการกู้ยืมซึ่งเป็นโมฆะ[2]2. จะต้องไม่ตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในการให้/รับเงินกู้ของธนาคารหรือสหกรณ์ฮุก่มของการให้ธนาคารกู้ไม่แตกต่างจากการกู้จากธนาคารฉะนั้นหากมีการตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในสัญญาให้กู้ย่อมถือเป็นการกำหนดดอกเบี้ยอันเป็นธุรกรรมต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นการฝากประจำหรือกระแสรายวันก็ตามแต่ในกรณีที่เจ้าของเงินมิได้ฝากเงินด้วยเจตนาที่จะได้รับผลกำไรในลักษณะที่หากธนาคารไม่ให้ผลตอบแทนเขาก็ไม่ถือว่าตนมีสิทธิทวงหนี้จากธนาคารกรณีเช่นนี้สามารถฝากเงินในธนาคารได้[3]3. การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัติถือว่าถูกต้องท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า: การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัตินั้นไม่จัดอยู่ในประเภทการกู้ยืมหรือการให้ยืมและผลประกอบการที่ธนาคารได้รับก็ไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยฉะนั้นจึงสามารถรับเงินจากธนาคารเพื่อซื้อเช่าหรือสร้างบ้านได้ส่วนกรณีที่เป็นการกู้ยืมและธนาคารได้ตั้งเงื่อนไขว่าต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแม้การจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งต้องห้ามก็ตามแต่ตัวของการกู้ยืมถือว่าถูกต้องแล้วสำหรับผู้กู้ยืมและสามารถใช้เงินที่กู้มาได้[4]สรุปคือสินเชื่อที่รับจากธนาคารซึ่งต้องจ่ายคืนมากกว่าเงินต้นนั้นจะถือว่าถูกต้องตามหลักศาสนาก็ต่อเมื่อเข้าข่ายธุรกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งที่อิสลามอนุมัติและไม่เป็นธุรกรรมดอกเบี้ยเท่านั้น[5]อนึ่งขอกล่าวทิ้งท้ายว่าหากไม่มีทางเลือกอื่นจริงๆและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำสิ่งต้องห้าม(กู้พร้อมดอกเบี้ย) ก็ถือว่าอนุโลมท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า:
  • เพราะเหตุใดอัลกุรอานจึงเป็นโองการ โองการ? และซูเราะฮฺใดจากซูเราะฮฺต่างๆ ที่ได้ประทานแก่นะบี (ซ็อลฯ) ในครั้งเดียว?
    14946 วิทยาการกุรอาน 2555/09/29
    อัลกุรอานถูกประทานลงมาในสองลักษณะกล่าวคือ ลงมาคราวเดียวกัน และทยอยลงมา (เป็นโองการ โองการ และเป็นซูเราะฮฺ ซูเราะฮฺ) ขณะเดียวกันได้มีเหตุผลกล่าวไว้ถึงการทยอยประทานลงมา เช่น : 1.เพื่อสร้างความมั่นคงแก่จิตใจของนะบี 2.เพื่อความต่อเนื่องของวะฮฺยู และการทยอยประทานลงมานั้นได้สร้างความอบอุ่นใจแก่ท่านนะบี (ซ็อลฯ) และบรรดามุสลิมทั้งหลาย 3.เพื่อจะได้ทิ้งช่วงในการอ่านแก่ประชาชน เป็นการง่ายดายต่อการจดจำของพวกเขา สามารถคิดใคร่ครวญได้อย่างรอบคอบ และจดจำได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังให้ความรู้และการปฏิบัติตามใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเนื่องจากว่ามีประเด็นเรื่องราวถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานมากมาย ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องจัดแบ่งประเด็นเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่ และหมวดหมู่เหล่านั้น ที่มีความเหมาะสมกันยังถูกจัดไว้ในหมวดเดียวกัน ซึ่งแยกไปจากหมวดอื่น ด้วยเหตุนี้เอง จึงเห็นว่าอัลกุรอานถูกจัดเป็นโองการๆ และเป็นบทแยกต่างหาก สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงขอบข่าย การเริ่มต้น และสิ้นสุดของทุกโองการ ได้ถูกกระทำขึ้นตามคำสั่งของท่านนะบี (ซ็อลฯ) ซึ่งจำเป็นต้องยอมรับสิ่งนั้นโดยปริยาย แน่นอน อัลกุรอานบางบทอาจมีขนาดเล็ก ...
  • การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
    9249 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้ถามอัลกุรอานว่าเราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือเรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใดเว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ"وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" อิบาดะฮฺ
  • ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
    10328 بیشتر بدانیم 2557/02/12
    “เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1] นิยามของเศาะดะเกาะฮ์ เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2] บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน 1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ ...
  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    5808 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59361 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56815 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41637 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38387 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38382 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25174 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...