การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9437
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2557/02/16
คำถามอย่างย่อ
เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
คำถาม
เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
คำตอบโดยสังเขป
นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ
1. อะกี้ก
2. บัฏฮาต
3. เกาะน้าต[1]
เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม  2. หลังยุคอิสลาม
1. ก่อนยุคอิสลาม
กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน
1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ บิน อิร็อม บิน สิลม์ บิน นูห์[2]
1.2 บางคนเชื่อว่าผู้ที่ตั้งรกรากเป็นคนแรกก็คือ ยัษริบ บิน กอฟิยะฮ์ บิน มะฮ์ลาบีล บิน อิร็อม บิน อะบีล บิน เอาศ์ บิน อิร็อม ซาม บิน นูห์[3]
1.3 บางคนให้ทัศนะว่า บรรพชนของนครมะดีนะฮ์ที่ตั้งรกรากภายหลังวาตภัยครั้งใหญ่ก็คือ ชนเผ่าเศาะอล์ และ ฟาลิห์ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ฉ้อฉลและอันธพาล ต่อมาพระองค์ได้ส่งท่านนบีดาวู้ด (อ.) มาเพื่อขัดเกลาพวกเขา[4]
1.4 กลุ่มสุดท้ายเชื่อว่าชนชาติอะมาลิเกาะฮ์ (Giants) ตั้งรกราก ณ แผ่นดินยัษริบและสร้างเมืองนี้ขึ้นมา อย่างไรก็ดี ชาวยิวได้อพยพไปตั้งถิ่นฐาน ณ แผ่นดินดังกล่าวครั้งแล้วครั้งเล่า นักประวัติศาสตร์เล่าว่าคณะผู้อพยพชาวยิวกลุ่มแรกน่าจะเข้าสู่เมืองนี้ตั้งแต่เจ็ดร้อยถึงหนึ่งพันปีก่อน
และเมื่อราวๆ 400 – 500 ปีก่อนยุคอิสลาม สองชนเผ่าจากเยเมนที่มีนามว่า เอาส์ และ ค็อซร็อจ ได้เดินทางเข้าสู่เมืองยัษริบนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ในที่สุด สองเผ่าดังกล่าวได้มีโอกาสต้อนรับท่านนบี (ซ.ล.) และบรรดาสาวกในปีที่ 13 ภายหลังจากบิอ์ษะฮ์ (การแต่งตั้งเป็นศาสดา) และได้แสดงบทบาทสำคัญในการปกป้องและเผยแผ่อิสลาม ตลอดจนขยายนครยัษริบให้กว้างขวางกว่าเดิม[5]
2. ยุคอิสลาม
ในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ปีที่ 11 ภายหลังบิอ์ษะฮ์ ท่านนบี (ซ.ล.) ได้มีโอกาสสนทนาและนำเสนออิสลามแก่ชาวค็อซร็อจจำนวน 6 คน ทำให้ในปีถัดไป มีชาวยัษริบ 11 คนเดินทางมาให้สัตยาบันกับท่านนบี (ซ.ล.) ที่อะเกาะบะฮ์ในแผ่นดินมินา ในปีที่ 13 ชาวเอาส์และค็อซร็อจจำนวน 73 ซึ่งในจำนวนนี้มีสตรีสองคนร่วมอยู่ด้วย ได้ประกาศรับอิสลามและเชิญชวนท่านให้อพยพไปยังเมืองยัษริบ โดยขอร้องให้ท่านขึ้นเป็นผู้ครองนคร
ในคืนแรกของเดือนรอบีอุลเอาวัล ปีที่ 14 (ภายหลังบิอ์ษะฮ์) ท่านนบีได้รับพระบัญชาจากอัลลอฮ์ให้อพยพสู่เมืองยัษริบ การอพยพจากมักกะฮ์สู่ยัษริบครั้งนี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญทางประวัติศาสตร์สำหรับอิสลามและโลก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองยัษริบจึงได้รับการขนานนามว่า “มะดีนะตุนนบี” (ศาสดานคร) หรือเรียกสั้นๆว่า “มะดีนะฮ์” และได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นระบบตามระบอบอิสลาม
นับตั้งแต่การเผยแผ่อิสลาม ท่านนบีได้ชี้นำชาวยัษริบสู่ทางนำ สันติภาพ และมิตรภาพ อีกทั้งได้เยียวยาความพยาบาทที่ฝังแน่นในประวัติศาสตร์ของสองเผ่า เอาส์ และค็อซร็อจ และได้นำสันติสุขและความร่มเย็นกลับสู่เมืองนี้ด้วยการหล่อหลอมสองเผ่าดังกล่าวให้สมานแน่นภายใต้ชื่อ “อันศ้อร”
 

[1] บิน สะลาม, อะห์มัด สะอี้ด, อัลมะดีนะตุล มุเนาวะเราะฮ์ ฟิล ก็อรนิ อัรรอบิอ์ อะชัร อัลฮิจรี, หน้า 13, พิมพ์ที่มะดีนะฮ์, ฮ.ศ.1414
[2] มัสอูดี, อบุลฮะซัน, อลี บิน ฮุซัยน์ ชาฟิอี, มุรูญุซซะฮับ วะ มะอาดินุลเญาฮัร, เล่ม 2, หน้า 155, สำนักพิมพ์อัลบะฮียะฮ์, อิยิปต์, ดารุลเกาะลัม, เลบานอน, ฮ.ศ.1408
[3] เพิ่งอ้าง
[4] ซัมฮูดี, อบุลฮะซัน อลี บิน อะห์มัด, วะฟาอุลวะฟา บิอัคบาริ ดาริล มุศเฏาะฟา, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย มุฮัมมัด บิน มุฮ์ยิดดีน อับดุลฮะมีด, เล่ม 1, หน้า 165, สำนักพิมพ์ อัสสะอาดะฮ์, ไคโร, พิมพ์ครั้งแรก, ฮ.ศ.1374
[5] กอเอดอน, อัศกัร, ทอรีค วะ ออซอเร เอสลอมี มักเคะฮ์ วะ มะดีเนะฮ์, หน้า 175, ศูนย์วิจัยฮัจย์ มัชอัร, เตหราน, อิหร่านศักราช 1390
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    8796 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    6625 ازدواج، خانواده، طلاق و 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    6367 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • อาริสโตเติลเป็นศาสดาแห่งพระเจ้าหรือไม่?
    8382 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    อาริสโตเติล, เป็นนักฟิสิกส์ปราชญ์และนักปรัชญากรีกโบราณเป็นลูกศิษย์ของเพลโตและเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่งในโลกตะวันตก
  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    11698 بروج 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • มีหนทางใดบ้างสำหรับรักษาสายตาอันร้ายกาจ?
    6427 چشم زخم و طلسم 2555/07/16
    สายตาอันร้ายกาจเกิดจากผลทางจิตวิญญาณ ซึ่งไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธแต่อย่างใด,ทว่ามีเหตุการณ์จำนวนมากมายที่เราได้เห็นกับตาตัวเอง มัรฮูมเชคอับบาส กุมมี (รฮ.) แนะนำให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะลัม เพื่อเยียวยาสายตาอันร้ายกาจ, ซึ่งเมื่อพิจารณาสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการแล้ว เหมาะสมกับการรักษาสายตาอันร้ายกาจอย่างยิ่ง นอกจากโองการดังกล่าวแล้ว ยังมีรายงานกล่าวเน้นถึง การอ่านอัลกุรอานบทอื่นเพื่อรักษาสายตาอันร้ายกาจไว้อีก เช่น อัลกุรอานบท »นาส« »ฟะลัก« »ฟาติฮะฮฺ« »เตาฮีด« นอกจากนี้ตัฟซีรอีกจำนวนมากยังได้กล่าวเน้นให้อ่านอัลกุรอานบทที่กล่าวมา ...
  • กรุณาอธิบายถึงแก่นอันเป็นพื้นฐานหลักของแนวคิดชีอะฮฺ พร้อมกับคุณลักษณะต่างๆ?
    18045 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    พื้นฐานแนวคิดหลักของชีอะฮฺและวิชาการทั้งหมดของชีอะฮฺได้รับจากอัลกุรอาน อัลกุรอานไม่ว่าจะเป็นความหมายภายนอกโองการหรือภายใน,หรือแม้แต่การนิ่งเฉยหรือการแสดงออกของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ถือว่าเป็นข้อพิสูจน์และเหตุผลทั้งสิ้นและผลของสิ่งเหล่านี้,คำพูดการนิ่งเฉยและการกระทำของอิมาม (อ.) ก็เป็นเหตุผลด้วย นอกจากอัลกุรอานแล้วยังถือว่าการพิสูจน์ด้วยสติปัญญาก็เป็นเหตุผลด้วยเหมือนกันซึ่งการค้นคว้าได้รับการสนับสนุนและเน้นย้ำไว้อย่างยิ่ง แนวทางในการได้รับแนวคิดเช่นนี้สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ 1. มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์บริสุทธิ์จากความบกพร่องและคุณลักษณะไม่สมบูรณ์ต่างๆ,พระองค์พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะสมบูรณ์ทั้งหลายทั้งปวง 2. มีความเชื่อในเรื่องความดีและความชั่วของภูมิปัญญากล่าวคือภูมิปัญญารับรู้ว่าพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากกระทำสิ่งชั่วร้าย 3. มีความเชื่อในเรื่องความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าและบรมศาสดาท่านสุดท้าย 4. มีความเชื่อว่าการแต่งตั้งและการกำหนดตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ต้องมาจากพระเจ้าเท่านั้นโดยผ่านศาสดาหรืออิมามคนก่อนหน้านั้นจำนวนตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มี 12 คนบุคคลแรกจากพวกเขาคือท่านอิมามอะลีบุตรของอบีฏอลิบ (อ.) ส่วนคนสุดท้ายจากพวกเขาคือท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ซึ่งณปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่รอคอยพระบัญชาจากพระเจ้าให้ปรากฏกายออกมา 5. มีความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายการได้รับรางวัลตอบแทนและการลงโทษในการกระทำ ...
  • เหตุใดอิสลามต้องบริหารโดยบรรดาฟุกอฮาอ์?
    5203 เทววิทยาใหม่ 2554/09/11
    อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายบทบัญญัติต่างๆของอิสลามล้วนมีลักษณะถาวรและดังที่อิสลามสามารถตอบโจทก์ได้ในอดีตก็ย่อมจะต้องตอบทุกโจทก์ในอนาคตได้เช่นกัน อีกด้านหนึ่งนับวันก็ยิ่งจะมีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นรายวันซึ่งล้วนไม่เคยเกิดขึ้นในอดีตเมื่อต้องพิจารณาปัญหาใหม่ๆโดยอ้างอิงหลักการที่เปรียบเสมือนกฏหมายแม่อิสลามจึงกำหนดวิธีการเฉพาะกิจโดยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญปัญหาศาสนาที่รู้ทันสถานการณ์โลกทำการค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาต่างๆโดยจะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขและความจำเป็นต่างๆของสังคมและประชาคมโลกเพื่อให้ได้มาซึ่งปรัชญา
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    6547 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
    18861 อัล-กุรอาน 2553/10/21
    วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัสหรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันของคำนี้ในพระคัมภีร์กุรอาน ทำให้เราได้พบหลายประเด็นที่สำคัญ : อันดับแรก วะฮฺยูไม่ได้เฉพาะพิเศษสำหรับมนุษย์เท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นด้วย .... (วะฮฺยู เมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งมีชีวิตก็คือ การชี้นำอาตมันและสัญชาติญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการชี้นำในเชิงตักวีนีของพระเจ้า เพื่อชี้นำพวกเขาไปยังเป้าหมายของพวกเขา) แต่ระดับชั้นที่สูงที่สุดของวะฮฺยู เฉพาะเจาะจงสำหรับบรรดาศาสดา และหมู่มวลมิตรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การดลความหมายนบหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือการสนทนาของพระเจ้ากับท่านเหล่านั้น บทสรุปก็คือโดยหลักการแล้วการดลอื่นๆ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57983 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55458 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40702 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37611 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36594 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32664 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26857 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26428 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26207 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24320 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...