การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5825
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1283 รหัสสำเนา 16554
คำถามอย่างย่อ
การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
คำถาม
การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่น เพื่อบำบัดกามารมณ์ สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์ เสริมพัฒนาการของมนุษย์ ความร่มเย็น และระงับกิเลสตัณหา ฯลฯ
ในปริทรรศน์ของอิสลาม การสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนา
ในเชิงสังคม การสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้ ความผาสุกของคนรุ่นหลังจึงขึ้นอยู่กับครอบครัวอย่างชัดเจน
พระผู้สร้างได้บันดาลให้เกิดความรักฉันสามีภรรยาและความรักฉันบุพการีและบุตรธิดา ทั้งนี้ก็เพื่อให้กำเนิด ปกปักษ์รักษา และอบรมสั่งสอนชนรุ่นหลังอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมนุษยธรรมและจิตสำนึกต่อสังคมจะเกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อมของบ้าน และความอบอุ่นที่พ่อและแม่มอบให้ลูกตามธรรมชาติจะส่งผลให้จิตวิญญาณของเด็กอ่อนโยน

แต่นักวิชาการคริสเตียนบางคนกลับมีความเชื่อที่ว่า การสมรสจะเป็นบ่อเกิดของความเสื่อมเสียในสังคม ส่วนบางกลุ่มยอมรับการสมรสอย่างไม่มีทางเลือก เนื่องจากต้องการคงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์

คำตอบเชิงรายละเอียด

แม้การสมรสจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสุขสมทางเพศ แต่ก็ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิและเป็นอิบาดัตในมุมมองของอิสลาม
หนึ่งในเหตุผลของภาวะดังกล่าวก็คือ การสมรสนับเป็นก้าวแรกของการข้ามผ่านการปรนเปรอตนเองไปสู่การเสียสละให้ผู้อื่น ก่อนสมรสทุกคนเคยชินกับตัวฉันและเพื่อฉันแต่เมื่อสมรสแล้ว ก็ทำให้สามารถฝ่ากรอบความคิดดังกล่าวออกไปได้ โดยการมีผู้อื่นมาเคียงข้างและมีคุณค่าต่อเรา

หากสังเกตุจะพบว่าความเสื่อมทรามของสังคมปัจจุบันนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว นั่นเพราะพ่อแม่ก็ปล่อยปละละเลยบุตรหลาน ลูกๆไม่ให้เกียรติพ่อแม่ ความผูกพันระหว่างสามีภรรยานับวันจะขาดสะบั้นลง
อีกแง่มุมหนึ่ง อิสลามมองว่าการสมรสคือปัจจัยในการดำรงชีวิตอยู่ในศีลธรรม ท่านนบี(..)กล่าวแก่เซด บิน ฮาริษะฮ์ว่าจงสมรสเถิด เพื่อเธอจะดำรงอยู่ในศีลธรรมจรรยา[1] และอีกฮะดีษกล่าวว่าจงหาคู่ครองให้บุตรหลานเถิด เพื่อมารยาทของพวกเขาจะดีขึ้น ปัจจัยยังชีพจะกว้างขวางยิ่งขึ้น และความเป็นชายชาตรีจะเพิ่มมากขึ้น[2] อีกฮะดีษหนึ่ง ท่าน(..)กล่าวแก่สตรีนางหนึ่งที่ตั้งใจว่าจะไม่แต่งงานเด็ดขาดว่าการสมรสจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการรักนวลสงวนตัว[3]

การสมรสจะช่วยให้เกิดความสงบทางจิตใจ ดังที่กุรอานกล่าวว่าสัญลักษณ์หนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงสร้างคู่ครองเสมือนสูเจ้าเพื่อบังเกิดความสงบ และทรงบันดาลให้เกิดความรักและความเมตตาระหว่างสูเจ้า[4]
อิสลามถือว่ากามารมณ์เป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานแก่มนุษย์เพื่อรองรับสถาบันครอบครัว อันเป็นหลักประกันการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์
เมื่อพิจารณาจากหน้าประวัติศาสตร์จะพบว่า ไม่มีสัญชาตญาณใดที่เป็นจุดอ่อนสำหรับมนุษย์และส่อเค้าจะพลุ่งพล่านยิ่งไปกว่ากามารมณ์ ตรงนี้เองที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ต้องควบคุมสัญชาตญาณนี้อย่างเข้มงวดเพียงใด

และเนื่องจากกามารมณ์เป็นบ่อเกิดของภัยคุกคามต่างๆต่อสังคมมนุษย์ นักวิชาการจึงพยายามหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้
บางสำนักคิดเช่น พุทธศาสนา ศาสนามานี และแนวคิดของเลโอ ตอลสตอย เชื่อว่าจะต้องหยุดกามารมณ์เพื่อให้มนุษย์พ้นจากภัยคุกคาม โดยให้เหตุผลว่ากามารมณ์มักจะโน้มนำสู่ความต่ำทราม และเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรมต่างๆ
เบอร์ทรานด์ รัสเซิ้ล ปรัชญาเมธีร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงด้านสังคมเคยกล่าวไว้ว่าแนวคิดต้านกามารมณ์มีปรากฏตั้งแต่ยุคโบราณ ซึ่งจะมีอิทธิพลโดยเฉพาะในดินแดนที่คริสตศาสนาหรือพุทธศาสนาได้รับความนิยมเซอร์ ทาร์ค ได้ยกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดที่เชื่อว่าเพศสัมพันธ์คละคลุ้งไปด้วยความสามานย์
ความเชื่อที่ว่าเพศหญิงคือตัวการแห่งความหายนะได้แพร่จากเปอร์เซียโบราณสู่ดินแดนทางตะวันออก ซึ่งก่อให้เกิดแนวคิดที่ว่าเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องสกปรก ความคิดดังกล่าวเมื่อได้รับการปรับปรุงเล็กน้อยก็ตรงกับทัศนคติของคริสตจักรนั่นเอง ทัศนคติเชิงลบดังกล่าวกำราบจิตใต้สำนึกของคนจำนวนมากให้ต้องหวาดผวา นักจิตวิเคราะห์หลายท่านเชื่อว่าทัศนคติเช่นนี้ก่อให้เกิดความผิดปกติทางจิตได้

อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าไม่ควรปิดกั้นกามารมณ์ไม่ว่าจะกรณีใด เพื่อไม่ให้เกิดความพลุ่งพล่านอันนำไปสู่อาชญากรรมในสังคม การปฏิบัติตามทัศนคติเช่นนี้ทำให้ประชาคมตะวันตกจมปลักอยู่ในความต่ำทราม โดยที่ศาสนาคริสต์เหลือความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น

ท่ามกลางสองขั้วความสุดโต่งนี้ อิสลามเชื่อว่ากามารมณ์มิไช่สิ่งเลวร้ายโดยสิ้นเชิงที่จะต้องกำราบให้หมดไป แต่ก็ไม่ควรปล่อยอิสระ ทางออกก็คือจะต้องควบคุมให้อยู่ในทำนองคลองธรรม และจะต้องอยู่ใต้อาณัติของมนุษย์ มิไช่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ โดยอิสลามเชื่อว่าวิธีบำบัดกามารมณ์ที่ถูกต้องตามธรรมชาติก็คือ การสมรส
ทีนี้เราจะมาดูกันว่าคริสตศาสนาในฐานะที่ไม่เห็นด้วยกับการสนองกามารมณ์ จะมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการสมรส
มีความเป็นไปได้ที่ทัศนคติเชิงลบของคริสตจักรเกี่ยวกับการบำบัดความไคร่ เกิดจากการตีความสถานะโสดของพระเยซู โดยถือว่าพระเยซูครองโสดก็เพราะเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งต่ำทราม ด้วยเหตุนี้เองที่นักบุญและบาทหลวงคริสต์(หลายนิกาย)เชื่อว่าการไม่แตะต้องอิสตรีตลอดชีวิตถือเป็นเงื่อนไขสำหรับพัฒนาการทางจิตวิญญาณ ซึ่งโป๊ปก็ได้รับเลือกจากบุคคลเหล่านี้เท่านั้น

การครองโสดของบาทหลวงและพระคาร์ดินัลทำให้เริ่มเกิดทัศนคติที่ว่าสตรีเป็นเพศแห่งราคะและการเย้ายวนและถือเป็นซาตานขั้นเบื้องต้น โดยทั่วไปแล้วบุรุษเพศจะไม่ทำบาป แต่เพราะการยั่วยวนของอิสตรีจึงทำให้บุรุษเพศกระทำบาป คนกลุ่มนี้เล่าเรื่องนบีอาดัมกับพระนางเฮาวาว่า จริงๆแล้วซาตานไม่อาจจะยุแหย่อาดัมได้ จึงได้เกลี้ยกล่อมอีฟก่อน แล้วให้อีฟเกลี้ยกล่อมอาดีมอีกทอดหนึ่ง ฉะนั้นซาตานตัวจริงจะหลอกล่อสตรี แล้วให้สตรีหลอกล่อบุรุษ แต่คัมภีร์อัลกุรอานได้สวนทัศนคติเช่นนี้ โดยมิได้ถือว่าเพศใดเป็นหลักและอีกเพศเป็นเสมือนกาฝาก ทั้งนี้ก็เพราะกุรอานปรารภว่าเราได้บัญชาแก่ทั้งสองว่าเธอทั้งสองจงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้ต้นนี้และยังกล่าวอีกว่าชัยฏอนได้หลอกลวงเขาทั้งสองมิได้กล่าวว่าหลอกลวงสตรีหนึ่งและนางหลอกลวงสามีอีกทอดหนี่ง นบีอาดัมพลาดพลั้งหลงเชื่อชัยฏอนเท่าๆกับที่พระนางเฮาวาหลงเชื่อ และอาจเป็นเพราะต้องการพิทักษ์สถานะของสตรีเพศกระมังที่กุรอานนับว่าท่านหญิงมัรยัมเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ยิ่งใหญ่

คริสตจักรอนุมัติให้สมรสได้ก็เนื่องจากต้องคงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์ ในขณะที่อิสลามถือว่าการสมรสคือจารีตของศาสดา โดยเชื่อว่าหากผู้ใดทำการสมรส ถือว่าครึ่งหนึ่งของศาสนาของเขาได้รับการเติมเต็มแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่มีโอกาสสมรสก็ให้สำรวมตนเพื่อควบคุมกามารมณ์ไปก่อน
ท้ายนี้ขอนำเสนอฮะดีษที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
ท่านอิมามริฎอ(.)กล่าวว่าหากแม้ไม่มีคำสั่งให้ผู้คนต้องสมรสกัน เพียงพอแล้วที่คุณานุประโยชน์ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้สำหรับการนี้จะโน้มนำผู้มีความคิดให้แสวงหาการสมรส”(อย่างเช่นคุณประโยชน์ด้านสังคมอาทิเช่นการกระชับสัมพันธ์กับผู้อื่น)
ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงหาคู่ครองให้ชายโสดเถิด เพื่อมารยาทของพวกเขาจะดีขึ้น ปัจจัยยังชีพจะกว้างขวางยิ่งขึ้น และความเป็นชายชาตรีจะเพิ่มมากขึ้น[5]
มีหญิงคนหนึ่งกล่าวต่อท่านอิมามศอดิก(.)ว่า ดิฉันเป็นหญิงที่สละแล้วซึ่งโลกย์ ท่านอิมามถามว่า เธอหมายความว่าอย่างไร? นางตอบว่า ดิฉันไม่คิดจะแต่งงาน อิมามถามว่า เพราะอะไรหรือ? นางตอบว่า เพราะดิฉันหวังจะได้รับผลบุญ อิมามกล่าวว่า จงกลับไปเถิด หากการครองโสดถือเป็นความประเสริฐแล้วล่ะก็ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ที่มีความประเสริฐเหนือสตรีทั้งมวลย่อมจะปฏิบัติเช่นนี้ก่อนเธอเป็นแน่!
มีรายงานจากท่านนบี(..)ว่า ประตูแห่งฟากฟ้าจะเปิดกว้างในสี่เวลา 1. ขณะฝนตก 2. ขณะที่บุตรมองใบหน้าบิดา 3. ขณะที่ประตูกะอ์บะฮ์เปิดออก 4. ขณะที่มีการอักด์สมรส[6]
ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่านมาซเพียงสองร่อกะอัตของชายที่มีภรรยาเหนือกว่านมาซของชายโสดกว่าเจ็ดสิบร่อกะอัต[7]
มีฮะดีษระบุว่า ผู้ใดไม่ยอมสมรสเนื่องจากกลัวความยากจน แสดงว่าเขาดูแคลนพระองค์ เพราะพระองค์ทรงตรัสว่า หาก(ชาย)เป็นผู้ยากไร้ พระองค์จะทรงประทานความโปรดปรานแก่เขาให้สมปรารถนา[8]
ฮะดีษมากมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่อิสลามจะไม่รังเกียจการสมรสเท่านั้น แต่ยังรณรงค์ให้กระทำในฐานะที่เป็นมุสตะฮับ(ซุนนัต)

อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าอิสลามจะอนุมัติให้สมรสโดยไม่พิจารณาความเหมาะสมใดๆเลย เนื่องจากสังคมที่ดีย่อมเกิดจากครอบครัวที่ดี และครอบครัวที่ดีย่อมเกิดจากการสมรสที่เหมาะสมและตั้งอยู่บนการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเท่านั้น[9]
กล่าวคือ อิสลามได้นำเสนอมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่ดีเยี่ยมแก่เรา โดยได้ประมวลคุณลักษณะที่คู่ครองพึงมีไว้ซึ่งจะขอนำเสนอโดยสังเขปดังนี้
1. ควรมีศรัทธาที่แท้จริง เนื่องจากผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับพระเจ้าย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่า
2. ควรมีจรรยามารยาทในชีวิต เพื่อเพิ่มความสุขและความชื่นฉ่ำใจแก่สมาชิกครอบครัว มีฮะดีษระบุว่าการมีคู่ครองที่นิสัยดุร้ายจะทำให้บุคคลแก่กว่าวัย
3. ควรมีครอบครัวที่ดีและเหมาะสม ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงหลีกเลี่ยงต้นกล้าที่งอกเงยจากกองขยะ อันหมายถึงสตรีเลอโฉมที่เติบโตในครอบครัวที่ไม่ดีและกุรอานระบุว่า เราได้สร้างบุรุษและสตรีเพื่อกันและกัน และเป็นแหล่งพักพิงอันสงบของกันและกัน และถือว่าสตรีถือเป็นสิ่งดีๆในชีวิตบุรุษเพศ
4. ไม่ควรกำหนดมะฮัรมากเกินไป ท่านนบี(..)กล่าวว่าสตรีที่ประเสริฐสุดในประชาชาติของฉันคือสตรีที่เลอโฉมกว่าแต่ตกมะฮัรน้อยกว่า
5. ไม่ควรเน้นพิธีรีตองที่ไม่จำเป็น หรือมีการรื่นเริงเกินขอบเขต อันจะทำให้ประตูแห่งความพิโรธของพระองค์จะเปิดออกแก่คู่สมรสแทนความโปรดปราน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็อาจทำให้ชีวิตคู่อาจไม่ได้รับความราบรื่นในอนาคต

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือต่อไปนี้
1. จริยธรรมทางเพศในอิสลามและโลกอรับ,ชะฮีดมุเฏาะฮะรี
2. การแต่งงานในทัศนะอิสลาม,แปลโดยอะห์มัด ญันนะตี
3. ท่านหญิงซะฮ์รอ, ฟัฎลุลลอฮ์ โคมพอนี



[1] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เชคฮุร อามิลี,เล่ม 20,หน้า 35

[2] บิอารุ้ลอันว้าร,มุฮัมมัดบากิร มัจลิซี,เล่ม 103,หน้า 222

[3] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เชคฮุร อามิลี,เล่ม 20,หน้า 166

[4] ซูเราะฮ์ อัรรูม, 21
و من آیاته ان خلق لکم من انفسکم ازواجا لتسکنوا الیها و جعل بینکم مودة و رحمة ان فی ذلک ‏لآیات لقوم ‏یتفکرون

[5] อันนะวาดิร,รอวันดี,หน้า 36

[6] บิอารุ้ลอันว้าร,เล่ม 100,หน้า 221, หมวด 1 کراهة العزوبة و الحث على...

[7] อ้างแล้ว

[8] อัลกาฟี,เล่ม 5,หน้า 331

[9] ดู: บทความ: ความสำคัญของการสมรสในทัศนะอิสลามและศึกษาเปรียบเทียบกับทัศนคติของคริสเตียน,พู้รซัยยิดี

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การอยู่ตามลำพังกับหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม ภายในห้องเดียวกัน เป็นอะไรหรือไม่?
    18162 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    คำหลักคำสอนของศาสนา,หนึ่งในหลักการที่สอนให้มนุษย์มีความบริสุทธิ์และปกป้องตนจากการทำความผิดคือ การห้ามมิให้อยู่กับหญิงสาวตามลำพังภายในห้องเดียวกัน คำสั่งเสียของชัยฏอน ที่มีต่อมูซา (อ.) ที่ว่า “โอ้ มูซาจงอย่าอยู่ตามลำพังกับหญิงสองต่อสองในที่เดียวกัน เนื่องจากบุคคลใดก็ตามกระทำเช่นนี้ ฉันจะเป็นเพื่อนกับเขา มิใช่ผู้ช่วยเหลือเขา”[1] เช่นเดียวกันท่อนหนึ่งจากคำแนะนำที่มารมีต่อศาสดานูฮฺ (อ.) “เมื่อใดก็ตามที่เจ้าได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง ในที่นั้นจะไม่มีใครอยู่กับเจ้าเลย แล้วเจ้าจะคิดถึงเรา”[2] ด้วยเหตุนี้เอง, จากการที่ชัยฏอน จะอยู่กับเราในที่ซึ่งเราได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง การอยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแห่งการกระซิบกระซาบของชัยฏอน ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องเตือนสำทับในที่นี้คือ บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ที่เราได้จำเป็นต้องอยู่ตามลำพังกับนามะฮฺรัม เนื่องด้วยความจำเป็นด้านการศึกษาค้นคว้า การให้คำปรึกษา และอื่นๆ ดังนั้น ในกรณีที่จำเป็นเหล่านี้ ถ้าหากใส่ใจและมีความเคร่งครัดต่อคำสอนของศาสนาและชัรอียฺ หรือให้เลือกอยู่ในที่สาธารณเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เพื่อปิดประตูการหยุแหย่ของชัยฏอน
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    11533 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”
  • เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา
    7198 شیعه و قرآن 2557/01/22
    ไม่มีคำสั่งหรือรายงานใดจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอาน ตามการประทานลงมามาถึงพวกเรา การรวบรวมอัลกุรอานได้ถูกกระทำลงไปหลายขั้นตอนด้วยกัน ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอัลกุรอานตามการประทานลงมา แต่ในที่สุดอัลกุรอานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการรวบรวมโดยเหล่าบรรดาสากวก โดยได้รับความเห็นชอบจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ว่าสมบูรณ์ ...
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    12635 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • อัมร์ บิน อ้าศมีอุปนิสัยอย่างไรในประวัติศาสตร์?
    9489 تاريخ بزرگان 2554/08/02
    อัมร์ บิน อ้าศ บิน วาอิ้ล อัสสะฮ์มี โฉมหน้านักฉวยโอกาสที่แฝงด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ถือกำเนิดจากหญิงที่ชื่อ“นาบิเฆาะฮ์” บิดาของเขาคืออ้าศ บิน วาอิ้ล เป็นมุชริกที่เคยถากถางเยาะเย้ยท่านนบีด้วยคำว่า“อับตัร”หลังจากกอซิมบุตรของท่านนบีถึงแก่กรรมในวัยแบเบาะ ซึ่งหลังจากนั้น อัลลอฮ์ได้ประทานอายะฮ์ “ان شانئک هو الابتر” เพื่อโต้คำถากถางของอ้าศอัมร์ บิน อ้าศ เป็นที่รู้จักในเรื่องความเจ้าเล่ห์ ในสมัยที่อิมามอลี(อ.)ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ เขากลายเป็นมือขวาของมุอาวิยะฮ์ในสงครามศิฟฟีนเพื่อต่อต้านท่าน และสามารถล่อลวงทหารฝ่ายอิมามเป็นจำนวนมาก ท้ายที่สุดก็ใช้เล่ห์กลหลอกอบูมูซา อัลอัชอะรี เพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่มุอาวิยาะฮ์ ท้ายที่สุดได้รับแต่งตั้งโดยมุอาวิยะฮ์ให้เป็นผู้ปกครองเมืองอิยิปต์ ...
  • อ่านกุรอานซูเราะฮ์ใดจึงจะได้ผลบุญมากที่สุด?
    23988 วิทยาการกุรอาน 2554/06/28
    อิสลามถือว่ากุรอานคือครรลองสำหรับการดำเนินชีวิตและเป็นชุดคำสอนที่จะเสริมสร้างจิตวิญญาณมนุษย์ให้สมบูรณ์หากจะอัญเชิญกุรอานโดยคำนึงเพียงว่าซูเราะฮ์ใดมีผลบุญมากกว่าก็ย่อมจะสูญเสียบะเราะกัต(ความศิริมงคล)ที่มีในซูเราะฮ์อื่นๆฉะนั้นจึงควรอัญเชิญกุรอานให้ครบทุกซูเราะฮ์และพยายามนำสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ดีแต่ละซูเราะฮ์มีคุณสมบัติพิเศษในแง่ของความศิริมงคลและผลบุญตามคำบอกเล่าของฮะดีษอาทิเช่นซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์มีฐานะที่เทียบเท่าเศษสองส่วนสามของกุรอานหรืออายะฮ์กุรซีที่เป็นที่กล่าวขานกันถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลหรือซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ที่เทียบเท่าเศษหนึ่งส่วนสามของกุรอานส่วนซูเราะฮ์อื่นๆก็มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป. ...
  • ในทางศาสนาแล้ว สามารถรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ได้หรือไม่?
    9164 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/27
    การขอรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์หากไม่นำสู่ธุรกรรมดอกเบี้ยและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างครบถ้วนก็ถือว่ากระทำได้ต่อไปนี้คือข้อควรระวังเกี่ยวกับสินเชื่อโดยสังเขป1. การขอรับสินเชื่อหรือขอกู้ยืมจากธนาคารหรือสหกรณ์ต้องไม่มีการระบุเงื่อนไขว่าจะต้องฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนอายะตุ้ลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า: หากการชำระเงินแก่กองทุนเป็นไปในลักษณะที่ว่าให้กองทุนกู้ไว้เพื่อกองทุนดังกล่าวจะตอบแทนด้วยการให้เขากู้ยืมเงินในภายหลังหรือกรณีที่กองทุนจะให้กู้ยืมโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขเหล่านี้ถือเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามและเป็นโมฆะทว่าการกู้ยืมทั้งสองกรณีถือว่าถูกต้อง[1]อย่างไรก็ดีการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสมาชิกหรือจะต้องมีภูมิลำเนาใกล้เคียงหรือเงื่อนไขอื่นๆที่จำกัดสิทธิในการยื่นขอกู้เงินนั้นถือว่าถูกต้องนอกจากนี้การสัญญาว่าจะให้สิทธิในการขอรับสินเชื่อเฉพาะผู้ที่จะเปิดบัญชีถือว่ากระทำได้แต่หากตั้งเงื่อนไขว่าจะมอบสินเชื่อในอนาคตเฉพาะผู้ที่เปิดบัญชีและวางเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขประเภทนี้เข้าข่ายผลประโยชน์เชิงนิติกรรมในการกู้ยืมซึ่งเป็นโมฆะ[2]2. จะต้องไม่ตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในการให้/รับเงินกู้ของธนาคารหรือสหกรณ์ฮุก่มของการให้ธนาคารกู้ไม่แตกต่างจากการกู้จากธนาคารฉะนั้นหากมีการตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในสัญญาให้กู้ย่อมถือเป็นการกำหนดดอกเบี้ยอันเป็นธุรกรรมต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นการฝากประจำหรือกระแสรายวันก็ตามแต่ในกรณีที่เจ้าของเงินมิได้ฝากเงินด้วยเจตนาที่จะได้รับผลกำไรในลักษณะที่หากธนาคารไม่ให้ผลตอบแทนเขาก็ไม่ถือว่าตนมีสิทธิทวงหนี้จากธนาคารกรณีเช่นนี้สามารถฝากเงินในธนาคารได้[3]3. การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัติถือว่าถูกต้องท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า: การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัตินั้นไม่จัดอยู่ในประเภทการกู้ยืมหรือการให้ยืมและผลประกอบการที่ธนาคารได้รับก็ไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยฉะนั้นจึงสามารถรับเงินจากธนาคารเพื่อซื้อเช่าหรือสร้างบ้านได้ส่วนกรณีที่เป็นการกู้ยืมและธนาคารได้ตั้งเงื่อนไขว่าต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแม้การจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งต้องห้ามก็ตามแต่ตัวของการกู้ยืมถือว่าถูกต้องแล้วสำหรับผู้กู้ยืมและสามารถใช้เงินที่กู้มาได้[4]สรุปคือสินเชื่อที่รับจากธนาคารซึ่งต้องจ่ายคืนมากกว่าเงินต้นนั้นจะถือว่าถูกต้องตามหลักศาสนาก็ต่อเมื่อเข้าข่ายธุรกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งที่อิสลามอนุมัติและไม่เป็นธุรกรรมดอกเบี้ยเท่านั้น[5]อนึ่งขอกล่าวทิ้งท้ายว่าหากไม่มีทางเลือกอื่นจริงๆและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำสิ่งต้องห้าม(กู้พร้อมดอกเบี้ย) ก็ถือว่าอนุโลมท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า:
  • สรรพสัตว์นั้นมีจิตวิญญาณหรือไม่ ถ้าหากมีชีวิตของสัตว์กับมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร
    13056 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ก่อนที่จะเข้าเรื่องสิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือพื้นฐานของคำตอบที่จะนำเสนอนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของฮิกมัตมุตะอาลียะฮฺ (ฟัลซะฟะฮฺ
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    5664 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • ใครคือผู้ฝังร่ายอันบริสุทธ์ของอิมามฮุเซน (อ.)
    6706 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    บรรดาผู้รู้มีทัศนะเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแตกต่างกันออกไปแต่ทัศนะที่สอดคล้องกับริวายะฮ์และตำราทางประวัติศาสตร์ก็คือทัศนะที่ว่าอิมามซัยนุลอาบิดีนบุตรชายของท่านอิมามฮุเซน (อ.) เป็นผู้ฝังศพของท่านณแผ่นดินกัรบะลากล่าวคือ  ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้ล่องหนจากคุกของอิบนิซิยาดในกูฟะฮ์มายังกัรบาลาโดยใช้พลังเร้นลับเพื่อมาทำการฝังศพท่านอิมามฮุเซน (อ.) ผู้เป็นบิดาของท่านและบรรดาชะฮีดเนื่องจากมีกฎเกณฑ์ที่ว่า“ไม่มีใครสามารถอาบน้ำศพห่อกะฝั่นและฝังอิมามมะอ์ศูมได้นอกจากจะต้องเป็นอิมามมะอ์ศูมเช่นกัน”อิมามริฏอ (อ.) ได้กล่าวขณะถกปัญหากับบุตรของอาบูฮัมซะฮ์ว่า“จงตอบฉันว่าฮุเซนบินอลี (อ.) เป็นอิมามหรือไม่? เขาตอบว่า“แน่นอนอยู่แล้ว” อิมามได้กล่าวว่า“แล้วใครเป็นผู้ฝังศพของท่าน?”เขาได้กล่าวว่า“อลีบินฮุเซน (อ.)” อิมามได้ถามต่อว่า“ในเวลานั้นอลีบินฮุเซน (อ.) อยู่ที่ไหน?” เขาตอบว่า“อยู่ที่กูฟะฮ์และเป็นเชลยที่ถูกบุตรของซิยาดควบคุมตัวอยู่แต่ท่านได้ลอบเดินทางยังกัรบาลาโดยที่ทหารที่เฝ้าเวรยามไม่รู้ตัว  ท่านได้ทำการฝังร่างของบิดาหลังจากนั้นจึงได้กลับมายังคุกเช่นเดิมอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่าผู้ที่มอบอำนาจพิเศษแก่อลีบินฮุเซน (อ.) เพื่อให้สามารถเดินทางไปฝังบิดาของท่านที่กัรบะลาพระองค์ย่อมสามารถช่วยให้ฉันล่องหนไปยังแบกแดดเพื่อห่อกะฝั่นและฝังบิดาได้เช่นกันทั้งๆที่ในขณะนั้นฉันไม่ได้ถูกจองจำและไม่ได้ตกเป็นเชลยของใคร[1]ดังนั้นเมื่อคำนึงถึงเนื้อหาฮะดิษดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) คือผู้ที่ฝังศพบิดาด้วยตัวของท่านเอง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    58685 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56083 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41080 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37944 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37440 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32976 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27124 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26703 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26582 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24639 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...