การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5861
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10029 รหัสสำเนา 22472
คำถามอย่างย่อ
การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
คำถาม
การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ

คำตอบเชิงรายละเอียด

การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อย่างไรก็ดี ประเด็นดังกล่าวถือเป็นประเด็นใหม่และมิได้อ้างอิงจากฮะดีษใดๆ ทว่ามีฮะดีษหลายบทระบุว่าการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดีจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน[1]

หากการปรากฏกายขั้นศุฆรอในที่นี้หมายถึงการที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)จะปรากฏกายในเร็ววัน ก็จะถือว่าเป็นประเด็นปลีกย่อยที่สามารถศึกษาและวิจัยกันได้ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่าสัญลักษณ์ของการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.)หลายประการซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั้น เกิดขึ้นแล้วในยุคปัจจุบัน อันบ่งชี้ว่าการปรากฏกายของท่านใกล้เข้ามาแล้ว

ยังมีสำนวนอื่นๆในประเด็นนี้ที่คล้ายกับ“การปรากฏกายขั้นศุฆรอ” อาทิเช่น “การปรากฏกายบางส่วน”, “การปรากฏกายเชิงรหัสยะ”, “การปรากฏกายในภาพรวม” ซึ่งควรได้รับการอธิบายถึงรายละเอียดในโอกาสที่เหมาะสม

นอกเหนือจากสำนวน “การปรากฏกายขั้นศุฆรอ”แล้ว ประเด็นการปรากฏกายทีละขั้นตอนยังถือว่ามีความคล้ายคลึงกับประเด็นวันกิยามะฮ์ในแง่ของบริบทและรายละเอียด เนื่องจากทั้งที่ประเด็นวันกิยามะฮ์เป็นเรื่องฉับพลัน แต่ก็เป็นภาวะเชิงธรรมชาติวิทยาที่เกิดขึ้นในวงกว้างในลักษณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างกำลังมุ่งสู่กิยามะฮ์อย่างช้าๆ
และจากการที่กิยามะฮ์มีระดับและสถานะที่แตกต่างกัน ในลักษณะที่อาริฟบางคนจะสามารถรับรู้ถึงสัญญาณบางประการได้ก่อนกิยามะฮ์ครั้งใหญ่ การปรากฏกายก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เอง การปรากฏกายของอิมามก็ถือเป็นอารัมภบทและเป็นสถานะหนึ่งของกิยามะฮ์ได้เช่นกัน
ดังที่มีรายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ว่า “อุปมาการปรากฏกายของมะฮ์ดีเสมือนวันกิยามะฮ์ (อัซซาอะฮ์) ซึ่งไม่มีผู้ใดจะเผยให้ทราบถึงวันและเวลาดังกล่าว ราวกับเป็นภาระอันหนักอึ้งสำหรับชั้นฟ้าและผืนดิน ซึ่งจะมาถึงพวกท่านในลักษณะฉับพลัน”[2]

อีกด้านหนึ่ง มีฮะดีษจากมะอ์ศูมีนหลายบทที่ตีความโองการต่างๆที่ระบุถึงความฉับพลันของวันกิยามะฮ์ไว้ว่าหมายถึงการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี[3] ตัวอย่างเช่นโองการที่กล่าวว่า

ما يُدْرِيكَ لَعَلَّ السَّاعَةَ قریب يَسْتَعْجِلُ بِهَا الَّذِينَ لا يُؤْمِنُونَ بِها وَ الَّذِينَ آمَنُوا مُشْفِقُونَ مِنْها وَ يَعْلَمُونَ أَنَّهَا الْحَقُّ أَلا إِنَّ الَّذِينَ يُمارُونَ فِي السَّاعَةِ لَفِي ضَلالٍ بَعِيد

เจ้าจะทราบอะไร อัซซาอะฮ์อาจจะใกล้เข้ามาแล้วก็ได้ เหล่าผู้บิดพริ้วศรัทธาเร่งให้เกิดขึ้นเร็วๆ ขณะที่ผู้ศรัทธาล้วนสพรึงกลัวมัน เพราะทราบดีว่ามันคือสัจธรรม จงรู้เถิด เหล่าบุคคลที่ถกเถียงกันในเรื่องซาอะฮ์ (การปรากฏกายของอิมาม/กิยามะฮ์) ล้วนเป็นผู้หลงทาง”[4]

นอกจากนี้ โองการที่ว่า اقتربت الساعة و انشق القمر (ซาอะฮ์ใกล้เข้ามาแล้ว และจันทราถูกผ่า)[5] ก็ถือเป็นโองการหนึ่งที่มีการตีความ “الساعه” ว่าหมายถึงการปรากฏกายของอิมาม[6]

จากการที่โองการและฮะดีษข้างต้นได้ตีความว่าการปรากฏกายมีความคล้ายคลึงกับวันกิยามะฮ์ ฉะนั้น ทุกข้อคิดที่เกี่ยวกับวันกิยามะฮ์ก็สามารถนำมาปรับประยุกต์กับประเด็นอาคิรุซซะมาน (ยุคสุดท้าย) และการปรากฏกายได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากสองประเด็นข้างต้นมีความเกี่ยวโยงกันอย่างชัดเจน

ระเบียนที่เกี่ยวข้อง
สัญลักษณ์การปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.), 49(ลำดับในเว็บไซต์ 285)
สัญลักษณ์การปรากฏกาย, 18991 (ลำดับในเว็บไซต์ 18419)

 

 


[1] มัจลิซี,บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 164,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1404

[2] เพิ่งอ้าง,เล่ม 36,หน้า 341,ฮะดีษที่ 205

[3] إِسْمَاعِيلَ وَ عَلِيِّ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْحَسَنِيِّ عَنْ أَبِي شُعَيْبٍ وَ مُحَمَّدِ بْنِ نُصَيْرٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ الْفُرَاتِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْمُفَضَّلِ عَنِ الْمُفَضَّلِ بْنِ عُمَرَ قَالَ سَأَلْتُ سَيِّدِيَ الصَّادِقَ ع هَلْ لِلْمَأْمُورِ الْمُنْتَظَرِ الْمَهْدِيِّ ع مِنْ وَقْتٍ مُوَقَّتٍ يَعْلَمُهُ النَّاسُ فَقَالَ حَاشَ لِلَّهِ أَنْ يُوَقِّتَ ظُهُورَهُ بِوَقْتٍ يَعْلَمُهُ شِيعَتُنَا قُلْتُ يَا سَيِّدِي وَ لِمَ ذَاكَ قَالَ لِأَنَّهُ هُوَ السَّاعَةُ الَّتِي قَالَ اللَّهُ تَعَالَى يَسْئَلُونَكَ عَنِ السَّاعَةِ أَيَّانَ مُرْساها قُلْ إِنَّما عِلْمُها عِنْدَ رَبِّي لا يُجَلِّيها لِوَقْتِها إِلَّا هُوَ ثَقُلَتْ فِي السَّماواتِ وَ الْأَرْضِ الْآيَةَ وَ هُوَ السَّاعَةُ الَّتِي قَالَ اللَّهُ تَعَالَى يَسْئَلُونَكَ عَنِ السَّاعَةِ أَيَّانَ مُرْساها وَ قَالَ عِنْدَهُ عِلْمُ السَّاعَةِ وَ لَمْ يَقُلْ إِنَّهَا عِنْدَ أَحَدٍ وَ قَالَ فَهَلْ يَنْظُرُونَ إِلَّا السَّاعَةَ أَنْ تَأْتِيَهُمْ بَغْتَةً فَقَدْ جاءَ أَشْراطُها الْآيَةَ وَ قَالَ اقْتَرَبَتِ السَّاعَةُ وَ انْشَقَّ الْقَمَرُ وَ قَالَ ما يُدْرِيكَ لَعَلَّ السَّاعَةَ تَكُونُ قَرِيباً يَسْتَعْجِلُ بِهَا الَّذِينَ لا يُؤْمِنُونَ بِها وَ الَّذِينَ آمَنُوا مُشْفِقُونَ مِنْها وَ يَعْلَمُونَ أَنَّهَا الْحَقُّ أَلا إِنَّ الَّذِينَ يُمارُونَ فِي السَّاعَةِ لَفِي ضَلالٍ بَعِيد...
เพิ่งอ้าง,เล่ม 53,หน้า 1

[4] อัชชูรอ,17,18

[5] อัลเกาะมัร,1

[6] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 164

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6090 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...
  • มีรายงานฮะดีซจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชูรอหรือไม่? และศีลอดนี้ถือเป็นศีลอดมุสตะฮับด้วยหรือไม่?
    6698 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    ตาราฮะดีซที่เชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺ, ไม่มีรายงานฮะดีซทำนองนี้ปรากฏให้เห็นทีว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า, การถือศีลอดในวันอาชูรอเป็นมุสตะฮับ,
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8376 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    8303 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    5985 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    10038 หลักกฎหมาย 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...
  • ความหมายของวิลายะฮฺของฮากิมบนสิ่งต้องห้ามคืออะไร?
    8437 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่ ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม ...
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11772 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • ดิฉันเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง อยากจะทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของชีวิต?
    7639 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมายกุรอานได้ชี้แนะว่า “อิบาดัต” คือเป้าหมายของมนุษย์อันจะนำมาซึ่งการบรรลุธรรมตลอดจนความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้าอีกนัยหนึ่งจุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดีซึ่งฮะดีษหลายบทก็ได้แจกแจงถึงรายละเอียดของเป้าหมายชีวิตอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)นั้นจำเป็นต้องคำนึงว่าแม้ฮะดีษเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนแต่การที่จะอ้างฮะดีษบทใดบทหนึ่งถึงพวกท่านเหล่านั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการซึ่งจะนำเสนอในหน้าคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
    6482 ปรัชญาประวัติศาสตร์ 2555/04/09
    อัคบารีก็คือกลุ่ม“อัศฮาบุลฮะดีษ”ซึ่งในแวดวงชีอะฮ์มักเรียกกันว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธวิธีอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร (ฮะดีษ) เท่านั้น ส่วนกลุ่มอุศูลีประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงข้ามกับกลุ่มอัคบารี อุศูลีเชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ ตัคยี้ร ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้แก่ การที่กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด นอกจากนี้ กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่ส่งผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงได้คัดเฉพาะฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว ฯลฯ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38395 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38391 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...