การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10056
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17772 รหัสสำเนา 21904
คำถามอย่างย่อ
บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
คำถาม
บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่? บรรดามัรญะอ์มีความเห็นพ้องกันหรือไม่? หรือว่ายังมีข้อถกเถียงกันอยู่?
คำตอบโดยสังเขป

ตามหลัก “لا شکّ لکثیر الشکแล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا شکّ لکثیر الشک ซึ่งมีลักษณะตะอ์ลี้ลและสื่อถึงความครอบคลุมวงกว้าง แต่มีเงื่อนไขว่าบุคคลนั้นๆจะต้องมีคุณสมบัติเป็น “คนย้ำคิดย้ำทำ” และจะต้องเป็นการสงสัยที่เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำเท่านั้น ในลักษณะที่คนทั่วไปถือว่าเขาเป็นบุคคลย้ำคิดย้ำทำ ]

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตามหลัก “لا شکّ لکثیر الشکแล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน แต่ในประเด็นที่ว่าหลักดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการกระทำที่มิไช่อิบาดะฮ์ อันได้แก่ธุรกรรมประเภทต่างๆ, สิทธิบุคคล และประเด็นความศรัทธาด้วยหรือไม่? เกี่ยวกับเรื่องนี้มีหลายทัศนะด้วยกัน ได้แก่:

หนึ่ง. ทัศนะของฟุเกาะฮาส่วนใหญ่: นักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่เชื่อว่ากฏดังกล่าวมิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا شکّ لکثیر الشک ซึ่งมีลักษณะตะอ์ลี้ลและสื่อถึงความครอบคลุมวงกว้าง[1] แต่มีเงื่อนไขว่าบุคคลนั้นๆจะต้องมีคุณสมบัติเป็น “คนย้ำคิดย้ำทำ” และจะต้องเป็นการสงสัยที่เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำเท่านั้น ในลักษณะที่คนทั่วไปถือว่าเขาเป็นบุคคลย้ำคิดย้ำทำ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวกันว่า

1. ไม่ควรสนใจการสงสัยที่เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ[2]

2. หากไปร่วมรับประทานอาหารที่บ้านผู้อื่นแล้วเกิดสงสัยบ่อยครั้งว่าอาหารฮาล้าลหรือไม่ ไม่ควรสนใจและให้ถือว่าฮาล้าล[3]

3. เกี่ยวกับสิทธิบุคคล “ฮักกุนนาส” ผู้ย้ำคิดย้ำทำไม่ควรสนใจข้อเคลือบแคลงของตน และให้ถือว่าการกระทำของตนถูกต้องแล้ว[4]

4. หน้าที่ของผู้ที่สงสัยทุกเรื่องไม่ว่าในเรื่องอิบาดะฮ์หรือประเด็นอื่นๆก็คือ หากมีคุณสมบัติเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ ก็ไม่ควรสนใจการสงสัยของตน[5]

5. ผู้ที่ศรัทธาในอัลลอฮ์และท่านนบี(ซ.ล.) ทว่ามักจะมีข้อสงสัยเกิดขึ้นและเป็นเหตุให้ต้องศึกษาหาคำตอบนั้น ข้อสงสัยเหล่านี้มิได้ทำให้เขาตกเป็นกาเฟรและกลายเป็นนะญิสแต่อย่างใด[6]

สอง. ทัศนะของฟุเกาะฮาที่เหลือ: บางท่านเชื่อว่ากฏดังกล่าวมีไว้เฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น และไม่ครอบคลุมถึงประเด็นอื่นๆ โดยเชื่อว่าในประเด็นอื่นๆจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฏเฉพาะของแต่ละกรณี[7]

เราจะกล่าวถึงคุณลักษณะของการสงสัยดังต่อไปนี้

1. การสงสัย การกระซิบกระซาบ และความหวั่นไหวทางความคิด เกิดจากการยุแยงของชัยฏอน ในทางกลับกัน ความมั่นใจและยะกีนเกิดจากความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ชัยฏอนมักจะใช้กลเม็ดเด็ดพรายหลากรูปแบบเพื่อชักนำให้บ่าวของพระองค์หลุดจากหนทางที่เที่ยงตรง และเนื่องจากชัยฏอนมีความเจ้าเล่ห์สูง จึงมักปรับใช้วิธีหลอกล่อให้ตรงกับจุดอ่อนของแต่ละคน วิธีต่อสู้กับการกระซิบกระซาบของชัยฏอนก็คือ การไม่ให้ราคาไดๆแก่พฤติกรรมของมัน ฉะนั้น เมื่อชัยฏอนชักนำให้มนุษย์คิดเรื่องอันเป็นโมฆะ ก็ควรหันไปสนใจเรื่องอื่นๆแทน

2. มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพทางความคิด จึงต้องไตร่ตรองค้นหาแนวทางสัจธรรมและยึดถืออย่างเคร่งครัด แน่นอนว่ากระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นมิได้หากปราศจากการพากเพียรทางปัญญาอย่างมีระบบ เพื่อให้สามารถค้นหาความหมายของโลก และบรรลุถึงฮะย้าต ฏ็อยยิบะฮ์ (ชีวิตอันเปี่ยมสุข)ได้ แต่ไม่ว่าจะพยายามเท่าใดก็ยังไม่เพียงพอ ซึ่งถือเป็นต้นทุนในการขวนขวายหาปัญญาธรรม และเพื่อการนี้ จำเป็นต้องเสริมสร้างพื้นฐานความศรัทธาให้แน่นหนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อมิให้โครงสร้างทางปัญญาต้องเผชิญกับแรงสั่นสะเทือนทางความคิดจนเสียหาย ในการเดินทางครั้งนี้ สถานีแรกก็คือการครุ่นคิดไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง และหาข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายของโลกและมนุษย์ ระหว่างนี้ก็อาจจะมีข้อสงสัยเกิดขึ้นในใจบ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเพียงแรงสั่นสะเทือนทางความคิด ซึ่งมิได้เป็นอันตรายเสมอไป ซ้ำบางครั้งยังสามารถจะเป็นช่องทางไปสู่ระดับขั้นที่สูงขึ้นไปก็เป็นได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องรีบผ่านขั้นตอนนี้ไปให้เร็วที่สุด เนื่องจากการหยุดอยู่ ณ สถานีแห่งการสงสัยเป็นอันตรายอย่างยิ่ง[8]

ท้ายนี้ขอนำเสนอคำตอบจากบรรดามัรญะตักลี้ดต่อข้อซักถามข้างต้นดังนี้[9]

อายะตุลลอฮ์ คอเมเนอี: ผู้ที่สงสัยบ่อย ถือเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ (กะษีรุชชักก์) ส่วนในกรณีนมาซ หากผู้ใดสงสัยถึงสามครั้งในนมาซครั้งเดียว หรือสงสัยในนมาซสามเวลาติดต่อกัน (อย่างเช่น นมาซศุบฮิ ซุฮ์ริ และอัศริ) ล้วนถือเป็นคนย้ำคิดย้ำทำทั้งสิ้น ตราบใดที่การสงสัยดังกล่าวมิได้เกิดจากความหวั่นวิตกใดๆ ก็จงอย่าให้ความสำคัญ และตราบใดที่คนย้ำคิดย้ำทำยังมิได้รู้สึกว่าตนเองกลับสู่สภาวะปกติแล้ว ก็ให้ปล่อยวางความสงสัยต่อไป

อายะตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี: ฟัตวาของเราก็คือ กะษีรุชชักก์ หมายถึงผู้ที่สงสัยบ่อยนั้น ไม่ควรให้ความสนใจการสงสัยของตน ไม่ว่าจะสงสัยในจำนวนเราะกะอัต หรือส่วนอื่นของนมาซ หรือเงื่อนไขของนมาซ
คนย้ำคิดย้ำทำคือบุคคลที่สงสัยบ่อยในทัศนะของคนทั่วไป และหากสงสัยถึงสามครั้งในนมาซครั้งเดียว หรือสงสัยในนมาซสามเวลาติดต่อกัน ถือว่าเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ

อายะตุลลอฮ์ ศอฟี โฆลพอยฆอนี: โดยทั่วไปแล้ว คนย้ำคิดย้ำทำไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตนในประเด็นการนมาซ ไม่ว่าจะในเรื่องซิเกร หรือจำนวนเราะกะอัต หรือส่วนอื่นๆอย่างเช่นรุกั้วอ์และสุญูด

อายะตุลลอฮ์ ซีสตานี: ไช่แล้ว (ไม่ควรให้ความสนใจ)

อายะตุลลอฮ์ ฮาดะวี เตหรานี: ผู้ที่ย้ำคิดย้ำทำ ไม่ควรสนใจข้อสงสัยของตนเฉพาะกรณีที่มีอาการย้ำคิดย้ำทำเท่านั้น ส่วนเรื่องอื่นๆที่มีอัตราการสงสัยในระดับปกติ ให้ปฏิบัติเสมือนบุคคลทั่วไปยามเกิดข้อสงสัย

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
“ฮักกุนนาส”
9249, (ลำดับในเว็บไซต์ 9221)
“ฮักกุนนาสและการขออภัย”
7952, (ลำดับในเว็บไซต์ 8054)

“กฏการระวังในยามสงสัย” 3078, (ลำดับในเว็บไซต์ 3324)



[1] มูซะวี,บุจนูรดี,ซัยยิดฮะซัน, อัลเกาะวาอิดุ้ลฟิกฮียะฮ์,ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย เมะฮ์รีซี,มะฮ์ดี และ ดิรอยะตี,มุฮัมมัด ฮะซัน,เล่ม 2,หน้า 353-356,สำนักพิมพ์อัลฮาดี,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1419 และ เฏาะบาเฏาะบาอี,กุมมี,ซัยยิดตะกี, อัลอันวารุ้ลบะฮียะฮ์ ฟีเกาะวาอิดิ้ลฟิกฮียะฮ์,หน้า 190-191, สำนักพิมพ์มะฮัลลอที,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1423 และ ตับรีซี,ญะว้าด,ถามตอบปัญหาศาสนาใหม่,เล่ม 2,หน้า 71,คำถามที่ 325,กุม,พิมพ์ครั้งแรก

[2] อิมามโคมัยนี,ซัยยิดรูฮุลลอฮ์,ถามตอบปัญหาศาสนา,เล่ม 1,หน้า 169,คำถามที่ 158,สำนึกพิมพ์อิสลามี,กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า,..1422

[3] เพิ่งอ้าง,หน้า 110,คำถามที่ 295

[4] ตับรีซี,ญะว้าด,ถามตอบปัญหาศาสนาใหม่,เล่ม 2,หน้า 71,คำถามที่ 325

[5] บะฮ์ญัต,มุฮัมมัดตะกี,ถามตอบปัญหาศาสนา,เล่ม 2,หน้า 215,คำถามที่ 2302, สำนักพิมพ์อายะตุลลอฮ์บะฮ์ญัต,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1428

[6] มะการิมชีรอซี,นาศิร,ประมวลปัญหาศาสนา,หน้า 36,ปัญหาที่ 114,สำนักพิมพ์โรงเรียนอิมามอลีบินอบีฏอลิบ(.),กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้าสิบสอง,..1429

[7] ดู: อัลเกาะวาอิดุ้ลฟิกฮียะฮ์,เล่ม 2,หน้า 355,356

[8] ดู: ระเบียนข้อสงสัยในหลักศรัทธาคำถามที่ 4895 (ลำดับในเว็บไซต์ 5356)

[9] สอบถามโดยเว็บไซต์อิสลามเควสท์

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10016 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
    8973 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง ...
  • มีการกล่าวถึงเงื่อนไขการทำความสะอาดด้วยแสงแดดว่า»ระยะห่างระหว่างพื้นดินกับอาคารซึ่งแสงแดดส่องไปถึงนั้น ภายในต้องไม่มีอากาศหรือสิ่งอื่นกีดขวางแสดงแดด... « ประโยคนี้หมายถึงอะไร ช่วยอธิบายด้วย?
    5638 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำอธิบาย:แสงแดด,
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6816 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9131 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    8308 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เหตุใดในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด وَ الَّذِینَ ءَامَنُواْ وَ عَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ وَ ءَامَنُواْ بِمَا نُزِّلَ عَلىَ‏ محُمَّدٍ وَ...‏ มีการเอ่ยนามของท่านนบี ขณะที่โองการอื่นๆไม่มี?
    8458 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    เหตุผลที่มีการเอ่ยนามอันจำเริญของท่านนบี(ซ.ล.)ไว้ในโองการที่กล่าวมาก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญของประโยคนี้ในโองการทั้งนี้อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะเทิดเกียรติท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการเอ่ยนามท่านนักอรรถาธิบายกุรอานบางคนเชื่อว่าอีหม่านในท่อนที่สองเป็นการเจาะจงเพราะท่อนที่สองเน้นย้ำถึงคำสอนของท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวคือความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์ได้เว้นแต่จะต้องศรัทธาต่อคำสอนที่วิวรณ์แก่ท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยบางคนเชื่อว่าการเอ่ยนามท่านนบี(ซ.ล.)มีจุดประสงค์เพื่อมิให้ชาวคัมภีร์อ้างได้ว่าเราศรัทธาเพียงอัลลอฮ์และบรรดาศาสดาตลอดจนคัมภีร์ของพวกเราเท่านั้น ...
  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6212 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5628 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : "เราได้บันดาลให้อลี(อ.)ลูกเขยของเจ้า(นบี)ได้รับการบันทึกไว้ในซูเราะฮ์อินชิร้อห์"
    7042 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/11/09
    เราไม่พบฮะดีษใดๆที่มีเนื้อหาเช่นนี้อย่างไรก็ดีในตำราตัฟซี้รเชิงฮะดีษมีฮะดีษหลายบทที่อรรถาธิบายโองการفإذا فرغت فأنصب وإلی ربک فارغب ว่า "เมื่อเจ้า(นบี)ปฏิบัติภารกิจศาสนทูตลุล่วงแล้วก็จงแต่งตั้งอลี(อ.)เป็นผู้นำเหนือปวงชน" หรือฮะดีษที่อธิบายโองการแรกของซูเราะฮ์นี้ที่รายงานจากอิมามศอดิก(

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38415 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27233 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25204 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...