การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6997
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1008 รหัสสำเนา 17850
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดฉันต้องเป็นมุสลิมด้วย? โปรดตอบคำถามของฉันด้วยเหตุผลของวิทยปัญญา
คำถาม
เพราะเหตุใดฉันต้องเป็นมุสลิมด้วย? โปรดตอบคำถามของฉันด้วยเหตุผลของวิทยปัญญา
คำตอบโดยสังเขป

แม้ว่าความสัตย์จริงของศาสนาต่างๆ ในปัจจุบันบนโลกนี้ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่บ้างก็ตาม, แต่รูปธรรมโดยสมบูรณ์และความจริงแท้แห่งความเป็นเอกะของพระเจ้า มีเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งท่านสามารถพบสิ่งนี้เฉพาะในคำสอนของอิสลาม, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำกล่าวอ้างข้างต้น,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้, ประกอบกับการสังคายนาและภาพความขัดแย้งกันทางสติปัญญาที่ปรากฏในคำสอนของศาสนาอื่น นอกเหนือไปจากอิสลาม ในทางตรงกันข้ามอัลกุรอานที่ไม่เคยถูกสังคายนา ไม่เคยถูกเปลี่ยนแปลง, การมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ทั้งทางสติปัญญา การอ้างอิงจากตำรา และประวัติศาสตร์, ความสมบูรณ์ที่ครอบคลุมของอิสลาม,การเข้ากันได้เป็นอย่างดีระหว่างคำสอนอิสลาม กับสติปัญญาสมบูรณ์ของมนุษย์

อีกด้านหนึ่งศาสนาแห่งความจริงอันเป็นสัจจะในแต่ละยุคสมัยนั้น มีเพียงศาสนาเดียวเท่านั้น ส่วนศาสนาหรือสำนักคิดอื่นที่เหลือโดยพื้นฐานแล้วถือว่าโมฆะ ไม่มีรากที่มาที่ถูกต้อง หรือถูกยกเลิกไปแล้ว ซึ่งทุกวันนี้ศาสนาที่เที่ยงธรรมถูกต้องตรงกับความเป็นจริงมีเฉพาะ อิสลาม เท่านั้น และอิสลามตามอุดมการณ์ของศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) อันเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงก็ปรากฏอยู่ในคำสอนของ อะฮฺลุลบัยตฺ (ชีอะฮฺ) เท่านั้น อีกนัยหนึ่งเฉพาะคำสอนของชีอะฮฺเท่านั้นที่สามารถเผยรูปลักษณ์อิสลามมุฮัมมะดีได้อย่างแท้จริง

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับความชัดเจนในคำตอบของประเด็นดังกล่าวจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้ เช่น : เหตุผลที่ไม่สมบูรณ์ของศาสนาอื่นที่มีอยู่บนโลกนี้, ประกอบกับเหตุผลที่ยืนยันถึงความดีกว่าของอิสลามและนิกายชีอะฮฺ :

) เหตุผลที่ไม่สมบูรณ์ของศาสนาอื่น (นอกจากอิสลาม)

ก่อนที่จะกล่าวถึงเหตุผลไม่สมบูรณ์ของศาสนาอื่นที่มีอยู่บนโลกนี้, มี 2 ประเด็นสำคัญที่ต้องกล่าวถึงก่อนเป็นอันดับแรก :

ประเด็นแรก : วัตถุประสงค์ของเรามิได้หมายถึงว่าทุกสิ่งอันเป็นคำสอนที่มีอยู่ในศาสนาทั้งหลาย ในทุกวันนี้เป็นโมฆะทั้งหมด ไม่อาจพบคำพูดหรือคำสอนใดในศาสนาเหล่านั้นที่เป็นความจริงสักประการเดียว ทว่าวัตถุประสงค์ของเราคือ คำสอนของศาสนาอื่นทุกวันนี้มีประเด็นต่างๆที่ไม่อาจยอมรับได้ ดังนั้น ศาสนาเหล่านั้นจึงไม่อาจเป็นผู้อธิบายรูปธรรมที่สมบูรณ์ได้

ประเด็นที่สอง : สิ่งที่จะร่วมกันพิจารณาตรงนี้ในความจำกัดจะขอหยิบยกเหตุผลไม่สมบูรณ์ของ 2 ศาสนาสำคัญทุกวันนี้ กล่าวคือศาสนาคริสต์ และศาสนายะฮูดีย์ ดังนั้น คุณค่าและความหน้าเชี่อถือของศาสนาอื่นในแง่ของการยอมรับที่ด้อยกว่าสองศาสนานี้ ก็จะรับรู้ได้เองโดยปริยาย

แต่เหตุผลที่พิสูจน์ให้เห็นว่าศาสนาคริสต์บนโลกในทุกวันนี้ ไม่อาจอธิบายแก่นแท้ความจริงอันสมบูรณ์ได้คือ :

1.คัมภีร์ไบเบิ้ล (อินญีล) ไม่อาจเชื่อถือได้ อีกทั้งไม่มีสายรายงานที่แน่นอนและเชื่อถือได้

ศาสดาอีซา (.) เป็นศาสดาแห่งวงศ์วานอิสราเอล ภาษาของท่านคือ อิบรู ท่านศาสดาได้ประกาศการเป็นศาสดาและเชิญชวนผู้คนไปสู่คำสอนของท่าน  บัยตุลมุก็อดดิสหรือเยลูซาเล็มในปัจจุบัน ซึ่งประชาชนทั้งหมดในที่นั้นที่เป็น อิบรู ก็มิได้เชื่อศรัทธาท่านทั้งหมด ยกเว้นกลุ่มชนเพียงน้อยนิดเท่านั้นเองแต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน, แต่มีประชาชนเพียงไม่กี่คนจากบัยตุลมุก็อดดิสที่รู้ภาษา กรีก ได้เดินทางไปสู่ประเทศอื่น เพื่อเชิญชวนประชาชนให้เชื่อฟังปฏิบัติตามศาสนาของอีซา (.) และยังได้เขียนคัมภีร์เป็นภาษายูนานอีกด้วย ซึ่งสาระในคัมภีร์ที่ได้เขียนเพื่อคนกรีกและอิตาลี กล่าวว่า : อีซาได้กล่าวเช่นนี้และเช่นนั้นว่า. สำหรับบุคคลที่เคยเห็นศาสดาอีซา และเห็นการกระทำหรือได้ยินคำพูดของท่าน และรู้ภาษาของท่านมีเฉพาะในปาเลสไตน์เท่านั้น แต่พวกเขาก็ไม่ยอมรับท่านอีซา (.) ว่าเป็นศาสดาแต่อย่างใด ส่วนเรื่องเล่าต่างๆ ที่เขียนเป็นภาษากรีกก็ถือว่า เป็นการประพันธ์ขึ้นมาซึ่งประชาชนที่ยอมรับคำพูดเหล่านั้นก็เป็นประชาชนที่อยู่ไกล มิใช่ประชาชนที่อยู่ในบัยตุลมุก็อดดิสแต่อย่างใด และพวกเขาก็ไม่เคยเห็นศาสดาอีซาด้วยและไม่เข้าใจภาษาของท่าน ถ้าหากว่ามีเรื่องราวถูกบันทึกอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล, ส่วนใหญ่เป็นเรื่องมุสาทั้งสิ้น เนื่องจากผู้เขียนคัมภีร์ขึ้นมาไม่มีผู้ใดท้วงติง หรือตรวจสอบ และผู้ฟังก็มิได้นำไปสู่การปฏิเสธและมุสาแต่อย่างใด เช่น ในคัมภีร์ไบเบิ้ล ฉบับมะทา กล่าวว่าเมื่อศาสดาอีซาได้ประสูติแล้ว ได้มีพวกบูชาไฟสองสามคนจากตะวันออกเข้ามาหาท่าน และถามท่านว่ากษัตริย์แห่งยะฮูดีที่เพิ่งประสูติอยู่  ที่ใด? เนื่องจากเราได้เห็นหมู่ดวงดาวของเขาปรากฏทางทิศตะวันออก แต่ดวงดาวเหล่านั้นมิได้แสดงสัญลักษณ์อันใด, ทันใดนั้นพวกเราได้เห็นดวงดาวเหล่านั้นขับเคลื่อนอีกในท้องฟ้า จนกระทั่งว่าได้มาหยุดนิ่งเหนือบ้านที่ อีซา (.) ได้ประสูติ พวกเราจึงรู้ว่าเป็นบ้านหลังนั้นเอง, แน่นอนเรื่องราวเหล่านี้ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากเรื่องเดียวกันแต่ไม่ได้ถูกเขียนเป็นภาษาอิบรูสำหรับคนในบัยตุลมุก็อดดิสแต่อย่างใด, ทว่าสิ่งนั้นได้ถูกเขียนเพื่อคนแปลกหน้า จึงนับว่าเป็นความแปลกอย่างยิ่ง ซึ่งเรามั่นใจว่าไม่มีนักดาราศาสตร์คนใดเชื่อเช่นนั้นเหมือนกันว่า การถือกำเนิดของแต่ละคนต้องมีดวงดาวปรากฏ และขับเคลื่อนไปเหนือศีรษะของเขา, ทั้งพวกบูชาไฟก็ไม่เชื่อเรื่องนี้ และคนอื่นก็เช่นเดียวกัน. กล่าวกันว่าชาวคริสต์มีความเห็นขัดแย้งกันเรื่องการสังหารศาสดาอีซา (.) เนื่องจากคัมภีร์ไบเบิ้ลบางฉบับบันทึกว่า ศาสดาอีซามิได้ถูกสังหารแต่อย่างใด เนื่องจากถ้าหากมีคนหนึ่งถูกสังหารในเมืองแล้วละก็ ไม่อาจปกปิดสายตาของประชาชนส่วนใหญ่ที่ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการแขวนประจารเช่นนั้น แต่เนื่องจากผู้เขียนไบเบิ้ลได้เขียนด้วยภาษาอื่น และเขียนเพื่อคนแปลกหน้าความแปลกเช่นนี้จึงไม่ถูกพบในบัยตุลมุก็อดดิสแต่อย่างใด เพื่อจะได้พิสูจน์ความจริงให้ปรากฏไปว่า ศาสดาอีซา (.) ถูกสังหารจริงหรือไม่?

ผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิ้ลได้เขียนด้วยความอิสระ ซึ่งทุกสิ่งที่ตนเห็นว่าสมควรก็ได้เขียนบันทึกไว้ในคัมภีร์นั้น โดยไม่มีผู้ใดท้วงติง ซึ่ง 300 ปี หลังจากศาสดาอีซา (.) ได้ประกาศศาสนา เพิ่งจะมีการจัดประชุมและบรรดานักปราชญ์ นัศรอนีได้ปรึกษาหารือกันว่า จะจัดการกับความขัดแย้งที่ปรากฏในคัมภีร์เหล่านั้นอย่างไร พวกเขาได้แสดงทัศนะโดยพร้อมเพียงกันว่า ให้เลือกคัมภีร์ไบเบิ้ลเพียงแค่ 4 เล่ม และปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาสาระในคัมภีร์เหล่านั้น ส่วนเล่มอื่นๆ ให้ถือเป็นโมฆะไป ซึ่งเรื่องการไม่ถูกสังหารของศาสดาอีซาที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ ถือเป็นเรื่องมุสาและไม่เป็นทางการ[1]

2.เหตุผลที่สองที่บ่งบอกความไม่สมบูรณ์ของศาสนาคริสต์, มีประเด็นมากมายที่บกพร่องและมีการสังคายนาหลายครั้งในคัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับปัจจุบัน ดังนั้น ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือ เราะฮฺสะอาดะฮฺ เขียนโดยอัลลามะฮฺชะอฺรอนียฺ[2] และหนังสืออิซฮารุลฮัก.เขียนโดยฟาฎิล ฮินดี ฮับบะตุลลอฮฺ บิน เคาะลีลุลลอฮฺ อัรเราะฮฺมาน, กุรอานและคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับอื่น, เขียนโดยชะฮีด ฮาชิมี เนะฌอด.

3.เหตุผลที่สาม,การไม่เข้ากันของความเชื่องบางประการของคริสต์กับเหตุผลทางตรรก และสติปัญญา เช่น พวกเขาเชื่อว่า : พระเจ้าที่เป็นพระบุตร,มีรูปร่างเหมือนมนุษย์, พระเจ้าองค์นี้จะเก็บความผิดของปวงบ่าวเอาไว้,ด้วยการถูกตรึงบนไม้กางเขาเพื่อถ่ายบาปให้แก่ปวงบ่าว ขณะในคัมภีร์ไบเบิ้ล ฉบับวารสารของยอห์น...กล่าวว่า

เนื่องจากพระเจ้า,ทรงรักโลกนี้เป็นอย่างยิ่งพระองค์จึงทรงมอบพลีบุตรชายคนเดียวของพระองค์ให้ เพื่อว่าใครก็ตามที่เชื่อถือพระองค์จะได้ไม่พบกับความวิบัติ,ทว่าพวกเขาจะได้มีชีวิตอมตะนิรันดร์, เนื่องจากพระองค์มิได้ทรงส่งบุตรชายของพระองค์มายังโลกนี้เพื่อตัดสินมนุษย์, ทว่าส่งมาช่วยเหลือชาวโลกให้รอดพ้นความวิบัติ[3]

เกี่ยวกับศาสนาของยะฮูดีมี 3 ปัญหาสำคัญดังนี้ ..

1.ฉบับอิบรู ซึ่งอยู่  นักวิชาการชาวยิวและโปรเตสแตนต์ที่เชื่อถือได้

2.ฉบับซามาเรียของ ซึ่ง  ซามิเรียล (เป็นอีกเผ่าหนึ่งของอิสราเอล) ที่เชื่อถือได้

3.ฉบับภาษากรีกของนักวิชาการคริสเตียน ที่ไม่โปรเตสแตนต์ที่เชื่อถือได้

ฉบับซามาเรียนั้นครอบคลุมคัมภีร์อยู่เพียง 5 ฉบับของศาสดามูซา (.) คัมภีร์ของยูชะอ์ และดาวะรอน ส่วนคัมภีร์ฉบับอื่นของพระสัญญาฉบับเก่า ไม่ได้รับความเชื่อถือแต่อย่างใด. ในคัมภีร์ฉบับแรกกล่าวถึงช่วงเวลาที่ห่างกันระหว่างการสร้างอาดัม กับการเกิดน้ำท่วมโลกสมัยนูฮฺ ประมาณ 1656 ปี ส่วนฉบับที่สองกล่าวว่า 1307 ปี และฉบับที่สามกล่าวว่ 1362 ปี. ดังนั้น จะเห็นว่าคัมภีร์ทั้งสามฉบับไม่อาจถูกต้องได้, ทว่าหนึ่งเดียวเท่านั้นคือ ฉบับที่ถูกต้องและเชื่อถือได้แต่ก็ไม่ทราบว่าฉบับใด[4]

2. ในคัมภีร์เตารอตมีบางประเด็นที่สติปัญญาไม่อาจรับได้ เช่น ในคัมภีร์เตารอตกล่าวว่า พระเจ้าทรงมีมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับมนุษย์และทรงท่องเดินไป, ทรงส่งเสียงร้อง, ทรงมุสา, และทรงเจ้าเล่ห์เพทุบายอีกด้วย, เนื่องจากพระเจ้าทรงกล่าวแก่อาดัมว่า ถ้าเจ้าบริโภคผลไม้แห่งความดีและเลวเจ้าจะต้องตาย, แต่ทั้งอาดัมและฮะวาได้บริโภคผลไม้จากต้นไม้ดังกล่าว ไม่เพียงแต่ทั้งสองจะไม่ตายเท่านั้นทว่าเขาทั้งสองยังได้รู้จักความดีและความเลวว่าเป็นอย่างไรอีกด้วย.[5]

หรือเรื่องราวการเล่นมวลปล้ำของพระเจ้ากับศาสดายะอฺกูบ ซึ่งถูกบันทึกอยู่ในคัมภีร์เตารอตเช่นกัน[6]

. เหตุผลที่บ่งบอกว่าอิสลามคือศาสนาแห่งความจริงและดีกว่าคือ

1.ความเป็นอมตะของปาฏิหาริย์ในศาสนาอิสลาม, เนื่องจากปาฏิหาริย์หลักของศาสนานี้คืออัลกุรอานซึ่งถือว่าเป็นพระคัมภีร์แห่งวิชาการและตรรกะ แตกต่างไปจากปาฏิหาริย์ของศาสดาท่านอื่น ซึ่งเป็นภารกิจที่เกิดจากการสัมผัสทางความรู้สึกเสียเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้เองอัลกุรอานจึงมีชีวิตเป็นอมตะ นิรันดร์ และพึ่งพาตัวเองไม่ได้ขึ้นอยู่กับชีวิตอันสั้นเพียงเล็กน้อยของท่านศาสดา (ซ็อล ) เท่านั้น ทว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่มีความเป็นอมตะนิรันดร์เสมอ

นอกจากนั้นแล้วอัลกุรอานยังได้ท้าทายมนุษย์ทั้งโลกให้ต่อสู้กับอัลกุรอาน ชนิดตาต่อตา ฟันต่อฟัน หรือประกาศความเป็นนิรันดร์ของตัวเองเฉกเช่นอัลกุรอาน โองการกล่าวว่า :และถ้าหากสูเจ้ายังแคลงใจในสิ่งที่เราได้ประทานมาแก่บ่าวของเรา สูเจ้าก็จงนำมาสักบทหนึ่งเยี่ยงนั้น และจงเรียกบรรดาผู้ช่วยเหลือของสูเจ้ามา 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
    5714 ระบบต่างๆ 2554/10/02
    ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมาเชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยมแนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมืองท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครองตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมามหรือตัวแทนอิมามซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้ในบริบททางวิชาการท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชนความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูมตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษนอกจากนี้การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด
  • ในกุรอานมีกี่ซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบี?
    20153 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    ในกุรอานมีหกซูเราะฮ์ที่มีชื่อคล้ายบรรดานบี ได้แก่ ซูเราะฮ์นู้ห์, อิบรอฮีม, ยูนุส, ยูซุฟ, ฮู้ด และ มุฮัมมัด อย่างไรก็ดี จากคำบอกเล่าของฮะดีษบางบททำให้นักอรรถาธิบายกุรอานเชื่อว่า ซูเราะฮ์บางซูเราะฮ์อย่างเช่น ฏอฮา[1], ยาซีน[2], มุดดัษษิร[3], มุซซัมมิ้ล[4] หมายถึงท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) จึงอาจจะจัดได้ว่าซูเราะฮ์ต่างๆข้างต้นถือเป็นซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบีได้เช่นเดียวกัน คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม ...
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7085 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • มีวิธีใดบ้างที่จะทำให้สามีภรรยาเข้าใจกันและกัน
    7909 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/15
    ความซื่อสัตย์คือต้นทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิตคู่ ในทางตรงกันข้าม ภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดที่ก่อให้เกิดความร้าวฉานระหว่างคู่รักก็คือความไม่ไว้วางใจและการหลอกลวงกัน จากที่คุณถามมา พอจะสรุปได้ว่าคุณสองคนขาดความไว้วางใจต่อกัน ขั้นแรกจึงต้องทำลายกำแพงดังกล่าวเสียก่อน วิธีก็คือ จะต้องหาต้นตอของความไม่ไว้วางใจให้ได้ แล้วจึงสะสางให้เป็นที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากเสริมสร้างความไว้วางใจได้สำเร็จ ไม่ว่าคุณไสยหรือเวทมนตร์คาถาใดๆก็ไม่อาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับภรรยาได้อีก ...
  • ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะกลายเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ?
    5255 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    คำว่า “มุฮิบบัต” มาจากรากศัพท์คำว่า “ฮุบ” หมายถึงมิตรภาพความรัก. ความรักของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่มีต่อปวงบ่าวข้าทาสบริพารมิได้มีความเข้าใจเหมือนกับความรักสามัญทั่วไป, เนื่องจากความสิ่งจำเป็นของความรักในความหมายของสามัญคือปฏิกิริยาแสดงออกของจิตใจและอารมณ์ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้, ทว่าความรักที่อัลลอฮฺทรงมีต่อปวงบ่าว,
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    14564 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...
  • ปรัชญาของการมีทาสในอิสลามคืออะไร? อิสลามมีวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่าอย่างไร?
    11812 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    ถูกต้องบทบัญญัติเกี่ยวกับ การแต่งงานกับทาส, การเป็นมะฮฺรัมกับทาส, สัญญาซื้อขาย (ข้อตกลงที่จะปล่อยทาสเป็นไท) และ ...ได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน, การมีทาสได้รับการยืนยันว่ามีจริงในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต้นยุคอิสลาม แต่จำเป็นต้องกล่าวว่าอิสลามมีโปรแกรมที่ละเอียดอ่อน และมีกำหนดเวลาในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท ซึ่งบั้นปลายสุดท้ายของทั้งหมดเหล่านั้นคือ การได้รับอิสรภาพเป็นไททั้งสิ้น ดังนั้นการเผชิญหน้าของอิสลามกับปัญหาเหล่านี้ จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้: 1-อิสลามมิเคยเริ่มต้นปัญหาเรื่องทาส 2-อิสลามถือว่าปัญหาชะตากรรม และความเจ็บปวดใจของทาสในอดีตที่ผ่านมาคือ ปัญหาความล้าหลังอันยิ่งใหญ่ของสังคม 3-อิสลามได้วางโครงการที่ละเอียดอ่อน เพื่อปลดปล่อยทาสให้เป็นไท, เนื่องจากครึ่งหนึ่งของพลเมืองในสมัยก่อนเป็นทาสทั้งสิ้น, พวกเขาไม่มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพการงาน, ไม่มีปัจจัยสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไป.ถ้าหากอิสลามได้มีคำสั่งต่อสาธารณชนว่าให้ทั้งหมดปล่อยทาสให้เป็นไท, ซึ่งเป็นไปได้ว่าส่วนใหญ่ของพวกเขาจะต้องสูญเสียชีวิต หรือไม่ชนส่วนใหญ่ก็จะต้องว่างงานไร้อาชีพ หิวโหย ถูกกีดกัน และพวกเขาต้องได้รับแรงกดดันจนกระทั่งเข้าทำร้ายและโจมตีในทุกที่ การประจัญบาน การนองเลือด และการทำลายกฎระเบียบของสังคมก็จะทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามได้วางแผนการไว้อย่างละเอียด เพื่อดึงดูดสังคมให้ทาสเหล่านี้ได้รับอิสรภาพ และเป็นไทไปที่ละน้อย ซึ่งแผนการดังกล่าวมีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ...
  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8621 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง
  • มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
    7481 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณี –ยกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาปและต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6084 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59352 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56809 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41633 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38381 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38375 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33420 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27513 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27207 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27102 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25169 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...