การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6567
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/24
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1284 รหัสสำเนา 17919
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
ข้อแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนา
คำถาม
มะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนาแตกต่างกันอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆ คำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญา โดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้น มะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดา และนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนา กล่าวคือ โดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญา ทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้ อย่างไรก็ดี สภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีก ในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้น ได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์ ในวัฒนธรรมอิสลามจะไม่มีการจำแนกว่าส่วนใดของชีวิตเป็นวัตถุวิสัย และส่วนใดเป็นมะอ์นะวียัต ทว่าทุกกระเบียดของชีวิต ไม่ว่าจะการแต่งงาน การทำงาน การศึกษา หรือแม้แต่การพักผ่อนหย่อนใจ ล้วนเป็นมะอ์นะวียัตได้ หากเชื่อมต่อกับนิยามชีวิตที่บรรดาศาสนทูตได้นำเสนอไว้

คำตอบเชิงรายละเอียด

มะอ์นะวียัตคือรากศัพท์แบบญะอ์ลี แปลว่าสภาวะแห่งมะอ์นะวี ส่วนมะอ์นะวีนั้น พจนานุกรมเดะห์โคดอให้ความหมายว่า เที่ยงแท้ ถูกต้อง จริง ภาวะทางจิตวิญญาณ ปราศจากเงื่อนไข รวมถึงภาวะที่รับรู้ได้ด้วยจิตใจเท่านั้น ไม่อาจถ่ายทอดทางมุขปาฐะ [1]
บ้างกล่าวว่า มะอ์นะวียัตได้มาจากคำว่ามะอ์นา อันเป็นสิ่งพ้นญาณวิสัยที่ตรงข้ามกับสิ่งที่สัมผัสได้ คำนี้สื่อถึงมโนภาพที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่จริงในโลกภายนอก และด้วยการเข้าใจรากศัพท์ในแง่ศัพทมูลวิทยาเชิงอิสลามอย่างง่ายๆ ทำให้สามารถเชื่อมโยงความหมายของมะอ์นะวียัตกับจิตวิญญาณเข้าด้วยกัน ซึ่งตามความเข้าใจดั้งเดิมก็สื่อถึงสารัตถะภายในตนเองได้ อย่างไรก็ดี ต้องคำนึงว่าการนิยามเช่นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตกับรูฮานียัต(ภาวะทางจิตวิญญาณ) ซึ่งที่มาของความแตกต่างนี้ก็คือการที่สารัตถะมีหลายชั้น และมีทั้งมิติภายนอกและภายใน ซึ่งมิติที่สองมีหลายระดับชั้น ซึ่งขั้นสูงสุดก็คือสารัตถะที่แท้จริง[2]

จากการที่คำว่ามะอ์นะวียัตถูกใช้ในหลากหลายมิติ จึงค่อนข้างยากที่จะนิยามเป็นเอกฉันท์ ในแวดวงคริสตศาสนาแล้ว มะอ์นะวียัตถือเป็นคำที่ใช้แพร่หลายในการอธิบายชีวิตที่เชื่อมโยงกับพระจิต หรืออธิบายการเลื่อมใสยอมเป็นศิษย์ อย่างไรก็ดี คำๆนี้ทำให้นึกถึงสองประเด็น หนึ่ง ภาวะทางจิตวิญญาณและความศักดิ์สิทธิ สอง การมีความหมาย โดยเฉพาะความหมายของชีวิต[3]

แน่นอนว่ามะอ์นะวียัตเช่นนี้ย่อมไม่อาจจะจำแนกออกจากหลักศรัทธาของมนุษย์ได้ ฉะนั้น การเปรียบเทียบระหว่างมะอ์นะวียัตของคริสตศาสนาและอิสลามจึงควรตั้งอยู่บนพื้นฐานการเปรียบเทียบหลักความเชื่อของสองศาสนานี้เท่านั้น
กล่าวคือ คุณค่าความน่าเชื่อถือของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นตรงต่อคุณค่าของศาสนานั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ในขั้นแรกจึงจำเป็นต้องเปรียบเทียบคำสอนและความน่าเชื่อถือของคัมภีร์ของแต่ละศาสนา เพื่อจะทราบถึงความน่าเชื่อถือของมะอ์นะวียัตอันเป็นผลพวง

"ในจารีตของอิสลามนั้น มะอ์นะวียัตสื่อถึงแก่นแท้ของอิสลาม ซึ่งเริ่มต้นด้วยการประทานโองการแรกของคัมภีร์อัลกุรอานแก่จิตใจของท่านนบี(..)
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กุรอานถือเป็นแหล่งกำเนิดมะอ์นะวียัตสำหรับผู้ที่สนใจไฝ่ศึกษา กุรอานนำเสนอมะอ์นะวียัตทั้งในแง่สิ่งศักดิ์สิทธิทางจิต และในแง่ความหมายของชีวิตของมุสลิม"[4] ในขณะที่คัมภีร์ศักดิ์สิทธิของชาวคริสต์ อันประกอบด้วยพันธสัญญาเดิมและใหม่กว่า 73 ฉบับนั้น ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ ในแง่เนื้อหาก็มีบางส่วนขัดต่อสติปัญญา สายรายงานของไบเบิ้ลเองก็ขาดความน่าเชื่อถือที่ควรจะมี เพราะชาวคริสต์เองเชื่อว่าไบเบิ้ลประพันธ์โดยเหล่าสาวกภายหลังจากพระเยซูจากไปหลายปี โทมัส มิเชล บาทหลวงคริสต์ได้กล่าวไว้ว่า:
ในยุคแรกเริ่ม ชาวคริสต์ยังต้องพึ่งพาคัมภีร์ของชาวยิว ต่อมานักประพันธ์ไบเบิ้ลทั้งสี่ รวมทั้งเปโตรและยูดาห์และท่านอื่นๆได้เรียบเรียงวิธีศรัทธาต่อปาฏิหารย์ที่พระเจ้าทรงลิขิตผ่านพระเยซู"[5] บาทหลวงท่านนี้ยังยอมรับว่า "เรารู้จักนักประพันธ์พันธสัญญาเพียงบางคน"[6] เขายังเปรียบเทียบระหว่างกุรอานและไบเบิ้ลจากมุมมองของมุสลิมและคริสเตียนไว้ในหนังสือเทววิทยาคริสเตียนว่า:

อิสลาม

คริสตศาสนา

กุรอาน

พันธสัญญาเดิมและใหม่

คัมภีร์หนึ่งเดียว

รวมชุดคัมภีร์

ภาษาอรับ

ภาษาฮิบรู อาราม กรีก

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56843 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38424 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...