การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8648
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1086 รหัสสำเนา 17846
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
คำถาม
เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
คำตอบโดยสังเขป

การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืม องค์พระผู้อภิบาล ซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระเจ้า การใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์ สามารถฟื้นฟูการรำลึกถึงอัลลอฮฺในใจตัวเองให้มีชีวิตชีวาได้

การรำลึกถึงอัลลอฮฺมีมรรคผลมากมาย อาทิเช่น : 1-เท่ากับเป็นการเชื่อฟังปฏิบัติอัลลอฮฺ, 2-เป็นการนอบน้อมถ่อมตน, 3- เป็นการแสดงความรักในการอิบาดะฮฺ,4- สร้างความสงบและความมั่นใจ, 5- เป็นการทำให้อัลลอฮฺสนใจปวงบ่าว, 6- เป็นการแสดงความรักของอัลลอฮฺที่มีต่อปวงบ่าว และ ...

คำตอบเชิงรายละเอียด

โองการอัลกุรอานบ่งชี้ให้เห็นว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา, ผู้กระทำความผิด,ผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงอัลลอฮฺ, คือผู้ที่หลงลืมการสร้างและวันฟื้นคืนชีพ ซึ่งจริงๆ แล้วคือผู้หลงลืมอัลลอฮฺ (ซบ.)

อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : สูเจ้าจงอย่าเป็นเฉกเช่นบรรดาผู้ที่ลืมอัลลอฮ (ซึ่งอัลลอฮฺก็จะลืมเขาโดยไม่ให้เขาได้รับความเมตตาจากพระองค์) เพราะอัลลอฮจะทรงให้พวกเขาลืมตัวเอง ชนเหล่านั้นคือผู้ฝ่าฝืน[1]

เช่นเดียวกันโองการอื่นได้กล่าวคำพูดของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่กล่าวว่า : "จะไม่มีชีวิตอื่นใดอีกดอก นอกจากการมีชีวิตของเราในโลกนี้ เราจะตายไปและเราจะมีชีวิตอยู่ และไม่มีสิ่งใดจะมาทำลายเราให้พินาศได้ นอกจากกาลเวลาเท่านั้น พวกเขาไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดอก พวกเขาเพึยงแค่เดาเอาเอง[2]บุคคลเหล่านี้เขาได้ลืมอัลลอฮฺและมะอาดไปจนหมดสิ้น

อัลกุรอาน โองการอื่นกล่าวว่า : “(และจงกล่าวกับพวกเขาว่า) ดังนั้น พวกเจ้า (ชาวนรก) จงลิ้มรสเถิด เนื่องด้วยพวกเจ้าได้ลืมการชุมนุมกันในวันนี้ของพวกเจ้า, แท้จริง เราก็ลืมพวกเจ้าด้วย และพวกเจ้าจงลิ้มรสการลงโทษอย่างตลอดกาลตามที่พวกเจ้าได้กระทำไว้เถิด[3]

อัลกุรอานอีกโองการหนึ่งกล่าวแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาว่า : “. และจะมีการกล่าวขึ้นว่า "วันนี้เราจะลืมพวกเจ้า เช่นที่พวกเจ้าได้ลืมการพบกันในวันนี้ของพวกเจ้า และนรกคือที่พำนักของพวกเจ้า และพวกเจ้าจะไร้ผู้ช่วยเหลือ"[4]

ประเด็นที่ได้รับจากโองการเหล่านี้คือ :

1- เมื่อพิจารณาคำว่า นิสยาน เข้าใจได้ว่า การรู้จักอัลลอฮฺคือธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ที่มีมาแต่ก่อนเก่า บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และผู้กระทำความผิดได้ลืมธรรมชาติดั้งเดิมของตนเอง เนื่องจากผลของความสกปรกโสมมจากการทำความผิด. อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงใช้คำว่า นิสยาน (หลงลืม) กับผู้ศรัทธาหรือชาวคัมภีร์แม้แต่ครั้งเดียว. แต่สำหรับผู้ที่ลืมอัลลอฮฺ และวันฟื้นคืนชีพ, พระองค์จะใช้คำว่า นิสยาน กับพวกเขา พระองค์ตรัสว่า :เนื่องจากพวกเจาลืมอัลลอฮฺ และวันฟื้นคืนชีพ.

2- การหลงลืมอัลลอฮฺเท่ากับพวกเขาได้ลืมตัวเอง”,เหตุผลของประเด็นนี้ก็ชัดเจน, เนื่องจากด้านหนึ่งการลืมอัลลอฮฺเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องตกอยู่ในความต่ำทราม มีความเพลิดเพลินกับความสุขแห่งวัตถุ กิเลสตัณหาเยี่ยงเดรัจฉาน, และหลงลืมเป้าหมายการสร้างตนเอง และในที่สุดแล้วเท่ากับตนหลงลืมการสั่งเสบียงไว้สำหรับวันฟื้นคืนชีพ

อีกด้านหนึ่งการลืมอัลลอฮฺ เท่ากับได้ลืมคุณลักษณะที่ดีและสะอาดของพระองค์จนหมดสิ้น ซึ่งการมีอยู่ของพระองค์นั้นสัมบูรณ์ ทรงปรีชาญาณยิ่ง ทรงร่ำรวย และทรงเป็นองค์สุดท้าย ดังนั้นทุกสิ่งที่นอกเหนือไปจากพระองค์ต้องพึ่งพิงพระองค์ และขึ้นอยู่กับอาตมันสะอาดบริสุทธิ์ของพระองค์, ดังนั้น สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์คิดว่าตนเป็นเอกเทศ มีความร่ำรวยและไม่ต้องการพึ่งพิงพระองค์, ฉะนั้น ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ได้ลืมชะตาชีวิตของตนเอง มิใช่ลืมอัลลอฮฺ[5]

3- โองการเหล่านี้ได้ยืนยันให้เห็นว่า การหลงลืมอัลลอฮฺมิใช่เพียงแค่มีความเป็นไปได้เท่านั้น แต่น่าเสียดายยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญของบททดลองมนุษย์ทั้งหมด มิหนำซ้ำมุสลิมบางกลุ่มชนก็ทำตนเยี่ยงนั้นด้วยเช่นกัน กล่าวคืออยู่ในเงื่อนไขของการลืมเลือนอัลลอฮฺ. เพียงแต่ว่าบางครั้งการลืมเลือนนี้จะมีตลอดไป ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะเป็นสาเหตุนำไปสู่การลงโทษในไฟนรกในปรโลก. ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า :อัลลอฮฺได้ทรงปิดผนึกหัวใจของพวกเขาและหูของพวกเขา และบนดวงตาของพวกเขานั้นก็มีเยื่อปกปิดอยู่ และพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันมหันต์[6] แต่บางครั้งการหลงลืมก็เป็นไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งพอจะมีความหวังได้ว่าสักวันเขาคงกลับไปสู่สภาพเดิมของตัวเอง และฟื้นฟูการรำลึกถึงอัลลอฮฺให้ตื่นในใจตัวเอง. อัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : แท้จริงบรรดาผู้ที่ยำเกรงนั้นเมื่อมีการยุยงใด  จากชัยฏอนประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็รำลึกได้ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ ผลตอบแทน และการลงโทษ และในการรำลึกถึงพระองค์ทำให้เขาพบทางสว่าง) แล้วทันใดพวกเขาก็มองเห็น[7]

สาเหตุของการลืมเลือนอัลลอฮฺ :

1- ชัยฏอนคือตัวการสำคัญที่มีอิทธิพลทำให้มนุษย์ลืมเลือนอัลลอฮฺ. เกี่ยวกับประเด็นนี้อัลกุรอานกล่าวว่า : “ชัยฏอนได้เข้าไปครอบงำพวกเขาเสียแล้ว มันจึงทำให้พวกเขาลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นคือบรรดาพรรคพวกของชัยฏอน พึงทราบเถิดว่า แท้จริงพรรคพวกของชัยฏอนนั้น พวกเขาเป็นผู้สูญเสีย[8]

ความพยายามทั้งหมดของชัยฏอนคือ การพยายามถอดถอนทุนของอัลลอฮฺออกไปจากมนุษย์ และบุคคลใดก็ตามที่ปล่อยทุนของอัลลอฮฺ ให้หลุดลอยมือไปเท่ากับเขาได้ลืมตัวเอง

2- การหลงโลกเป็นอีกตัวการหนึ่งที่สำคัญยิ่งในการทำให้มนุษย์ลืมอัลลอฮฺ, เนื่องจากความดึงดูดใจของโลก ปัจจัย และความซิวิไลซ์เป็นเหตุทำให้จิตใจของมนุษย์มืดบอด ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมามอะลี (.) จึงกล่าวว่าไม่อาจไปถึงยังความใกล้ชิดอัลลอฮฺได้ เว้นเสียแต่ว่าได้ตัดขาดจากโลก[9]

3- ความผิดและการฝ่าฝืนคำสั่งขององค์พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร เป็นเฉกเช่นม่านที่กั้นระหว่างอัลลอฮฺกับมนุษย์ และกลายเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ได้หลงลืมอัลลอฮฺ การสร้างตนเองไปจนหมดสิ้น ดังเช่นที่ได้กล่าวถึงคำกล่าวของท่านอิมามริฎอ (.) ที่ตอบคำถามของชายคนหนึ่งที่ถามว่า เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงอยู่ในม่านกั้น? กล่าวว่า เป็นเพราะว่ามนุษย์ได้กระทำความผิดจำนวนมากมายนั่นเอง[10]

ในทางตรงกันข้ามเราต่างมีหน้าที่สำคัญคือ การรำลึกถึงอัลลอฮฺในจิตใจตนเสมอ เพราะเป็นการรักษาพลเมืองในสังคมให้มีชีวิตชีวาตลอดเวลา. ดังเช่นที่อัลลอฮฺตรัสว่า :บรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง[11] การฟื้นฟูการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ให้มีชีวิตชีวาเสมอนั้นให้กระทำเท่าที่สามารถเป็นไปได้ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องมีรูปแบบอันเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด, และด้วยการมีอยู่ตามคำสอนของศาสนา สำหรับการทำให้การรำลึกถึงอัลลอฮฺมีชีวิตชีวา จึงได้นำเสนอรูปแบบอันเฉพาะเอาไว้ เฉกเช่น :

1- นมาซ, ดังที่ อัลกุรอานกล่าวว่า :จงดํารงไว้ซึ่งการนมาซ เพื่อรำลึกถึงฉัน[12]

2- สร้างสัมพันธ์กับอัลกุรอาน, อัลลอฮฺ ตรัสว่า :สิ่งนั้นเราอ่านมันให้เจ้าฟัง อันได้แก่สัญลักษณ์ต่าง  (ที่บ่งบอกถึงความจริงของเจ้า) และเป็นคําเตือนรำลึกที่รัดกุมชัดเจน[13]

4-การใคร่ครวญในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน (สัญลักษณ์ของพระเจ้า) อัลกุรอานกล่าวว่า :พวกเขาพินิจพิจารณากันในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน (และกล่าวว่า) พระผู้อภิบาลของพวกข้าฯ พระองค์ไม่ได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้สาระ พระพิสุทธิคุณแห่งพระองค์ โปรดคุ้มครองพวกข้าฯให้พ้นจากการลงโทษแห่งเพลิงนรกด้วยเถิด"[14]

4-การใส่ใจในพระลักษณะของพระเจ้า, อัลลอฮฺตรัสว่า :บูรพาทิศและประจิมทิศเป็นของอัลลอฮฺ หนทางใดที่สูเจ้าผินหน้าของสูเจ้าไปอัลลอฮฺก็ทรงอยู่ที่นั่น แท้จริงอัลลอฮฺคือพระผู้ทรงกว้างขวาง พระผู้ทรงรอบรู้[15] เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมีอยู่ทุกที่, ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะผินหน้าไปทางไหนก็ตาม, ก็จะเห็นพระองค์ทรงอยู่  ที่นั่น. ผลลัพธ์ก็คือเราต้องระมัดระวังตนเองเพื่อจะได้ไม่เผลอกระทำความผิด

การรำลึกถึงอัลลอฮฺ มีผลบุญและผลานิสงส์อันมากมาย อาทิเช่น :

1- เท่ากับเป็นการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ

2- เท่ากับเป็นการนอบน้อมถ่อมตนในการยอมรับความจริง เพราะโดยแก่นแล้วมนุษย์คือบ่าวผู้อ่อนแอ

3- แสดงให้เห็นถึงความรักที่มีต่อการอิบาดะฮฺ

4- สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ

5- ดึงดูดความรักและความเอาใจใส่ของอัลลอฮฺมายังตน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนคงจะได้รับประโยชน์จากความจำเริญในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ



[1] อัลกุรอาน บทฮัชรฺ โองการที่ 19 กล่าวว่า : "وَ لا تَکُونُوا کَالَّذینَ نَسُوا اللَّهَ فَأَنْساهُمْ أَنْفُسَهُمْ أُولئِکَ هُمُ الْفاسِقُونَ" และบทเตาบะฮฺ โองการ 67, บทยาซีน โองการ 78

[2] อัลกุรอาน บทญาซียะฮฺ โองการที่ 24 กล่าวว่า :

 "وَ قالُوا ما هِیَ إِلاَّ حَیاتُنَا الدُّنْیا نَمُوتُ وَ نَحْیا وَ ما یُهْلِکُنا إِلاَّ الدَّهْرُ وَ ما لَهُمْ بِذلِکَ مِنْ عِلْمٍ إِنْ هُمْ إِلاَّ یَظُنُّونَ

[3] อัลกุรอาน บทซัจญฺดะฮฺ โองการที่ 14,

[4] อัลกุรอาน บทญาซียะฮฺ โองการที่ 34.

[5] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 23, หน้า 541.

[6] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 7, กล่าวว่า : "خَتَمَ اللَّهُ عَلى‏ قُلُوبِهِمْ وَ عَلى‏ سَمْعِهِمْ وَ عَلى‏ أَبْصارِهِمْ غِشاوَةٌ وَ لَهُمْ عَذابٌ عَظیمٌ"

[7] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ โองการที่ 201, และบทอาลิอิมรอน, โองการ 135 กล่าวว่า : 

" الَّذینَ اتَّقَوْا إِذا مَسَّهُمْ طائِفٌ مِنَ الشَّیْطانِ تَذَکَّرُوا فَإِذا هُمْ مُبْصِرُونَ".

[8] อัลกุรอาน บทมุญาดะละฮฺ โองการที่ 19 กล่าวว่า :

"اسْتَحْوَذَ عَلَیْهِمُ الشَّیْطانُ فَأَنْساهُمْ ذِکْرَ اللَّهِ أُولئِکَ حِزْبُ الشَّیْطانِ أَلا إِنَّ حِزْبَ الشَّیْطانِ هُمُ الْخاسِرُون".

[9] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 193, " وَ لَا یُنَالُ مَا عِنْدَهُ إِلَّا بِتَرْکِهَا".

[10] เชคซะดูก, อัตเตาฮีด, พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ ญามิอฺมุดัรริซีน กุม, ปี .. 1398, (1357) หน้า 252, จากท่านอิมามริฎอ (.) กล่าวว่า :

قال الرجل فلم احتجب فقال أبو الحسن ع إن الاحتجاب عن الخلق لکثرة ذنوبهم.

[11] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 191 กล่าวว่า : "الَّذینَ یَذْکُرُونَ اللَّهَ قِیاماً وَ قُعُوداً وَ عَلى‏ جُنُوبِهِمْ"

[12] อัลกุรอาน บทฏอฮา โองการที่ 14 กล่าวว่า : "أَقِمِ الصَّلاةَ لِذِکْری".  

[13] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 581 กล่าวว่า : "ذلِکَ نَتْلُوهُ عَلَیْکَ مِنَ الْآیاتِ وَ الذِّکْرِ الْحَکیمِ"

[14] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 191 กล่าวว่า : "یَتَفَکَّرُونَ فی‏ خَلْقِ السَّماواتِ وَ الْأَرْضِ رَبَّنا ما خَلَقْتَ هذا باطِلاً سُبْحانَکَ فَقِنا عَذابَ النَّارِ".

[15] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 115 กล่าวว่า : "وَ لِلَّهِ الْمَشْرِقُ وَ الْمَغْرِبُ فَأَیْنَما تُوَلُّوا فَثَمَّ وَجْهُ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ واسِعٌ عَلیمٌ".

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    6217 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6263 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • อัมร์ บิน อ้าศมีอุปนิสัยอย่างไรในประวัติศาสตร์?
    10275 تاريخ بزرگان 2554/08/02
    อัมร์ บิน อ้าศ บิน วาอิ้ล อัสสะฮ์มี โฉมหน้านักฉวยโอกาสที่แฝงด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ถือกำเนิดจากหญิงที่ชื่อ“นาบิเฆาะฮ์” บิดาของเขาคืออ้าศ บิน วาอิ้ล เป็นมุชริกที่เคยถากถางเยาะเย้ยท่านนบีด้วยคำว่า“อับตัร”หลังจากกอซิมบุตรของท่านนบีถึงแก่กรรมในวัยแบเบาะ ซึ่งหลังจากนั้น อัลลอฮ์ได้ประทานอายะฮ์ “ان شانئک هو الابتر” เพื่อโต้คำถากถางของอ้าศอัมร์ บิน อ้าศ เป็นที่รู้จักในเรื่องความเจ้าเล่ห์ ในสมัยที่อิมามอลี(อ.)ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ เขากลายเป็นมือขวาของมุอาวิยะฮ์ในสงครามศิฟฟีนเพื่อต่อต้านท่าน และสามารถล่อลวงทหารฝ่ายอิมามเป็นจำนวนมาก ท้ายที่สุดก็ใช้เล่ห์กลหลอกอบูมูซา อัลอัชอะรี เพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่มุอาวิยาะฮ์ ท้ายที่สุดได้รับแต่งตั้งโดยมุอาวิยะฮ์ให้เป็นผู้ปกครองเมืองอิยิปต์ ...
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    10129 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7995 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • ประโยคที่ว่า لاتعادوا الایام فتعادیکم หมายความว่าอย่างไร?
    6137 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ประโยคดังกล่าวแปลว่า “จงอย่าเป็นศัตรูกับวันเวลาแล้ววันเวลาจะไม่เป็นศัตรูกับท่าน”ประโยคนี้ปรากฏอยู่ในฮะดีษของท่านนบี(ซ.ล.)บางบทอัยยามในที่นี้หมายถึงวันเวลาในรอบสัปดาห์สำนวนนี้ต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของวันเวลาและไม่ควรมองวันเวลาในแง่ลบเพราะอาจจะทำให้ประสบเคราะห์กรรมได้ควรคิดว่าวันเวลาเปี่ยมด้วยความเมตตาของพระองค์ที่เราจะต้องขวนขวายไว้อย่างไรก็ดีประโยคนี้ยังสามารถอธิบายได้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะนำเสนอในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • อะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องเชื่อเช่นไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
    6389 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    ชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมากมายอาจมีบางประเด็นที่เห็นต่างกันข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับซุนหนี่ก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) พี่น้องซุนหนี่จะรับสายธารชีอะฮ์ได้ก็ต่อเมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสียก่อนทั้งนี้ก็เนื่องจากชีอะฮ์เชื่อว่าหากไม่นับรวมสถานภาพการรับวะฮีย์แล้ว
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12813 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้นำทองใหม่(รูปพรรณ)ไปแลกเปลี่ยนกับทองเก่าที่มีน้ำหนักมากกว่า?
    9141 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/23
    กุรอานและฮะดีษห้ามปรามธุรกรรมที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยอย่างชัดเจนโดยได้อธิบายเหตุผลไว้อย่างสังเขปอาทิเช่นทำลายช่องทางการกู้ยืมเป็นการขูดรีดผู้เดือดร้อนและเป็นเหตุให้สูญเสียการลงทุนในด้านที่สังคมขาดแคลนเหตุผลข้างต้นล้วนเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมทั้งสิ้นส่วนดอกเบี้ยประเภทซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้นเราไม่พบเหตุผลใดๆทั้งในกุรอานและฮะดีษทำให้เราไม่อาจจะทราบถึงเหตุผลได้อย่างไรก็ดีเรายังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ท่านนบีและบรรดาอิมามกล่าวไว้แต่ก็มิได้หมายความว่าไม่มีเหตุผลหรือปรัชญาใดๆแฝงอยู่ในเรื่องนี้ ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานเกี่ยวกับเหตุผลของการห้ามดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนว่าอาจเป็นเพราะธุรกรรมดังกล่าวจะถูกใช้เป็นช่องทางหลบเลี่ยงดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมหรือกล่าวได้ว่าดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนคือประตูไปสู่ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมนั่นเอง ...
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12380 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60103 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57507 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42175 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39311 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38925 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33978 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27997 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27928 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27761 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25758 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...