การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6068
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa12062 รหัสสำเนา 21061
คำถามอย่างย่อ
เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
คำถาม
เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
คำตอบโดยสังเขป

มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่น ที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียว และให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัย หรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติ โดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆ จากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี ซึ่งไม่เพียงแต่จะไม่ขัดแย้งกับปัญหาด้านจิตวิญญาณและปรโลกเท่านั้น, ทว่ายังถือเป็นเส้นทางนำไปสู่การเจริญเติบโต และความผาสุกของมนุษย์อีกต่างหาก

คำตอบเชิงรายละเอียด

ศาสนาและสำนักคิดด้านภูมิปัญญาที่มีบทบาทต่อสังคมมนุษย์, ได้มีคำสั่งสอนในเชิงปฏิบัติและคำอนุญาตสำหรับการเติมเต็มความต้องการต่างๆ ของมนุษย์ และเป็นหลักประกันต่อความจำเริญผาสุกของพวกเขา

ส่วนสำนักคิดต่างๆ ที่เน้นเรื่องวัตถุปัจจัยทางโลก โดยทั่วไปแล้วจะไม่ใส่ใจต่อเรื่องจิตวิญญาณและศีลธรรม หรือโดยหลักการแล้วจะไม่มีความเชื่อเรื่องนี้ ทว่ามีความเชื่อว่าความเจริญผาสุกของมนุษย์ อยู่ที่การแสวงประโยชน์ให้ได้มากที่สุดจากความสุขทางวัตถุ, ในทางตรงกันข้ามศาสนาบางศาสนาหรือบางสำนักคิดจะวางพื้นฐานการงาน ไว้บนการอบรมสั่งสอนจิตวิญญาณของมนุษย์ให้สูงส่ง ซึ่งไม่เพียงแค่ไม่สนับสนุนการเติมเต็มด้านวัตถุปัจจัยเท่านั้น, ทว่าความเจริญผาสุกของมนุษย์นั้นคือ การห่างไกล หรือการหลีกเลี่ยงจากการแสวงหาความสุขทางโลกแห่งวัตถุปัจจัยภายนอก อีกนัยหนึ่งได้สอนให้มนุษย์ละทิ้งและปล่อยวางโลกและทุกสิ่งที่เป็นของโลกนี้,ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งลาภยศหรือวัตถุปัจจัยทั้งปวง, อย่างไรก็ตามความเข้าใจด้านความผาสุกของมวลมนุษยชาตินั้น ขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ทางศาสนา การตีความของเขาเกี่ยวกับโลกและมนุษย์

เกี่ยวกับประเด็นนี้ สามารถกล่าวได้ว่า การให้ความสนใจทางวัตถุปัจจัยชนิดเลยเถิด และไม่มีเงื่อนไข หรือการแสวงหาความสุขต่างๆ อย่างไร้พรมแดนในเรื่องของกิเลสราคะ และความต้องการอันเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ ซึ่งในโลกวัตถุปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมตะวันตก ปฏิกิริยาความรุนแรงเมื่อต้องเผชิญกับความจำกัดต่างๆ ในนามของศาสนา ซึ่งกำหนดให้พวกเขาแสวงหาประโยชน์ทางวัตถุปัจจัยด้วยความพอดี

อิสลามมิได้สอนให้แยกปัญหาทางจิตวิญญาณออกจากโลก หรือแยกออกจากการใช้ประโยชน์จากความเมตตาของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ คำสอนต่างๆ ทางศาสนาของบรรดานักบวช และการห้ามมิให้ใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานต่างๆ ของพระเจ้า, ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า :อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานศาสนาแก่ศาสดานูฮฺ อิบรอฮีม มูซา และอีซา (.) อันเป็นหลักการสายกลางที่เป็นธรรมชาติยิ่ง ซึ่งไม่ใช่ทั้งนักบวช หรือพวกฤษีชีไพร หรือเป็นพวกปลีกวิเวก ทว่าในศาสนานี้ได้กำหนดให้สิ่งสะอาด เป็นที่อนุมัติ (ฮะลาล) และสิ่งสกปรกเป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม) และได้ปลดเปลื้องภาระอันหนักอึ้งลงจากไหล่ของบรรดาบุรุษทั้งหลาย[1]

ท่านเราะซูล (ซ็อล ) และบรรดาผู้นำผู้บริสุทธิ์ (.)  ได้ตักเตือนและกำชับอย่างหนักแน่นแก่ประชาชาติของตน เรื่องการออกห่างจากการเป็นนักบวช หรือการปลีกวิเวกออกจากสังคม เช่น :

สหายคนหนึ่งของท่านอิมามอะลี (.) ได้มาพบท่านอิมาม เพื่อร้องเรียนเรื่องน้องชายคนหนึ่งของเขา ซึ่งได้ทำตนเหมือนนักบวชกล่าวคือ เขาไม่บริโภคเนื้อสัตว์ต่างๆ, สวมใส่เสื้อผ้าสมถะ, หลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องเพศ, และอื่นๆ .... ท่านอิมาม (.) กล่าวว่า : ให้เขามาหาฉัน และเมื่ออาซิมได้มาถึงท่านอิมามได้จ้องมองเขาด้วยใบหน้าบึ้งตึง และมีความโมหะ ท่านอิมาม (.) กล่าวกับเขาว่า : ความหายนะจงมีแด่เธอ โอ้ อาซิมเอ๋ย ทำไมเธอจึงคิดเช่นนี้ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงทำให้ความสุขสำราญทางโลก และความโปรดปรานต่างๆ เป็นมุบาฮฺสำหรับเธอ, เธอไม่พอใจดอกหรือที่ได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น?  เบื้องพระพักตร์ของอัลลฮฺ (ซบ.) เธอเล็กยิ่งกว่าสภาพที่เธอเป็นอยู่ (จะแสดงทัศนะตัวเองออกมา) เธอไม่เมตตาสงสารลูกและภรรยาดอกหรือ? เธอคิดว่าสมควรแล้วหรือสิ่งที่สะอาดทั้งหลาย ที่อัลลอฮ (ซบ.) ทรงอนุมัติแก่เธอแล้ว เธอจะหลีกเลี่ยงและไม่สนใจในการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น”?[2]

อย่างไรก็ตามประเด็นที่เราจะต้องไม่ลืมเลือนไปคือ, สิ่งที่ได้รับการประณามจากโลกนี้แต่มนุษย์กับมีจิตผูกพันอยู่กับสิ่งเหล่านั้น, ในลักษณะที่ว่าทำให้มนุษย์หลงลืมหน้าที่ของตนที่มีต่อสิ่งถูกสร้างอื่น หรือมีต่ออัลลอฮฺ และเป็นสาเหตุทำให้เขาหยิ่งจองหอง, หลงลืมปรโลก, ขายศักดิ์ศรีให้แก่คนอื่น, ฟุ่มเฟือยสุลุ่ยสุหร่าย, เนรคุณ,อกตัญญู, และอื่นๆ นอกเหนือจากนี้แล้ว ถ้าหากเรายอมรับว่าโลกนี้เป็นสะพานสำหรับปรโลก และเป็นทางผ่านไปถึงยังอำนาจของพระเจ้าแล้ว เราก็จะไม่ถูกตำหนิแต่อย่างใด ขณะเดียวกันเกี่ยวกับประเด็นนี้มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมาม (.) ซึ่งจะหยิบยกเป็นตัวอย่างสัก 2 ตัวรายงาน ดังต่อไปนี้ :  

1. มีชายคนหนึ่งได้ประณามโลกต่อหน้าท่านอิมามอะลี (.), ท่านอิมามได้กล่าวเตือนสติเขาว่า : โลกนี้คือสถานที่พำนัก สำหรับบรรดาผู้ที่มีสัตย์จริง สถานที่ให้ความสุขสมบูรณ์สำหรับผู้ที่รู้จักโลก เป็นบ้านที่ปราศจากความต้องการสำหรับผู้ที่ตระเตรียมเสบียงไว้แล้ว เป็นสถานที่ตักเตือนสำหรับผู้ที่ต้องการคำตักเตือน เป็นสถานที่สุญูดสำหรับหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เป็นสถานที่สรรเสริญสำหรับมวลมลาอิกะฮฺแห่งอัลลฮฺ เป็นสถานที่ลงวะฮฺยู เป็นสถานที่ทำการค้าขายของหมู่มิตรแห่งอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาได้แสวงหาความโปรดปรานของพระองค์ และได้สวรรค์เป็นกำไรตอบแทน

2.อิบนุอบียะอฺกูบกล่าวว่า : ฉันได้กล่าวกับท่านอิมามซอดิก (.) ว่า พวกเรารักโลกนี้นี้, ท่านอิมาม (.) กล่าวกับฉันว่า วัตถุประสงค์ของเธอเกี่ยวกับโลกคืออะไร? ฉันกล่าวว่า : ฉันต้องการแต่งงาน ต้องการไปฮัจญฺ ต้องการช่วยเหลือเลี้ยงดูครอบครัว ต้องการช่วยเหลือและบริจาคแก่มิตรสหาย ท่านอิมามกล่าวว่า : สิ่งเหล่านี้มิใช่ภารกิจของโลกนี้ ทว่าเป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับปรโลก.

หัวข้อเกี่ยวข้อง :

ความสุขสบายในโลกและปรโลก, 2902, (ไซต์ : 3112)

ความอุตสาหพยายามเพื่อโลกและปรโลก, 1821 (ไซต์ : 2130)



[1] กุลัยนียฺ,มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูล, อัลกาฟียฺ, เล่ม 8, หน้า 22, ฮะดีซที่ 1, ดารุลกุตุบ อัลอสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 1365.

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม, เล่ม 1,หน้า 410.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7146 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    9426 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • ฮุกุมของการขับร้องเพลงวันประสูติพร้อมกับการบรรเลง (ในงานเฉพาะสตรี)เป็นอย่างไร?
    5355 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    ในทัศนะของอิสลามเพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอมกล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟังและการรับค่า
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5210 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    6082 تاريخ بزرگان 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
    9369 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    เตาฮีด หมายถึงความเป็นเอกะหรือเอกเทศ, เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หมายถึงจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง, สรรพสิ่งที่มีอยู่, ร่องรอยและกิจการงานของพวกเขา, แม้แต่มนุษย์และผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา หรือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ โดยความเป็นจริงแล้วและมิได้เป็นการกล่าวอย่างเลยเถิด ทั้งหมดเหล่านั้นคือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกใบนี้คือ สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าบางสิ่งปราศจากสื่อและบางสิ่งมีสื่อในการสร้าง ...
  • ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
    6637 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ในซิยารัตอาชูรอมีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วยในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัตเพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่าบนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขาอันหมายถึงผู้กระทำผิดผู้วางเฉยผู้ปีติยินดี ... ฯลฯต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(อ.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวกหากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยากเนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก ฉะนั้นในทางวิชาอุศู้ลแล้วเราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้นเป็นการยกเว้นประเภท “ตะค็อศศุศ” มิไช่ “ตัคศี้ศ” หมายความว่าคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้วจึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ ...
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6347 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    11902 ارتداد 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...
  • ผู้มีญุนุบที่ได้ทำตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ สามารถเข้ามัสยิดได้หรือไม่?
    6497 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ผู้ที่มีญุนุบที่อยู่ในเงื่อนไขที่สามารถทำตะญัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นหลังจากที่ได้ทำการตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่แล้วก็สามารถเข้าไปในมัสยิดเพื่อร่วมทำนมาซญะมาอัตหรือฟังบรรยายธรรมได้ท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า: “ผลพวงทางด้านชาริอะฮ์ที่เกิดขึ้นจากการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่จะมีในกรณีการทำการตะยัมมุมทดแทนเช่นกันนอกจากกรณีการตะยัมมุมทดแทนด้วยเหตุผลที่จะหมดเวลานมาซมัรญะอ์ท่านอื่นๆก็มีทัศนะนี้เช่นเดียวกัน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59039 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56474 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41364 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38141 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37906 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33210 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27313 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26934 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26823 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24910 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...