การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9828
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1382 รหัสสำเนา 15030
คำถามอย่างย่อ
สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
คำถาม
สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
คำตอบโดยสังเขป

คำว่าชีอะฮ์โดยรากศัพท์แล้ว หมายถึงสหายหรือสาวกและยังแปลได้ว่าการมีแนวทางเดียวกันส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า หมายถึงผู้ที่รักท่านอิมามอลี(.) ผู้ที่ยกย่องท่านสูงกว่าท่านอุษมาน ผู้ที่ยกย่องท่านเหนือกว่าเคาะลีฟะฮ์ทั้งสามก่อนหน้าท่านรวมถึงบรรดาเศาะฮาบะฮ์ทั้งมวล กลุ่มผู้ที่เชื่อว่าท่านคือเคาะลีฟะฮ์ของท่านนบีโดยไม่มีผู้ใดกั้นกลาง.
อย่างไรก็ดี คำนิยามที่ครอบคลุมที่สุดเห็นจะเป็นนิยามที่ว่าชีอะฮ์คือ ผู้ที่อ้างอิงคำสั่งของท่านนบี(..)ในการพิสูจน์ว่าท่านอิมามอลี(.)เป็นเคาะลีฟะฮ์ของท่านนบี(..) และถือว่าท่านเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดต่อการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ภายหลังท่านนบี(..”
คำว่าชีอะฮ์มีความหมายค่อนข้างกว้าง และจากคำนิยามที่กล่าวไปแล้ว ทำให้สาขาต่างๆอาทิเช่น ซัยดียะฮ์ กีซานียะฮ์ อิสมาอีลียะฮ์ ฯลฯ รวมอยู่ในกลุ่มความหมายของชีอะฮ์ด้วยกันทั้งสิ้น

นอกจากคำว่าชีอะฮ์แล้ว ผู้เจริญรอยตามอิมามอลีและอะฮ์ลุลบัยต์ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม ญะฟะรี, ฏอลิบี, คอศเศาะฮ์, อะละวี, อิมามี ฯลฯ
มีหลายทัศนะเกี่ยวกับจำนวนสาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์ อาทิเช่น บัฆดาดีระบุไว้ในตำราว่า ชีอะฮ์มีสาขามัซฮับสำคัญสามสาขาด้วยกัน นั่นก็คือ ซัยดียะฮ์ กัยซานียะฮ์ และอิมามียะฮ์. แต่ชะฮ์ริสตานีได้เสริมอิสมาอีลียะฮ์เข้ามาอีกหนึ่งสาขาหลัก ส่วนคอญะฮ์ ฏูซี ได้แสดงทัศนะที่คล้ายคลึงกับบัฆดาดีไว้ในหนังสือก่อวาอิดุล อะกออิดอย่างไรก็ดี ทัศนะที่เป็นเอกฉันท์ในหมู่ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านสาขามัซฮับก็คือ ชีอะฮ์มีสามสาขามัซฮับหลักดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนแขนงย่อยจากสามสาขามัซฮับดังกล่าวจะมีอะไรบ้างนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่าชีอะฮ์ในทางภาษาอรับแปลว่าสาวกหรือสหายหรืออาจแปลได้ว่าการมีแนวทางเดียวกัน[1]
ส่วนในแวดวงมุสลิมแล้ว คำนี้มีนัยยะเกี่ยวข้องกับผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(.) ส่วนที่ว่าอะไรคือคำนิยามของผู้เจริญรอยรอยตามท่านอิมามอลี(.)นั้น มีทัศนะที่หลากหลายดังต่อไปนี้
1. ชีอะฮ์หมายถึงผู้ที่รักอิมามอลี(.)
2. ชีอะฮ์หมายถึงผู้ที่ยกย่องอิมามอลีเหนือกว่าท่านอุษมาน ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่าชีอะฮ์อุษมาน
3. ชีอะฮ์หมายถึงผู้ที่ยกย่องอิมามอลีเหนือกว่าท่านอุษมาน ตลอดจนเคาะลีฟะฮ์สองท่านแรก และเศาะฮาบะฮ์ทั้งหมด
4. ชีอะฮ์หมายถึงผู้ที่เชื่อมั่นว่าท่านอิมามอลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ศาสดาโดยไม่มีผู้ใดกั้นกลาง
อย่างไรก็ดี คำนิยามดังกล่าวยังจำกัดความได้ไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก หากพิจารณาถึงสาขาต่างๆของชีอะฮ์แล้ว คาดว่าคำนิยามต่อไปนี้น่าจะเหมาะสมที่สุด:ชีอะฮ์คือ ผู้ที่อ้างอิงคำสั่งของท่านนบี(..)ในการพิสูจน์ว่าท่านอิมามอลี(.)เป็นเคาะลีฟะฮ์ของท่านนบี(..) และถือว่าท่านเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดต่อการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ภายหลังท่านนบี(..)” คำนิยามนี้เน้นเกี่ยวกับคำสั่งแต่งตั้งผู้นำหลังนบี(..) อันเป็นข้อแตกต่างระหว่างชีอะฮ์กับมัซฮับอื่นๆ เนื่องจากมัซฮับอื่นๆเชื่อว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้มาจากการเลือกตั้ง ส่วนชีอะฮ์เชื่อว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์จะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยนบี(..)เท่านั้น

กำเนิดชีอะฮ์
นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่ามัซฮับชีอะฮ์ถือกำเนิดภายหลังท่านนบี(..)เสียชีวิต ทัศนะนี้แบ่งออกเป็นความเห็นย่อยดังต่อไปนี้:
1.
ชีอะฮ์ถือกำเนิดในวันสะกีฟะฮ์ ซึ่งมีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อน โดยเศาะฮาบะฮ์ชั้นนำบางท่านกล่าวขึ้นว่าอลี(.)เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์(ผู้นำ)
2. ชีอะฮ์ถือกำเนิดช่วงปลายการปกครองของท่านอุษมาน โดยเชื่อว่าชีอะฮ์เริ่มก่อตัวขึ้นเนื่องจากแนวคิดของอับดุลลอฮ์ บิน สะบาอ์.
3. ชีอะฮ์ถือกำเนิดในวันที่ท่านอุษมานถูกลอบสังหาร
4. ชีอะฮ์ถือกำเนิดในช่วงระหว่างเหตุการณ์ตั้งอนุญาโตตุลาการหลังสงครามศิฟฟีนจนถึงบั้นปลายชีวิตของท่านอิมามอลี(.)
5. ชีอะฮ์ถือกำเนิดหลังเหตุสังหารอิมามฮุเซน(.)ที่กัรบะลา
นอกเหนือจากทัศนะที่ขัดแย้งกันเองดังกล่าว มีนักวิชาการบางท่านได้แก่ มัรฮูม กาชิฟุ้ลฆิฎอ, เชคมุฮัมมัด ฮุเซน มุซ็อฟฟัร, มุฮัมมัด ฮุเซน ซัยน์ อามิลี จากฝ่ายชีอะฮ์ และมุฮัมมัด กุรด์ อลี จากฝ่ายซุนหนี่เชื่อว่าชีอะฮ์ถือกำเนิดตั้งแต่ยุคของท่านนบี(..) เนื่องจากท่านนบี(..)เคยใช้คำว่าชีอะฮ์เรียกกลุ่มผู้นิยมอิมามอลี(.)หลายครั้งด้วยกัน โดยเชื่อว่าในยุคของท่านนบี(..)มีเศาะฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามชีอะฮ์ของอลี(.)”[2]

ที่ถูกต้องก็คือ ชีอะฮ์ถือกำเนิดในยุคของท่านนบี(..)และโดยท่านนบี(..)เอง เพียงแต่ภายหลังการเสียชีวิตของท่าน กลุ่มชีอะฮ์เริ่มเป็นที่ประจักษ์มากขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากเชื่อว่าท่านอิมามอลี(.)มีความเหมาะสมทั้งศักดิ์และสิทธิที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ภายหลังท่านนบี(..)

อย่างไรก็ดี คำว่าชีอะฮ์เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง ซึ่งหากยึดตามคำนิยามที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็สามารถที่จะหมายรวมถึงสาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์ได้ทั้งหมด อาทิเช่น ซัยดียะฮ์, กัยซานียะฮ์, อิสมาอีลียะฮ์ ฯลฯ
อนึ่ง นอกจากคำว่าชีอะฮ์แล้ว ยังมีคำอื่นๆที่ใช้กล่าวถึงหรือพาดพิงถึงผู้ยึดมั่นแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์อีกหลายคำ ซึ่งมีข้อแตกต่างจากคำว่าชีอะฮ์อยู่บ้างดังต่อไปนี้:
1.
รอฟิฏี: ร็อฟฏุนแปลว่าการหันห่าง, ละทิ้ง, วางเฉย. กลุ่มผู้คัดค้านชีอะฮ์มักใช้คำนี้เพื่อการประณามชีอะฮ์ เกี่ยวกับที่มาของคำนี้ ว่ากันว่าเกิดจากการที่ชีอะฮ์ปฏิเสธความเหมาะสมของเคาะลีฟะฮ์สองท่านแรก จึงถูกประณามว่าเป็นพวกรอฟิฏีบ้างเชื่อว่าที่มาของคำนี้ เกิดจากการที่ชีอะฮ์ท้วงติงและปลีกตัวจากกองทัพของท่านซัยด์ เนื่องจากไม่พอใจที่ท่านมีท่าทีโอนอ่อนผ่อนตามเกี่ยวกับประเด็นตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของสองท่านแรก อย่างไรก็ดี ไม่ว่าเราจะเชื่อว่าคำนี้มีที่มาอย่างไร คำนี้ก็ย่อมมีความหมายไม่กว้างเท่าคำว่าชีอะฮ์อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะคำว่ารอฟิฏีไม่รวมถึงสาขาซัยดียะฮ์

2. ญะอ์ฟะรี: จากความพยายามอันหนักหน่วงของท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก(.) ทำให้เหล่าชีอะฮ์ผู้ยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์เป็นผู้นำได้รับหลักประกันในแง่ฟิกเกาะฮ์(บทบัญญัติศาสนา)และกะลาม(เทววิทยา) ชีอะฮ์ที่ได้รับคุณประโยชน์เหล่านี้จึงได้รับการขนานนามว่าญะอ์ฟะรีปัจจุบันนี้คำว่าญะฟะรีเทียบเท่าคำว่าชีอะฮ์ อิษนาอะชะรียะฮ์(อิมามสิบสอง) แม้ว่าเมื่อพิจารณาความหมายในเชิงศัพท์แล้ว ย่อมจะหมายรวมถึงสาขาอิสมาอีลียะฮ์ด้วย เนื่องจากพวกเขาก็เชื่อถือท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก(.)เช่นกัน
3. อิมามี: ตลอดระยะเวลาที่บรรดาอิมามยังมีชีวิตอยู่ คำนี้ใช้เรียกผู้ที่เชื่อมั่นในตำแหน่งอิมามของบรรดาอิมามมะอ์ศูม(ผู้ปราศจากบาป)ที่มีเชื้อสายจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)จวบจนอิมามท่านที่สิบสอง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในเชิงประวัติศาสตร์ ความหมายของคำนี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างในแต่ละยุค อาทิเช่น ในยุคของท่านอิมามอลี(.) คำนี้เทียบเท่าคำว่าชีอะฮ์ แต่ในปัจจุบันคำนี้เทียบเท่ากับคำว่าชีอะฮ์ อิษนาอะชะรียะฮ์
4. คอศเศาะฮ์: คำนี้จะใช้ในแวดวงวิชาฟิกเกาะฮ์(นิติศาสตร์อิสลาม)เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้เพื่อจำแนกจากคำว่าอามมะฮ์อันหมายถึงมัซฮับอื่นๆที่ไม่ไช่ชีอะฮ์ ทั้งนี้คำว่าคอศเศาะฮ์หมายถึงชีอะฮ์ แต่หากเจาะจงมากกว่านี้ก็จะหมายถึงชีอะฮ์ อิษนาอะชะรียะฮ์ เนื่องจากได้รับหลักฟิกเกาะฮ์มาจากอิมามมะอ์ศูมทั้งสิบสองท่าน
5. อะละวี: ในอดีต คำนี้หมายถึงผู้ที่เชื่อว่าอิมามอลี(.)มีสถานะที่เหนือกว่าผู้อื่น แต่ในยุคหลังกลับมีนัยยะเพียงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านใดด้านหนึ่งกับอิมามอลี(.)เท่านั้น
6. ฟาฏิมี: คำนี้มีนัยยะเกี่ยวกับวงศ์ตระกูลเป็นหลัก โดยมักใช้เพื่อจำแนกลูกหลานท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.)ออกจากลูกหลานของ มุฮัมมัด บินฮะนะฟียะฮ์ ซึ่งเป็นที่เชิดชูของสาขานิกายกัยซานียะฮ์ ทั้งนี้ก็เพราะ แม้มุฮัมมัดบินฮะนะฟียะฮ์จะเป็นบุตรของอิมามอลี(.)ก็จริง แต่หาได้เป็นบุตรของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)ไม่.
7. ฏอลิบี: คำนี้ก็มีนัยยะในแง่วงศ์ตระกูลเช่นกัน แต่ความหมายของคำนี้จะกว้างกว่าสองคำก่อน เนื่องจากคำนี้หมายถึงวงศ์วานของอบูฏอลิบทั้งหมด ซึ่งรวมถึงสายตระกูลอื่นที่มิไช่อิมามอลี(.)ด้วย หากต้องการทราบรายละเอียดของคำนี้มากขึ้น กรุณาศึกษาจากหนังสือมะกอติลุฏฏอลิบียีนประพันธ์โดย อบุลฟะร็อจ อิศฟะฮานี ซึ่งรวบรวมเนื้อหาการต่อสู้ของสมาชิกสายตระกูลอบูฏอลิบทั้งหมด อาทิเช่นสายตระกูลของญะอ์ฟัร บิน อบีฏอลิบ(อัฏฏ็อยย้าร).
คำเหล่านี้ทั้งหมดคือคำที่ใช้เรียกชีอะฮ์ในประวัติศาสตร์ยุคต่างๆ

ในหน้าประวัติศาสตร์ มัซฮับชีอะฮ์เผชิญหน้ากับวิกฤติและได้รับโอกาสนับครั้งไม่ถ้วน วิกฤติที่เกือบจะทำให้ล่มสลาย และโอกาสที่เกือบจะทำให้ชีอะฮ์ได้ปกครองดินแดนมุสลิมเกือบทั้งหมด อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้มัซฮับชีอะฮ์โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้: ความเก่าแก่ของมัซฮับ ความพร้อมพรักเกี่ยวกับคำสอนด้านต่างๆ ศักยภาพและประสบการณ์จริงในการจัดตั้งรัฐในยุคต่างๆ และการมีเอกลักษณ์ที่เป็นอิสระจากมัซฮับอื่นๆ 

จากการที่ชีอะฮ์อุดมไปด้วยหลักประกันทางด้านสติปัญญา นิติศาสตร์อิสลาม เทววิทยา จริยศาสตร์อิสลาม ฯลฯ ทำให้มัซฮับนี้สามารถครองใจผู้คนและผลิดอกออกผลในประเทศต่างๆได้ แม้จะต้องฝ่าด่านอรหันต์การโฆษณาชวนเชื่อ, ข้อจำกัดและการกดดันต่างๆนานาก็ตาม

อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าความแตกแยกและการอุปโลกน์สาขาความเชื่อ ถือเป็นภัยคุกคามอันดับต้นๆที่ทุกศาสนาและทุกมัซฮับเผชิญมาตลอด มัซฮับชีอะฮ์ก็ถูกภัยดังกล่าวคุกคามเช่นกัน ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อมวลมุสลิมผู้เชื่อฟังท่านศาสดา(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นแล้ว สักวันหนึ่งจะร่วมมือร่วมใจต่อต้านแผนการณ์ศัตรู และปลีกตัวจากสาขามัซฮับที่บิดเบือน กระทั่งสามารถร่วมกันอยู่ภายใต้ร่งธงอิสลามที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียว

ส่วนที่ถามว่าจำนวนของสาขามัซฮับหลักของชีอะฮ์มีเท่าใดนั้น มีหลากหลายคำตอบดังนี้:
บัฆดาดีกล่าวในหนังสืออุศูลฟิร่อกุ้ชชีอะฮ์ว่า ชีอะฮ์มีสามสาขามัซฮับหลักนั่นคือ ซัยดียะฮ์, กัยซานียะฮ์, อิมามียะฮ์. เบื้องแรกบัฆดาดีถือว่าพวกฆุล้าต(สุดโต่ง)เป็นสาขาหนึ่งของชีอะฮ์ แต่ภายหลังได้ปฏิเสธว่าพวกนี้ไม่ไช่สาขามัซฮับในอิสลาม เนื่องจากออกจากศาสนาไปแล้ว.[3]
ส่วนชะฮ์ริสตานีเชื่อว่าอิสมาอีลียะฮ์ก็เป็นสาขามัซฮับหลักของชีอะฮ์ และสรุปไว้ว่าชีอะฮ์มีห้าสาขามัซฮับหลัก[4]
คอญะฮ์ ฏูซี แสดงทัศนะที่ใกล้เคียงกับทัศนะของบัฆดาดีไว้ในหนังสือก่อวาอิดุลอะกออิดโดยเชื่อว่าสาขามัซฮับหลักของชีอะฮ์คือ ซัยดียะฮ์, กัยซานียะฮ์, อิมามียะฮ์.[5]
กอฎี อะฎุดิดดีน อีญี ก็ถือว่าชีอะฮ์มีสามสาขาหลักดังกล่าวเช่นกัน
แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าชีอะฮ์มีสี่สาขามัซฮับหลัก นั่นคือ อิมามียะฮ์, กัยซานียะฮ์, ซัยดียะฮ์, อิสมาอีลียะฮ์

ทัศนะที่แพร่หลายในหมู่ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสาขามัซฮับก็คือ ชีอะฮ์มีสามสาขามัซฮับหลักดังกล่าว แต่ยังมีทัศนะขัดแย้งกันเกี่ยวกับจำนวนแขนงย่อยต่างๆของสาขาเหล่านั้น
เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ่านหนังสืออัลฟัรกุบัยนัลฟิร็อก”,“อัลมิลัลวันนิฮัลและก่อวาอิดุลอะกออิด


[1] อัลกอมูซุ้ลมุฮีฏ เล่ม 3, หน้า 61,62, ตาญุ้ลอะรู้ส,เล่ม 5, หน้า 405, ลิซานุ้ลอรับ,เล่ม 7,หน้า 257 อันนิฮายะฮ์ อิบนุอะษี้ร,เล่ม 2,หน้า 246.

[2] ดู: ประวัติศาสตร์ชีอะฮ์ในอิหร่าน,ร่อซู้ล ญะฟะรียอน,หน้า 24-28.

[3] อัลฟัรกุบัยนัลฟิร็อก,อับดุลกอฮิร บัฆดาดี,หน้า 21-23.

[4] อัลมิลัลวันนิฮัล,ชะฮ์ริสตานี,เล่ม 1,หน้า 147.

[5] ก่อวาอิดุลอะกออิด,คอญะฮ์ ฏูซี,ค้นคว้าเพิ่มเติมโดยอลี ร็อบบานี,หน้า 110.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41674 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38426 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25209 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...