การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7164
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/12/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1874 รหัสสำเนา 26996
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
คำถาม
เพราะเหตุใดในหลักศรัทธา จึงได้เลือกอัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในซิฟัตของอัลลฮฺ แล้วทำไม่เลือกซิฟัตอื่น?
คำตอบโดยสังเขป

หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก

สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ

ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม

คำตอบเชิงรายละเอียด

หลักศรัทธาของมัซฮับชีอะฮฺ ประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, นะบูวัต, อิมามะฮฺ และมะอาด ซึ่งมุสลิมทั้งหมดมีความเชื่อร่วมกันในหลัก เตาฮีด นะบูวัต และมะอาด ส่วนในเรื่องอัดลฺ และอิมามะฮฺ นั้นเฉพาะเจาะจงสำหรับมัซฮับชีอะฮฺ 12 อิมามเท่านั้น ส่วนมัซฮับอื่นๆ ของอิสลาม (ยกเว้นมุอฺตะซิละฮฺเพราะมีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้าเหมือนชีอะฮฺ) จะมีความแตกต่างกัน

อัดลฺ หรือความยุติธรรมแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในซิฟัตของอัลลอฮฺ แต่ในนิยามของหลักศรัทธาคำว่า เตาฮีด นั้นครอบคลุมเรื่อง อัดลฺ และซิฟัตอื่นๆ ของอัลลอฮฺด้วย แต่เนื่องจาก อัดลฺ เป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่ง และเป็นสาเหตุของการแยกตัวออกระหว่างสำนักคิด อะชาอิเราะฮฺ กับอัดดะลียฺ (ชีอะฮฺอิมามียะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ ซึ่งทั้งสองเชื่อในเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า) ซึ่งมีผลสะท้อนอย่างมากมาย และได้แยกเอา อัดลฺ มาอธิบายต่างหาก พร้อมกับถือว่า อัดลฺ เป็นหนึ่งในหลักอุซูล, ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วมัซฮับหลักเรื่องเทววิทยาในโลกอิสลาม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันประกอบด้วย อะชาอิเราะฮฺ มุอฺตะซิละฮฺ และชีอะฮฺ ซึ่งมุอฺตะซิละฮฺ และชีอะฮฺนั้นมีความเชื่อเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า อัดลียะฮฺ[1]

ความหมายของอัดลฺ :

การเชื่อเรื่อง อัดลฺ เป็นสาขาหนึ่งของหลักความเชื่อเรื่อง ฮุสนฺและกุบฮฺอักลียะฮฺ (ความดีและชั่วทางภูมิปัญญา)[2] ฝ่ายอัดลียะฮฺเชื่อว่า การกระทำทั้งหมดทั้งที่เป็นตักวีนียะฮฺ และตัชรีอียะฮฺ ล้วนเกี่ยวข้องกับอัลลอฮฺ ซึ่งอธิบายให้เห็นความดีและความชั่ว สติปัญญาของมนุษย์ในระดับหนึ่งสามารถจำแนกการกระทำที่ดีและชั่วได้ หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงกระทำสิ่งที่ไม่ดี สิ่งนี้มิได้หมายความว่า (ขอให้ห่างไกล) เป็นการสั่งให้พระองค์กระทำ หรือสั่งห้ามหรือสั่งใช้กับพระองค์ ทว่าหมายถึง การงานที่ไม่ดีเป็นไปไม่ได้ที่จะออกมาจากพระองค์ แน่นอน ทัศนะของมุอฺตะซิละฮฺในประเด็นนี้ มีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งจะวิเคราะห์ในที่ของมัน »ส่วนความเชื่อของชีอะฮฺ ซึ่งได้เจริญรอยตามบรรดามะอฺซูม«[3] อธิบายว่า อัดลฺ เป็นหนึ่งในซิฟัตที่มีอยู่จริงในอัลลอฮฺ และมีความสัมบูรณ์[4] หมายถึงอัลลอฮฺจะไม่อยุติธรรมเด็ดขาด และพระองค์จะไม่กระทำสิ่งไม่ดีที่ขัดแย้งกับสติปัญญาสมบูรณ์อย่างแน่นอน[5] ฝ่ายอัดลียะฮฺได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กฎของความดีความชั่วเป็นเหตุผลทางสติปัญญา และพิสูจน์ให้เห็นบทสรุปที่ว่ากฎข้อนี้ก็เหมือนกับกฎข้ออื่นในทางเทววิทยา เช่น กฎลุฏฟฺ หรือกฎวาญิบต้องขอบคุณผู้ประทานความโปรดปราน ปัญหาเรื่องการบีบบังคับ และการเลือกสรร[6]

อะชาอิเราะฮฺ, ประวัติความเชื่อ :

อะชาอิเราะฮฺ ได้กล่าวเรียกกลุ่มชนที่ปฏิบัติตามแนวคิดของ “อบุลฮะซัน อัชอะรี” ซึ่งเป็นชาวเมืองบะซะเราะฮฺ เขาเป็นศิษย์เอกที่มีความอัจฉริยะ ของอบูอะลี ญะบาอียฺ (เชคมุอฺตะซิละฮฺ)  แต่ต่อมาเขาได้แยกตัวออกไปจากอาจารย์ของตน และสถาปนาสำนักคิดด้านเทววิทยาขึ้นใหม่ สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เขาต้องแยกตัวไปจาก สำนักคิดมุอฺตะซิละฮฺคือ การวิภาษเรื่องความยุติธรรมของอัลลอฮฺ และอัลกุรอานเป็นสิ่งถูกสร้าง การแยกตัวของเขาเกิดขึ้นราวปี ฮ.ศ. ที่ 300[7]

แนวทางของพวกอัชอะรี ที่ใช้วิภาษกับพวกมุอฺตะซิละฮฺ ได้ใช้เหตุผลและหลักวิพากวิทยา เป็นแนวทางที่สนับสนุน ฝ่ายอะฮฺซุนนะฮฺ เป็นอย่างดี

ประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ ที่นับถือมัซฮับอะฮฺลิซซุนนะฮฺวะญะมาอะฮฺ ส่วนมากจะเป็นอัชอะรียฺทั้งสิ้น[8]

การเติบโตของสำนักคิดวิพากวิทยาฝ่ายอัชอะรียฺ ที่มีเหนือสำนักคิดอื่นของซุนนีด้วยกันนั้น แน่นอนว่าหลีกหนีไม่พ้นเรื่องการเมือง ซึ่งต้องยอมรับว่าการเมืองในสมัยนั้นจะเข้าข้างและสนับสนุนฝ่ายอัชอะรียฺเสียเป็นส่วนใหญ่ แรงกดดันจากฝ่ายปกครองซึ่งตรงกับยุคของอับบาซซี ที่มีต่อฝ่ายมุอฺตะซิละฮฺ และฝ่ายเหตุผลนิยมได้เริ่มต้นตั้งแต่สมัย มุตะวักกิล จนถึงสมัยของมุกตะดิร ซึ่งอยู่ระหว่างปี ฮ.ศ. 295-320 และได้กดดันอย่างต่อเนื่องเรื่อยไป ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้น (295-320) เป็นช่วงที่ อบุลฮะซัน อัชอะรียฺ ได้กลับใจออกจากสำนักคิด มุอฺตะซิละฮฺ และเข้าสู่แนวคิดฝ่ายฮะดีซ ซึ่งเป็นหลักความเชื่อที่เคาะลิฟะฮฺอับบาซซียฺ ยอมรับ และหลังจากนั้นไม่นานเขาได้กลายเป็นซุลต่านปกครองเมือง ซัลญูกียฺ[9]

หลักความเชื่อของอะชาอิเราะฮฺ :

อบุลฮะซัน อัชอะรียฺ ได้แบ่งหลักวิพากวิทยาของตนออกเป็น 4 รุกุ่นด้วยกัน ซึ่งแต่ละรุกุ่นนั้นได้แบ่งออกเป็น 10 รุกุ่น ซึ่งจะชี้ให้เห็นบางรุกุ่นของเขา ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำอธิบายของเรา[10]

อัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสร้างการงานของปวงบ่าว

อัลลอฮฺ สามารถมอบหมายหน้าเกินกำลังสามารถแก่ปวงบ่าวได้ (หมายถึงสามารถกระทำการงาน ที่ในแง่ของสติปัญญาถือว่าไม่ดี ทรงทำได้)

อัลลอฮฺ สามารถลงโทษปวงบ่าวที่ไม่มีความผิดได้

ในกรณีที่ไม่มีอิมามที่คู่ควร เงื่อนไขในการปฏิบัติตาม จำเป็นต้องทำตามอะฮฺกามของซุลต่าน

ผู้กระทำความผิดใหญ่ ถ้าหากไม่ได้ขออภัยโทษและได้จากโลกไป การตัดสินของเขาอยู่ ณ อัลลอฮฺ หรืออัลลอฮฺ อาจยกโทษให้เขาด้วยความเมตตาของพระองค์ หรืออาจได้รับชะฟาอัตจากบรรดาศาสดา

ในทำนองเดียวกันเขากล่าวว่า ในแง่ของสติปัญญาไม่มีสิ่งใดบ่งบอกให้เห็นความดี และความชั่วของสรรพสิ่ง ทว่าสิ่งใดก็ตามถ้า ชัรอฺ ยอมรับว่าดี สิ่งนั้นคือความดี แต่ถ้าสิ่งใดก็ตามที่ชัรอฺ ถือว่าไม่ดี พึงรู้ไว้เถิดว่า สิ่งนั้นไม่ดี หมายถึงอัลลอฮฺ ทรงสามารถนำผู้เชื่อฟังปฏิบัติตาม ลงนรกได้ และให้อยู่ในนั้นตลอดไป หรือให้ผู้ที่กระทำความผิดใหญ่เข้าสวรรค์ได้ ทั้งหมดอยู่ในอำนาจของพระองค์ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นความจำเป็นของ สิ่งที่เป็นโมฆะ ซึ่งมีผลโดยตรงกับชีวิตของมนุษย์ทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวม ทำให้พวกเขาปฏิเสธเรื่อง ความดีและความชั่วในแง่ของสติปัญญา ปฏิเสธเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญให้นักปราชญ์ฝ่าย อัดลียะฮฺ ยึดถือเอา อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในซิฟัตของอัลลอฮฺ เป็นหนึ่งในหลักความเชื่อของตน

อย่างไรก็ตามมีคำกล่าวว่า อะชาอิเราะฮฺ มิได้ปฏิเสธความยุติธรรมของพระเจ้า แต่ความยุติธรรมในหลักการของเขา หมายถึงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกระทำ สติปัญญาไม่สามารถจำแนกสิ่งนั้นได้

หัวข้อเกี่ยวข้อง :

หัวข้อ : ความเข้าใจเกี่ยวกับความยุติธรรมในอุซูลลุดดีย, คำถามที่ 147 (ไซต์ : 2950)

 


[1] ออมูเซซ อะกออิด, อายะตุลลอฮฺ มิซบาฮฺ ยัซดี, หน้า 161

[2] มิลัลวะเนะฮัล,อายะตุลลอฮฺ ซุบฮานี,เล่ม 2, หน้า 332.

[3] ออมูเซซ อะกออิดฐ หน้า 162.

[4] ตัรญุมมะฮฺ บิดายะตุลมะอาริฟ เล่ม 1, หน้า 112.

[5] อัซลุชชีอะฮฺ วะอุซูลลุฮา, เชคมุฮัมมัด ฮุซัยนฺ อาลิ กาชิฟุล ฆิฏออฺ, หน้า 74.

[6] อ้างแล้ว, หน้า 75.

[7] ฟังฮังฟิร็อกอิสลาม, มุฮัมมัดญะวาด มัชเกวะรี, หน้า 54.

[8] อ้างแล้ว, หน้า 56.

[9] อ้างแล้ว, หน้า 56, มิลัลวะเนะฮัล,อายะตุลลอฮฺ ซุบฮานี,เล่ม 2, หน้า 31

[10] ฟังฮังฟิร็อกอิสลาม, หน้า 56, 57, 58.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    6217 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6263 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • อัมร์ บิน อ้าศมีอุปนิสัยอย่างไรในประวัติศาสตร์?
    10275 تاريخ بزرگان 2554/08/02
    อัมร์ บิน อ้าศ บิน วาอิ้ล อัสสะฮ์มี โฉมหน้านักฉวยโอกาสที่แฝงด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ถือกำเนิดจากหญิงที่ชื่อ“นาบิเฆาะฮ์” บิดาของเขาคืออ้าศ บิน วาอิ้ล เป็นมุชริกที่เคยถากถางเยาะเย้ยท่านนบีด้วยคำว่า“อับตัร”หลังจากกอซิมบุตรของท่านนบีถึงแก่กรรมในวัยแบเบาะ ซึ่งหลังจากนั้น อัลลอฮ์ได้ประทานอายะฮ์ “ان شانئک هو الابتر” เพื่อโต้คำถากถางของอ้าศอัมร์ บิน อ้าศ เป็นที่รู้จักในเรื่องความเจ้าเล่ห์ ในสมัยที่อิมามอลี(อ.)ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ เขากลายเป็นมือขวาของมุอาวิยะฮ์ในสงครามศิฟฟีนเพื่อต่อต้านท่าน และสามารถล่อลวงทหารฝ่ายอิมามเป็นจำนวนมาก ท้ายที่สุดก็ใช้เล่ห์กลหลอกอบูมูซา อัลอัชอะรี เพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่มุอาวิยาะฮ์ ท้ายที่สุดได้รับแต่งตั้งโดยมุอาวิยะฮ์ให้เป็นผู้ปกครองเมืองอิยิปต์ ...
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    10129 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7995 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • ประโยคที่ว่า لاتعادوا الایام فتعادیکم หมายความว่าอย่างไร?
    6137 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ประโยคดังกล่าวแปลว่า “จงอย่าเป็นศัตรูกับวันเวลาแล้ววันเวลาจะไม่เป็นศัตรูกับท่าน”ประโยคนี้ปรากฏอยู่ในฮะดีษของท่านนบี(ซ.ล.)บางบทอัยยามในที่นี้หมายถึงวันเวลาในรอบสัปดาห์สำนวนนี้ต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของวันเวลาและไม่ควรมองวันเวลาในแง่ลบเพราะอาจจะทำให้ประสบเคราะห์กรรมได้ควรคิดว่าวันเวลาเปี่ยมด้วยความเมตตาของพระองค์ที่เราจะต้องขวนขวายไว้อย่างไรก็ดีประโยคนี้ยังสามารถอธิบายได้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะนำเสนอในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • อะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องเชื่อเช่นไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
    6389 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    ชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมากมายอาจมีบางประเด็นที่เห็นต่างกันข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับซุนหนี่ก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) พี่น้องซุนหนี่จะรับสายธารชีอะฮ์ได้ก็ต่อเมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสียก่อนทั้งนี้ก็เนื่องจากชีอะฮ์เชื่อว่าหากไม่นับรวมสถานภาพการรับวะฮีย์แล้ว
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12813 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้นำทองใหม่(รูปพรรณ)ไปแลกเปลี่ยนกับทองเก่าที่มีน้ำหนักมากกว่า?
    9141 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/23
    กุรอานและฮะดีษห้ามปรามธุรกรรมที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยอย่างชัดเจนโดยได้อธิบายเหตุผลไว้อย่างสังเขปอาทิเช่นทำลายช่องทางการกู้ยืมเป็นการขูดรีดผู้เดือดร้อนและเป็นเหตุให้สูญเสียการลงทุนในด้านที่สังคมขาดแคลนเหตุผลข้างต้นล้วนเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมทั้งสิ้นส่วนดอกเบี้ยประเภทซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้นเราไม่พบเหตุผลใดๆทั้งในกุรอานและฮะดีษทำให้เราไม่อาจจะทราบถึงเหตุผลได้อย่างไรก็ดีเรายังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ท่านนบีและบรรดาอิมามกล่าวไว้แต่ก็มิได้หมายความว่าไม่มีเหตุผลหรือปรัชญาใดๆแฝงอยู่ในเรื่องนี้ ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานเกี่ยวกับเหตุผลของการห้ามดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนว่าอาจเป็นเพราะธุรกรรมดังกล่าวจะถูกใช้เป็นช่องทางหลบเลี่ยงดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมหรือกล่าวได้ว่าดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนคือประตูไปสู่ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมนั่นเอง ...
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12380 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60103 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57507 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42175 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39311 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38925 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33978 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27997 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27928 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27761 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25758 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...