การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
4892
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1431 รหัสสำเนา 19006
คำถามอย่างย่อ
ถ้าหากไม่ทราบว่าและได้รับประทานเนื้อฮะรอมไป จะมีความผิดอันใดบ้าง?
คำถาม
ถ้าหากไม่ทราบว่าและได้รับประทานเนื้อฮะรอมไป จะมีความผิดอันใดบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

บุคคลใดหลังจากรับประทานอาหารแล้ว, เพิ่งจะรู้ว่านั่นเป็นอาหารฮะรอม, ถ้าหากไม่คิดว่าสิ่งนั้นจะฮะรอมประกอบกับมีสัญลักษณ์ของฮะลาลด้วย เช่น มาจากร้านของมุสลิม, มิได้กระทำบาปอันใด, แต่เป็นอาหารที่ต้องสงสัยอยู่ก่อนแล้ว, เช่น มิได้มาจาน้ำมือของมุสลิม, ตรงนี้หน้าที่ของเขาคือการสืบค้นและตรวจสอบเสียก่อน การรับประทานอาหารที่ไม่มีการตรวจสอบ ถือว่าไม่อนุญาต, แต่ถ้าไม่มีสัญลักษณ์อันใดเลยที่บ่งว่าอาหารนั้นฮะลาย กรณีนี้ถ้าอาหารนั้นเป็นเนื้อ ซึ่งตามหลักการแล้วสัตว์ต้องเชือดถูกต้อง แต่ถ้าสงสัยว่าเชือดหรือไม่ หรือสงสัยในความสะอาดตามชัรอียฺ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน ส่วนอาหารประเภทอื่นแม้ว่าจะไม่เข้มงวดเหมือนกับเนื้อ, แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎเกณฑ์ เช่น ไม่รู้ว่า ไม่อนุญาตให้รับประทานอาหารที่เปื้อนเลือด แต่สามารถตรวจสอบหรือศึกษาข้อมูลได้ เพียงแต่ไม่สนใจดังนั้นถ้ารับประทานอาหารนั้นไป ถือว่ากระทำความผิด แต่ถ้าเป็นผู้ไม่รู้ประเภทที่ว่าไม่สามารถศึกษาข้อมูลได้ หรือเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวนสอบ ถ้ารับประทานอาหารนั้น ถือว่าไม่ได้กระทำความผิดแต่อย่างใด ประเด็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ นั้น ถ้าเขาไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร หรือมีเงื่อนไขอย่างไร , หรือแม้แต่ถ้าเขาคนไม่รู้ที่สามารถตรวจสอบได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำความผิดแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม บนพื้นฐานของรายงานต่างๆ จากอะฮฺลุลบัยตฺ (.) กล่าวว่า การกระทำอย่างนี้แม้ว่าเกิดจากความผิดพลาดก็ตาม แต่ร่องรอยและผลกระทบของสิ่งเหล่านั้นจะส่งผลในทางลบกับชีวิตมนุษย์ และเท่ากับเป็นการขจัดเตาฟีกไปจากตัวเราเอง ดังนั้น มนุษย์ต้องพิจารณาและพิถีพิถันเป็นพิเศษว่า อาหารของเขาต้องฮะลาล เพื่อขับเคลื่อนชีวิตไปบนวิถีทางอันเป็นความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ (ซบ.)

คำตอบเชิงรายละเอียด

ถ้าหากบุคคลทราบว่า อาหาร หรือเนื้อนั้นฮะรอม, หมายถึงรู้จักทั้งอาหาร (ประเด็น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าฮะรอมหรือฮะลาล, แต่กระนั้นเขายังรับประทานอาหารนั้นไป, เท่ากับได้กระทำความผิดและการกระทำนั้นถือเป็นการฝ่าฝืน ไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน, แน่นอน เป็นธรรมดาที่ว่าความผิดบาปเหล่านี้จะส่งกระทบในทางไม่ดีกับวิถีชีวิตของมนุษย์.

ท่านอิมามญะอฺฟัร อัซซอดิก (.) ได้กล่าวถึงผลกระทบไม่ดีที่เกิดจากอาหารไม่ฮะลาลว่า :ผลกระทบไม่ดีที่เกิดจากอาหารไม่ฮะลาลนั้นจะกีดกันมนุษย์ออกจากการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ. บางครั้งก็จะส่งผลให้มนุษย์กระทำความผิดในตอนกลางวัน และในตอนกลางคืนมันจะกีดกันเขาให้ออกห่างจากการตื่นยามกลางคืน เพื่ออิบาดะฮฺ หรือนมาซชับ[1] เว้นเสียแต่ว่าเขาจะเตาบะฮฺ (ลุแก่โทษกลับตัวกลับใจ) และปรับปรุงแก้ไขตัวเองใหม่[2]

แต่ในกรณีที่ไม่รู้ว่าอาหารฮะรอม และได้รับประทานอาหารนั้นไปแล้ว แบ่งออกเป็น 2 กรณีด้งนี้

1.เขาไม่รู้จักประเด็น, แต่รู้กฎเกณฑ์ดีว่าเป็นอย่างไร, กล่าวคือเขารู้ดีว่าการกินอาหารนั้นไม่ถูกต้อง เช่น การกินเนื้อสุกรเป็นฮะรอม, แต่ไม่รู้ว่าอาหารนั้นได้ทำจากเนื้อสุกร ซึ่งหลังจากรับประทานแล้วเพิ่งจะรู้ว่าเป็นเนื้อสุกร กรณีแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ

) ไม่ได้คิดถึงเรื่องฮะรอมตั้งแต่แรก และไม่ได้สงสัยด้วย, ทว่ามีเครื่องหมายของฮะลาลปรากฎให้เห็นด้วย เช่น ซื้อมาจากมุสลิม กรณีนี้ถ้าทราบภายหลังว่าเป็นฮะรอม ไม่ถือว่าเขาได้กระทำความผิด

) เป็นอาหารที่สงสัยอยู่แล้ว และมีเครื่องหมายของฮะรอมด้วย, เช่น ซื้อมาจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม, กรณีนี้หน้าที่ของเขาคือการตรวจสอบให้มั่นใจเสียก่อน, ดังนั้น ถ้าปราศจากการตรวจสอบ และได้รับประทานอาหารดังกล่าวไป หลังจากนั้นได้รู้ ถือว่าฮะรอม, และได้กระทำความผิด.

) ไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ที่บ่งบอกว่าฮะลาลหรือฮะรอม, ในกรณีนี้เนื่องจากว่าการตรวจสอบประเด็นไม่วาญิบ, ซึ่งหลังจากรับประทานแล้วรู้ว่า, อาหารนั้นจัดอยู่ในประเภทฮะรอม ไม่ถือว่าเขากระทำสิ่งฮะรอมแต่อย่างใด ทว่าเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ เนื่องจากรากเหง้าของปัญหาคือ การเชือดและความสะอาด, ดังนั้น ถ้าปราศจากการตรวจสอบแล้วได้รับประทานเข้าไป หลังจากนั้นรู้ว่า เป็นเนื้อฮะรอม, ถือว่าได้กระทำความผิด

2.ไม่รู้เรื่องกฎเกณฑ์, แต่รู้จักประเด็นเรื่องเป็นอย่างดี, กล่าวคือไม่ทราบการรับประทานเนื้อสุกร ฮะรอม, แต่รู้ว่าอาหารนั้นทำจากเนื้อสุกร, ในกรณีที่เขาสามารถตรวนสอบและค้นคว้าได้ และสามารถรับรู้ความจริงได้ด้วย, แต่มิได้กระทำการดังกล่าว, ถือว่าเขาได้กระทำความผิดและการกระทำนั้นฮะรอม, แต่ถ้าไม่สามารถตรวจสอบหรือค้นหาความจริงเกี่ยวกับอาหารดังกล่าวได้ หรือไม่มีความสามารถในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์, กรณีนี้ถือว่าไม่มีความผิด และการกระทำของเขาก็ไม่ถูกลงโทษแต่อย่างใด, เนื่องจากบนพื้นฐานของฮะดีซ รัฟอ์ จากท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่าหน้าที่และการลงโทษได้ถูกถอดถอนออกไปจากเขาแล้ว[3] ซึ่งหน้าที่ของเขาไม่มีสิ่งใดนอกจากการทำความสะอาดปาก มือ และภาชนะอาหารเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม อาหารที่ฮะรอม โดยธรรมชาติแล้วย่อมมีผลกระทบต่อร่างกาย และจิตวิญญาณมนุษย์

นักปราชญ์ด้านจริยธรรมได้กล่าวถึงอาหารประเภทนี้มีผลกระทบต่อจิตวิญญาณอย่างแน่นอน และเชื่อว่าแม้ว่าจะไม่มีการลงโทษอันใดสำหรับบุคคลที่ได้กระทำผิดทำนองนี้ก็ตาม ทว่าเตาฟีกได้ถูกปฏิเสธไปจากบุคคลนั้นเสียแล้ว และยังมีผลลบกับจิตวิญญาณอีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถอะลุ่มอล่วยให้แก่ร่างกายได้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลนี้เอง รายงานจำนวนมากมายเน้นย้ำว่า มนุษย์มีหน้าที่พึงระวังรักษาอาหารของตนให้ดี

ในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อล ) ได้มีบุคคลหนึ่งนำน้ำนมมาให้ท่านศาสดา, ทว่าตราบที่ท่านยังไม่อาจตรวจสอบได้ว่าน้ำนมนั้นฮะลาล ท่านไม่ได้ดื่มนมนั้นเลย ท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่า :บรรดาศาสดาก่อนหน้าฉัน, ต่างมีคำสั่งว่าจงอย่ารับประทานอาหารและเครื่องดื่มใดๆ ยกสิ่งที่ฮะลาลและดีเท่านั้น[4]

รายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (.) ที่กล่าวถึงคุณลักษณะอันเป็นผลที่เกิดจากอาหารฮะรอม แม้แต่ในเด็กเล็กท่านก็ได้กำชับเตือนเอาไว้[5]

ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งและถือเป็นหน้าที่ของเราที่ว่าต้องใส่ใจเป็นพิเศษต่ออาหารที่ฮะลาล และฮะรอม. เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีผลกระทบต่อร่างกายและจิตวิญญาณ และชะตากรรมด้านศีลธรรมของเรา อีกทั้งมีผลต่อเส้นทางไปสู่ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ, ดังเช่นที่ความประพฤติของคนเราทั้งด้านสังคมและส่วนตัว ต่างมีผลกระบทต่อสังคมโลกทั้งสิ้น เช่นเดียวกันเหตุการณ์โลกก็มีผลกระทบต่อจริยธรรม ความประพฤติ และการกระทำของมนุษย์[6]



[1] ญะวาดดีย ออมูลียฺ, อับดุลลอฮฺ, มะรอฮิลอักลาค ดัรกุรอาน, หน้า 153.

[2] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ, 39.

[3] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 5, เราซูล (ซ็อล ) กล่าวว่าได้ถูกถอดถอนออกไปจากประชาชาติของฉันแล้ว ความผิดพลาด ความหลงลืม และการบังคับ

[4] อัดดุรุ มันซูร, เล่ม 6, หน้า 102, มีซานุลฮิกมะฮฺ, เล่ม 3, หน้า 128, มุฮัมมะดี เรย์ ชะฮฺรียฺ, มุฮัมมัด

[5] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 100, หน้า 323, หน้า 96, อิมามอะลี (.) : จงนำทารกของท่านออกห่างจากการดื่มน้ำนมจากหญิงเลว และสติฟั่นเฟือน, เนื่องจากน้ำนมจะส่งผลกระทบต่อทารก

[6] ญะวาดียฺ ออมูลียฺ, อับดุลลอฮฺ, มะบาดียฺ อัคลากดัรกุรอาน, หน้า 108

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
    7168 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ประเด็นที่คำถามได้กล่าวถึงมิใช่ว่าจะสามารถรับได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม, หรือปฏิเสธโดยสิ้นเชิงร้อยทั้งร้อย, ทว่าขึ้นอยู่กับความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยผู้กระทำผิด, เนื่องจากความผิดบางอย่างเช่น “การตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้า”
  • "การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
    7988 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/07
    ท่านฮุเซนบินอลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมายวัตรปฏิบัติการเสียสละ
  • จำเป็นต้องสวมแหวนทางมือขวาด้วยหรือ ?
    13076 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    หนึ่งในแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์คือการสวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาซึ่งมีรายงานกล่าวไว้ถึงประเภทของแหวนรูปทรงและแบบ. นอกจากคำอธิบายดังกล่าวที่ว่าดีกว่าให้สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาแล้วบทบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวเกี่ยวกับแหวนก็จะเน้นเรื่องการเป็นมุสตะฮับและเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่ห้ามสวมแหวนทอง (และเครื่องประดับทุกชนิดที่ทำจากทองคำ) ซึ่งได้ห้ามในลักษณะที่เป็นความจำเป็นด้วยเหตุนี้
  • ถูกต้องไหม ขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ถูกฟันศีรษะขณะนมาซซุบฮฺ,อิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ มิได้อยู่ด้วย?
    7000 تاريخ بزرگان 2554/12/20
    รายงานเกี่ยวกับการถูกฟันของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งขณะนั้นท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ร่วมอยู่ด้วยนั้นมีจำนวนมากด้วยเหตุนี้เองจึงมีความเป็นไปได้หลายกรณีเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังวิภาษกันอยู่กล่าวคือ:1.
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    12524 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • ฮะดีษที่กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ.ล.) กล่าวว่า “จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในช่วงเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” เป็นฮะดีษที่ถูกต้องหรือไม่?
    9726 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/06/23
    แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นอกจากจะมีประโยชน์ทางด้านสารอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางด้านการรักษาและเป็นยาอีกด้วย ซึ่งเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งสมัยก่อนและสมัยใหม่ได้กล่าวและเขียนเกี่ยวกับมันมากมาย เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของแอปเปิ้ล นอกจากทัศนะของเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งหลายแล้ว เราจะพบฮะดีษบางบทจากบรรดามะอ์ศูมีนในหนังสือทางประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือฮะดีษที่ได้กล่าวมาในคำถามข้างต้นที่กล่าวว่า “و قال النبی (ص) کلوا التفاح علی الريق فإنه وضوح المعده”[1] จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในยามเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” และฮะดีษนี้รายงานจากอิมามอลี (อ.) โดยมีเนื้อหาดังนี้ “كُلُوا التُّفَّاحَ فَإِنَّهُ يَدْبُغُ الْمَعِدَةَ” จงกินแอปเปิ้ล เนื่องจากแอปเปิ้ลจะช่วยชำระล้างกระเพาะ ฮะดีษดังกล่าวนอกจากจะปรากฏในหนังสือมะการิมุลอัคลากแล้ว ยังจะพบได้ในหนังสือบิฮารุลอันวารของท่านมัจลิซีย์และมุสตัดร็อกของท่านนูรีย์อีกด้วย นอกจากนี้ท่านอิมามศอดิก (อ.) ก็ได้กล่าวถึงสรรพคุณของแอปเปิ้ลว่า “หากประชาชนได้รู้ถึงสรรพคุณที่มีอยู่ในแอปเปิ้ล พวกเขาจะใช้แอปเปิ้ลรักษาผู้ป่วยของตนเพียงอย่างเดียว”
  • เพราะอะไรต้องครองอิฮฺรอมในพิธีฮัจญฺด้วย?
    7702 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    ฮัจญฺ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่มากไปด้วยรหัสยะและเครื่องหมายต่างๆ มากมาย ซึ่งมนุษย์ล้วนแต่นำพามนุษย์ไปสู่การคิดใคร่ครวญ และธรรมชาติแห่งตัวตน เป็นการดีอย่างยิ่งถ้าหากเราจะคิดใคร่ครวญถึงขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ชนิดก้าวต่อก้าวทั้งภายนอกและภายในของขั้นตอนการกระทำเหล่านั้น, เนื่องจากภายนอกของพิธีกรรมทีบทบัญญัติอันเฉพาะเจาะจง จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แต่ถ้ามองเลยไปถึงด้านในของพิธีกรรมฮัจญฺ ถึงปรัชญาของการกระทำเหล่านี้ก็จะพบว่ามีรหัสยะและความเร้นลับต่างๆ อยู่มากมายเช่นกัน การสวมชุดอิฮฺรอม, เป็นหนึ่งในขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ซึ่งพิธีฮัจญฺนั้นจะเริ่มต้นด้วยการครองชุดอิฮฺรอม, ชุดที่มีความเฉพาะเจาะจงพิเศษสำหรับการปฏิบัติพิธีฮัจญฺ, ถ้าพิจารณาจากภายนอกสามารถได้บทสรุปเช่นนี้ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ปวงบ่าวปฏิบัติวาญิบที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของพระองค์, ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดการสวมชุดอิฮฺรอม ให้เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) และชุดนี้ก็จะต้องมีเงื่อนไขพิเศษอันเฉพาะตัวด้วย เช่น ต้องสะอาด, ต้องไม่ตัดเย็บ และ...[1] ความเร้นลับของการสวมชุดอิฮฺรอม 1.ชุดอิฮฺรอม, คือการทดสอบหนึ่งในภราดรภาพและความเสมอภาค เป็นตัวเตือนสำหรับความตายที่รออยู่เบื้องหน้า, เป็นเครื่องหมายหนึ่งที่บ่งบอกให้เห็นว่า มนุษย์หลุดพ้นพันธนาการแห่งการทดสอบ และการผูกพันอยู่กับโลกแล้ว, เขากำลังอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ...
  • เพราะเหตุใดกอบีลจึงสังหารฮาบีล?
    9012 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/22
    จากโองการอัลกุรอานเข้าใจได้ว่าสาเหตุที่กอบีลได้สังหารฮาบีลเนื่องจากมีความอิจฉาริษยาหรือไฟแห่งความอิจฉาได้ลุกโชติช่วงภายในจิตใจของกอบีลและในที่สุดเขาได้สังหารฮาบีลอย่างอธรรม ...
  • ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
    9142 จริยธรรมทฤษฎี 2554/03/08
    ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน – อาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้าและการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิดซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกันอันก่อให้เกิดความก้าวหน้า
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับฮูรุลอัยน์ และถามว่าจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสุภาพสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10141 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/07/16
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.นอกจากนี้คำว่าฮูรุลอัยน์ยังสามารถใช้กับเพศชายและเพศหญิงได้ทำให้มีความหมายกว้างครอบคลุมคู่ครองทั้งหมดในสวรรค์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อคู่สาวสำหรับชายหนุ่มผู้ศรัทธาหรืออาจจะเป็นเนื้อคู่หนุ่มสำหรับหญิงสาวผู้ศรัทธา[i]นอกจากเนื้อคู่แล้วยังมี“ฆิลมาน”หรือบรรดาเด็กหนุ่มที่คอยรับใช้ชาวสวรรค์ทั้งชายและหญิงอีกด้วย[i]ดีดอเรย้อร(โลกหน้าในครรลองวะฮีย์),อ.มะการิมชีรอซี,หน้า

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57314 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55061 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40338 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37403 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36043 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32371 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26672 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26102 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25934 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24120 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...