การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6743
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa15447 รหัสสำเนา 23226
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
ในกรณีที่เป็นไปได้โปรดอธิบายถึงรายชื่อของสตรีที่เป็นนายหญิงแห่งโลก และนักวิชาการแห่งศตวรรษจากอดีตจนถึงปัจจุบัน?
คำถาม
ในกรณีที่เป็นไปได้โปรดอธิบายถึงรายชื่อของสตรีที่เป็นนายหญิงแห่งโลก และนักวิชาการแห่งศตวรรษจากอดีตจนถึงปัจจุบัน?
คำตอบโดยสังเขป

รายชื่อของสตรีบางคนในโลกนี้,ฟะกีฮฺ, มุฮัดดิซ, นักปรัชญา, และ ....นับตั้งแต่ศตวรรษในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่น

1.ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ มะอฺซูมมะฮฺ (อ.) บุตรีของท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) น้องสาวของท่านอิมามริฎอ (อ.)

2.ท่านอุมมุ กุลษูม โรฆันนี,แกซวีนียฺ เป็นมุจญฺตะฮิด และมุฮัดดิษ

3.เคาะดิญะฮฺ บัรฆอนียฺ แกซวีนียฺ,เป็นมุจญฺตะฮิด มุฮัดดิษ และนักเทววิทยา, ท่านมีความรู้ด้านเทววิทยาเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นนักท่องจำ และเป็นนักตัฟซีรอัลกุรอาน อีกด้วย

4.นักกิซ บัรฆอนียฺ แกซวีนียฺ,ป็นมุจญฺตะฮิด มุฮัดดิษ และนักเทววิทยา, ท่านมีความรู้ด้านเทววิทยา ไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงคำ โครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวลี ตรรกวิทยา และภาษาอาหับเป็นอย่างดี

5.บุตรีของอะลี บินฮุซัยนฺ ฟะวาซียฺ อาลัมมี สตรีนักปราชญ์ นักกวี และเป็นหนึ่งในนักปราชญ์ด้านไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงคำ โครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวลี มีความสันทัดเรื่องวาทศาสตร์และวาทศิลป์

6.อิฟฟัตตุซซะมาน อะมีน , นักฮะดีซ นักปราชญ์ นักปรัชญา และเป็นฮะกีม

7.รุบาบะ อิลาฮียฺ, นักปราชญและนักเขียน

8.รุบาบะ อิลาฮียฺ, นักปราชญ์ นักเขียน เจ้าของหนังสือต่างๆ อัลญันนะฮฺ วัลริฎวาน, เตาฮีด, 40 ฮะดีซ,แกชกูลอิลาฮี, ลุลุวัลมัรญอน วัดดุร และอัลยากูต

9.ซัยยิดะฮฺ อะมีน, มุจญฺตะฮิด, มุฮัดดิษ, นักปรัชญา,นักปราชญ์, นักเขียน,เจ้าของหนังสือ มัคซัน อัลเอรฟาน ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน, อัรบะอีน อัลฮาชิมียะฮฺ, เซรวะซุลูก, แนวทางความผาสุก, นะฟะญาตเราะฮฺมานียะฮฺ, ญามิอุชชัยตอบ, มะอาด หรือการเดินทางสุดท้ายสำหรับมนุษย์ และ...

10.ท่าน อามีนะฮฺ (ชะฮีดะฮฺ บินตุฮุดา) ซ็อดร์ น้องสาวของชะฮีดบาเกรซ็อดร์, เจ้าของหนังสือ อัลฟะฎีละฮฺ ตันซิเราะฮฺ, อัลคอละฮฺ อัฎฎออิอะฮฺ, อิมเราะอะตาน วะเราะญุลุน, ซะรออ ลิกออิ ฟีลมุสตัชฟา, มุซักกิรอตุลฮัจญฺ และ....

11. ฯฯพณฯท่านมุจญฺตะฮิด ซุฮฺเราะฮฺ ซิฟาตตี, นักเขียนหนังสือต่างๆ จำนวนหลายเล่ม นักค้นคว้าด้านฟิกฮฺเกี่ยวกับเรื่อง อายุการปฏิบัติหน้าที่ สร้างสิ่งใหม่ด้านฟิกฮฺ ในเรื่องอะฮฺกามต่างๆ สำหรับสตรี

คำตอบเชิงรายละเอียด

บทนำ

ประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกว่าสตรีผู้ศรัทธาก็เหมือนกับบุรุษผู้ศรัทธา,พวกท่านได้อดทน ฝึกฝน และเรียนรู้วิชาการอิสลามตามคำแนะนำของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าเหล่าบรรดาสตรีผู้ศรัทธาได้ศึกษาวิชาการอิสลามมานานนับพันปีนับตั้งแต่อดีตเป็นต้นเรื่อยมา นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกผลงานความยากลำบากของพวกท่านในฐานะของนักปราชญ์ และนักวิชาการอิสลาม ในตรงนี้เพื่อความเหมาะสมกับคำถามที่ตั้งขึ้น จะขออธิบายอย่างสั้นๆ และรัดกุมโดยนำรายชื่อของสตรีนักวิชาการอิสลามบางคนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน มาอธิบายไปตามระดับชั้นของความรู้ สถานะภาพ และความสำเร็จในการขัดเกลาตนเอง

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 3

1.ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ มะอฺซูมมะฮฺ (อ.) บุตรีของท่านอิมามมูซา อัลกาซิม (อ.) น้องสาวของท่านอิมามริฏอ (อ.) เป็นหนึ่งในสตรีที่มีความสำรวมตนที่สุดในฝ่ายชีอะฮฺ ท่านหญิงเป็นนักวิชาการและเป็นนักรายงานฮะดีซ ประมาณปี ฮ.ศ.ที่ 201 หนึ่งปีหลังจากที่ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้เดินทางไปสู่เมือง มัรรู ซึ่งท่านได้ตัดสินใจเดินทางไปยังเมือง มัรรู เพื่อเยี่ยมเยือนพี่ชาย แต่ระหว่างทางเมื่อเดินทางมาถึงเมือง ซาเวะฮ์ ท่านไม่สบาย จึงได้เดินทางเข้ามาเมืองกุม โดยอาศัยอยู่ที่บ้านของท่านมูซา บิน ญะอฺฟัร บิน คัซรอจญฺ บิน สะอฺด์ อัชอะรียฺ ท่านหญิงมะอฺซูมมะฮฺ (อ.) ได้พักอยู่ที่บ้านของท่านมูซา บิน คัซรอจญ์ ปรมาณ 17 วัน และท่านก็ได้อำลาจากโลกไปด้วยอาการป่วยไข้นั้นเอง หลังจากได้ฆุสลฺและกะฟั่นให้ท่านแล้ว ท่านมูซา บินคัซรอจญฺ ได้นมาซญินาซะฮฺให้แก่ท่าน และฝั่งร่างบริสุทธิ์ของท่านไว้ที่สวน บาบิลอน และทุกวันนี้ในอิหร่าน หลังจากสถานฝังศพของท่านอิมามริฎอ (อ.) เมืองมัชฮัดแล้ว สถานฝังศพของท่านหญิงมะอฺซูมมะฮฺ (อ.) ก็นับได้ว่าเป็นสถานที่ซิยาเราะฮฺอันศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สอง ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองกุม

2.ท่านหญิงคีซรอน มารดาของท่านอิมามญะวาด (อ.) ท่านหญิงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มะรีซียะฮฺ รอยฮานะฮฺ และดัรเราะฮฺ ท่านหญิงคีซรอน เป็นสตรีที่มีความประเสริฐและดีที่สุด และเป็นหญิงที่มีความสำรวมตนมากที่สุดในสมัยของท่าน ซึ่งเพราะความสูงศักดิ์และความดีงามของท่านนั่นเอง ท่านจึงได้เป็นภรรยาของท่านอิมามริฎอ (อ.) และเป็นมารดาของท่านอิมามญะวาด (อ.) ซึ่งสถานะภาพของท่านย่อมเป็นเครื่องหมายบ่งชี้ให้เห็นถึงฐานันดรอันสูงส่ง และความมีค่าสูงยิ่งของท่าน ณ อัลลอฮฺ (ซบ.)

3. ท่านหญิงฮะกีมะฮฺ บุตรีของท่านอิมามญะวาด (อ.) ภรรยาของท่านอบุล ฮะซัน มุฮัดดิซ เป็นหนึ่งในสหายของท่านอิมามซัจญาด (อ.) นายหญิงเป็นสตรีสูงศักดิ์คนหนึ่ง ท่านได้รับการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวของอิมามผู้บริสุทธิ์ ขณะที่ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ประสูตินั้นท่านได้ร่วมอยู่ด้วย ท่านหญิงฮะกีมมะฮฺ ได้พบกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ขณะที่บิดาของท่านยังมีชีวิตอยู่หลายครั้งด้วยกัน และท่านหญิงฮะกีมมะฮฺยังนับว่าเป็นทูตสร้างสัมพันธ์ระหว่างอิมามะฮฺอีกด้วย หลังจากท่านอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) ได้ชะฮาดัตไปแล้ว เราได้รับรายงานจำนวนมากมายเกี่ยวกับการสมรสของท่านอิมามฮะซัน อัสการียฺกับท่านหญิงนัรญิส และการประสูติของท่านอิมามมะฮฺดีย (อ.)

4.ท่านหญิงสุมานะฮฺ มารดาของท่านอิมามฮาดียฺ (อ.) เป็นสตรีที่มีเกียรติและดีที่สุดในสมัยของท่าน ไม่มีสตรีคนใดในยุคนั้นที่จะมีอีมาน ตักวา ความเข้าใจ การรู้จัก และความรู้เท่าเทียมกับท่าน เวลาส่วนใหญ่ท่านจะใช้ไปกับการถือศีลอด และเนื่องจากท่านมีความสูงศักดิ์และความดีงามนั้นเองจึงได้สมรสกับท่านอิมามญะวาด (อ.) ท่านอิมามฮาดียฺ (อ.) ได้กล่าวถึงท่านว่า “ท่านหญิงเป็นผู้รู้จักสิทธิของอิมามะฮฺของฉันเป็นอย่างดี และเป็นชาวสวรรค์

5.ท่านหญิงซูซิน มารดาของท่านอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) ท่านหญิงมีชี่อเรียกอีกอย่างว่า ฮะดีซ และสะลีล ท่านหญิงเป็นสตรีที่มีความสำรวมตนสูงมาก มีความเข้าใจ มีความบริสุทธิ์ เป็นสตรีที่พัฒนาและปรับปรุงเสมอ เป็นนายหญิง และเป็นนักรายงานฮะดีซด้วย

6.ท่านหญิงนัรญิส คอตูน มารดาของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ภรรยาของท่านอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) นามชื่อของท่านหญิงคือ มะลีกะฮฺ เป็นบุตรีของ ยะชูอา บุตรของกัยซัร จักรพรรดิแห่งโรม ท่านสืบเชื้อสายมาจากตระกูล ชัมอูน เคาะวารียฺผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา อีซา (อ.) ท่านหญิงนัรญิสเป็นนักรายงานฮะดีซท่านหนึ่ง เป็นสตรีที่มีความสำรวมตนสูง และมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง สำหรับสถานะและตำแหน่งอันสูงส่งเพียงพอแล้วกับการที่ท่านหญิงได้เป็นมารดาของท่าน อิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ข้อพิสูจน์สุดท้ายของอัลลอฮฺ เป็นผู้ปลดปล่อย และเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลปกครองโลกด้วยความยุติธรรม

7.ฮะบาบะตุล วาลิบียะฮฺ, บุตรีของญะอฺฟัร อะซะดี วาลิบียฺ, ฉายานามของท่านคือ อัลนิดา หรืออุมมุลบะรออ์ ท่านเป็นหนึ่งในสหายของท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านมีอายุยืนยาวมากและได้สัมผัสกับการปกครองของท่านอิมามฮะซัน อิมามฮุซัยนฺ อิมามซัจญาด อิมามบากิร อิมามซอดิก อิมามกาซิม และอิมามรฎอ (อ.) ท่านได้เข้าพบและรับใช้บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์เหล่านั้นมาทั้งสิ้น

และหลังจากได้พบกับท่านริฎอ (อ.) ได้ไม่นานนัก ท่านก็ได้อำลาจากโลกไป ท่านอิมาม (อ.) ได้กะฟันท่านด้วยเสื้อคุมของท่าน ฮะบาบะฮฺ มีอายุขัยรวมทั้งสิ้น 230 ปี

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 4

1.อุมมุ กุลษูม อัมรีย์, บุตรีของมุฮัมมัด บินอุสมาน บิน สะอีด อัลอัมรียฺ ผู้เป็นตัวแทนเฉพาะ คนที่สองของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในยุคของการเร้นกายช่วงสั้น อุมมุกุลษูม เป็นสตรีที่มีเกียรติ มีความประเสริฐ และเป็นนักรายงานฮะดีซด้วย ท่านได้รายงานฮะดีซจากบิดาของท่าน มุฮัมมัด บิน อุสมาน และฮุซัยนฺ บิน รูฮฺ เนาบัคตียฺ ซึ่งอบูนัซร์ ฮับบะตุลลอฮฺ บิน มุฮัมมัด ผู้เป็นหลานชายของท่านได้รายงานฮะดีซจากท่าน

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 5

1.บุตรีของ ซอฮิบ บิน อิบาด เป็นสตรีท่านหนึ่งที่มีความประเสริฐ และเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านกวีฝ่ายชีอะฮฺ ท่านได้เรียนรู้วิชาการ และมารยาทจากบิดาของท่าน

2.บุตรีของเชคมัสอูด บิน วะรอม เป็นสตรีที่มีความรู้และเป็นหนึ่งในนักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺ ท่านได้เรียนรู้วิชาการด้านไวยากรณ์อาหรับ วิชาการอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ด้านฮะดีซ จากบิดาของท่านเชคมัสอูด บิน วะรอม ท่านได้สมรสกับเชคฏูซียฺ

3.อุมมุ อบี นัซร์ บุตรีของอุมมุกุลษูม บินติ มุฮัมมัด บิน อุสมาน อัมรียฺ ผู้เป็นตัวแทนเฉพาะคนที่สอง ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) อุมมุ อบีนัซร์ เป็นสตรีนักรายงานฮะดีซ คนหนึ่ง เป็นผู้มีความประเสริฐ เชื่อถือได้ และมีความสำรวมตนสูง

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 6

1.อามีนะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ อัลละวียฺ เป็นนักรายงานฮะดีซฝ่ายชีอะฮฺ ช่วงศตวรรษที่ 5, 6 ท่านเป็นบุตรีของอิบาด บิน อะลี บิน ฮัมซะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ อัลละวียฺ ท่านอาศัยอยู่ในเมืองเอซฟาฮาน ท่านได้รายงานฮะดีซมาจาก อบูมุฮัมมัด ริซกุลลอฮฺ

2.อามีนะฮฺ บุตรีของอับดุลกะรีม บิน อับดุลเราะซาก อัลญะนาบะซียฺ เป็นนักรายงานฮะดีซจากฮิจเราะฮฺศตวรรษที่ 5, 6 อาศัยอยู่ในเมืองเอซฟาฮาน สตรีที่มีความบริสุทธิ์ และมีความเคร่งครัดในศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

3.เคาะดียะฮฺ. นักรายงานฮะดีซ ผู้รู้, เป็นบุตรีของอะบีร หรือ อันบะรียฺ, เป็นสตรีที่มีเกียรติ,มีฉายานามเรียกว่า ฟัครุนนิซาอฺ เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในยุคสมัยของตน ในฐานะที่เป็นสตรีผู้หนึ่งที่ศึกษาค้นหาความรู้อย่างจริงจัง ท่านได้เรียนรู้ฮะดีซฟิกฮฺจำนวนมากมาย และได้ถ่ายทอดรายงานเหล่านั้นสู่สังคม

4.บุตรีของซัยยิด มุรตะฏอ อะลัมมุลฮุดา,นักรายงานฮะดีซและเป็นผู้รู้, เจ้าของหนังสือ ริยาฎ อัลอุละมาอฺ แน่นอนว่า ท่านคือสตรีที่มีความประเสริฐ มีความรู้และเป็นเสาหลักด้านวิชาการ ท่านได้รายงานเกี่ยวกับนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺจากคุณอาของท่าน ซัยยิดรอฎียฺ และเชคอับดุลเราะฮฺมาน บัฆดาดี หรือรู้จักกันในนามของ อิบนุอิควะฮฺ เขาเป็นผู้รู้ฝ่ายซุนนียฺ ซึ่งท่านได้รายงานนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺมาจากเขา

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 7

1.อุมมุอะลี, สตรีที่เป็นนักปราชญ์ มารดาของ เราะฎียุดดีน อะลี บิน มูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บิน ฏอวูส, เป็นสตรีที่มีความสูงศักดิ์, เป็นผู้รู้ ที่มีความประเสริฐของอิมามมียะฮฺ,บางคนเมื่อกล่าวถึงรายชื่อสานุศิษย์ของเชคอะลี กะรักกีย์ เขาจะต้องเอ่ยชื่อของอุมมุอะลี ด้วยซึ่งท่านเป็นเสาหลักคนหนึ่งด้านวิชาการในยุคสมัยนั้น

2.ชะรีฟะฮฺ, บุตรีของอะลี บิน ฏอวูส,อัฟฟันดี หนังสือริยาฎ อัลอุละมาอฺ ได้กล่าวถึงท่านว่า, ท่านเป็นนักปราชญ์ที่มีความประเสริฐ , มีความสมบูรณ์, เป็นนักเขียน และเป็นนักท่องจำอัลกุรอานทั้งหมดเมื่ออายุได้เพียง 12 ปี และท่านได้รับอนุญาตด้านวิชาการจาก ซัยยิด อิบนุ ฏอวูส

3.อุมมุลค็อยร์ บัฆดาดียะฮฺ,เป็นสตรีผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นผู้รายงานฮะดีซ แห่งฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 7 มีฉายานามว่า ฮิญาลุลนิซาอฺ ท่านได้เติบโตขึ้นมาจากแบกแดด, เป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยของตน นอกจากนั้นท่านยังเป็นอาจารย์สอนหนังสืออีกด้วย, นอกจากนั้นท่านยังเป็นสตรีที่มีความประเสริฐและเป็นนักปราชญ์ที่มีความรู้, มีความสำรวมตนและมีอีมานเข้มแข็ง

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 8

1.อุมมุอะลี, ภรรยาของชะฮีดเอาวัล, นักปราชญ์ที่เป็นฟะกีฮฺ, เป็นผู้รู้, มีความประเสริฐ, เป็นมุฟตี และเป็นู้เคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนา, ชะฮีดเอาวัลได้มีคำสั่งแก่บรรดาสตรีทั้งหลายว่า ในเรื่องศาสนบัญญัตินั้นในเรียนรู้และถามไถ่จาอ อุมมุอะลี

2.ซัยนับ บัฆดาดียะฮฺ, ท่านคือนักปราชญ์, มีความประเสริฐ, มีความสำรวมตน, สะอาดบริสุทธิ์,และเป็นสตรีผู้มีความเคร่งครัดในศาสนาสูง ซึ่งสตรีชาวอียิปต์ ซีเรีย และแบกแดด ต่างได้รับประโยชน์จากคำตักเตือนสั่งสอนของท่าน

3.ฟาฏิมะฮฺ,บุตรีของเชคมุฮัมมัด บิน อะฮฺมัด, เจ้าของหนังสือริยาฎ กล่าวถึงท่านว่า: ฟาฏิมะฮฺเป็นสตรีที่มีความรู้ เป็นนักปราชญ์ เป็นฟะกีฮฺผู้มีความเชี่ยวชาญ เป็นอาจารย์ท่านหนึ่งของซัยยิด ตาญุดดีน มุฮัมมัด บิน มุอียะฮฺ ฮุซัยนี ซึ่งเชคชะฮีดได้รายงานฮะดีซจากท่านโดยผ่าน มุอียะฮฺ และเชคอับดุลเซาะมัด บิน อะฮฺมัด ได้อนุญาตทางวิชาการแก่ท่าน

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 9

1.ฟาฏิมะฮฺ, บุตรีของชะฮีดเอาวัล ท่านได้รับฉายานามว่าเป็นมะชายิคคนหนึ่ง เชคฮูรอามิลียฺ ได้กล่าวถึงท่านไว้ในหนังสือ อะมะลุลอุมัลว่า : สตรีผู้นี้เป็นผู้รู้ที่มีความประเสริฐผู้หนึ่ง,เป็นฟะกีฮฺที่บริสุทธิ์, และเป็นผู้มีความเคร่งครัดในศาสนา ซึ่งฉันได้ยินคำสรรเสริญเยินยอจากท่าน นอกจากนั้นท่านยังได้รายงานฮะดีซมาจาก อิบนุมุอียะฮฺ ซึ่งเป็นอาจารย์ของบิดาของท่านชะฮีดเอาวัล บิดาของท่านเป็นผู้หนึ่งที่ยกย่องสรรเสริญท่าน และกล่าวแก่บรรดาสตรีทั้งหลายว่า จงเชื่อฟังปฏิบัติตามท่าน และเกี่ยวกับเรื่องศาสนบัญญัตินั้นให้เรียนรู้และถามไถ่จากท่าน

2.ดะฮฺมาอฺ, บุตรีของยะฮฺยา บิน มุรตะฎอ เยเมนียฺ, เป็นสตรีที่เป็นปราชญ์ เป็นนักกวีและมีความประเสริฐยิ่ง ท่านได้เรียนรู้วิชาการอิสลามจากพี่ชายของท่านชื่อว่า มะฮฺดียฺ ท่านมีความสันทัดด้านวิชาไวยากรณ์อาหรับ อุซูล ตรรกะวิทยา ดาราศาสตร์ เคมี และบทกวี พี่ชายของท่านมีหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งนามว่า อัลอัซฮาร และท่านได้เขียนหนังสืออธิบายความหนังสือดังกล่าวขึ้นมาทั้งสิ้นอีก 4 เล่ม นอกจากนั้นท่านยังได้เขียนหนังสืออธิบายความ มันซูมะฮฺ กูฟียฺ ด้านฟิกฮฺ และหนังสืออธิบายความหนังสือ มุคตะซัร มุนตะฮา สตรีผู้นี้เป็นผู้หนึ่งที่มีความสมบูรณ์ นักศึกษาศาสนาจากเมือง ตะลา ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประเทศเยเมนได้รับอนิจสงค์ด้านวิชาการจากท่าน

3.เคาะดีญะฮฺ, บุตรีของฮะซัน บิน อะลี บิน อับดุลอะซีซ, สตรีผู้นี้เป็นนักปราชญ์ที่มีความรู้, เป็นนักรายงานฮะดีซ, มีความสำรวมตนสูง, มีความบริสุทธิ์, เป็นนักท่องจำอัลกุรอาน, มีความสันทัดและรู้หลักการอ่านอย่างท่องแท้ นอกจากนั้นท่านยังมีความรู้ด้านฟิกฮฺอยู่ในระดับของ การอิจญฺติฮาดอีกด้วย

4.บิลกีส,บุตรีของมุฮัมมัด บัดรุดดีน บิน ซิรอจญุดดีน บิลกีส, คุณปู่ของซิรจญุดดีน เป็นอาจารย์ของ อิบนุ ฮะญัร อัสกะลานียฺ ท่านเป็นสตรีที่มีความเชี่ยวชาญด้านฟิกฮฺ เป็นปราชญ์ ที่มีความสำรวมตนสูง บริสุทธิ์ และเป็นนักพัฒนา 10 ปีช่วงบั้นปลายสุดท้ายของชีวิตได้มุ่งเน้นเรื่องการขัดเกลาจิตวิญญาณ และจาริกจิตใจจนได้ไปถึงระดับหนึ่ง จนได้รับฉายานามว่าปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจารึกจิตใจ

5. ฮะลีมะฮฺ อิสฮากียะฮฺ, นักปราชญ์และเป็นนักรายงานฮะดีซ, เป็นบุตรีของซัยยิดอิซซุดดีน อิสฮากียฺ, มาจากครอบครัวของซัยยิด ซุฮฺเราะฮฺ ฮะละบียฺ สตรีผู้นี้ซัยยิดะฮฺที่เป็นปราชญ์ มีความประเสริฐ และเป็นนักรายงานฮะดีซด้วย

6. อาซียะฮฺ, บุตรีขิงญารุลลอฮฺ ซอลิฮฺ ชัยบานียฺ ฏ็อบรียฺ, เป็นสตรีที่มีความบริสุทธิ์ มีความสมบูรณ์ และเป็นนักรายงานฮะดีซด้วย มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด สะคอวียฺ และผู้รู้อีกกลุ่มหนึ่งได้ให้อนุญาตด้านวิชาการแก่ท่าน ซึ่งอัลลามะฮฺซุยูฏียฺได้รายงานฮะดีซจากท่านด้วย

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 11

1.บุตรีของ เชคอะลี มันชารอามิลี, ภรรยาของเชคบะฮาอียฺ, เป็นสตรีที่เป็นฟะกีฮฺ และเป็นนักรายงานฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาการด้านฟิกฮฺ และฮะดีซ จากชัยคุลอิสลาม เอซฟาฮานียฺ,ต่อมาได้สมรสกับเชคบะฮาอียฺ, ท่านได้สอนวิชาฟิกฮฺ และฮะดีซตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งมีสตรีมากมายได้เรียนรู้วิชาการเหล่านั้นจากท่าน

2.อุมมุลค็อยร์ กาชานี, ท่านเป็นบุตรีของมุลลา มุฮฺซิน กาชานียฺ, ท่านเป็นสตรีที่มีความสูงส่ง มีความประเสริฐ เป็นนักกวีในยุคสมัยของตน

3. บัดดะรียะฮฺ, นักปรัชญา และเป็นนักกวี,ท่านเป็นบุตรีของมุลลาซ็อดรอ ชีรอซียฺ, นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกอิสลาม, ท่านมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มุลมุลกุลษูม เป็นหนึ่งในสตรีที่มีความประเสริฐ และมีความสำรวมตนสูงมาก ท่านได้ศึกษาวิชาปรัชญาอิสลามจากบิดาของท่าน ต่อมาได้สมรสกับมุลลา อับดุลลอฮฺ อัรรเราะซาก ลลฮีญียฺ หรือรู้จักกันในนามของ ฟัยยอฎ หลังจากได้สมรสแล้วท่านได้ศึกษาวิชาการอิสลามกับสามี จนกระทั่งมีความเชียวชาญในวิชาการต่างๆ จนกล่าวว่าท่านคือ อาจารย์ในทุกสาขาวิชา

4.ซ็อดรียะฮฺ, เป็นหนึ่งในสตรีที่เป็นผู้รู้, เป็นนักเทววิทยา, นักปรัชญา, นักปราชญ์, เป็นผู้มีความเคร่งครัดในศาสนา, และเป็นนักปาฐกถา ท่านได้ศึกษาวิชาการจากมีรซาอิบรอฮีม, พี่ชายของท่าน และได้เติมเต็มวิชาการเหล่านั้นเคียงข้างสามีและบิดาของท่าน

5.ซุบัยดะฮฺ, บุตรีของมุลลาซ็อดรอ ชีรอซียฺ เป็นน้องสายของบัดรียะฮฺ และซ็อดรียะฮฺ, เป็นสตรีที่มีความรู้ ความประเสริฐ เป็นนักกวี และเป็นนักตัฟซีรอัลกุรอานในศตวรรษที่ 11 ซุบัยดะฮฺ ได้ศึกษาศาสนากับพี่สาวของท่าน บัดรียะฮฺ ส่วนไวยากรณ์และตัฟซีรอัลกุรอานนั้นท่านได้ศึกษาจนถึงขั้นศาสดาจาร และเป็นนักท่องจำอัลกุรอานด้วย

6.อุมมุอบีฮา, ซัยนับบุตรีของชาฮฺมุรตะฎอ กาชานียฺ เป็นน้องสาวของมุลลา มุฮฺซิน ฟัยฏ์ กาชานียฺ,ท่านเป็นสตรีผู้รู้ มีความประเสริฐ และเป็นนักกวีในสมัยของตน

7.ฮะมีดะฮฺ รูยัด ชุซตียฺ, เป็นสตรีอีกท่านหนึ่งในยุคสมัยของตน ท่านเป็นผู้มีความประเสริฐ เป็นผู้รู้ และเป็นอาจารย์,ในหมู่ประชาชนท่านเป็นสตรีที่มีความสำรวมตนอย่างสูง ท่านยังได้อธิบายความหนังสือหลายเล่มสำคัญเอาไว้ เช่น หนังสือฮะดีซ อย่างเช่น อิสติบซอร ของเชคฏูซียฺ, ซึ่งบ่งบอกให้เห็นถึงความเข้าใจอันสูงส่งของท่าน และยังบ่งชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจของท่านในตำราเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าในเรื่อง อิลมุริญาล

สตรีท่านนี้เป็นผู้มีความสันทัดเกี่ยวกับ อิลมุริญาล เป็นอย่างดี ผลงานของท่านคือหนังสืออธิบายความ ตำราฮะดีซ ในนามของ ริญาลฮะมีดะฮฺ

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 12

1.น้องสาวมุลลา เราะฮีม เอซฟาฮานี, สตรีผู้รู้คนหนึ่ง ท่านเป็นนักวิชาการในยุคปลายสมัยเซาะฟะวียฺ ท่านอาศัยอยู่ในเมืองเอซฟาฮาน เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียง ท่านเป็นคนหนึ่งที่มีลายมือสวยงามมาก และเชี่ยวชาญการเขียนด้วย ลายเส้นนัซค์ และนัสตะอฺลีก

2.อามินะฮฺ บัยกัม มัจญฺลิซซียฺ, เป็นสตรีที่มีความรอบรู้ นักรายงานฮะดีซ และเป็นฟะกีฮฺ, ท่านเป็นบุตรีของมุฮัมมัด ตะกียฺ มัจญลิซซียฺ เป็นน้องสาวของอัลลามะฮฺ มุฮัมมัดบากิร มัจญฺลิซซียฺ ภรรยาของมุลลา มุฮัมมัด ซอลิฮฺ มาซันดะรอนนียฺ

อามินะฮฺ บัยกัม มัจญฺลิซซียฺ,เป็นสตรีที่มีความสมบูรณ์และสง่างามยิ่ง,ท่านเกิดขึ้นมาในครอบครัวของผู้รู้ มีความประเสริฐ และมีความสำรวมตน ท่านศึกษาจนถึงระดับมุจญฺตะฮิดอย่างรวดเร็ว

3.อุมมุ ซัลมะฮฺ กาชานียฺ, เป็นหนึ่งในผู้รู้ มีความประเสริฐ เป็นนักฮะดีซ และเป็นนักกวีในสมัยของตน, ท่านเป็นบุตรีของมุฮัมมัด อะลัมมุลฮุดา และเป็นหลานสาวของมุลลา มุฮฺซิน ฟัยฎ์ กาชานี ท่านได้เริ่มต้นศึกษาระดับต้นจากพี่สาวของท่าน ส่วนฟิกฮฺ และอุซูล ท่านได้ศึกษาจากลุงของท่าน ท่านได้รับอนุญาตด้านวิชาการ จากบิดาและอาทั้งสองคนของท่าน และท่านได้รายงานฮะดีซจากพวกเขา

4.อุมมุ ซัลมะฮฺ บัยกัม ชีรอซียฺ,เป็นสตรีที่มีเป็นนักวิชาการคนหนึ่ง, ท่านได้เขียนหนังสือเรื่อง การจาริกจิตใจและเอรฟานเป็นภาษาฟาร์ซียฺ และได้เขียนบทความอีก 14 หัวข้อเกี่ยวกับเรื่องนี้

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 13

1.มุลลา ฟิฎเฎาะฮฺ, เป็นผู้รู้, มีความประเสริฐ, เป็นนักกวี และเป็นนักเขียนลายมือ,และยังได้เขียนหนังสืออะอฺยานุชชีอะฮฺ, ท่านได้ศึกษาอัลกุรอาน และไวยากรณ์ภาษาอาหรับจากบิดาของท่าน ส่วนฟิกฮฺและอุซูลได้ศึกษาจากผู้รู้ภายในครอบครัวของท่าน และได้รับอนุญาตทางความรู้จากพวกเขา นอกจากนั้นท่านยังเป็นหัวหน้าสอนอุซูล ฟิกฮฺ และฮะดีซ ซึ่งนักศึกษาบางคนได้ศึกษากับท่าน หรือแม้แต่ผู้รู้บางคนได้ศึกษาหนังสือ กะวานีน มีรซาเยะ กุมมีกับท่าน เนื่องจากท่านได้รับอนุญาตทางความรู้จากมีรซากุมมี

2.นูรี ฌะฮอน, บุตรีของ ฮัจญฺ อับดุล ฆอฟฟาร เตหรานี,เป็นสตรีที่มีความประเสริฐ, ท่านและเพื่อนร่วมกลุ่มอีกสองสามคนได้จัดแบ่งหนังสือ เนะญาตุลมุซัลมาน ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับอะฮฺกาม และการปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับสตรี ซึ่งสิ่งเหล่านั้นได้ค้นคว้ามาจากหนังสือของบรรดามุจญฺตะฮิด ส่วนที่สอง เกี่ยวกับมารยาทที่จำเป็น ซึ่งได้ค้นคว้ามาจากหนังสือ ฮิลลียะตุลมุตตะกีน ของอัลลามะฮฺมัจญฺลีซซียฺ

3.อุมมุล กุลษูม บัรฆอนี, สตรีผู้เป็นฟะกีฮฺ, มีความประเสริฐ, ท่านเป็นบุตรีของเชคมุฮัมมัด ตะกี หรือรู้จักกันดีในนามของ ชะฮีดษาลิษ, ท่านได้ศึกษาวิชาการเบื้องต้น ไวยากรณ์อาหรับจากป้าของบิดาของท่าน หลังจากนั้นวิชาฟิกฮฺและอุซูลได้ศึกษาจากบิดา และอาของท่านเชคมุฮัมมัด ซอลิฮฺ บัรฆอนียฺ ส่วนปรัชญาท่านได้ศึกษาจากมุลลา ออกอฮะกัมมี แกซวีนนียฺ,อุมมุกุลษูม ได้สอนหนังสือแก่สตรีทั้งในเตหะราน และกัรบะลาอฺ, ท่านได้อุทิศตำราทั้งหมดให้แก่นักเรียนศาสนา, หนึ่งในตำราเขียนของท่านคือ ตัฟซีรฟาติฮะตุลกิตาบ

4.อามินะฮฺ คอนุม แกซวีนียฺ, บุตรีของเชคมุฮัมมัด อะลี แกซวีนียฺ เป็นผู้รู้ชาวแกซวีนคนหนึ่ง,เป็นมุจญฺตะฮิด,เป็นผู้มีความเคร่งครัดในศาสนา, และเป็นภรรยาของเชคมุฮัมมัด ซอลิฮฺ บัรฆอนียฺ,ท่านได้ศึกษาอิสลามระดับพื้นฐานจากพี่ชายของท่าน เชคอับดุลวะฮาบ แกซวีนียฺ, หลังจากนั้นได้ศึกษาวิชาฟิกฮฺและอุซูลจากสามีของท่าน ส่วนปรัชญานั้นได้ศึกษาจาก มุลลา ออกอเยะ ฮะกัมมี แกซวีนียฺ ภายในสถาบันศึกษา ซอลิฮียะฮฺ นอกจากนั้นยังได้ศึกษากับเชคอะฮฺมัด อิฮฺซาอียฺ ในแกซวีนนั่นเอง จนกระทั่งไปถึงระดับสูงหรือระดับมุจญฺตะฮิด, มุลลา มุฮัมมัด ซอลิฮฺ ได้สั่งให้เหล่าสตรีศึกษาและสอบถามปัญหาชัรอียฺ และปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน

ผลงานของท่าน,บทรำพันอันยาวประมาณ 480 บรรพ์ ของท่านหญิงซัยนับ (อ.) เกี่ยวกับเหตุการณ์กัรบะลาอฺ และยังมีหนังสืออื่นๆ อีกหลายเล่ม

5.ซัยยิดะฮฺ ฟาฏิมะฮฺ แกซวีนียฺ,ผู้รู้, นักตัฟซีร, นักฮะดีซ, ท่านมีความสันทัดและมีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านฮะดีซ และวิชาการด้านญาณวิทยา, นอกจากนั้นท่านยังเป็นนักท่องจำอัลกุรอาน นักปาฐกถาที่มีชื่อเสียงในด้านการวาทศาสตร์, ท่านกล่าวปาฐกถาบนมิมบัรด้วยเสียงดังฟังชัด และมีความสามารถในการว่ากล่าวตักเตือน, ท่านเป็นหนึ่งในสตรีที่มีความอดทน และมีความสำรวมตนสูงมาก

6.ซุลฏอน คอนุม, ผู้รู้, นักฮะดีซ, ท่านได้เขียนหนังสือไว้ 2 เล่ม, กล่าวคือ มัจญฺมะอุลฮะดีซ เป็นหนังสืออธิบายบางปัญหาศาสนา และอธิบายฮะดีซที่เข้าใจยาก ในลักษณะของการถามตอบ, หลังจากนั้นได้เขียนหนังสือ อันวารุลตะฮฺกีก ซึ่งครอบคลุมเหนือ 3 บทความด้านเอรฟาน ซึ่งได้เขียนด้วยตัวพิมพ์ นัสตะอฺลีก

7.รุบาบะฮฺ คอนุม,บุตรีของมุลลา มุฮัมมัด ซอลิฮฺ บัรฆอนียฺและอามินะฮฺ คอนุม แกซวีนนียฺ, เป็นหนึ่งในสตรีที่มีความประเสริฐ, เป็นฟะกีฮฺ, เป็นนักปราชญ์, นักเทววิทยา, นักฮะดีซ และเป็นนักปาฐกถา, ท่านได้เกิดมาในครอบครัวที่มีความเคร่งครัดในศาสนา และเป็นผู้ที่มีความรู้, ท่านได้เริ่มศึกษาวิชาการเบื้องต้นทั้งภาษาอาหรับ และไวยากรณ์จากครอบครัวของท่าน, ส่วนวิชาฟิกฮฺ อุซูล ตัฟซีร และฮะดีซ ได้ศึกษาจากบิดา และอาของท่าน มุลลา มุฮัมมัด ตะกียฺ บัรฆอนี, หรือรู้จักกันในนามของชะฮีดษาลิษ, ท่านได้ศึกษาปรัชญาอิสลามโดยสมบูรณ์จาก ออคูน เชค มุลลา ออกอเยะ ฮะกัมมี ส่วนวิชาเอรฟานได้ศึกษาจากอาของท่าน มุลลา อะลี บัรฆอนี และพี่ชายของท่าน มีรซา อับดุลวะฮาบ บัรฆอนี แกซวีนียฺ

ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีความสูงส่งด้านวิชาการ และเป็นอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาการแก่สานุศิษย์จำนวนมากมาย นอกจากนั้นท่านยังได้พิสูจน์บทบัญญัติในระดับสูงอีกด้วย และได้ออกคำวินิจฉัยด้านปัญหาฟิกฮฺ และวิชาการอื่นๆ และท่านได้ถือปฏิบัติศาสนบัญญัติตามทัศนะของตน[1]

ช่วงฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 14

1.อุมมุ กุลษูม โรฆันนียฺ แกซวีนนียฺ, เป็นมุจญฺตะฮิด, นักฮะดีซ, ท่านเป็นบุตรีของ เชคกะรีม โรฆันนียฺ ซึ่งเป็นนักวิชาการเป็นอาจารย์แห่งแกซวีน ท่านได้รับการถ่ายทอดด้านวิชาการอิสลามจาก ผู้รู้ภายในโรงเรียน ซอลิฮฺ แกซวีนียฺ หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาวิชาฟิกฮฺและอุซูลจากเชคมุฮัมมัด ซอลิฮฺ บัรฆอนี ชะฮีดษาลิซ และบิดาของท่าน, หลังจากได้เดินทางไปยังนะญัฟ ท่านได้เข้าศึกษาวิชาความรู้จากอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ของนะญัฟ

2.เคาะดิญะฮฺ บัรฆอนียฺ แกซวีนนียฺ, บุตรีของเชคมุฮัมมัด ซอลิฮฺ บัรฆอนียฺ แกซวีนนียฺ, ท่านเป็นฟะกีฮฺ, นักฮะดีซ, และนักเทววิทยา นอกจากนั้นท่านยังมีความสันทัดด้านเทววิทยา เป็นนักท่องจำและเป็นนักตัฟซีรอัลกุรอาน ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีความสำรวมตนอย่างสูง และมีความเคร่งครัดในศาสนามาก, ท่านได้ศีกษาวิชาฟิกฮฺ อุซูล ตัฟซีร และฮะดีซจากบิดาของท่าน และจากอาของท่านชะฮีดษาลิซ ส่วนวิชาเอรฟานได้ศึกษาจากอาอีกคนหนึ่งของท่าน มุลลา อะลี บัรฆอนียฺ และปรัชญาอิสลาม ท่านได้ศึกษาจาก มุลลา ออกอเยะ ฮะกัมมี นอกจากนั้นท่านยังเป็นอาจารย์สอนฝ่ายสตรี ภายในสถานบันศึกษา ซอลิฮฺ และท่านยังได้ออกฟัตวา (คำวินิจฉัย) ปัญหาด้านบทบัญญัติ และวิชาการด้านอื่น, ผลงานอันทรงคุณค่าของท่านได้แก่ : มัจญฺมูอะฮฺ อัลมะซาอิล, ระซาอิลฟิลฟิกฮฺ, และระซาอิลเอรฟานนียะฮ

3.นัรกิส บัรฆอนียฺ แกซวีนียฺ, บุตรีของเชค มุฮัมมัด ซอลิฮฺ บัรฆอนียฺ แกซวีนนียฺ เป็นหนึ่งในสตรีที่ชาญฉลาด มีไหวพริบ และมีความเข้าใจสูง, เป็นนักฮะดีซ, เป็นผู้รู้, เป็นฟะกีฮฺ, มีความเข้าใจด้านวิชาเทววิทยาเป็นอย่างดี, เป็นนักท่องจำอัลกุรอาน, เป็นผู้มีความเคร่งครัดในศาสนา, และเป็นสตรีที่มีความสำรวมตนสูงมาก, ท่านมีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านภาษาอาหรับ,ตรรกะวิทยา, ท่านได้ศึกษาวิชาอุซูล,ฟิกฮฺ, และตัฟซีรจากบิดาของท่าน เชคมุฮัมมัดซอลิฮฺ และอาของท่านชะฮีดษาลิซ ส่วนวิชาเอรฟานและวิชาการด้านอื่นๆ ได้ศึกษาจากอาอีกคนหนึ่งของท่านนั่นคือ เชคมุลลา อะลี ส่วนวิชาปรัชญาได้ศึกษาจาก อาคูน เชคมุลลา ออกอเยะ ฮะกีม แกซวีนนียฺ และจากพี่ชายของท่าน เชคมีรซา อับดุลวะฮาบ

4. ออฆ บัยกัม เฏาะบาเฏาะบาอียฺ, มารดาของอายะตุลลอฮฺ บุรูญิดดียฺ, ท่านเป็นสตรีที่เป็นฟะกีฮฺ,นักฮะดีซ, นักปาฐกถา, เป็นผู้เคร่งครัดในศาสนา และมีความสำรวมตนสูง, ท่านได้เริ่มศึกษาวิชาการศาสนาขั้นพื้นฐาน และไวยากรณ์อาหรับจากผู้รู้ในสมัยนั้น, หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อจากบุรุษที่เป็นผู้รู้จากครอบครัวของท่าน

5. ซะฮฺรอ บัยกัม อามิลียฺ,เป็นผู้รู้, และมีความประเสริฐ, ท่านเป็นบุตรีของนักวิชาการ,นักค้นคว้า, ฟะกีฮฺ, เป็นักริญาล ซึ่งซัยยิด ซ็อดรุดดีน อามิลี คือหนึ่งในสานุศิษย์ที่มีชื่อเสียงของสตรีผู้มีความประเสริฐคนนี้ในสมัยของตน

6.ซัยนับ,บุตรีของอะลี บิน ฮุซัยนฺ ฟะวาซ อามิลี, สตรีผู้เป็นนักวิชาการ นักกวี ผู้รู้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาวาทศาสตร์ วาทศิลป์ ไวยากรณ์ภาษาอาหรับ และบทกวีเป็นอย่างดี ...,ท่านคือเจ้าของหนังสือดุรุลมันษูร ฟี เฏาะบะกอต รุบาตร อัลคุดูร ซึ่งในนั้นได้บันทึกรายชื่อของสตรีที่มีชื่อเสียงของโลก มีเชื้อชาติที่แตกต่าง และศาสนาของพวกท่าน นอกจากนั้นท่านยังมีหนังสือที่เขียนเสร็จแล้วแต่ยังไม่พิมพ์อีกหลายเล่ม

7.บีบีอาลัม โครอซอนนี, นักวิชาการ,ผู้มีความขันติธรรม, ท่านเป็นบุตรีของฮัจญฺ มีรซา ฏอเฮรี โครอซอนนี, ท่านได้ศึกษาอิสลามเบื้องต้นจากบิดาของท่าน, ผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นคนดูแลมัสญิด กูฮัรชาด และได้รับการถ่ายทอดความรู้จากคนอื่นด้วย, ส่วนวิชาฟิกฮฺ อุซูล ฮะดีซ และเอรฟานได้เรียนรู้จากสามีของท่าน, ท่านได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติบรรดาศาสดา ประวัติศาสตร์ และเรื่องเล่าอาหรับ บทกวีของอาหรับโบราณ นักกวี สภาพของหมู่มิตรและนักเอรฟาน นอกจากนั้นท่านยังได้ศึกษาค้นคว้าอันเฉพาะเจาะจงในการอธิบายสภาพของหมู่มิตร และนักเอรฟาน ประวัติบรรดาศาสดาในยุคสมัยก่อนอิสลามอีกด้วย

8.อิฟฟัต อัซซะมาน อะมีน, นักฮะดีซ, ผู้รู้, ฮะกีมและนักปรัชญา,ท่านเป็นบุตรีของฮัจญีซัยยิด อะฮฺมัด อะมีน,รู้จักกันดีในนามของ อิฟติคาร อัตติญาร, ท่านได้เริมต้นศึกษาวิชาขั้นพื้นฐานจาก ออกอเยะ มีรซา อะลี อัซฆัร ชรีฟ, อาจารย์ประจำโรงเรียน บีดอ ออบอด และหลังจากนั้นบทเรียนอื่นๆ และปรัชญาได้ศึกษากับอายะตุลลอฮฺ ซ็อดรุดดีน ฮอเตลี กูยอลี เมื่อเวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่ง ท่านได้เข้าศึกษาจาก ออกอ นูรุดดีน กูเดะญอนนี วิชาปรัชญาและเอรฟาน แต่หลังจากอาจารย์ท่านนี้ได้จากไปท่านก็ได้ศึกษาเพิ่มเติมจาก มัรฮูม ฮัจญฺ เชค มุรตะฎอ มะซอเฮรียฺ

ฯพณฯท่านอิฟฟัต อัซซะมาน อะมีน ได้ศึกษาจนถึงระดับอิจญฺติฮาด ท่านได้รับอนุ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีรายงานฮะดีซจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชูรอหรือไม่? และศีลอดนี้ถือเป็นศีลอดมุสตะฮับด้วยหรือไม่?
    6678 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    ตาราฮะดีซที่เชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺ, ไม่มีรายงานฮะดีซทำนองนี้ปรากฏให้เห็นทีว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า, การถือศีลอดในวันอาชูรอเป็นมุสตะฮับ,
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11720 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
    6195 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/23
    อัลลอฮ์ทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใดทรงปรีชาญาณทรงมีเจตน์จำนงและปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการแต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมายอีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจเมื่อเทียบคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้าก็จะทราบว่าพระเจ้ามิไช่พลังงานอย่างแน่นอนเนื่องจาก: พลังงานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดกริยาและปฏิกริยาต่างๆโดยพลังงานมีลักษณะที่หลากหลายไม่ตายตัวและสามารถผันแปรได้หลายรูปแบบพลังงานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้1. พลังงานมีสถานะตามวัตถุที่บรรจุ2. พลังงานมีแหล่งกำเนิด3. พลังงานมีข้อจำกัดบางประการ4. พลังงานเปลี่ยนรูปได้แต่อัลลอฮ์มิได้ถูกกำกับไว้โดยวัตถุใดๆ
  • อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
    10698 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/29
    สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน 1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น 2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา ...
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8307 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • หากในท้องปลาที่ตกได้ มีปลาตัวอื่นอีกด้วย จะรับประทานได้หรือไม่?
    5807 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    มีการสอบถามคำถามทำนองนี้ไปยังสำนักงานของบรรดามัรญะอ์ตักลีดบางท่านซึ่งท่านได้ให้คำตอบดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอี:ปลาที่ตกได้ถือว่าฮะลาลท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี:อิห์ติยาฏวาญิบ(สถานะพึงระวัง) ถือว่าเป็นฮะรอมท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฎิลลังกะรอนี:หากปลาที่ตกมาได้เป็นปลาประเภทฮาลาลก็ถือว่าเป็นอนุมัติท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี่ยง[1]อายาตุลลอฮ์อะรอกี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี้ยงเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าตอนที่มันออกมามีชีวิตหรือไม่ดังนั้นถือว่าไม่สะอาด[2]อายาตุลลอฮ์นูรีฮาเมดอนี:ถือว่าฮาลาล[3]ดังที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าบรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแต่สามารถสรุปได้โดยรวมว่าหากมีสัตว์ที่อยู่ในท้องของปลาที่จับมาได้หากสัตว์ตัวนั้นเป็นปลาหรือเป็นสัตว์น้ำชนิดที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาโดยขณะที่เราเอาผ่าออกมาเราแน่ใจว่าสัตว์น้ำดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ถือว่าฮาล้าลส่วนกรณีที่ต่างไปจากนี้อาทิเช่นเมื่อได้ผ่าท้องปลาและเห็นว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องมันตายแล้วก่อนหน้านั้นถือว่าไม่สามารถรับประทานสัตว์น้ำดังกล่าวได้ส่วนในกรณีที่สาม (ไม่รู้ว่าสัตว์น้ำในท้องปลายังมีชีวิตหรือไม่) ในกรณีนี้บรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนั้นมุกัลลัฟแต่ละจะต้องทำตามฟัตวาของมัรญะอ์ของตน
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13305 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว
  • การบริจาคทรัพย์ฮะรอม กฎเกณฑ์ว่าอย่างไร?
    5795 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การวะกัฟจะถือว่าถูกต้องก็ต่อเมื่อ, ตนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ต้องการวะกัฟอย่างถูกต้อง[1]ดังนั้นการวะกัฟทรัพย์สินที่ได้ขู่กรรโชก
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
    6388 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์คือการมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้าพระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรีและพระประสงค์ของพระองค์และด้วยความพิเศษนี้เองพระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเหตุนี้มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึงอีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธอนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเองและนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6305 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59298 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56745 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41570 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38334 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38293 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33386 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27481 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27145 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27039 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25124 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...