การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5992
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1273 รหัสสำเนา 16943
คำถามอย่างย่อ
ชีอะฮ์มีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)?
คำถาม
ความเชื่อของฝ่ายชีอะฮ์ในประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนหลังจากท่านนบี (ซ.ล.)เป็นอย่างไร? พวกเขาเชื่อว่าท่านอลี(อ.)เป็นคอลีฟะฮ์ภายหลังท่านศาสดา (ซ.ล.)ทันทีโดยไม่ยอมรับบรรดาคอลีฟะฮ์อื่น ๆ ซึ่งเป็นศอฮาบะฮ์ของท่านนบี (ซ.ล.)ใช่หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ความเชื่อของชีอะฮ์ คือ

1. ตำแหน่งคิลาฟะฮ์เป็นตำแหน่งที่พระองค์อัลลอฮ์เป็นผู้แต่งตั้งเอง และท่านศาสดา(..)ก็ได้รับคำสั่งจากพระองค์ให้ประกาศในหมู่มุสลิมหลายต่อหลายครั้งว่าท่านอลี(.)คือตัวแทนภายหลังจากท่าน

2. ตัวแทนของท่านศาสดา (..) มี 12 ท่าน และสำนวนอิษนาอะชะร่อคอลีฟะฮ์ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่อย่างชัดเจน ตัวแทนคนแรกคือท่านอิมามอลี บินอะบีฏอลิบ (.) และคนสุดท้ายคือท่านฮุจญะฮ์ บินฮาซันอัลอัสการี (.) นั่นเอง

3. ถึงแม้ว่าท่านอลี(.)เป็นคอลีฟะฮ์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์และท่านศาสดา(..) แต่แม้ในสมัยที่มีปัจจัยบางประการเป็นอุปสรรคไม่ให้ท่านขึ้นดำรงตำแหน่งนี้ ครั้นเมื่อท่านเล็งเห็นภยันตรายจากภายนอกที่อาจคุกคามอิสลามและมุสลิม ท่านตัดสินใจให้คำปรึกษาและชี้แนะด้วยความชาญฉลาดและความปรารถนาดีแก่บรรดาคอลีฟะฮ์มาโดยตลอด โดยไม่ปล่อยให้พวกเขาต้องเผชิญกับเหล่าศัตรูของอิสลามอย่างโดดเดี่ยว

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความเชื่อของชีอะฮ์เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และตัวแทนหลังจากท่านศาสดา(..)มีดังนี้

1.     อิมามและตัวแทนของท่านศาสดา (..) มีหน้าที่และภารกิจเฉพาะตัว หน้าที่ๆสำคัญที่สุดของอิมามภายหลังท่านศาสดา(..)ก็คืออรรถาธิบายพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน, แจกแจงบทบัญญัติศาสนา, ควบคุมไม่ให้สังคมหันเหไปในทางที่ผิด, ตอบคำถามทางศาสนาและหลักศรัทธา, สร้างความยุติธรรมในสังคม, ปกป้องอาณาเขตของอิสลามให้รอดพ้นจากศัตรู

2.     อิมามและตัวแทนของท่านศาสดา (..) จะต้องมีความรู้และจริยธรรมที่บ่งบอกว่าได้รับความการุณย์พิเศษจากพระผู้เป็นเจ้า และได้รับการฟูมฟักจากเบื้องบน กล่าวคือจะต้องห่างไกลจากความผิดพลาด การหลงลืม หรือแม้แต่การพลั้งเผลอ อีกทั้งยังต้องปราศจากความผิดบาปทั้งมวลเฉกเช่นท่านศาสดา(..) ด้วยเหตุนี้การคัดเลือกและแต่งตั้งอิมามจะต้องมาจากอัลลอฮ์แต่เพียงผู้เดียว โดยมีท่านศาสดา(..)หรืออิมามก่อนหน้านั้นเป็นสื่อกลาง

3.     ท่านศาสดา (..) ได้แต่งตั้งอิมามและผู้นำภายหลังจากท่านแล้ว กล่าวคือ ท่านปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่โดยได้กำหนดให้ท่านอิมามอลี บินอะบีฏอลิบ(.)เป็นตัวแทนหลังจากท่านในหลายๆวาระโอกาส ด้วยเหตุนี้ ท่านอลี(.)จึงถือว่าตนเป็นอิมามและคอลีฟะฮ์ที่ถูกต้องชอบธรรมหลังจากท่านศาสดา(..) และพร่ำตักเตือนให้สังคมมุสลิมและบรรดาคอลีฟะฮ์ตระหนักอยู่เสมอในวาระโอกาสต่างๆว่า คิลาฟะฮ์เป็นตำแหน่งที่ต้องได้รับการแต่งตั้งโดยอัลลอฮ์ (..) และท่านศาสดา(..)ได้แจ้งไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า

4.     ตัวแทนของท่านศาสดา (..) มี 12 ท่าน และสำนวนอิษนาอะชะร่อ คอลีฟะฮ์มีปรากฏในตำรับตำราของทั้งซุนนีและชีอะฮ์ คนแรกคือท่านอลี บิน อาบีฏอลิบ (.) และคนสุดท้ายคือท่านฮุจญะฮ์ บิน ฮาซัน อัลอัสการี (.)

5.     นามอันทรงเกียรติของอะอิมมะฮ์(.)และตัวแทนของท่านศาสดา (..) มีดังนี้

1.     อลี บินอะบีฏอลิบ

2.     ฮะซัน บินอลี

3.     ฮุเซน บินอลี

4.     อลี บินฮุเซน

5.     มุฮัมมัด บินอลี

6.     ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด

7.     มูซา บินญะอ์ฟัร

8.     อลี บินมูซา

9.     มูฮัมมัด บินอลี

10.  อลี บินมุฮัมมัด

11.  ฮาซัน บินอลี

12.  อิมาม มะฮ์ดี (.)[1]

สรุปคือ ชีอะฮ์มีความเชื่อเกี่ยวกับประเด็นของคิลาฟะฮ์และตัวแทนของท่านศาสดา(..)ว่า ท่านศาสดา (..) ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี (.) ไว้ในตำแหน่งนี้โดยคำสั่งจากอัลลอฮ์ (..) แต่ทว่าแม้จะมีหลายๆปัจจัยที่สกัดกั้นมิให้ท่านดำรงตำแหน่งนี้ เมื่อถึงสถานการณ์คับขันที่ต้องการความช่วยเหลือจากท่าน ท่านก็ไม่ได้นิ่งเฉยเป็นทองไม่รู้ร้อนเกี่ยวกับอนาคตของอิสลามมุสลิม โดยได้เสนอแนะทางออกเพื่อผลประโยชน์ของอิสลามและผลประโยชน์ของสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะเหล่าผู้ถูกกขี่และผู้ถูกอธรรมมาโดยตลอด[2]

6.     เกี่ยวกับเหล่าบรรดาของศอฮาบะฮ์ของท่านนบี (..) ชีอะฮ์เชื่อว่าเมื่อต้องการวิเคราะห์บุคลิกภาพของแต่ละคน จะต้องพิจารณาถึงการกระทำและอุปนิสัยโดยรวมของเขา และตำแหน่งหน้าที่ของเขาจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษานี้

การเป็นศอฮาบะฮ์ของท่านศาสดา(..)ถึงแม้ว่าจะเป็นเกียรติอันสู่งส่ง แต่ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพวกเขาปราศจากความผิดบาป ดังที่อัลกุรอานได้ตำหนิกลุ่มมุฮาญิรีนและอันศอรเนื่องจากความผิดพลาดที่เด่นชัดบางประการไว้แล้ว เช่นกรณีบรรดามุนาฟิกีนที่แอบแฝงในหมู่ผู้ศรัทธา[3] หรือบรรดาผู้ที่มีอีหม่านที่อ่อนแอและมีราคะในหัวใจนั่นเอง[4] ฯลฯ



[1]  จากคำถามที่ 287, ระเบียน: คุณสมบัติของชีอะฮ์

[2]  จากคำถามที่ 512, ระเบียน: อิมามอาลี(.)กับการยกกองทัไปยังประเทศต่าง  โดยบรรดาคอลีฟะฮ์

[3] เตาบะฮ์, 101

[4]  อะฮ์ซาบ, 11

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10021 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • ฏอยยุลอัรฎ์คืออะไร?
    6362 รหัสยทฤษฎี 2554/06/11
    ทักษะพิเศษดังกล่าวมีการอธิบายที่หลากหลายอาทิเช่นทฤษฎี “สูญสลายและจุติ”ที่นำเสนอโดยอิบนิอะเราะบีทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่าผู้ที่มีทักษะฏอยยุลอัรฎ์สามารถสูญสลายจากสถานที่หนึ่งและจุติขึ้นณจุดหมายปลายทางได้. แต่อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าฏอยยุลอัรฎ์คือพลวัตความเร็วสูงของร่างกายภายใต้แรงขับเคลื่อนของจิตวิญญาณอันทรงพลัง.แต่แม้เราจะยอมรับทฤษฎีใดก็ตามข้อเท็จจริงก็คือบุคคลทั่วไปไม่สามารถมีทักษะพิเศษนี้ได้นอกจากเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น. ...
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12521 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
    7753 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใดกุรอานใช้คำว่าบิชาเราะฮ์ในความหมายเชิงลบในลักษณะอุปลักษณ์เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้นอัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส ...
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    5962 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]
  • ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ คืออะไร?
    5817 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุราอนและรายงานฮะดีซมิได้มีการตีความคำว่า »ดารุลฮัซเราะฮฺ« เอาไว้ คงมีแต่ประโยคที่ว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« (จะถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงวันแห่งความเสียใจ ความหดหู่ใจที่เกิดจากการสูญเสียบางสิ่งไป) ซึ่งถูกใช้ในอัลกุรอานเพียง 1 ครั้ง แต่ถูกใช้จำนวนหลายครั้งในรายงานฮะดีซ จุดประสงค์ของคำว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« ที่ปรากฏอยู่ทั้งในอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ หมายถึงวันกิยามะฮฺ (วันฟื้นคืนชีพ) เนื่องจากวันฟื้นคืนชีพนั้น ชาวสวรรค์ จะเสียใจว่าสามารถกระทำสิ่งที่ดีกว่านี้ได้ เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งกว่า ส่วนชาวนรกก็เสียใจว่า โอ้ พระเจ้าพวกเราไม่หน้ากระทำบาปเลย จะได้ไม่ต้องตกเป็นชาวนรกเช่นนี้ ...
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22718 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...
  • มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยมิได้ระบุจำนวน เราจะแบ่งอย่างไร?
    6157 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/13
    จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมายจึงได้เสนอข้อยุติไว้แตกต่างกันดังต่อไปนี้1. ในอดีตเจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆบ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วนบ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วนฉะนั้นจะต้องพิจารณาว่าผู้ตายเคยแบ่งทรัพย์สินอย่างไรขณะมีชีวิตอยู่2.
  • ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    9122 รหัสยปฏิบัติ 2553/10/21
    ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่นประเภทของ กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา :

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38429 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27239 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27136 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...