การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7260
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/02
คำถามอย่างย่อ
โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
คำถาม
โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
คำตอบโดยสังเขป

อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ

อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา

จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน เคยเกิดขึ้นแล้วครั้งหนึ่งในบทมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 อันเป็นที่ยอมรับของนักตัฟซีรทั้งหลาย

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลกุรอาน บางโองการเนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษอันเฉพาะจะได้รับการตั้งชื่อไว้พิเศษ เช่น โองการตัฏฮีรเป็นต้น อัลกุรอาน โองการนี้อยู่ในบทอัลอะฮฺซาบ โองการที่ 33 สาเหตุที่ได้รับนามอันเป็นที่รู้จักกันดีนี้ เนื่องจากโองการดังกล่าวอัลลอฮฺ ทรงอธิบายถึงพระประสงค์อันเป็นตักวีนีของพระองค์ เกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺ เอาไว้นั่นเอง

ส่วนสาเหตุของการประทานโองการนี้ มีรายงานทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺจำนวนมากกล่าวว่า, ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ ภรรยาคนหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : โองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมาที่บ้านของฉัน ซึ่งในวันนั้นที่บ้านของฉันมีฟาฏิมะฮฺ อะลี ฮะซัน และฮุซัยนฺ (อ.) อยู่กันอย่างพร้อมหน้า ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เรียกพวกเขาให้เข้ามาอยู่ภายใต้ผ้าคุม, และเวลานั้นท่านกล่าวว่า : โอ้ อัลลอฮฺ พวกเขาคืออะฮฺลุลบัยตฺของฉัน โปรดขจัดความโสมมและความโสโครกทั้งหลายให้ห่างไกลจากพวกเขา[1]

ตรงนี้จำเป็นต้องกล่าวถึงสิ่งที่โองการได้ไว้เป็นการเฉพาะ ได้แก่ :

1.เมื่อสังเกตคำภาษาอรับที่อธิบายคำพูดตรงนี้, จะเห็นว่ามีคุณลักษณะอันเฉพาะเจาะจงพิเศษ 2 ประการ กล่าวคือ หนึ่งความเฉพาะพิเศษด้านประสงค์ของอัลลอฮฺ ที่ปรารถนาขจัดความโสมมและมลทินทั้งหลาย สองความเฉพาะพิเศษด้านความบริสุทธิ์ และการทำให้อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ห่างไกลจากมลทินและความโสมมทั้งหลาย[2]

2.จุดหมายของวัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺจากโองการนี้คือ พระประสงค์ที่เป็นตักวีนี ซึ่งทรงประสงค์ให้อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) สะอาดบริสุทธิ์ เนื่องจากพระประสงค์ที่เป็นตัชรีอียะฮฺ ของพระองค์นั้น ทรงประสงค์กับมนุษย์ทุกคนให้เป็นเช่นนั้น มิได้จำกัดเฉพาะคนใดคนหนึ่ง พระองค์จึงทรงประทานบรรดาศาสนทูต ศาสดา และคัมภีร์จากฟากฟ้าลงมาแก่พวกเขา เพื่อชี้นำทาง ขัดเกลา และสั่งสอนมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เอง พระประสงค์ที่เป็นตัชรีอียฺ จึงครอลคุมทั่วไปมิได้ระบุเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด

3.วัตถุประสงค์ของ อะฮฺลุลบัยตฺ ในโองการที่กำลังกล่าวถึง หมายถึงใคร? บางคนกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวถึง อะฮฺลุลบัยตฺนั้นหมายถึงเหล่าภิริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ด้วย พวกเขากล่าวว่าสามารถเข้าใจได้จากบริบทของโองการข้างเคียง เนื่องจากโองการทั้งก่อนและหลังจากโองการนี้ กล่าวถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา ซึ่งไม่มีความหมายแต่อย่างใดที่ระหว่างโองการเหล่านั้น จะมีโองการเฉพาะประทานลงมา และมีวัตถุประสงค์ที่นอกเหนือไปจากบุคคลเหล่านั้น? บรรดานักตัฟซีรทั้งฝ่ายซุนนียฺและชีอะฮฺ ได้ตอบทัศนะดังกล่าวไว้โดยละเอียดในหนังสือตัฟซีรต่างๆ ซึ่งจะขอกล่าวคำตอบเหล่านั้นโดยสังเขปดังนี้ :

หนึ่ง โองการที่กำลังกล่าวถึงได้กล่าวถึงคำสรรพนามบุรุษที่สอง (อันกุม) หมายถึงท่านผู้เป็นผู้ชาย ขณะที่ภริยาของท่านศาสดาเป็นหญิง ดังนั้น การนำคำสรรพนามที่บ่งบอกถึงเพศชาย (อันกุม) มาใช้แทนคำสรรพนาม (อันกุนนะ) ซึ่งบ่งบอกถึงเพศหญิง ถือว่าไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องกล่าวว่า คำสรรพนามที่บ่งบอกถึงเพศชาย ในที่นี้กล่าวถึงกลุ่มชนเฉพาะ และเนื่องจากเพศชายมีจำนวนมากกว่า จึงได้นำเอาคำสรรพนามที่เป็นชายมากล่าว

สอง การเรียงลำดับและการใช้โองการลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในอัลกุรอาน, เช่น ในช่วงท้ายโองการที่ 3 บทอัลมาอิดะฮฺ ซึ่งถ้าสังเกตจะเห็นว่าตอนช่วงตรงกลางของโองการ กล่าวถึงเรื่อง อาหารและการบริโภคที่ฮะรอม ทั้งที่โองการส่วนที่กล่าวถึงนั้นเป็นการประกาศความสมบูรณ์ของศาสนา อันเป็นสาเหตุทำให้เหล่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่างสิ้นหวังจากศาสนาของพระเจ้าไปตามๆ กัน

ท่านเฏาะบัรซียฺ กล่าวว่า : มิใช่เพียงแค่กรณีนี้กรณีเดียวเท่านั้น ที่โองการอัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเคียงข้างกัน แต่กล่าวถึงหัวข้อแตกต่างกัน, ซึ่งอัลกุรอานนั้นเต็มไปด้วยลักษณะเช่นนี้ ทำนองเดียวกันในคำพูดที่เป็นสำนวน และบทกวีอรับของพวกเขาก็เช่นเดียวกัน มีตัวอย่างทำนองนี้ให้เห็นอย่างมากมาย[3]

อีกด้านหนึ่งระหว่าง 70 รายงานที่อธิบายโองการนี้ ซึ่งรายงานโดยฝ่ายซุนนียฺ (จากสายรายงานของอุมมุซัลมะฮฺ,อาอิชะฮฺ, อบูสะอีด คุดรีย์, อิบนุอับบาส, เษาบาน, วาอิละฮฺ บิน อัสเกาะอฺ, อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัร, อะลี (อ.), ฮะซัน บิน อะลี (อ.), และจากฝ่ายชีอะฮฺ ซึ่งรายงานมาจากท่านอิมามอะลี (อ.) และอิมามซัจญาด (อ.) อิมามบากิร (อ.) อิมามซอดิก (อ.) อิมามริฎอ (อ.), ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ. อบูซัร, อบูลัยลา, อบุลอัซวัด ดูอีลี, อุมัร บิน มัยมูน เอาดียฺ, สะอฺ บิน อบี วะกอซ, ซึ่งไม่มีแม้แต่รายงานเดียวที่กล่าวว่า โองการข้างต้นได้ลงมาโองการที่กล่าวถึงเรื่องภรรยาของท่านศาสดา, นอกจากนั้นไม่มีนักตัฟซีรคนใดอีกเช่นกันที่กล่าวทำนองนี้ แม้แต่บุคคลเฉกเช่น อุรวะฮฺ หรืออิกเราะมะฮฺ ก็มิได้กล่าวว่า โองการตัฏฮีรนั้นลงให้แก่บรรดาภริยาของท่านศาสดา หรือโองการดังกล่าวลงมาในเรื่องเดียวกันกับโองการก่อนหน้า[4]

รายงานจำนวนมากที่กล่าวไว้นั้น ทำให้เข้าใจได้เป็นอย่างดีว่าจุดประสงค์คือ บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ ดังรายงานที่กล่าวว่า :

ฮากิม เนชาบูรี (อิมามนักรายงานฮะดีซฝ่ายซุนนี) กล่าวไว้ในมุสตัดร็อก เซาะฮียฺฮัยนฺ โดยรายงานมาจาก อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัร หลังจากกล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการนี้แล้ว กล่าวว่า สายรายงานฮะดีซเหล่านี้ถูกต้อง, ท่านมุสลิมกล่าวไว้ในหนังสือเซาะฮียฺ, บัยฮะกียฺ กล่าวไว้ในซุนันกุบรอ, ฏ็อบรียฺ และอิบนุกะษีร และซุยูฎียฺ กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่าน, ติรมิซียฺ กล่าวไว้ในเซาะฮียฺ, เฏาะฮาวียฺ กล่าวไว้ในมัชกะลิลอาษาร, ฮัยษัมมี กล่าวไว้ในมัจญฺมะอุซซะวาอิด, อะฮฺมัด บิน ฮันบัล กล่าวไว้ในมุสนัด ซึ่งทั้งหมดกล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการโดยรายงานมาจากสายรายงานที่แตกต่างกัน เช่น อุมมุซัลมะฮฺ, วาษิละฮฺ, อุมัร บิน อบีซัลมะฮฺ, และอาอิชะฮฺ, ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ระบุถึงอะฮฺลุบัยตฺของท่านซึ่งประกอบด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) โดยให้บุคคลเหล่านั้นเข้าไปอย่ภายใต้เสื้อคุมของท่าน[5] แม้แต่ในหนังสือติรมิซียฺ ในหมวดความประเสริฐของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.), หนังสือตัฟซีรซุยูฎียฺ รายงานจากอบูสะอีด คุดรียฺ และหนังสือมัชกะลิลอาษาร ของเฏาะฮาวียฺ กล่าวว่า ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ หลังจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้เข้าไปภายใต้เสื้อคุมของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้ว เธอได้ขอเข้าไปอยู่ภายใต้เสื้อคุมนั้นด้วย โดยกล่าวว่า : โอ้ ท่านเราะซูลขอให้ฉันเข้าไปอยู่ในนั้นด้วยได้หรือไม่? ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตอบว่า เธอจงอยู่ในที่ของเธอนั่นดีแล้ว (หมายถึงอย่าได้เข้ามาภายใต้เสื้อคุมนี้เลย)

สาม เมื่อพิจารณาคำว่า » ริจญฺซุน« ในโองการที่กำลังกล่าวถึง จะเห็นว่ามี อลีฟกับลามอยู่ด้วย ซึ่งตามหลักภาษาอรับถือว่าเป็น อลีฟลามญินซ์ หมายถึงบ่งบอกให้เห็นถึงประเภทของๆ สิ่งนั้น, ฉะนั้น ความหมายของโองการจึงหมายถึงว่า อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดสิ่งโสโครกทุกประเภท ความต่ำทราม และความชั่วร้ายให้พ้นไปจากพวกเขา, ดังนั้น การขจัดอย่างสมบูรณ์เช่นนี้ถือว่าตรงกับความบริสุทธิ์ที่พระเจ้าทรงกล่าวถึง[6] ขณะที่ไม่มีผู้ใดกล่าวอ้างถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แม้แต่คนเดียว, กล่าวคือมิมีผู้ใดกล่าวว่า เหล่าภริยาของท่านศาสดามีความบริสุทธิ์จากความผิดทั้งปวง หรือได้รับการยกเว้นจากความผิดพลาด ด้วยเหตุนี้เอง โองการข้างต้นจึงเป็นเหตุผลที่ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม (อ.)[7]

ด้วยเหตุนี้ จุดประสงค์ของอะฮฺลุลบัยตฺ ในโองการข้างต้นจึงหมายถึงบุคคลทั้งห้าท่าน หรือที่รู้จักกันในนามของ อาลิกีซา และกฎเกณฑ์ของโองการก็ระบุเฉพาะเจาะจงสำหรับพวกเขาเท่านั้น

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำถามที่ 898, หัวข้อ : อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)

 


[1] ตัฟซีรอัลมีซาน ฉบับแปล, เล่ม 16, หน้า 457.

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 462.

[3] เฏาะบัรซียฺ, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 7, หน้า 560.

[4] อ้างแล้ว, หน้า 466

[5] โองการตัฏฮีร ดัรกุตุบ โด มักตับ, อัลลามะฮฺ ซัยยิด มุรตะฎอ อัซการียฺ, หน้า 12-20.

[6] ตัฟซีรอัลมีซาน ฉบับแปล, เล่ม 16, หน้า 467.

[7]  อ้างแล้วเล่มเดิม

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • บรรดาอิมามและอุละมามีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับโคลงกลอน?
    6659 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/15
    บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติเกี่ยวกับบทกลอนบทกวี แต่นี่เป็นเพียงความเข้าใจผิดเท่านั้น ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย บรรดาอิมามกล่าวถึงบทกวีที่มีเนื้อหาสาระบ่อยครั้ง อีกทั้งยังเคยขอดุอาหรือตบรางวัลมูลค่าสูงแก่เหล่านักกวี แต่หากจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้ครบก็คงจะทำให้บทความเย่นเย้อโดยไช่เหตุ ...
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    6574 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11007 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7037 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5618 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • ท่านนบีเคยกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งศาสนทูตของตน และตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในอะซานหรือไม่?
    7422 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/22
    จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็นเราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่าท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอนทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆนอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซานในทางตรงกันข้ามมีหลักฐานยืนยันมากมายว่าท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?ต้องยอมรับว่าเราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าวนอกจากนี้ในสำนวนฮะดีษต่างๆจากบรรดาอิมามที่ระบุเกี่ยวกับบทอะซานก็ไม่ปรากฏคำปฏิญาณที่สาม(เกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอิมามอลี)แต่อย่างใดอย่างไรก็ดีเรามีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลของการเอ่ยนามท่านอิมามอลี(อ)ต่อจากนามของท่านนบี(ซ.ล)(โดยทั่วไปไม่เจาะจงเรื่องอะซาน) ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ล้วนฟัตวาพ้องกันว่าสามารถกล่าวปฏิญาณดังกล่าวด้วยเหนียต(เจตนา)เพื่อหวังผลบุญมิไช่กล่าวโดยเหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซานทั้งนี้ก็เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่าประโยคดังกล่าวมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานอันถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง. ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7952 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับตัวอ่อนมนุษย์เป็นไปในรูปแบบใด ทารกเจริญเติบโตก่อนวิญญาณจะสถิตได้อย่างไร?
    8498 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/11
    วิญญาณเป็นสิ่งที่พ้นญาณวิสัย ซึ่งจะสถิตหรือจุติในทารกที่อยู่ในครรภ์ และจะเจริญงอกงามทีละระดับ วิญญาณก็เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์เฉกเช่นร่างกาย ส่วนการที่พระองค์ทรงตรัสว่า “เราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในเขา”นั้น เป็นการสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของวิญญาณมนุษย์ด้วยการเชื่อมคำว่าวิญญาณเข้ากับพระองค์เอง กรณีเช่นนี้ในทางภาษาอรับเรียกกันว่าการเชื่อมแบบ “ลามี” อันสื่อถึงการยกย่องให้เกียรติ ดังกรณีของการเชื่อมโยงวิหารกะอ์บะฮ์เข้ากับพระองค์เองด้วยสำนวนที่ว่า “บัยตี” หรือ บ้านของฉัน การที่ทารกระยะตัวอ่อนยังไม่มีวิญญาณนั้น มิได้ขัดต่อการมีสัญญาณชีวิตก่อนที่วิญญาณจะสถิตแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์มีปราณสามระยะด้วยกัน ได้แก่ ปราณวิสัยพืช, ปราณวิสัยสัตว์, ปราณวิสัยมนุษย์ ปราณวิสัยพืชถือเป็นปราณระดับล่างสุดของมนุษย์ ซึ่งมีการบริโภคและสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ไม่มีความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ เสมือนพืชที่เจริญงอกงามทว่าไร้ความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ และเนื่องจากทารกระยะแรกมีปราณประเภทนี้ก่อนวิญญาณจะสถิต จึงทำให้มีชีวิตและเจริญเติบโตได้ ...
  • เราสามารถกล่าวคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนเวลาอะซานหรือไม่? หรือจำเป็นหรือไม่ที่จะกล่าวอะซานระหว่างสองคุฏบะฮ์
    5851 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    คำถามของคุณไม่ชัดเจนนัก ทำให้สามารถแบ่งคำถามนี้ได้เป็น 2 คำถาม แต่คาดว่าคำถามของคุณน่าจะหมายถึงข้อที่หนึ่งดังต่อไปนี้1. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องกล่าวหนึ่งในสองของคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนถึงเวลาอะซาน(เวลาที่ตะวันเริ่มคล้อยลง) หรือสามารถกล่าวคุฏบะฮ์ทั้งสองก่อนหรือหลังอะซานก็ได้?
  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7310 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59388 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41671 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27538 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25206 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...