การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8001
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/12/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1653 รหัสสำเนา 11560
คำถามอย่างย่อ
การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
คำถาม
การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
คำตอบโดยสังเขป

การให้ความเคารพ การย้อนกลับ การขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่า พวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผล และสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้ โดยเป็นอิสระจากพระเจ้า หรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์ การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริก อีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ (อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนบรรดาศาสดา มะลัก หรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์) ดังนั้น การมีเจตนาดังกล่าวถือว่าไม่เข้ากันและเป็นชิริกกับการบริบาลและการกระทำของพระองค์

แต่ถ้าการตะวัซซุล การให้ความเคารพ และการย้อนกลับมีเจตนารมณ์เพื่อว่า :

. เพื่อการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้า

. การเผยแพร่ศาสนา เมื่อสัมพันธ์ไปยังความจริงที่ว่าพวกเขาได้สร้างศีลธรรม ความดีงามและการพัฒนาตลอดการออกกฎหมาย ซึ่งเป็นบุญคุณที่ท่านเหล่านั้นมีอยู่เหนือตัวเรา

. การสร้างแบบอย่างและการได้รับประโยชน์อันเฉพาะ จากความโปรดปรานอันเฉพาะของบรรดาท่านเหล่านั้น โดยที่เรามิได้คิดว่าท่านเหล่านั้นมิได้ปราศจากความต้องการไปยังอาตมันสากลในการบริบาลของพระเจ้า ฉะนั้น การคิดเช่นนี้ถือว่าไม่ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ (พระผู้ทรงบริบาล) ในฐานะที่พระองค์คือผู้ตอบสนองความต้องการ เนื่องจากในความเป็นจริงผู้กระทำ ผู้บริบาล และผู้ขจัดความต้องการของเรา ถึงแม้ว่าจะมาจากบรรดาท่านเหล่านั้น แต่เป็นไปในแนวตั้งของอำนาจบริบาลและการตอบสนองของพระเจ้า มิใช่เป็นไปในแนวนอนเพื่อที่ว่าสิ่งนั้นจะกลายเป็นชิริก

ด้วยเหตุนี้ มาตรฐานของการเป็นชิริก (ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า) ในการแสวงหาความต้องการจากสิ่งอื่นอกจากพระเจ้า ขึ้นอยู่กับเจตนาของแต่ละบุคคล ฉะนั้น ถ้าหากบุคคลหนึ่งได้ตะวัซซุลไปยังพวกเขา โดยมอบความคู่ควรในการเคารพภักดี หรือการบริบาลโดยปราศจากการพึ่งพิงไปยังพระเจ้า การตะวัซซุลเช่นนี้ตามหลักความเชื่อแล้ว ถือว่าเป็นชิริก

แต่ถ้าเป็นไปเพื่อการเคารพภักดีพระเจ้า หรือการใช้ผลประโยชน์จากเกียรติยศและศักดิ์ศรีของพวกเขา และเพื่อให้ตัวตนบริสุทธิ์ของพวกเขาวิงวอนขอความต้องการของเราจากพระองค์ หรือโดยการอนุญาตของพระองค์ให้พวกเขาขจัดความต้องการของเรา การกระทำเช่นนี้มิใช่เพียงจะไม่เป็นชิริกเท่านั้น ทว่าผู้ที่ทำการตะวัซซุล ยังมีความหวังอย่างเต็มเปี่ยม เนื่องจากเขาได้ปฏิบัติไปตามพระบัญชาของพระเจ้า

คำตอบเชิงรายละเอียด

มนุษย์คือสรรพสิ่งมีสองมิติคือ กล่าวคือเป็นการรวมกันระหว่างวิญญาณอันเร้นลับกับร่างกายอันไม่จีรัง เป็นสสารวัตถุประเภทหนึ่งยากจนและต้องพึ่งพิง และเนื่องจากมีสององค์ประกอบสำคัญ ดังนั้น จำเป็นต้องกระทำเพื่อตอบสนองทั้งสององค์ประกอบด้วยความสมดุล ปราศจากความสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อจะได้มีความสมบูรณ์แข็งแรง และสามารถดำรงสืบต่อไปได้อย่างปกติ มีความเจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนาการไปสู่ความรุ่งเรืองสูงสุดอันแท้จริง (ไปสู่ตำแหน่งตัวแทนของพระเจ้า)

พระผู้อภิบาลผู้ทรงปรีชาญาณสูงสุดทรงกำหนดเป้าหมายแน่นอนในการการสร้างของมนุษย์ และทรงรอบรู้ความต้องการและความปรารถนาของมนุษย์ในทุกด้าน ทั้งก่อนหน้าที่จะสร้างรูปลักษณ์ของเขา หรือในเวลาเดียวกันที่ทรงสร้างพวกเขา พระองค์ทรงตระเตรียมการเพื่อขจัดความต้องต่างๆ ของพวกเขา นอกจากนี้พระองค์ยังทรงประสงค์ให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นสืบต่อไป ตามกระบวนการทางธรรมชาติด้วยเจตนารมณ์เสรี ความสมบูรณ์แข็งแรงทางกายภาพและจิตวิญญาณ โดยการใช้สื่อเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้ทรงตระเตรียมไว้สำหรับเขา มิเช่นนั้นแล้วพระเจ้าทรงมีศักยภาพในการสร้างกายภาพของมนุษย์ให้สมบูรณ์ตั้งแต่ตอนแรก โดยที่เขาไม่ต้องมาวิวัฒนาการตนไปสู่ความสมบูรณ์อีก ดังการสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน หรือทรงสร้างจิตวิญญาณของมนุษย์ให้สมบูรณ์ตั้งแต่แรก ในแง่ของการแสดงความเคารพภักดี เพื่อว่าเขาจะได้เข้าไปสู่โลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์และบริสุทธิ์ โดยปราศจากความขาดตกบกพร่อง  ดังเห็นได้จากการสร้างมวลมลาอิกะฮฺทั้งหลาย แต่ทว่าความประเสริฐของมนุษย์ที่มีเหนือสิ่งอื่นก็ตรงนี้เอง กล่าวคือขณะที่มนุษย์มีความต้องการทั้งด้านกายภาพและจิตวิญญาณ มนุษย์ยังสามารถพัฒนาตนไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งเหนือมวลมลาอิกะฮฺได้

ดังนั้น มนุษย์ผู้มีเจตนารมณ์เสรีหากต้องการขจัดความต้องการของตน จำเป็นต้องใช้ความโปรดปรานทั้งหมดของพระเจ้าที่แพร่หลายอยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้คงมีอยู่ด้วยความสุขสมบูรณ์ และสำหรับการขจัดความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆที่พระองค์ทรงกำหนด เพื่อที่ว่าจิตวิญญาณอันเร้นลับของตนจะได้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับโลกแห่งความสูงส่ง และสามารถขจัดความต้องการของตนให้หมดไปได้

ในการใช้ปัจจัยที่เป็นตักวีนี เพื่อขจัดความต้องการทางกายภาพของมนุษย์ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากความต้องการอันกว้างไพศาลตลอดระยะเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ต้องสงสัยเลยเนื่องจากมนุษย์มี 2 องค์ประกอบสำคัญนับตั้งแต่แรกเกิดพวกเขามีความคุ้นเคยกับมัน ฉะนั้น ตามความคิดเห็นของผู้ที่มีความเคร่งครัดในศาสนา สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นการใช้เครื่องมือหรือสื่อ อันเป็นสาเหตุของการขจัดความต้องการทางร่างกายของตน จะเป็นชิริก หรือเป็นการใช้ทรัพย์สินของพระเจ้าชนิดไม่ถูกที่ก็หาไม่

 

พระเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณ ทรงขจัดความต้องการทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ในรูปแบบของศาสนาและการออกกฎหมาย, โดยมอบอาหารที่สมบูรณ์แข็งแรงด้านความเชื่อศรัทธา การแสดงความเคารพภักดี จริยธรรม การอบรมสั่งสอน โดยผ่านกลุ่มชนนามว่าศาสดา (.) ซึ่งมาจากหมู่พวกเขาเอง ซึ่งพระองค์ทรงแต่งตั้งให้พวกเขาเป็นผู้ชี้นำสั่งสอน พระองค์ได้วางกฎหมายหมายหรือกฎเกณฑ์ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับมนุษย์ในการไปถึงยังตำแหน่งอันสูงศักดิ์ ขณะที่บรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าเองต่างมีหน้าที่ในการรักษาขอบข่ายและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านั้น เพื่อว่าจะได้สามารถใช้หนทางดังกล่าวขจัดความต้องการด้านจิตวิญญาณของตน และสามารถเชื่อมต่อกับโลกแห่งความเร้นลับในอีกมิติหนึ่งซึ่งอยู่เหนือความรู้สึกของประสาทสัมผัสทั้งห้า และอยู่เหนือญาณวิสัยของมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงวันหนึ่งๆ ท่านได้ติดต่อกับโลกแห่งความเร้นลับนั้นเป็นช่วงเป็นระยะเวลา (ในรูปแบบของการอิบาดะฮฺประจำวัน) และในหมู่มนุษย์ด้วยกันเองมีบางคนที่ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลมากกว่าคนอื่น จากฎเกณฑ์ดังกล่าว ในลักษณะที่ว่าเขาได้ยกตัวเองพ้นไปจากโลกแห่งธรรมชาตินี้ไปสู่โลกในอีกมิติหนึ่ง บางคนประสบความสำเร็จถึงขั้นได้เป็นตัวแทนของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน จากหนทางดังกล่าวนี้ บางคนก็ไม่อาจไปถึงยังความภิรมย์แห่งพระเจ้าได้ กล่าวคือ สื่อระหว่างโลกและบุคคลได้ตกค้างไปจากขบวน ดังนั้นการ ตกค้างนี่เองที่เขาจำเป็นต้องเลือกหนทางดังกล่าวเพื่อขจัดความต้องการแห่งจิตวิญญาณตน

ประเด็นนี้เองทำให้เกิดความสงสัยคลางแคลง ในความแตกต่างของการตะวัซซุลไปยังพวกเขา หรือการขอความช่วยเหลือจากผู้ทรงเกียรติเหล่านั้น กับความเป็นเอกเทศในการงาน หรือการบริบาลของพรเจ้า

แต่ทว่าดังที่กล่าวไปแล้วว่า การใช้ประโยชน์จากวัตถุสสาร เพื่อช่วยขจัดความต้องการทางกายภาพ ไม่เป็นชิริก เนื่องจากพระเจ้าได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ ดังที่อัลกุรอานก็กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้[1] อีกทั้งพระองค์พระองค์ยังได้มอบสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นแก่พวกเขาอีกต่างหาก และมนุษย์ก็ทราบดีว่าสิ่งถูกสร้างทั้งหมดเหล่านี้ ไม่มีสิ่งใดเป็นเอกเทศโดยปราศจากการพึ่งพิงไปยังพระองค์ ด้วยเหตุนี้ การยึดมั่นหรือการตะวัซซุลไปยังผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น เพื่อให้เกียรติเคารพและขจัดความต้องการของตน ไม่มีสิ่งใดขัดแย้งกับการยอมรับในอำนาจบริบาล หรือการงานของพระเจ้า หรือการเป็นผู้ขจัดความต้องการของพระเจ้าแม้แต่นิดเดียว เนื่องจากในการตะวัซซุลนั้นกับบุคคลเหล่านั้นไม่ได้เป็นไปในแนวนอนอันก่อให้เกิดการเป็นชิริกแต่อย่างใด ทว่ามนุษย์ทราบเป็นอย่างดีว่า การงานของผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น ตลอดจนอำนาจบริหารของพวกเขาอยู่ในแนวตั้งของการงานและการบริบาลของพระเจ้า ประกอบกับการมีอยู่ของพวกเขาก็คล้ายเหมือนกับสิ่งอื่น ที่ยากจนและต้องพึ่งพิงไปยังอาตมันบริสุทธิ์ของพระเจ้า แน่นอน ถ้าพระองค์ไม่ทรงเมตตา หรือไม่ทรงการุณย์กับพวกเขา พวกเขาก็ไม่อาจเกิดขึ้นมาได้ แล้วจะนับประสาอะไรกับการงานและการบริหารหรือการขจัดความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น การเชื่อในการกระทำคือการขจัดความต้องการของมนุษย์ของพวกเขา เป็นไปในแนวตั้งของพระเจ้า สิ่งนี้จึงไม่ถือว่าเป็นชิริกแต่อย่างใด[2]

แต่

แต่เป็นเพราะสาเหตุใด พระเจ้าจึงได้มีบัญชาให้เราย้อนกลับไปยังพวกเขาเหล่านั้น และเป็นเพราะเหตุใดที่เราต้องอาศัยสื่อเหล่านั้น เพื่อรังสรรค์ประโยชน์ทางด้านจิตวิญญาณและโลกแห่งความเร้นลับด้วย ประเด็นนี้สามารถตอบได้หลายเหตุผลด้วยกันกล่าวคือ :

1. บุคคลเหล่านี้ "คือสื่อนำไปสู่ความภิรมย์ของพระเจ้า" เป็นช่องทางที่ความเมตตาจากพระเจ้า,จะไหลหลั่งผ่านมาทางนี้แด่มวลสรรพสิ่งทั้งหลายบนจักรวาลนี้ และถ้ามีไม่บุคคลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้บนโลก, พระเจ้าก็จะไม่สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและมวลสรรพสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองขึ้นมาการใดทั้งสิ้น ดังคำกล่าวของฮะดีซ กุดซีย์ ที่เชื่อถือได้ กล่าวว่าโอ้ บนีเอ๋ยถ้าหากไม่มีเธอ ข้าก็จะไม่สร้างจักรวาลนี้ขึ้นมา ถ้าหากไม่มีอะลี ข้าก็จะไม่ได้สร้างเธอขึ้นมา ถ้าไม่มีฟาฏิมะฮฺ ข้าก็จะไม่สร้างเธอทั้งสองคนขึ้นมา เนื่องจากการมีอยู่ของเธอทั้งสามคนคือความสมบูรณ์ของกันและกัน และเป็นสเหตุของการสร้างสรรพสิ่งอื่น[3]

ดังนั้น เพื่อการไปถึงยังแหล่งของพระเมตตาจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าว เพื่อว่าเราจะได้ไม่ถูกกีดกันจากพระเมตตาของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ในบทดุอาอ์ นุดบะฮฺ เราจึงอ่านว่า อยู่  ที่ใดหรือ ที่พำนักแห่งพระเจ้าพวกเราจะได้เข้าไปหา

2. บรรดาผู้ทีได้รับความโปรดปรานพิเศษจากพระเจ้า สื่อสร้างสรรค์ความใกล้ชิดของพระองค์ พวกเขาได้ย้อมตัวเองด้วยสีสันและคุณลักษณะของพระเจ้า การพิจารณาและมองไปยังพวกเขาประหนึ่งการจ้องมองไปยังพระเจ้า เนื่องจากความคุ้นเคยกับพวกเขา แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางอุปสรรคปัญหา ก็จะทำให้มนุษย์รำลึกถึงพระเจ้าและขอความคุ้มครองจากพระองค์ตลอดเสมอมา ดังคำวิงวอนในดุดอาอ์นุดบะฮฺที่กล่าวว่า :"อยู่  ที่ใดหรือ พระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า ซึ่งหมู่มวลมิตรของพระองค์ได้หันหน้าไปสู่

3 บรรดาผู้ทีได้รับความโปรดปรานพิเศษจากพระเจ้า สื่อสร้างสรรค์ความใกล้ชิดของพระองค์ ดุอาอ์ของพวกเขาจะไม่ถูกปฏิเสธ แต่จะถูกตอบจากพระเจ้า นอกจากนั้นชะฟาอะฮฺของพวกเขายังได้รับการตอบรับจากพระเจ้าด้วย ดังนั้น จะเห็นว่าในดุอาอ์ นุดบะฮฺ ได้กล่าวต่อไปอีกว่าอยู่  ที่ใดกันเล่าผู้ปัดเป่าความทุกข์ยาก เมื่อเราได้วิงวอนดุอาอ์ของเราจะถูกตอบรับและเนื่องจากพระองค์เป็นผู้มีเมตตาสูงส่ง ไม่ทรงปฏิเสธการวิงวอนของผู้ใดทั้งสิ้น และถ้าสิ่งที่วิงวอนขอไปนั้นตรงกับความเห็นพร้องของพระองค์ด้วยแล้ว พระองค์จะไม่ปล่อยให้เขากลับมือเปล่าอย่างแน่นอน ซึ่งสิ่งนี้ระหว่างบุคคลร่วมสมัยกับบรรดาท่านเหล่านั้น และระหว่างผู้ที่เดินทางไปเยี่ยมเยือนท่านต่างได้เห็นกับตาตัวเองหลายต่อหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้ จึงมีเสียงกล่าวเรียกพวกท่านทั้งหลายว่าความเคยชินของพวกท่านคือความดีงาม ชะตาชีวิตของพวกท่านคือเกียรติยศ ฐานันดรของพวกท่านคือความสัจจริง ความซื่อสัตย์ และความเมตตา[4]

4. ความสัมพันธ์โดยตรงกับโลกเร้นลับ มนุษย์ที่ไม่เคยพัฒนาและขัดเกลาตนเอง หรือไม่เคยผ่านขบวนการเหล่านี้มาก่อนเขาไม่สามารถกระทำได้แน่นอน ดังนั้น ควรที่จะยึดเอาอุปกรณ์หรือแนวทางที่พระองค์ทรงมอบให้แก่เราเป็นเครื่องมือช่วยเหลือ ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺตรัสงว่าโอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พึงสำรวมตนต่ออัลลอฮ์เถิด และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์ และจงต่อสู้และเสียสละในทางของอัลลอฮ์เถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ[5] นอกจากนั้นยังมีรายงานจำนวนมากมายกำกับไว้ว่า บรรดาอะฮฺลุลบัยต์ (.) คือสื่อของอัลลอฮฺ และ "ความเชื่อมั่นคงอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเจ้า ดังนั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ศรัทธาคนหนึ่ง จำเป็นต้องรู้จักพวกเขา และยึดพวกเขาไว้ให้มั่น[6] ในดุอาอ์นุดบะฮฺ กล่าวว่าเชื่อว่า :อยู่  ที่ใดกันเล่ม สื่อที่เชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินและท้องฟ้า ?"

5. การรู้จักการหันหน้าไปสู่และการตะวัซซุลกับบุคคลเหล่านี้ คือมูลเหตุที่ทำให้ความต้องการของเราถูกแก้ไขจัดการ มูลเหตุของความคุ้นเคย, มิตรภาพและความรัก ซึ่งมิตรภาพและความรักที่มีต่อบุคคลเหล่านี้คือ มูลเหตุของการศึกษาและความเป็นเลิศในการชี้นำบุคคล ในขณะที่ตัวตนอันบริสุทธิ์ของพวกเขามิเคยต้องการ ความช่วยเหลือของประชาชน เนื่องจากพวกเขาได้รับความการุณย์พิเศษจากพระเจ้า ไปถึงยังเป้าหมายปลายทาง

6 การย้นอกลับของประชาชนไปยังหมู่มวลมิตรของพระเจ้าคือ ผลรางวัลประการหนึ่งซึ่งพวกเขาได้รับเนื่องจากความอุตสาหะที่ได้เพียรพยายามเอาไว้ ดังที่อัลลอฮฺตรัสกับท่านศาสดามุฮัมมัดว่าและยามหนึ่งของราตรี เจ้าจงตื่นขึ้นมานมาซ ด้วยความสมัครใจของเจ้า หวังว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าจะทรงให้จ้าได้รับตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ (ตำแหน่งชะฟาอะฮฺทั้งโลกนี้และโลกหน้า)”[7]

7. การย้อนไปสู่และการตะวัซซุลของประชาชนที่มีต่อตัวตนศักดิ์สิทธิ์คือ สาเหตุของการส่งเสริมให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตามแนวทางของพวกเขาด้านหนึ่ง นอกจากนั้นยังเป็นการตัดขาดจากความยโสโอหัง ให้ออกไปจากผู้ที่ดำรงอิบาดะฮฺอย่างเนืองนิด ผู้มีความยำเกรง และผู้ที่ขัดเกลาตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์ และยังเป็นการป้องกันและไม่เปิดโอกาสให้แก่ผู้ปลอมแปลงและผู้หลอกลวงทั้งหลายอีกด้วย

8. สถานภาพอันสูงส่งของมนุษย์ผู้สมบูรณ์แบบนั้นมีความโดดเด่นยิ่งกว่ามวลมลักทั้งหลาย เนื่องจาก :

1 มวลมลักทั้งในโลกนี้และปรโลกคือผู้รับใช้บ่าวผู้บริสุทธิ์

2 กิจการงานของมวลมลัก ไม่ถือว่าเป็นความพิเศษอันใดสำหรับพวกเขาแม้แต่นิดเดียว

3 ในค่ำคืนแห่งมิอ์รอจญ์ ท่านศาสดา (ซ็อล ) อยู่ไนตำแหน่งที่ล่วงล้ำเกินญิบรออีลเสียอีก และในบางที่มวลมลาอิกะฮฺคือผู้บริหารงานของพระเจ้าพวกเขาคือผู้บริหารกิจการ[8] (พวกเขาอยู่ในแนวตั้งของผู้ประกอบกิจการงานของพระเจ้า) ต่างไปจากมนุษย์ เพราะมนุษย์คือผู้สร้างตัวเองขึ้นไปสู่ความใกล้ชิดกับพระเจ้า ซึ่งมวลมลาอิกะฮฺมิได้เป็นเช่นนั้น

9. แบบฉบับของบรรดาผู้อาวุโส ผู้สูงศักดิ์คือ ภารกิจบางส่วนถ้าหากผู้อยู่ใต้บังคับชาสามารถปฏิบัติได้ เขาจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของบุคคลเหล่านั้น เมื่อมีผู้มาพบพวกเขาจะได้ให้คำตอบหรือคำปรึกษาได้ เพื่อใช้วิธีการนี้เป็นการอบรมสั่งสอนบุคคลที่เลือกสรรพิเศษ และเป็นรางวัลในความพยายามที่พวกเขาได้ขวนขวายเอาไว้ อีกประการหนึ่งเพื่อให้บุคคลอื่นได้รู้จักตัวเขาและสถานภาพของเขา เพื่อจะได้มีความสะดวกในการไปมาหาสู่หรือติดต่อกับพวกเขา

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ทีมาพบปะกับพวกเขาต่างทราบดีว่า สื่อนี้ไม่ได้อยู่ในสานเดียวกันกับพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งอย่างแน่นอน และพวกเขาไม่กระทำสิ่งใดอันมิใช่พระประสงค์ หรือมิได้รับอนุญาตจากพระองค์อย่างแน่นอน

สรุป สาระสำคัญตามที่กล่าวมา : สำหรับการเชื่อมต่อกับโลกแห่งความเร้นลับ หรือการปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า การอบรม การขัดเกลา การพัฒนา และการขจัดความต้องการของตนเองทั้งโลกนี้และโลกหน้า จำเป็นต้องรู้จักสื่อ และต้องย้อนกลับ ต้องตะวัซซุล และต้องมอบความรักแก่หมู่มวลมิตรของพระเจ้า การตะวัซซุลไปยังพวกเขา หมายถึง การยึดมั่นไปยังมูลเหตุ และสายเชือกอันเหนียวแน่นมั่นคงของพระเจ้าพระผู้อภิบาลผู้ทรงสูงสุด พวกเขาคือสื่อซึ่งการมีอยู่และเกียรติยศของพวกเขาทั้งหมด สัมพันธ์ติดอยู่กับอาตมันบริสุทธิ์ของพระเจ้า กิจการงานของพวกเขา คำพิพากษา และการขจัดความต้องการทั้งหลายของพวกเขา อยู่ในแนวตั้งแห่งกิจการงานของพระเจ้า แน่นอนว่า การย้อนกลับไปหรือการตะวัซซุลกับบุคคลเหล่านี้ จึงไม่เป็นชิริกแต่อย่างใดทั้งสิ้น เนื่องจากผู้ขจัดความต้องการทั้งปวง มีเฉพาะอัลลอฮฺ แต่เพียงผู้เดียว

แหล่งทรัพยากรทางวิชาการสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม :

Mousavi Esfahani, Seyed Mohammad Taqi, Mkyal Almkarm, เล่ม. 1 และ 2, แปล, Seyed Mehdi Haeri Qazvin

Mesbah - Yazdi, Mohammad Taqi ออมูเซซอะกออิด, เล่ม 1-3

Mesbah - Yazdi, Mohammad Taqi มะอาริฟอัลกุรอาน, เล่ม 1-3

Shirvani, Ali, มะอาริฟอิสลามมี ในผลงานของชะฮีด Mottahary , หน้า. 250-251 และ 90-110

นอกจากนี้ยังมีหนังสือ ด้านกะลาม หมวดวิพากษ์เกี่ยวกับชะฟาอะฮฺ เตาฮีดอัฟอาล และบทวิพากษ์เกี่ยวกับอิมามมะฮฺ



[1]  อัลกุรอานบท ญาซียะฮฺ 12,13 บทลุกมาน 20

[2]  โปรดย้อนกลับไปศึกษาคำถามที่ 95 เจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ คำถามที่ 217 และ 51 และคำถามที่ 80

[3] คัดลอกมาจาก บัรนาส เซามิอะฮฺ สะรอยี มะฮฺดี หนังสือ คืนอานุภาพคืออะไร พิมพ์ที่ เกาซัร เฆาะดีร เล่ม 2 หน้า 79,81

[4]  ซิยารัตญิมิอ์กะบีร

[5]  อัลกุรอานบท อัลมาอิดะฮฺ 35, บทอาลิอิมรอน 103, บทอัลอิสรอ 57

[6]  ฮาเอรีย์ ซัยยิดมะฮฺดี, ฉบับแปลหนังสือ มิกยาลุลมะการิม เล่ม 1 หน้า 625,639 , นอกจากนี้หนังสือตัฟซีร อีกหลายเล่มตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[7] อัลกุรอานบท บทอัลอิสรอ 79

[8]  อัลกุรอานบทนาซิอาต 5

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    9868 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • การจ่ายคุมซ์เป็นทรัพย์สินเพียงครั้งเดียว แล้วต่อไปไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกใช่หรือไม่?
    5775 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ดั่งเป็นที่ทราบกันดีว่าคุมซ์คือหนึ่งในการบริจาคทรัพย์อันเป็นวาญิบสำคัญในอิสลามเป็นหนึ่งในหลักการอิสลามและเป็นอิบาดะฮฺด้วยด้วยสาเหตุนี้เองจำเป็นต้องเนียต (ตั้งเจตคติ) เพื่อแสวงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ (ซบ.)ทรัพย์สินและเงินทุนต่างๆที่ต้องจ่ายคุมซ์ถ้าหากจ่ายคุมซ์ไปแล้วเพียงครั้งเดียวไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปนานหลายปีก็ตามแต่ถ้าเป็นทรัพย์ที่เติบโตหรือมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมทุนเดิมไม่ต้องจ่ายคุมซ์แต่ส่วนที่เป็นผลกำไรงอกเงยอออกมาวาญิบต้องจ่ายคุมซ์[1][1]  เตาฏีฮุลมะซาอิลมะริญิอฺ
  • จะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?
    9341 ปรัชญาของศาสนา 2554/07/16
    ผู้ที่คิดว่าศาสนาและวิทยาศาสตร์ไม่อาจจะปรับเข้าหากันได้แสดงว่าไม่เข้าใจธรรมชาติของศาสนาเทวนิยมโดยเฉพาะศาสนาอิสลามอีกทั้งไม่เข้าใจว่าพื้นที่คำสอนของศาสนาและพื้นที่ความรู้ของวิทยาศาสตร์ก็แยกออกเป็นเอกเทศ เมื่อพื้นที่ต่างกันก็ย่อมไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นคำสอนของศาสนามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในสามพื้นที่ด้วยกันนั่นคือความสัมพันธ์กับตนเองความสัมพันธ์กับผู้อื่น(สังคมและสิ่งแวดล้อม) และความสัมพันธ์กับพระเจ้า และในฐานะที่อิสลามถือเป็นศาสนาที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดได้สนองตอบความต้องการของมนุษย์ทุกยุคสมัยด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “อิจญ์ติฮาด”ซึ่งได้รับการวางรากฐานโดยวงศ์วานศาสดามุฮัมมัดส่วนเทคโนโลยีนั้นมีอิทธิพลเพียงในพื้นที่แห่งประสาทสัมผัสและมีไว้เพื่อค้นพบศักยภาพของโลกและจักรวาลที่ซ่อนอยู่ตลอดจนเพื่อประดิษฐ์เครื่องมือในการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากเนียะอฺมัตของอัลลอฮ์เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่านวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ช่วยแผ่ขยายพื้นที่ในการตรากฏเกณฑ์ศาสนาให้กว้างยิ่งขึ้นเพราะในทัศนะอิสลามแล้วสามารถจะวินิจฉัยปัญหาใหม่ๆได้โดยใช้กระบวนการอิจญ์ติฮาดและอ้างอิงขุมความรู้ทางฟิกเกาะฮ์. ...
  • อิสลามมีกฏเกณฑ์อย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว?
    22354 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/09
    อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกันหนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือความต้องการทางเพศทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจะต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้อิสลามถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงานไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสื่อหากเป็นไปด้วยความไคร่หรือเกรงว่าจะเกิดความไคร่ถือว่าไม่อนุมัติแต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงานวิชาการและการศึกษาถือเป็นที่อนุมัติเฉพาะในกรณีที่ไม่โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ...
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    9186 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะรู้จักบุคคลสำคัญในสวรรค์และนรก?
    6849 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    มีหลายโองการในกุรอานที่กล่าวถึงบทสนทนาระหว่างชาวสวรรค์และชาวนรก ซึ่งทำให้พอจะทราบคร่าวๆได้ว่าชาวสวรรค์สามารถที่จะรับรู้สภาพและชะตากรรมของบุคคลต่างๆในนรกได้ นอกจากนี้ เหล่าบุรุษชาวอะอ์ร้อฟรู้จักสีหน้าของชาวสวรรค์และชาวนรกเป็นอย่างดี มีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าเหล่าบุรุษแห่งอะอ์ร้อฟนั้น ตามนัยยะเชิงแคบก็คือบรรดาอิมามมะอ์ศูม(อ.) ส่วนนัยยะเชิงกว้างก็หมายถึงบรรดามนุษย์ที่ได้รับการเลือกสรร ซึ่งจะอยู่ในลำดับถัดจากบรรดาอิมาม โดยบุคคลเหล่านี้อยู่เหนือชาวสวรรค์และชาวนรกทั้งมวล เราขอนำเสนอความหมายของโองการเหล่านี้ดังต่อไปนี้ 1. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ อัศศ้อฟฟ้าต “ในสรวงสวรรค์ ผู้คนต่างหันหน้าเข้าหากันแล้วถามไถ่กันและกัน โดยหนึ่งในนั้นเอ่ยขึ้นว่า แท้จริงฉันมีสหายคนหนึ่งที่ถามฉันว่า เธอเชื่อได้อย่างไรที่ว่าหลังจากที่เราตายและกลายเป็นธุลีดินแล้ว จะถูกนำไปพิพากษา (ชาวสวรรค์กล่าวว่า) ท่านรับรู้สภาพปัจจุบันของเขาหรือไม่? เมื่อนั้นก็ได้ทราบว่าเขาอยู่ ณ ใจกลางไฟนรก (ชาวสวรรค์)กล่าวแก่เขาว่า ขอสาบานต่อพระองค์ เจ้าเกือบจะทำให้ฉันหลงทางแล้ว หากปราศจากซึ่งพระเมตตาของพระองค์ ฉันคงจะอยู่(ในไฟนรก)เช่นกัน”[1] 2. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ มุดดัษษิร “ทุกคนย่อมค้ำประกันความประพฤติของตนเอง นอกจากสหายแห่งทิศขวาซึ่งจะถามไถ่กันในสรวงสวรรค์ ...
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    7781 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
    6724 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/23
    อัลลอฮ์ทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใดทรงปรีชาญาณทรงมีเจตน์จำนงและปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการแต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมายอีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจเมื่อเทียบคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้าก็จะทราบว่าพระเจ้ามิไช่พลังงานอย่างแน่นอนเนื่องจาก: พลังงานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดกริยาและปฏิกริยาต่างๆโดยพลังงานมีลักษณะที่หลากหลายไม่ตายตัวและสามารถผันแปรได้หลายรูปแบบพลังงานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้1. พลังงานมีสถานะตามวัตถุที่บรรจุ2. พลังงานมีแหล่งกำเนิด3. พลังงานมีข้อจำกัดบางประการ4. พลังงานเปลี่ยนรูปได้แต่อัลลอฮ์มิได้ถูกกำกับไว้โดยวัตถุใดๆ
  • มะลาอิกะฮ์และญินรุดมาช่วยอิมามฮุเซน(อ.)จริงหรือไม่ และเหตุใดท่านจึงปฏิเสธ?
    8498 تاريخ بزرگان 2554/12/03
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อนุญาตให้แขวนภาพเขียนมนุษย์และสัตว์ภายในมัสญิดหรือไม่?
    7927 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    ก่อนที่จะตอบ เราขอเกริ่นนำเบื้องต้นดังนี้1. บรรดาอุละมาอ์ให้ทัศนะไว้ว่า สถานที่แห่งหนึ่งที่ถือเป็นมักรู้ฮ์(ไม่บังควร)สำหรับนมาซก็คือ สถานที่ๆมีรูปภาพหรือรูปปั้นสิ่งที่มีชีวิต เว้นแต่จะขึงผ้าปิดรูปเสียก่อน ฉะนั้น การนมาซในสถานที่ๆมีรูปภาพคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมัสญิดหรือสถานที่อื่น ไม่ว่ารูปภาพจะแขวนอยู่ต่อหน้าผู้นมาซหรือไม่ก็ตาม[1] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60389 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57946 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42483 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39769 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39139 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34246 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28287 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28216 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28155 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26094 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...